https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/issue/feed
วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
2024-10-25T16:28:29+07:00
พระนัสชนะ ส่างช้าง, ดร.
d_p212224@hotmail.com
Open Journal Systems
<p>วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี (Journal of Mani Chettha Ram Wat Chommani) <br />เลขมาตรฐาน P-ISSN : 2774-0455 (Print): 2774-0455 (Print) E-ISSN : 2774-0978 (Online)<br />เป็นวารสารในกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ </p> <p> </p>
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5398
การบริหารจัดการวัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา
2024-08-04T08:03:09+07:00
ไชยพร มะลิลา
malilar2517@gmail.com
ละมุน รอดขวัญ
padung.lai@rmutr.ac.th
พิภพ วชังเงิน
padung.lai@rmutr.ac.th
<p>บทความวิชาการนี้เป็นการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการวัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการบริหารจัดการวัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ได้แก่ 1) ศึกษาแนวความคิดวัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) แนวทางการบริหารจัดการวัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งปัจจุบันนี้การบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเตรียมองค์กรเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัล วัฒนธรรมดิจิทัลเป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนผ่านการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ดังนั้น การบริหารจัดการให้คณะครู บุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรเข้าใจวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในโลกดิจิทัล สามารถปรับประยุกต์แนวทางวัฒนธรรมดั่งเดิมขององค์กรบูรณาการเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมแบบดังเดิม สามารถเพิ่มความคล่องตัว ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและเติมโตได้อย่างรวดเร็ว มีค่านิยมร่วม ปรับแนวทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมดิจิทัลและคงไว้ซึ่งค่านิยมที่เป็นตัวตนขององค์กรเป็นสิ่งจำเป็น </p> <p> ผลจากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า แนวความคิดและแนวทางการบริหารจัดการวัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษาควรมีกระบวนการ 4 ขั้นตอนคือ 1.การวางแผน <br />2.การจัดการหน่วยงาน 3. การบังคับบัญชา และ4.การควบคุม โดยมีองค์ประกอบของวัฒนธรรมดิจิทัล คือ 1.การมีค่านิยมทำงานร่วมกัน 2.มีความคล่องตัวทางดิจิทัลพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง 3. พร้อมรับความเสี่ยงทางดิจิทัลและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ 4.การมีกรอบความคิดดิจิทัล 5.การใช้ข้อมูลขับเคลื่อนการดำเนินงาน และ 6.การเน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง </p> <p> หลักการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยมีแนวทางการบริหารจัดการวัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษาดังนี้ 1.กำหนดแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนโดยเปิดพื้นที่ให้บุคลากรกล้าที่จะลงมือทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา 2.ปรับทัศนคติให้เติบโตด้วยกรอบความคิดการเป็นนักเรียนรู้พร้อมที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนาต่อยอดจากโอกาสที่เอื้อต่อการพัฒนางาน 3.กระตุ้นให้เกิดการทำงานเป็นทีม บุคลากรเปิดใจยอมรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ยังคงไว้ซึ่งแนวทางปฏิบัติแบบดังเดิม โดยคำนึงถึงค่านิยมร่วมกับวัฒนธรรมดิจิทัล 4.ส่งเสริมบุคลากรให้มีส่วนแสดงความคิดเห็นสร้างข้อตกลงหรือเงื่อนไขการปฏิบัติงานร่วมกัน 5. ออกแบบระบบการตรวจสอบและกำกับติดตามกระบวนการทำงานชัดเจนทุกขั้นตอนผ่านเทคโนโลยี 6. สร้างนวัตกรรมเพื่อบริการลูกค้าที่สูงกว่ามาตรฐานที่ลูกค้าคาดหวัง 7. มุ่งเน้นลูกค้าปัจจุบันและมองกลุ่มลูกค้าในอนาคต รวมทั้งกำหนดกรอบของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5480
พุทธนวัตกรรมและการวิจัยข้ามศาสตร์
2024-08-19T21:40:48+07:00
พระวัชรินทร์ วชิรวํโส (ชุมจีน)
vios00700@gmail.com
พระครูบวรชัยวัตร
vios00700@gmail.com
พระครูศรีรัตนาภิรมย์
vios00700@gmail.com
พระครูสมุห์ ดิเรกฤทธิ์ ธีรปญฺโญ
vios00700@gmail.com
<p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องพุทธนวัตกรรมและการวิจัยข้ามศาสตร์ ซึ่งมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการค้นพบและการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีการนำไปใช้ในสาขาศาสนาพุทธศาสนา การวิจัยในมุมมองข้ามศาสตร์นี้มุ่งเน้นที่จะเชื่อมโยงระหว่างความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศาสนาเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้นเกี่ยวกับพุทธศาสนาและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง การประยุกต์วิจัยข้ามศาสตร์ในสาขาของพุทธศาสนามีความหลากหลายมาก โดยมุ่งเน้นการผสมผสานความรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ เข้ากับปรัชญาและศาสนาพุทธศาสนา เพื่อเข้าใจและปรับใช้ในทางปฏิบัติชีวิตและสังคมได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่นการใช้ทฤษฎีจิตวิทยาเข้ากับการสอนวิปัสสนาของพระพุทธเจ้า หรือการศึกษาปรัชญาเศรษฐศาสตร์เพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาทางสังคมในแง่ของความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกัน วิจัยทางศาสตร์ประยุกต์ใช้ในพุทธศาสนามีการศึกษาต่าง ๆ เช่น การศึกษาประสบการณ์การทำสมาธิและผลกระทบต่อสุขภาพจิตของบุคคล หรือการใช้ทฤษฎีการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ปรัชญาพุทธในสังคม พุทธนวัตกรรมและการวิจัยข้ามศาสตร์" เน้นที่การผสมผสานระหว่างพุทธศาสนาและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในด้านต่าง ๆ ของทั้งสองศาสนานี้ บทความนี้มุ่งเน้นการหาความรู้ใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพในการส่งเสริมคุณค่าและประโยชน์ของพุทธศาสนาในทางที่ต่าง ๆ และให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับพุทธศาสนาเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งและมีคุณค่าในการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษยชาติ</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5500
การบริหารเชิงกลยุทธ์ตามแนวคิดบาลานซ์สคอร์การ์ดสู่การปฏิบัติ ในการบริหารสถานศึกษา
2024-08-21T19:15:01+07:00
อภิชัย เสนาโยธี
siwakornin@gmail.com
พระมหาพิสิฐ วิสิฏฐปญโญ
siwakornin@gmail.com
พระฮอนด้า วาทสทฺโท
siwakornin@gmail.com
ประจิตร มหาหิง
siwakornin@gmail.com
ศิวกร อินภูษา
siwakornin@gmail.com
<p>การบริหารเชิงกลยุทธ์ตามแนวคิดบาลานซ์สคอร์การ์ดเป็นเครื่องมือการบริหารที่พัฒนาโดยศาสตราจารย์โรเบิร์ต แคปแลน และ ดร.เดวิด นอร์ตัน ในปี 1990 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกรอบการวัดผลที่ครอบคลุมการดำเนินงานขององค์กรในหลายมิติ ทั้งด้านกลยุทธ์และการปฏิบัติจริง บาลานซ์สคอร์การ์ดประกอบด้วย 4 มุมมองหลัก ได้แก่ <br />1) มุมมองด้านการเงิน มุ่งเน้นการสร้างผลตอบแทนทางการเงินและการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 2) มุมมองด้านลูกค้า เน้นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและตอบสนองความต้องการ 3) มุมมองด้านกระบวนการภายใน มุ่งพัฒนากระบวนการภายในเพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า และ 4) มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา เน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและระบบสารสนเทศ การนำบาลานซ์สคอร์การ์ดไปใช้ในองค์กรประกอบด้วยการวิเคราะห์กลยุทธ์ การกำหนดวัตถุประสงค์และตัวชี้วัด การติดตามและประเมินผล รวมถึงการปรับปรุงกลยุทธ์ตามผลการประเมิน ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถติดตามความก้าวหน้า วิเคราะห์ปัญหา และปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยรวมแล้ว บาลานซ์สคอร์การ์ดช่วยเสริมสร้างระบบการบริหารภายในองค์กรให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืน โดยการประเมินผลที่ครอบคลุมหลายมุมมอง ทำให้องค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผลและยั่งยืนในระยะยาว </p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5502
การบูรณาการความเชื่อมโยงแนวปฏิบัติระหว่างหลักสัปปุริสธรรม กับการบริหารการจัดการอาชีวศึกษา
2024-08-21T19:16:17+07:00
ศิวกร อินภูษา
siwakornin@gmail.com
พระมหาพิสิฐ วิสิฎฺฐปญฺโญ
siwakornin@gmail.com
พระฮอนด้า วาทสทฺโท
siwakornin@gmail.com
ประจิตร มหาหิง
siwakornin@gmail.com
ยิ่งสรรค์ หาพา
siwakornin@gmail.com
