วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLSEd
<p>วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ เป็นวารสารของคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่งานวิชาการของนักวิชาการ ทั้งภายในและภายนอก สนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพเเละมุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางการวิจัย ด้านวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายการเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัย ระหว่างมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายในและภายนอก<br /><br />กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับแรก เดือนมกราคม - มิถุนายน เเละฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม มีกระบวนการประเมินคุณภาพบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้นหรือสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 คน ซึ่งผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (double blinded peer-reviews)</p> <p> </p> <p>ISSN 2822-0161 (Print)<br />ISSN 2822-017X (Online)</p>
th-TH
lsed-jo@lsed.tu.ac.th (Journal Editor)
apichat.ua@lsed.tu.ac.th (Apichat Uansiri)
Tue, 31 Dec 2024 15:44:17 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
บทบรรณาธิการ
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLSEd/article/view/6367
ไอยเรศ บุญฤทธิ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLSEd/article/view/6367
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ชีวิตการเรียนดนตรี ณ สำนัก “บ้านบาตร” ในความทรงจำของครูเยื่อ อุบลน้อย
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLSEd/article/view/4400
<p><span style="font-weight: 400;">กระบวนการเรียนดนตรีของครูเยื่อ อุบลน้อย ในสำนัก “บ้านบาตร” มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) แหล่งเรียนรู้ มี 2 ลักษณะ คือ แหล่งเรียนรู้ที่จัดขึ้น (สำนักดนตรีบ้านบาตร) และแหล่งเรียนรู้ที่เป็นทรัพยากรบุคคล (ครูหลวงประดิษฐไพเราะ) 2) การจัดการเรียนรู้ แบ่งเป็น 3 ส่วนย่อย คือ หลักสูตร (แบบบังคับ และแบบยืดหยุ่น) การจัดการเรียนรู้ (เปิดรับผู้เรียนทั่วไป เน้นการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติในรูปแบบไปกลับและแบบประจำ) และการวัดประเมินผล (ไม่ปรากฎการวัดประเมินผลที่ชัดเจน) และ 3) ผู้เรียน (มักมีทักษะพื้นฐานในการบรรเลงเครื่องดนตรีมาก่อน) อัตลักษณ์ที่มีความโดดเด่นในสำนักดนตรีนี้ คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการคัดเลือกผู้เรียนที่มีศักยภาพดีเยี่ยมมาพัฒนาต่อยอด</span></p>
อัศนีย์ เปลี่ยนศรี
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLSEd/article/view/4400
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การออกแบบการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการมีมเป็นฐานผ่านคลิปวิดีทัศน์บนสื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLSEd/article/view/jlsed2024-2
<p><span style="font-weight: 400;">การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการมีมเป็นฐานผ่านคลิปวิดีทัศน์บนสื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อ 2) ออกแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการมีมเป็นฐานผ่านคลิปวิดีทัศน์บนสื่อออนไลน์ และ 3) ประเมินทักษะการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ห้องเรียน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แผนจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน รวม 15 ชั่วโมง แบบประเมินคุณภาพ และแบบประเมินทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ </span><span style="font-weight: 400;">1) ทักษะการเข้าถึง 2) ทักษะการวิเคราะห์สื่อ 3) ทักษะการประเมินสื่อ 4) ทักษะการสร้างสรรค์สื่อ และ 5) ทักษะการมีส่วนร่วม </span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ผลการศึกษาพบว่า 1. </span><span style="font-size: 0.875rem;">แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการมีมเป็นฐาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การรับสาร 2) การจดจำ 3) การส่งต่อ และ 4) การเผยแพร่ 2. </span><span style="font-weight: 400;">การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการมีมเป็นฐานผ่านคลิปวิดีทัศน์บนสื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อมีคุณภาพระดับมาก (</span><em style="font-size: 0.875rem;"><span>M</span></em><span style="font-weight: 400;"> = 2.96, </span><em style="font-size: 0.875rem;"><span>SD</span></em><span style="font-weight: 400;"> = 0.04) 3. </span><span style="font-size: 0.875rem;">นักเรียนที่เรียนรู้ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้มีระดับทักษะการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับดี (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-weight: 400;"> = 2.96, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-weight: 400;"> = 0.03)</span></p>
