https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLSEd/issue/feed วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ 2023-12-31T14:11:39+07:00 Journal Editor [email protected] Open Journal Systems <p>วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ เป็นวารสารของคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่งานวิชาการของนักวิชาการ ทั้งภายในและภายนอก สนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพเเละมุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางการวิจัย ด้านวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายการเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัย ระหว่างมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายในและภายนอก<br /><br />กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับแรก เดือนมกราคม - มิถุนายน เเละฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม มีกระบวนการประเมินคุณภาพบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้นหรือสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 คน ซึ่งผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (double blinded peer-reviews)</p> <p> </p> <p>ISSN 2822-0161 (Print)<br />ISSN 2822-017X (Online)</p> https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLSEd/article/view/3968 ภายใต้ระบอบแห่งภาพลักษณ์และความกลัว: มายาคติเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องเพศในพื้นที่การศึกษาของประเทศไทยและบทบาทที่หล่นหายของโรงเรียนไทยในการเรียนรู้เรื่องเพศ 2023-12-04T10:35:17+07:00 นรุตม์ ศุภวรรธนะกุล [email protected] อัครา เมธาสุข [email protected] <p>เพศศึกษา (Sex Education) และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศในด้านต่าง ๆ ในสังคมไทยเป็นประเด็นใหม่ที่ท้าทายวงการการศึกษาในปัจจุบัน เป้าหมายพื้นฐานของการเรียนรู้เรื่องเพศคือการสร้างเสริมให้ผู้เรียนรับรู้เพื่อเท่าทันเรื่องเพศ มีมุมมองเชิงบวกต่อเรื่องเพศ และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่กลับพบว่าการสื่อสารเรื่องเพศในสังคมไทยเป็นประเด็นที่ถูกจำกัดและหลีกเลี่ยงการสื่อสารในพื้นที่สาธารณะ สถานศึกษาในฐานะ “พื้นที่การเรียนรู้” ยังถูกคาดหวังจากสังคมให้ทำหน้าที่บ่มเพาะผู้เรียนให้เกิดความเข้าใจเรื่องเพศภายใต้กระบวนทัศน์ที่สัมพันธ์กับเรื่องศีลธรรมอันดีงาม ยิ่งไปกว่านั้น ในพื้นที่โรงเรียน การเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศของเยาวชนไทยก็ยังอยู่ในสภาวะ “หลบ ๆ ซ่อน ๆ” มาอย่างยาวนาน </p> <p>บทความวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสหวิทยาการ (Multidisciplinary Research) ผสานกรอบแนวคิดด้านสังคมศาสตร์กับประสาทจิตวิทยาเข้าไว้ด้วยกัน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis) รวมทั้งสำรวจความพึงพอใจและทัศนคติต่อการเรียนรู้เรื่องเพศ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สำรวจมายาคติเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องเพศในโรงเรียนไทย และ 2) ศึกษาผลกระทบของมายาคติเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องเพศที่มีต่อสุขภาวะของครูและนักเรียนในระบบการศึกษาของไทย ทั้งนี้ นักวิจัยใช้แนวคิดเรื่องระบอบแห่งภาพลักษณ์ (Regime of Images) และวัฒนธรรมแห่งความกลัว (Culture of Fear) มาร่วมอธิบายมายาคติเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องเพศในโรงเรียน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนยังเป็นพื้นที่ไม่ปลอดภัยสำหรับการทำความเข้าใจเรื่องเพศสำหรับครูและนักเรียนอย่างถูกต้อง อีกทั้ง การปิดกั้นการเรียนรู้เรื่องเพศซึ่งอาจมีสาเหตุจากความพยายามในการรักษาภาพลักษณ์ของโรงเรียน สามารถส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในโรงเรียน ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้เป็นการส่งสัญญาณถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนทัศนคติและบทบาทของโรงเรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องเพศต่อไป</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLSEd/article/view/3944 อุทยานเมืองเก่าพิจิตร พื้นที่แห่งความทรงจำ 2023-11-27T15:02:33+07:00 วรพล ศิริชื่นวิจิตร [email protected] <p>บทความเรื่อง อุทยานเมืองเก่าพิจิตร พื้นที่แห่งความทรงจำ มุ่งศึกษาประเด็นเกี่ยวกับเรื่องเล่าและการสื่อสารความทรงจำร่วมทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านการสร้างอุทยานเมืองเก่าพิจิตร ที่มีต่อการรับรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร ผ่านการศึกษาและการตีความด้วยระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์ผ่านเอกสารทางประวัติศาสตร์ หนังสืออนุสรณ์จังหวัดพิจิตรที่เขียนโดยส่วนราชการของจังหวัดพิจิตร ตลอดจนเอกสารลายลักษณ์อักษรจำพวกพงศาวดารที่มีการกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของจังหวัดพิจิตร ร่วมกับแนวคิดเรื่องพื้นที่แห่งความทรงจำ (Sites of Memory) โดยปิแอร์ นอร่า (Pierre Nora)</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ความเป็นมาของประวัติศาสตร์เมืองพิจิตร ผ่านเรื่องเล่าของการสร้างเมืองพิจิตร มีส่วนสำคัญในการสื่อสารความทรงจำร่วม ผ่านการสร้างอนุสาวรีย์พ่อปู่พระยาโคตรบอง การจัดประเพณีประจำจังหวัดโดยหน่วยงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร สะท้อนให้เห็นถึงการผลิตซ้ำของการสร้างพื้นที่ความทรงจำของผู้คนในจังหวัดผ่านข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างสำนึกร่วมทางชุมชนที่มีความเป็นมาที่ยาวนาน เพื่อทำให้ผู้คนเกิดสำนึกทางประวัติศาสตร์ของตนเองร่วมกันผ่านพื้นที่ทางกายภาพ</p> <p>ผลการศึกษาทำให้ทราบถึงความเป็นมาของประวัติศาสตร์เมืองพิจิตร เรื่องเล่าของการสร้างเมืองพิจิตร ซึ่งอุทยานเมืองเก่าพิจิตรนี้มีส่วนสำคัญในการกอปรสร้างความทรงจำและเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพิจิตร ผ่านการสร้างอนุสาวรีย์พ่อปู่พระยาโคตรบอง การจัดประเพณีประจำจังหวัดโดยหน่วยงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตรยังสระท้อนให้เห็นถึงการผลิตซ้ำของการสร้างพื้นที่ความทรงจำของผู้คนในจังหวัดผ่านข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างสำนึกร่วมทางชุมชนที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นมาที่ยาวนานของพัฒนาการชุมชน เพื่อโยงใยไปสู่ความสานประโยชน์ และการอยู่ร่วมกันในพื้นที่ดังกล่าว</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLSEd/article/view/3544 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2023-12-21T14:50:52+07:00 พรหมพิริยะ ถ้อยคำ [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา และ 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา 2) แบบประเมินมโนทัศน์ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา มี 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นสำรวจปัญหาผ่านกรณีศึกษา (Survey though Case studies) 2) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา (Empathize) 3) ขั้นตีความปัญหาและระบุความต้องการ (Define) 4) ขั้นระดมความคิด (Brainstorm) 5) ขั้นสร้างตัวแบบ (Prototype) 6) ขั้นทดลองใช้จริง (Test) และ 7) ขั้นประมวลความรู้ (Conclusion) 2) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้พบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับ 31.33 คะแนน หรือระดับดี</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLSEd/article/view/2406 บทบรรณาธิการ 2023-02-07T10:39:32+07:00 ไอยเรศ บุญฤทธิ์ [email protected] 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์