<p>การบริหารจัดการสถานศึกษาการอาชีวศึกษากับการผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติ ผ่านการผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน การจัดการอาชีวศึกษาเน้นการจัดการเรียนรู้ที่มีการปฏิบัติจริงหรือการศึกษาระบบทวิภาคี สนับสนุนให้สถานประกอบการเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา ช่วยให้ผู้เรียนมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีทักษะฝีมือที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ และสามารถทำงานได้จริง การบูรณาการ คือการนำส่วนย่อยที่สัมพันธ์กันมาผสมผสานเป็นองค์รวมเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ หลักพุทธธรรมเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก โดยการบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ทำได้สองวิธี: พุทธวิทยา ใช้พระพุทธศาสนาเป็นฐานและเสริมด้วยศาสตร์สมัยใหม่ และธรรมวิทยา ใช้ศาสตร์สมัยใหม่เป็นฐานและเสริมด้วยหลักธรรม การบริหารเป็นการใช้ศาสตร์และศิลปะเพื่อจัดการทรัพยากรและประสานงานบุคลากรให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ การบูรณาการความเชื่อมโยงแนวปฏิบัติระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับการบริหารการจัดการอาชีวศึกษา ได้แก่ 1) ธัมมัญญุตา: รู้หลักการและแนวทางการจัดการ 2) อัตถัญญุตา: วางแผนและกำหนดเป้าหมายชัดเจน 3) อัตตัญญุตา: เข้าใจความสามารถและข้อจำกัดของตน 4) มัตตัญญุตา: ใช้ทรัพยากรและงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ 5) กาลัญญุตา: จัดการเวลาอย่างเหมาะสม 6) ปริสัญญุตา: เข้าใจและประสานงานกับชุมชน และ 7) ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา: เข้าใจและพัฒนาบุคลากร การใช้หลักธรรมเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างการบริหารจัดการอาชีวศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและสังคมได้อย่างเหมาะสม</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5558
การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการบริหารการศึกษา
2024-08-30T18:53:58+07:00
อาทิฐยา วรนิตย์
tanaporn_10320@nmc.ac.th
ธนภรณ์ แซ่ลิ่ม
aiw2507@gmail.com
วิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม
aiw2507@gmail.com
วิรพจน์ โคกเกษม
aiw2507@gmail.com
นัสชนะ ส่างช้าง
aiw2507@gmail.com
<p>บทความวิชาการเรื่องการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารการศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมรวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับการประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารการศึกษา โดยได้นำเนื้อหาจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่มีความน่าเชื่อถือมาทำการวิเคราะห์ ให้เหตุผล และเขียนสรุปเชิงวิชาการ</p> <p>จากการรวบรวมข้อมูลแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารทางวิชาการต่างๆ จึงสรุปได้ว่า การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการบริหารการศึกษานั้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 1) การบริหารงานวิชาการ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดย การวางแผนงานด้านวิชาการ การนิเทศการศึกษา การนิเทศการศึกษา การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ 2) การบริหารงานงบประมาณ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยการจัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายเงิน การอนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับจัดสรร การตรวจสอบ ติดตามและรายงานการใช้งบประมาณ การตรวจสอบ ติดตามและรายงานการใช้งบประมาณ การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา 3) การบริหารงานบุคคล สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา การส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ การส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการส่งเสริมวินัย คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ 4) การบริหารงานทั่วไป สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยการดูแลอาคารสถานที่และสภาพ แวดล้อม การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม การส่งเสริม สนับสนุนและประสานการจัดการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กร หน่วยงานและสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา การส่งเสริม สนับสนุนและประสานการจัดการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กร หน่วยงานและสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา และการส่งเสริมงานกิจการนักเรียน การส่งเสริมงานกิจการนักเรียน </p> <p>ซึ่งในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา จะส่งผลให้การบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นไปอย่างมีระบบ เกิดการพัฒนาทั้งด้านระบบงาน พัฒนาบุคลากร และนักเรียนนักศึกษาให้ดำเนินไปในทางสายกลาง บรรลุตามวัตถุประสงค์ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติต่อไป</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5438
การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศของสถานศึกษา ในพื้นที่การนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
2024-08-14T18:12:17+07:00
ไชยฉัตร โรจน์พลทามล
chaiyachat.roj@rmutr.ac.th
สมใจ สืบเสาะ
chaiyachat.mbot@gmail.com
จิรศักดิ์ สุรังคพิพรรธน์
chaiyachat.roj@rmutr.ac.th
<p>การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศของสถานศึกษา คือ การแสวงหาหนทางที่มุ่งแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่เจาะจงไปที่โรงเรียนโดยเฉพาะ เพราะจากอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยองสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ จึงเกิดแนวคิดเมืองสุขภาวะแห่งการเรียนรู้ มุ่งแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศของสถานศึกษา ในพื้นที่การนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ด้วยวิธีการที่มีคุณภาพและเป็นไปตามหลักสากล ผ่านการจัดทำนโยบาย ออกกฎหมาย การควบคุม การติดตามและให้ความร่วมมือภาคสังคม</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5568
ขบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักไตรสิกขาโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญในประเทศไทย
2024-09-04T13:09:58+07:00
พนัด ด้วงติลี
drpanut@gamial.com
อนุชา ครูทำนา
drpanut@gamial.com
ชาตรี รุ่งดำรงค์
drpanut@gamial.com
ละม้าย ด้วงติลี
drpanut@gamial.com
สิริณัฏฐ์ อัคคีเจริญ
drpanut@gamial.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอขบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 เป็นทักษะขบวนจัดการศึกษาที่ทำให้พระภิกษุสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สามารถดำรงตนในสถานการณ์โลกแห่งศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงเติบโตทั้งโลกแห่งความเป็นจริงและโลกเสมือนจริงในสังคมออนไลน์ ดังนั้น ขบวนการในการจัดการศึกษาพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ถือว่าเป็นกลไกสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของบุคคลว่ามีความพร้อมในการเข้าสู่สังคมสากล โดยสะท้อนให้เห็นว่าขบวนการในการจัดการเรียนรู้โดยหลักไตรสิกขาเป็นการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกับสิ่งที่เรียนจริง ๆ แล้วพิจารณาให้เห็นประโยชน์คุณโทษตามความเป็นจริงด้วยตนเอง แล้วนำความรู้นั้นมาปฏิบัติตามอย่างจริงจัง ในขบวนการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบนั้นหมายถึง ครูผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกระบวนการที่ให้ผู้เรียน ซึ่งหมายถึงพระภิกษุ สามเณร ปฏิบัติจริงตามหลักไตรสิกขา (1) ขั้นศีล ให้ผู้เรียนเลือกกระทำถูกหรือผิดในการสนองตอบสถานการณ์ที่ผู้สอนให้ในขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับหลักปฏิบัติที่เรียกว่า “ศีลสิกขา” เป็นการควบคุมตนเองให้อยู่ในความถูกต้องทางกาย วาจา (2) ขั้นกำหนดสมาธิ เป็นการฝึกสมาธิขั้นต้น ในการควบคุมสติให้ระลึกรู้อยู่กับลมหายใจ เพื่อระลึกรู้แน่วแน่ที่จุดเดียว ในขั้นตอนนี้จะเรียกเกี่ยวข้องกับหลักปฏิบัติที่ว่า “จิตสิกขา” และ (3) ขั้นพิจารณาปัญญา เป็นขั้นสุดท้ายหลังจากการฝึกสมาธิระยะหนึ่งจนสามารถระลึกรู้ พิจารณา แน่วแน่ด้วยสติปัญญาว่าการกระทำผิดหรือถูก สามารถเลือกปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ในขั้นนี้เรียกว่า “ปัญญาสิกขา” เป็นการนำเสนอในลักษณะวงกลมในการสร้างความท้าทายใหม่ให้แก่นักเรียนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้และแสดงสมรรถภาพตามมาตรฐานหลักทางวิชาการ</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5560
การบริหารกิจการบริการสาธารณะในบริบทของภาคีเครือข่าย: กลยุทธ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2024-09-10T19:45:39+07:00
สรัญพัทธ์ เอี๊ยวเจริญ
aa.saranpat@gmail.com
กุลสกาวว์ เลาหสถิตย์
aa.saranpat@gmail.com
สงคราม สมณวัฒนา
aa.saranpat@gmail.com