ธนาวุฒิ ยลถวิล, ชรินทร์ มั่งคั่ง, วรินทร สิริพงษ์ณภัทร
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLSEd/article/view/jlsed2024-2
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
พฤติกรรมและทัศนคติในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบนําตนเองของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLSEd/article/view/4807
<p><span style="font-weight: 400;">การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบนำตนเองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และ 2) ศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบนำตนเองผ่านโปรแกรมที่กำหนดโดยสถาบันของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาจำนวน 12 คน ตามเกณฑ์การคัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แก่นสาระและการวิเคราะห์แบบนิรนัย</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ผลการวิจัยพบว่า 1. </span><span style="font-size: 0.875rem;">พฤติกรรมและทัศนคติในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบนำตนเองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กลุ่มที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษในระดับต่ำ ไม่พบพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเชิงบวกต่อการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบนำตนเองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ส่วนกลุ่มที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษในระดับสูง พบพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง มีแรงจูงใจและทัศนคติเชิงบวกต่อการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบนำตนเองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 2. </span><span style="font-size: 0.875rem;">พฤติกรรมและทัศนคติในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบนำตนเองผ่านโปรแกรมที่กำหนดโดยสถาบันของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทั้งกลุ่มที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษในระดับต่ำและกลุ่มที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษในระดับสูง ล้วนมีพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเองอย่างเป็นระบบ และมีแรงจูงใจและทัศนคติเชิงบวกต่อการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบนำตนเองผ่านโปรแกรมที่กำหนดโดยสถาบัน</span></p>
กิตติทัต วงษ์พวง
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLSEd/article/view/4807
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การจัดการการศึกษาทางเลือกในชุมชนพื้นที่ห่างไกลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไร้รอยต่อสำหรับผู้เรียนนอกระบบการศึกษา
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLSEd/article/view/5233
<p><span style="font-weight: 400;">งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอุปสรรคในการศึกษาในระบบโรงเรียนของผู้เรียนนอกระบบการศึกษา และ 2) เสนอแนวทางการจัดการการศึกษาทางเลือกในพื้นที่ชุมชนห่างไกลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไร้รอยต่อสำหรับผู้เรียนนอกระบบการศึกษา กลุ่มเป้าหมายงานวิจัย คือ วารสารทั้งในระบบออนไลน์และออฟไลน์ที่ได้จากการคัดเลือกให้เป็นเอกสารชั้นต้นและชั้นรองด้วยการสืบค้นด้วยคำสำคัญ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความเชิงวิเคราะห์ เปรียบเทียบและสังเคราะห์ใจความสำคัญของเนื้อหางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง </span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ผลการวิจัย พบว่า อุปสรรคในการศึกษาในระบบโรงเรียนของผู้เรียนนอกระบบการศึกษา คือ ปัญหาด้านครอบครัวที่มีต้นทุนทางสังคมน้อยและส่วนใหญ่เกิดจากการมีรายได้ต่ำ และ แนวทางการจัดการการศึกษาทางเลือกในพื้นที่ชุมชนห่างไกลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไร้รอยต่อสำหรับผู้เรียนนอกระบบการศึกษาควรใช้นวัตกรรมหน่วยการเรียนเคลื่อนที่ด้วยการการเรียนชุมชนเป็นฐาน โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับลักษณะภูมิวัฒนธรรมของผู้เรียน โดยการกำหนดเนื้อหาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับประสบการณ์ของผู้เรียน </span></p>
ชรินทร์ มั่งคั่ง, วรินทร สิริพงษ์ณภัทร, กันติทัต ง่วนชู, ชัชวาลย์ บุตรทอง
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLSEd/article/view/5233
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700