<p>บทความนี้มีความมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การบริหารกิจการบริการสาธารณะภายใต้บทบาทภาคีเครือข่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลยุทธ์และความร่วมมือกันของภาคีเครือข่ายควรเริ่มตั้งแต่การวางแผน การพัฒนาความสัมพันธ์ การจัดการทรัพยากร การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การเสริมสร้างการมีส่วนร่วม และการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการประเมินผลลัพธ์ในการบริหารกิจการบริการสาธารณะร่วมกับภาคีเครือข่ายจะช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดบริการที่มีคุณภาพสูงและพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืน การใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายและการสร้างความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างความสำเร็จในการบริหารกิจการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น</p> <p> </p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5677
การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในยุคดิจิทัล
2024-09-13T07:46:01+07:00
ณัฏฐกิตติ์ พาสภาการ
natthakit.pass@rmutr.ac.th
วรรณรี ปานศิริ
Natthakitpass@rmutr.ac.th
อุษา งานมีศรี
Natthakitpass@rmutr.ac.th
<p>ในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด ส่งผลกระทบให้ทุกหน่วยงานต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงนี้ทางด้านการศึกษาก็เช่นกันที่ต้องรับมือ และมีการจัดการระบบทางการศึกษาให้ก้าวทันยุคดิจิทัล การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในยุคดิจิทัลเป็นประเด็นที่มีความสำคัญและท้าทายอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 21 การศึกษาครั้งนี้มุ่งนำเสนอภาพรวมของการเปลี่ยนแปลง ความท้าทาย และแนวทางในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ผลการศึกษาพบว่า การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนในหลายมิติ ได้แก่ (1) การปรับรูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การเรียนแบบผสมผสานและหลักสูตรออนไลน์แบบเปิด (2) การพัฒนาทักษะดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนและบุคลากรทางการศึกษา (3) การปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในยุคดิจิทัล (4) การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (5) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนในรูปแบบดิจิทัล และ (6) การส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา และพบความท้าทายสำคัญของการศึกษาในยุคดิจิทัล ได้แก่ การรับมือกับความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล การรักษาสมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยีและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ท่ามกลางข้อมูลที่ท่วมท้น สรุปผลการศึกษาได้ว่า การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในยุคดิจิทัลต้องอาศัยการบูรณาการเทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด การพัฒนาทักษะที่จำเป็น และการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและตอบสนองความต้องการของสังคมในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5708
การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล
2024-09-16T08:54:29+07:00
ธัญญภัสร์ วีรลักษมีภรณ์
suebsiri.sup@outlook.rmutr.ac.th
จิรศักดิ์ สุรังคพิพรรธน์
suebsiri.sup@rmutr.ac.th
ทนง ทองภูเศร์
suebsiri.sup@rmutr.ac.th
<p>การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลเป็นความท้าทายอย่างยิ่งเพราะผู้บริหารต้องเผชิญกับการการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงมีความสำคัญที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องพัฒนาทักษะและความสามารถเพื่อนำพาองค์กรให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง บทความนี้มุ่งนำเสนอแนวทางการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องพัฒนา 5 ประเด็น ได้แก่ (1) ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (2) วัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อนวัตกรรม (3) โครงสร้างข้อมูลและข่าวสาร (4) กลยุทธ์ในการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล และ( 5 ) การประชุมเครือข่ายความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ</p> <p> สรุปผลการศึกษาได้ว่า การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยี รู้เท่าทันโลกไซเบอร์ ความปลอดภัยในเทคโนโลยี การพัฒนาทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัล</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5674
แนวทางการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดในจังหวัดเพชรบุรี: การวิเคราะห์เชิงนโยบายและการปฏิบัติการ
2024-09-13T07:28:53+07:00
ไพโรจน์ เจริญยิ่ง
pairod.jar@rmutr.ac.th
วรสิทธิ์ เจริญพุฒ
pairod.jar@rmutr.ac.th
ไกร บุญบันดาล
pairod.jar@rmutr.ac.th
<p>บทความนี้มีความประสงค์จะวิพากษ์แนวทางการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดในจังหวัดเพชรบุรี จากการวิเคราะห์นโยบายและการปฏิบัติการของรัฐบาลนับเนื่องจากรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร จนถึงรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากการกำหนดนโยบายการนำนโยบายไปปฏิบัติการประเมินผลนโยบายรวมถึงการปฏิบัติการในสามนโยบายหลักนโยบายการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด นโยบายการปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดและนโยบายบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติด ของจังหวัดเพชรบุรี แนวทางการจัดการการแพร่ระบาดของยาเสพติดที่เหมาะสมประกอบด้วย มาตรการ การสร้างสถาบันที่ควบคุมกำกับการใช้สารเสพติดและทีมงานที่เพียงพอให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ปฏิบัติและงบประมาณทั่วประเทศ พร้อมกับมีงานวิจัยและหน่วยงานวิจัยด้านยาเสพติดในทุกด้านที่เกี่ยวข้องและที่สำคัญที่สุดการบังคับใช้กฎหมายที่เที่ยงธรรมและเสมอภาค โดยทำการควบคุมและนำเสนอผลร้ายของยาเสพติดอย่างสร้างสรรค์และต่อเนื่อง ทำการควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดด้วยการยกระดับการแก้ปัญหาความยากจน ทำลายแหล่งผลิตสารเสพติดภายในจังหวัดเพชรบุรีให้หมดสิ้น และทำการยึดทรัพย์ของผู้ผลิตยาเสพติดและผู้จำหน่ายมาเป็นสมบัติของแผ่นดินและรณรงค์การต่อต้านการแพร่ระบาดของยาเสพติดยาต่อเนื่องจากนโยบายการป้องกันการแพร่ระบาดของจังหวัด จัดการให้ความรู้ต่อเยาวชนในการป้องกันภัยจากสารเสพติดอย่างต่อเนื่อง จัดให้มีสื่อในการชี้นำให้ต่อต้านภัยจากสารเสพติดในเชิงบูรณาการทำการปรับปรุงเทคโนโลยีในการควบคุมยาเสพติดอย่างสม่ำเสมอ </p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5667
การสอนของครูในศตวรรษที่ 21 : ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
2024-09-11T12:01:21+07:00
พนิตพิชาภัสส์ พินทะภูวงศ์
mahacee1994@gmail.com
นภาภรณ์ ธัญญา
Panitpichapass@gmail.com
<p>ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน การศึกษาจึงต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบุคลากรทางพระพุทธศาสนา ก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบันเช่นกัน บทความนี้จะกล่าวถึงบทบาทของครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา รวมถึงแนวทางการพัฒนาการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ให้มีความรู้ ความสามารถ และ ทักษะของครูที่สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางหรือเป้าหมาย และการสะท้อนตัวตนของครูผู้สอนว่ามีความสามารถการจัดการห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ การสอนที่มีประสิทธิภาพ การประเมินที่มีประสิทธิภาพ และทักษะด้านเทคโนโลยี ความสามารถการจัดการห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งครูในศตวรรษที่ 21 ภายในสังกัดโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ต้องสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การที่ครูทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ สนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ ใช้เทคโนโลยีมาเป็นแรงกระตุ้น สรรหาเทคนิคการสอนแบบใหม่โดยสอดคล้องกับความจำเป็นเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่ทันสมัย มนุษย์ในยุคใหม่ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลาครูจะต้องฝึกนิสัยให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ปรับเปลี่ยนความคิดได้ง่าย มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสอนวิธีเรียนมากกว่าสอนเนื้อหา เพราะเนื้อหาในยุคสมัยนี้มากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้อย่างพอเพียงมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5409
ANALYSIS OF CLASSICAL MUSIC PROMOTION MODELS
2024-08-05T21:17:17+07:00
Kunjin He
s63584947009@ssru.ac.th
Chutima Maneewattana
chutima.ma@ssru.ac.th
Xiulei Ren Ren
845298386@qq.com
<p>This study aims to explore how to cultivate music students' listening and appreciation habits for classical music through structured experimental interventions. The research employs a methodology that involves organizing regular listening and appreciation activities, designed to enhance students' interest in classical music. The primary research instruments include a series of curated listening sessions, surveys to assess changes in students' attitudes and habits, and observational analysis during the interventions. Sound level collection is a crucial concept in music theory, emphasizing the organization of scales and intervals to form the overall structure of a musical composition. Classical music, with its deep cultural and historical roots, remains a cornerstone of musical art. However, its prominence has been increasingly challenged by the rise of diverse music genres such as pop and electronic music. The attitudes and listening habits of music majors play a vital role in the preservation and continued development of classical music. Data analysis was conducted by comparing pre- and post-intervention survey results and observational data, revealing significant improvements in students' engagement and appreciation of classical music.</p> <p> The findings suggest that these experimental interventions effectively foster positive listening habits among music students, contributing to the preservation and promotion of classical music in a contemporary context.</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5410
SOUND LEVEL COLLECTION : RESEARCH ON THE CREATION TECHNIQUES OF MA JIANPING ORCHESTRAL WORK BAI GUANG
2024-08-05T21:30:12+07:00
Jishu Zhou
s64584947027@ssru.ac.th
Nataporn Rattachaiwong
qjm13605178317@163.com
Jianming Qian
qjm13605178317@163.com
<p>This research objective explores Ma Jianping's creative techniques in his orchestral work “White Light,” focusing on sound level collection a key concept in music theory for organizing scales and intervals. The study provides an in-depth analysis of how this technique shapes the structural integrity of the piece, while also revealing the unique musical characteristics and connotations of "White Light." By integrating traditional composition methods with modern music ideas, this research offers new insights into music theory, aiming to benefit future composers and educators. The study also highlights Ma Jianping's innovative influence on contemporary orchestral music in China, demonstrating the significance of sound level collection in modern composition.</p> <p> </p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5414
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคปกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3
2024-08-07T08:33:40+07:00
จิรนันท์ ช่วยสงค์
janjiranan20@gmail.com
สายัณห์ ผาน้อย
Janjiranan20@gmail.com
อำนาจ ชนะวงศ์
Janjiranan20@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคปกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยศึกษาจากผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 121 คน และครูจำนวน 198 คน รวมจำนวน 319 คน จากโรงเรียน 117 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลจากการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำในยุคปกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก (<strong> </strong>= 3.10) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (<strong> </strong>= 3.40) สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำยุคปกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (<strong> </strong>= 4.96) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการปรับรูปแบบการเรียนการสอน (<strong> </strong>= 4.98) และลำดับความต้องการจำเป็น ในการพัฒนาภาวะผู้นำยุคปกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการปรับรูปแบบการเรียนการสอน ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการมีความยืดหยุ่น ด้านการมีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี และด้านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคปกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 มีจำนวน 17 แนวทาง มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคปกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.97 และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 ตามลำดับ<strong> </strong></p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5429
ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาสุรินทร์
2024-08-09T07:29:33+07:00
รัฐพล กระแสโท
mahacee1994@gmail.com
ประภาพร บุญปลอด
Rattaphon127@gmail.com
ทรงเดช สอนใจ
Rattaphon127@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ จำนวน 70 โรงเรียน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยเก็บข้อมูลจากผู้อำนวยการโรงเรียนและหัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 โดยค่าความเชื่อมั่นภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.98 และค่าความเชื่อมั่นการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก</li> <li>การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก</li> <li>ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = 0.723</li> <li>ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู ได้ร้อยละ 52.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน </li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5415
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 2
2024-08-07T08:35:28+07:00
สาลินี ผิวนวล
sanooke16@gmail.com
สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี
sanooke16@gmail.com
ทิพมาศ เศวตวรโชติ
sanooke16@gmail.com
<p><strong> </strong>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาร 2) ศึกษาระดับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 4) ศึกษาตัวแปรพยากรณ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษา จำนวน 311 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ</p> <p><strong><em> </em></strong></p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <ol> <li>ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาร พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>ระดับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .001</li> <li>ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาร ที่ใช้ในการพยากรณ์การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา คือ ด้านกำหนดทิศทางกลยุทธ์ขององค์การ ด้านความคิดสร้างสรรค์ และด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ สามารถร่วมกันทำนายการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ได้ร้อยละ 34.9 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ = 1.893 + 0.123(X<sub>1</sub>) + 0.222(X<sub>2</sub>) + 0.124(X<sub>4</sub>) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ =0.205(X<sub>1</sub>) + 0.378(X<sub>2</sub>) + 0.241(X<sub>4</sub>)</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5427
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและสมรรถนะของปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชลบุรี
2024-08-09T07:28:17+07:00
นำชัยชนะ ดีวิ
tanaporn_10320@nmc.ac.th
กานดา ผรณเกียรติ์
nongpot10@gmail.com
เบญยาศิริ งามสอาด
nongpot10@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบล 2) วิเคราะห์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและสมรรถนะของปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชลบุรี และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชลบุรี เป็นวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล ฝ่ายนิติบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบล และพนักงานส่วนตำบล จำนวน 2,289 คน นำมาคำนวณขนาดกลุ่มวิตัวอย่างการโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 340 คน เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ นำไปหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ .93 .90 และ .94 และนำข้อมูลคุณภาพมาวิเคราะห์สรุปความตามเนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย ระดับภาวะผู้การเปลี่ยนแปลง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัย 4 ด้านได้แก่ ด้านการบริหารตนเอง ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการสื่อสาร ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 71.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชลบุรี ต้องดำเนินการดังนี้ ด้านการบริหารตนเอง ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลควรวิเคราะห์ตนเองว่ามีจุดเด่น จุด ด้อยในเรื่องใด ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ควรหลีกเลี่ยงที่จะใช้อำนาจ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ควรเป็นผู้ที่ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาในการทำงานโดยใช้เหตุผลและข้อมูลหลักฐาน และด้านการสื่อสารผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ควรเลือกและใช้สื่อ และเทคนิควิธีการ ในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5426
STRATEGIES FOR ENHANCING THE CAPABILITY OF EXPORTERS FROM THAILAND TO SOUTH KOREA
2024-08-09T07:26:42+07:00
Supitchaya Lee
supitchaya913@gmail.com
Wipat Mankan
supitchaya913@gmail.com
Pensri Chirinang
supitchaya913@gmail.com
Voradej Chandarasorn
supitchaya913@gmail.com
<p>This research aims to 1) study the capability of exporters to export products from Thailand to South Korea, and 2) study the strategies that affect the ability of exporters to export products from Thailand to South Korea. This research is quantitative. Data were collected using a questionnaire from 351 Thai exporters who exported products from Thailand to South Korea. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson's product-moment correlation coefficient, and multiple regression. </p> <p>The results found that 1) The overall capability of exporters is at the highest level; 2) Strategies that affect the capability of exporters include supporting SMEs (X4), reducing trade barriers (X5), promoting education and workforce development (X7), promoting investment (X8), using e-commerce platforms (X10), and cooperating in research and development (X11). These strategies can predict 54.1 percent of the capability of exporters. The forecasting equation for the capability of exporter (Y<sub>β</sub>) is as follows: Y<sub>β</sub> = .106(X4) + .359(X5) + .352(X7) + .489(X8) + .438(X10) +.189(X11).</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5421
แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตร่อนพิบูลย์ – จุฬาภรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครศรีธรรมราช
2024-08-09T07:24:58+07:00
วิชัยรัตน์ ทองทิพย์
wissarut2566@gmail.com
สันติ อุนจะนำ
beerthongtip@gmail.com
ทิพมาศ เศวตวรโชติ
beerthongtip@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในสหวิทยาเขตร่อนพิบูลย์ – จุฬาภรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในสหวิทยาเขตร่อนพิบูลย์ – จุฬาภรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในสหวิทยาเขตร่อนพิบูลย์ – จุฬาภรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ประชากร ได้แก่ ครูในสหวิทยาเขตร่อนพิบูลย์- จุฬาภรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 203 คน กลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcic and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 136 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตร่อนพิบูลย์ – จุฬาภรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</li> <li>สภาพปัญหา อุปสรรค และแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรควรเอาใจใส่ดูแล อบรมบุคลากร ไม่ควรปล่อยปละ ละเลยจนทำให้เกิดความเสียหาย ควรมีเมตตากับบุคลากรผู้ประสบปัญหาเป็นทุกข์ด้านจิตใจ เมื่อเข้าไปหาปรึกษาปัญหาแล้วทำให้เกิดความสุขใจ และควรมีเมตตาอบรมสั่งสอนเพื่อให้เกิดความสามัคคีร่วมกันบริหารงานของโรงเรียน </li> <li>แนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนควรอธิบายข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ด้วยความสุภาพ แสดงความเป็นกัลยาณมิตรอยู่เสมอ และควรหยิบยื่นความรักให้กับคนในองค์กรเสมอหน้ากันนั้น <br />จะทำให้บุคลากรเกิดความศรัทธาเชื่อมั่นในตัวผู้บริหารผู้บริหารคิดนโยบายอะไรออกมาบุคลากรที่ได้รับความรักความเมตตาจะร่วมกันสานฝันเต็มที่ ร่วมด้วยช่วยกัน</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5464
การวางแผนยุทธศาสตร์และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
2024-08-15T15:46:49+07:00
รัชพงศ์ ชูแก้ว
tanaporn_10320@nmc.ac.th
กานดา ผรณเกียรติ์
Bsganuwat@montfort.ac.th
เบญยาศิริ งามสอาด
Bsganuwat@montfort.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา 2) วิเคราะห์การวางแผนยุทธศาสตร์และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนยุทธศาสตร์ของกลิกแมนกอร์ดอน และรอสกอร์ดอน การมีส่วนร่วมของประชาชนของ<strong> </strong>Cohen and Upholf ประสิทธิผลของการบริหารจัดการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น<strong> </strong>ประเภทของการวิจัยเป็นระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสานวิธี ประชากร คือ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดสงขลา จำนวน 996,055 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีภูมิลำเนาใน จังหวัดสงขลา จำนวน 333 คน โดยได้มาจากวิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของเครชซี่และมอร์แกนและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิโดยอาศัยสัดส่วน<strong> </strong>ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงของอำเภอในจังหวัดสงขลา จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เป็นชนิดการสัมภาษณ์เจาะลึก สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ<strong> </strong></p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>1. ระดับระดับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก</li> <li>2. การวางแผนยุทธศาสตร์และการมีส่วนร่วมของประชาชนมีผลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้ร้อยละ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ประกอบด้วยด้านสาธารณูปโภคชุมชน ด้านการประกอบอาชีพและด้านเศรษฐกิจของชุมชนด้วย ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยควรจัดให้มีอาสาสมัคร เวรยาม ด้านการบริการสาธารณสุขชุมชน และด้านพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5467
ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสกลนคร
2024-08-15T15:48:44+07:00
สันติ ไชยยศ
tanaporn_10320@nmc.ac.th
กานดา ผรณเกียรติ์
krubow10320@gmail.com
เบญยาศิริ งามสอาด
krubow10320@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร ประชากร คือ บุคลากรขององค์บริหารส่วนตำบล จำนวน 3,499 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ การวิจัย เชิงปริมาณ คือ บุคลากรขององค์บริหารส่วนตำบล จำนวน 347 คน โดยได้มาจากวิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของเครชซี่และมอร์แกนและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ นายอำเภอในจังหวัดสกลนคร ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่<strong> </strong>ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong> </strong></p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ระดับประสิทธิผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร<strong> </strong>โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก</li> <li>วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร พบว่า ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 73.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <strong>.</strong>05</li> <li>3<strong>. </strong>แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร ต้องดำเนินการดังนี้<strong> </strong>ด้านการจัดหาและการจัดสรรทรัพยากร ผู้บริหารควรมีการลงทุนในกิจกรรมต่างๆ<strong> </strong>เพื่อการจัดหาทรัพยากร ด้านกระบวนการภายใน ผู้บริหารควรมีการแปลงแผนการดำเนินงานไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านผลลัพธ์การดำเนินการ ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงาน นอกเหนือจากที่ระบุในระเบียบข้อบังคับตามกฎหมาย และด้านการพัฒนาองค์การ ผู้บริหารควรการจัดโครงสร้างขององค์การเอื้อต่อการบริหารงาน</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5468
แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการนิเทศภายในแบบชี้แนะในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
2024-08-15T17:27:37+07:00
นนธิศักดิ์ หนักไหล่
mahacee1994@gmail.com
ทรงเดช สอนใจ
nonnontisak@gmail.com
ประภาพร บุญปลอด
nonnontisak@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในแบบชี้แนะในสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการนิเทศภายในแบบชี้แนะในสถานศึกษา และ 3) เพื่อประเมินแนวทางแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการนิเทศภายในแบบชี้แนะในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวนรวม 288 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากตามจำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่าง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 ท่าน โดยใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ระดับสภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในแบบชี้แนะในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสง์ของการนิเทศภายในแบบชี้แนะในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในแบบชี้แนะในสถานศึกษา พบว่าด้านวางแผนปฏิบัติการชี้แนะ มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด รองลงมาคือการเตรียมการก่อนชี้แนะ ส่วนการสะท้อนผล ติดตามผลและการประเมินผลการชี้แนะ มีค่าความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด</li> <li>แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการนิเทศภายในแบบชี้แนะในสถานศึกษา ที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 ท่าน ภายใต้องค์ประกอบของกระบวนการนิเทศภายในแบบชี้แนะ 4 กระบวนการ สรุปได้แนวทางการพัฒนา 37 แนวทาง</li> <li>ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการนิเทศภายในแบบชี้แนะในสถานศึกษา พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5474
การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์
2024-08-16T14:56:25+07:00
โสภาพันธ์ บุญรอด
czzie19@gmail.com
ธัญเทพ สิทธิเสือ
krunoi77@gmail.com
วสันต์ชัย กากแก้ว
krunoi77@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา (2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์การบริหารสถานศึกษา และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 136 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.987 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย <br />ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรใช้สถิติการวิเคราะห์ การทดสอบค่าเอฟ และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ และหาแนวทางการพัฒนาโดยใช้กระบวนการสนทนากลุ่ม</p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมเชิงนวัตกรรม</li> <li>การเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ จำแนกตามประสบการณ์การบริหารสถานศึกษา พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์การบริหารแตกต่างกันมีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม 2) ด้านความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 3) ด้านการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม 4) ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมนวัตกรรม และ 5) ด้านการบริหารความเสี่ยงเชิงนวัตกรรม</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5476
แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
2024-08-16T17:32:50+07:00
สิราภรณ์ สาคร
czzie19@gmail.com
ทรงเดช สอนใจ
siriporn.keawwan@gmail.com
ศุภธนกฤษ ยอดสละ
siriporn.keawwan@gmail.com
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับสภาพปัจจุบันการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 <br />(2) เปรียบเทียบการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในสถานศึกษา ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม ด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ด้านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการ ด้านการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามระหว่าง .69 - .88 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบรายคู่โดยวิธี LSD</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>การจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>ผลเปรียบเทียบการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน</li> <li>แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ทั้ง 6 ด้าน มี 17 แนวทาง</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5479
ภาวะผู้นำและคุณลักษณะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
2024-08-19T21:37:55+07:00
สมประสงค์ ปัญจะลักษณ์
tanaporn_10320@nmc.ac.th
นิเทศ ตินณะกุล
beycwrrncanthrsaengsi@gmail.com
เบญยาศิริ งามสอาด
beycwrrncanthrsaengsi@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลในการบริหารงาน 2) วิเคราะห์ภาวะผู้นำและคุณลักษณะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผล และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฏร์ธานี กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำของ House คุณลักษณะผู้นำของ สตอกดิลล์ ประสิทธิผลในการบริหารงานของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประเภทของการวิจัยเป็นระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสาน ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์บริหารส่วนตำบลจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 347,731 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์บริหารส่วนตำบลจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 384 คน โดยได้มาจากวิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และใช้แผนการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงในระดับอำเภอในจังหวัดสุราษฏร์ธานี จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 1. แบบสอบถามแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ พบว่ามีค่าความเชื่อมั่นได้ 0.92 และ 2.แบบสัมภาษณ์เป็นชนิดการสัมภาษณ์เจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>1<strong>.</strong> ระดับประสิทธิผลในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>2<strong>.</strong> ภาวะผู้นำและคุณลักษณะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฏร์ธานีได้ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<strong> </strong></li> <li>3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฏร์ธานี ประกอบด้วย ด้านสาธารณูปโภคชุมชน ด้านการประกอบอาชีพและด้านเศรษฐกิจของชุมชนด้วย ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ด้านการบริการสาธารณสุขชุมชน ด้านพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5497
ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการวัดตามมาตรฐานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในกรุงเทพมหานคร
2024-08-21T10:41:49+07:00
จีรพัฒน์ แก้วจันทร์
kobour.nmc@gmail.com
กานดา ผรณเกียรติ์
beycwrrncanthrsaengsi@gmail.com
อธิพงษ์ เพชรสุทธิ์
beycwrrncanthrsaengsi@gmail.com
ธนกฤติ โพธิ์เงิน
beycwrrncanthrsaengsi@gmail.com
<p>ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยด้านการบริหารจัดการวัดตามมาตรฐานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาระดับการบริหารจัดการวัดตามมาตรฐานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในกรุงเทพมหานคร และ 3. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการวัดตามมาตรฐานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เจ้าอาวาสวัด ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 210 รูป และพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะอำเภอ จำนวน 10 รูปเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ จะนำมาวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> <strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ระดับปัจจัยด้านการบริหารจัดการวัดตามมาตรฐานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ด้านภาวะผู้นำด้านองค์กรและด้านการสนับสนุนทางสังคมโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง</li> <li>ระดับการบริหารจัดการวัดตามมาตรฐานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง</li> <li>การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ระหว่างปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านองค์กร และปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม พบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่าง 0.522 ถึง 0.719</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5507
การนำหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชน ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
2024-08-23T10:28:24+07:00
ณัฐษวรรณ แก้วพานิช
nutsavan.kaewpanich@mbu.ac.th
พระศรีวินยาภรณ์
nutsavan.kaewpanich@mbu.ac.th
พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร
nutsavan.kaewpanich@mbu.ac.th
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการนำหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 2) เพื่อเปรียบเทียบการนำหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ที่มีตัวแปรอิสระต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จํานวน 375 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ที่ระดับความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-Way ANOVA) เมื่อพบข้อแตกต่างเป็นรายคู่ จะทำการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของ Scheffe (Post Hoc) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ส่วนข้อเสนอแนะใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ที่ตอบแบบสอบถามมีการนำหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม รวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก 2) ผลเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ที่มีเพศต่างกัน มีการนำหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน <br />มีการนำหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) ด้านสัจจะ ตั้งใจทำจริงในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พูดตามข้อเท็จจริง พูดด้วยความจริงใจเสมอ 2) ด้าน<br />ทมะ คิดถึงความจำเป็นในการประกอบอาชีพ คิดก่อนพูด เพื่อให้คนอื่นสบายใจ ตระหนักในการใช้ของที่จำเป็น 3) ด้านขันติ มีความอดทนต่ออุปสรรคต่าง ๆ ยับยั้งอารมณ์ของตนเอง <br />ฝึกความอดทนในการทำงาน 4) ด้านจาคะ มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเมตตา เสียสละเวลาในการช่วยเหลือผู้อื่น มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนรอบข้าง</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5482
แนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
2024-08-19T21:44:56+07:00
วรรณิษา ธาระมัตร
nuipootmum@gmail.com
พรเทพ รู้แผน
nuipootmum@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 2) เสนอแนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธีประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิชาการจำนวน 206 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 6 คน นักวิชาการจำนวน 2 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1. สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 ปัจจุบันสุขภาพองค์การ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีเป้าหมายร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เป็นอันดับสูงสุด ส่วนด้านด้านการมีนวัตกรรมในการทำงานมีค่าเฉลี่ย เป็นอันดับต่ำสุดและมีปัญหาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีนวัตกรรมในการทำงานมีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับสูงสุด ส่วนด้านการมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกันมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ น้อยเป็นอันดับต่ำสุด 2. แนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สถานศึกษาควรนำแนวทางดังนี้ไปปฏิบัติแบ่งเป็นรายด้านดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านการมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน มีทั้งสิ้น 4 รายการปฏิบัติ ด้านที่ 2 ด้านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีรายการปฏิบัติทั้งสิ้น 3 รายการปฏิบัติติ ด้านที่ 3 ด้านการบริหารทรัพยากรอย่างเหมาะสม มีรายการปฏิบัติทั้งสิ้น 3 รายการ ด้านที่ 4 ด้านการทำงานเป็นทีม มีทั้งสิ้น 5 รายการปฏิบัติ ด้านที่ 5 ด้านขวัญกำลังใจในการทำงาน มีรายการปฏิบัติทั้งสิ้น 4 รายการ ด้านที่ 6 ด้านการมีนวัตกรรมในการทำงาน มีรายการปฏิบัติทั้งสิ้น 3 รายการ</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5478
ทักษะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
2024-08-16T21:26:41+07:00
นุชนารถ ฤกษ์ธิศรี
nootchanart.kik@gmail.com
ประยูร บุญใช้
nootchanart.kik@gmail.com
พรเทพ รู้แผน
nootchanart.kik@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 <br />2) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา และ 4) ศึกษาทักษะของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา จำนวน 294 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย <br />ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ทักษะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>2. ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>3. ทักษะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการมีวิสัยทัศน์ และทักษะการทำงานเป็นทีม มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>4. ทักษะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประกอบด้วย ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการมีวิสัยทัศน์ และทักษะการทำงานเป็นทีม ซึ่งตัวแปรทั้ง 3 สามารถอธิบายการผันแปรที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ได้ร้อยละ 49 สามารถเขียนสมการได้ดังนี้</li> </ol> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 2.368 - 0.111 (X3) + 0.182 (X4) + 0.411 (X5)</p> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = - 0.138 (X3) + 0.212 (X4) + 0.544 (X5)</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5440
การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของชุมชนร่วมสมัยอยุธยาตอนปลาย ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
2024-08-12T19:00:55+07:00
กิตติพงศ์ สุวรรณวงศ์
mifrelly@gmail.com
พระเมธีวชิราภิรัต (ธรรมรัต อริยธมฺโม)
phraborommatat@gmail.com
อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
phraborommatat@gmail.com
ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี
phraborommatat@gmail.com
พระใบฏีกาสมศักดิ์ ฐิตคุโณ
phraborommatat@gmail.com
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของชุมชนร่วมสมัยอยุธยาตอนปลาย ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ 2) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ชุมชนร่วมสมัยอยุธยาตอนปลาย ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร และการศึกษาภาคสนาม</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า 1. การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของชุมชนร่วมสมัยอยุธยาตอนปลาย ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีการวิเคราะห์พื้นที่ซึ่งมีความเป็นมาและประวัติศาสตร์ชุมชนร่วมสมัยอยุธยาตอนปลาย จำนวน 5 แห่ง ซึ่งมีศักยภาพเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่การเรียนรู้ ได้แก่ วัดท่าข้าม สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม หลาดนัดนาหลา 100 ปี วัดหินเกลี้ยง และทุ่งนาหลาต้นโด โดยมีการจัดทำป้ายความรู้ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในพื้นที่การเรียนรู้ทั้ง 5 แห่ง และ 2. ผลการศึกษาในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ชุมชนร่วมสมัยอยุธยาตอนปลาย ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชน การวิ่งเทรล และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ชุมชนร่วมสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 4.32 รองลงมา ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 4.31 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว 4.29 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 4.20</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5441
การศึกษาและรวบรวมความเป็นมาและประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลายของพื้นที่ตำบล ท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
2024-08-12T19:03:14+07:00
กิตติพงศ์ สุวรรณวงศ์
mifrelly@gmail.com
ครูบวรชัยวัฒน์ (วันชัย เมธิโก)
wanchaimateego@gmail.com
อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
wanchaimateego@gmail.com
พระชนินสิทธ์ ภูเมศโปสยานนท์
wanchaimateego@gmail.com
ธเนศ นกเพ็ชร
wanchaimateego@gmail.com
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมความเป็นมาและประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลาย ของพื้นที่ตำบล ท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาเอกสาร และสนทนากลุ่มกับสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ ประกอบด้วยกลุ่มผู้นำศาสนา 3 ท่าน ผู้นำท้องถิ่น 4 ท่าน ปราชญ์ชาวบ้าน 3 ท่าน และกลุ่มประชาชน 5 ท่าน รวมจำนวน 15 รูป/คน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นมาและประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลายของพื้นที่ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยบ้านท่าข้ามนั้น จากการศึกษาเอกสารสำคัญและการสัมภาษณ์ได้ระบุถึงตำนานตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมา มี 3 ตำนานได้แก่ ตำนานที่ 1 เดิมชื่อบ้านท่านางข้าม มาจากเรื่องเล่าว่าสมัยก่อนที่ภูเขาหลง (ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่ที่ 5 บ้านหนองบัว) มีถ้ำซึ่งนางศักดิ์สิทธิ์อาศัยอยู่ ภายในถ้ำมีข้าวของเครื่องใช้มากมายโดยเฉพาะของใช้สำหรับการจัดเลี้ยง เช่น ถ้วย ชาม ช้อน หม้อ ต่าง ๆ ชาวบ้านในละแวกนั้นเมื่อมีการจัดเลี้ยงหรืองานบุญที่บ้าน จะไปที่ปากถ้ำนำดอกไม้ธูปเทียนไปบูชานั่งลงพนมมืออธิษฐานขอยืมเครื่องใช้จาก นางผู้ศักดิ์สิทธิ์เมื่อจบคำอธิษฐานข้าวของเครื่องใช้ที่ต้องการก็จะปรากฏอยู่ตรงหน้า เมื่อเสร็จงานก็นำมาคืนที่ปากถ้ำ ต่อมาชาวบ้านที่ยืมของไปใช้แล้วไม่ยอมนำมาคืน หลายครั้งเข้านางบังเกิดความเสียใจจึงปิดปากถ้ำและเหาะหนีไปอยู่ที่อื่นโดยผ่าน ท่าข้าม ชาวบ้านจึงเรียกว่า ท่านางข้าม ต่อมากร่อนมาเป็น ท่าข้าม จนปัจจุบัน ส่วนตำนานที่ 2 เล่าว่า บ้านท่าข้ามแต่เดิมนั้น มีคลองขนาดใหญ่ ที่ชาวบ้านที่เดินทางเข้าเมืองต้องเดินข้ามคลอง จึงเรียกกันติดปากว่า ท่าข้าม และตำนานที่ 3 เล่าว่า เหตุที่เรียกว่าท่าข้ามนั้น เนื่องจากมีหญิงสาวได้ข้ามคลองจากบ้านท่าข้ามคลองไปยังท่านางหอมและเสียชีวิตลง ซึ่งผลจากการศึกษาเอกสารสำคัญ และการสนทนากลุ่มพร้อมทั้งสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ ให้ข้อมูลสอดคล้องกันถึงความเป็นมาและประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลายของพื้นที่ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ว่าเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลายมีความเป็นมาดังที่ได้ศึกษา</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5498
แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสุรินทร์
2024-08-21T10:38:27+07:00
ณิชา คำไพล
khnongrak192539@gmail.com
ทรงเดช สอนใจ
thongsuk@gmail.com
วสันต์ชัย กากแก้ว
thongsuk@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ และ3) เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1,2 และ 3 จำนวน 136 คน และและครูสอนภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสุรินทร์เขต 1,2 และ 3 จำนวน 136 คน รวมทั้งหมด 272 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลวิจัยพบว่า</p> <p> 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ คือ (1) องค์ประกอบสมรรถนะครูภาษาอังกฤษ มี 3 สมรรถนะ 9 ด้าน (2) สภาพปัจจุบันของสมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) สภาพที่พึงประสงค์แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ศึกษาการพัฒนาแนวทางสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ พบว่า มี 3 สมรรถนะ 9 องค์ประกอบ 30 แนวทาง 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ พบว่า องค์ประกอบสมรรถนะครูภาษาอังกฤษ 3 สมรรถนะ 9 ด้าน และ 30 แนวทางการพัฒนาโดยรวมมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5509
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
2024-08-31T10:10:15+07:00
เบญญาภา แหวนแก้ว
khnongrak192539@gmail.com
ทรงเดช สอนใจ
benya.wk59@gmail.com
ธัญเทพ สิทธิเสือ
benya.wk59@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 และ 3) เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 131 คน และครูวิชาการ 94 คน รวมทั้งหมด 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า 1) องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษามี 6 องค์ประกอบดังนี้ (1) ด้านการมีวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง (2) ด้านการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ (3) ด้านการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ (4) ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา (5) ด้านการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ (6) ด้านการนิเทศและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ 2) การประเมินสภาพภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก <br />( = 4.27, S.D. = 0.19) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นเดียวกัน</li> <li>ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่าแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 มีทั้งหมด 6 ด้าน 24 แนวทางการพัฒนา</li> <li>ระยะที่ 3 ประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ทั้ง 6 ด้าน 24 แนวทางพบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5490
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหาร งานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเลย เขต 1
2024-08-21T10:28:56+07:00
พิมประไพ คัญศรี
chissanapong.so@mbu.ac.th
ชิษณพงศ์ ศรจันทร์
pimprapai.kun@student.mbu.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน และ 4) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</li> <li>การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</li> <li>ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการ</li> </ol> <p>บริหารงานวิชาการในโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกและมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กันสูง เท่ากับ 0.796 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <ol start="4"> <li>ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ</li> </ol> <p>ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 คือ ด้านความยืดหยุ่น (X<sub>1</sub>) ตัวแปรที่มีอำนาจพยากรณ์ที่ดีที่สุด คือ ด้านความยืดหยุ่น (X<sub>1</sub>) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ของการพยากรณ์ เท่ากับ .139 ซึ่งตัวแปรในด้านนี้สามารถพยากรณ์การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน โดยรวมได้ร้อยละ 64.10 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ เท่ากับ ± .15485 สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้</p> <p> = .909 + .112 (X<sub>1</sub>)</p> <p> <sub>y</sub> = .139 (X<sub>1</sub>)</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5486
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู
2024-08-20T11:36:59+07:00
กาญจนาวดี ไชยสงค์
kanjanavadee57@gmail.com
พระครูปลัดจักรพล สิริธโร
kanjanavadee57@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน 3) เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน และ 4) เพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> </p> <p> </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู อยู่ในระดับมาก</li> <li>การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู อยู่ในระดับมาก</li> <li>ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู มีความสัมพันธ์กันในทางบวก</li> <li>ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน 3 ด้าน คือ ด้านการสร้างบรรยากาศแห่งองค์กรนวัตกรรม และด้านวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทำนายการทำงานเป็นทีมของครู ได้ร้อยละ 61.60 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ Y<sub>t</sub><strong>′ = </strong>1.101+ .646(X<sub>3</sub>)+ .192(X<strong><sub>1</sub></strong>) + -.123(X<strong><sub>2</sub></strong>) สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน Z<sub>Yt</sub><strong>′ = .</strong>721(X<sub>3</sub>)+<strong> .</strong>265(X<strong><sub>1</sub></strong>) + -.164(X<strong><sub>2</sub></strong>)</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5465
ภาวะผู้นําตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จังหวัดเลย
2024-08-15T15:50:43+07:00
พระครูโกวิทธรรมวิธาน ธมฺมสุนฺทโร (สังข์ศิริ)
kunladeemoonman@gmail.com
จารุกิตติ์ พิริยสุวัฒน์
dtac.kpp99888@gmail.com
อุดร จันทวัน
dtac.kpp99888@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ภาวะผู้นำตามหลักธรรมพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จังหวัดเลย 2) เพื่อเสนอรูปแบบแนวทางการปฏิบัติ ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักธรรมพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมโดยอาศัยกระบวนการวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จังหวัดเลย และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 113 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทั้งโดยรวมและรายด้านตามวิธีของลิเคิร์ต แล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ค่าเฉลี่ย 5 ระดับ</p> <p> </p> <p> </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>1. สภาพทั่วไป ภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 จังหวัดเลย โดยภาพรวมรายด้านเมตตา<br />ด้านกรุณา ด้านมุทิตา ด้านอุเบกขา ระดับสูงสุด คือ ภาวะผู้นํา ของผู้บริหารสถานศึกษาคือ ด้านเมตตา ค่าเฉลี่ย ( = 4.63 ), (SD = 58) รองลงมาคือ ด้านทุทิตา ค่าเฉลี่ย ( = 4.63), (SD = 1.53) และ ดานกรุณาค่าเฉลี่ย ( = 4.63), (SD = 1.51) ตามลำดับ สวนด้านที่มีในระดับต่ำที่สุดคือ ภาวะผู้นํา ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านอุเบกขา ค่าเฉลี่ย ( = 4.45), (SD = 1.69) โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน ค่าเฉลี่ย ( = 4.58), (SD = 1.57) อยู่ในระดับมาก</li> <li>2. รูปแบบแนวทางการปฏิบัติ ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 จังหวัดเลย ด้านความเมตตา มีกิจกรรมร่วมกันทำงานเป็นทีม ทำให้เกิดความรัก ด้านความกรุณา ปรึกษาหาหรือในการทำงานร่วมกัน โดยยึดความกรุณาหรือการให้ มีความเอื้ออาทรยามเพื่อนลำบาก ด้านมุทิตา มีการแสดงออกที่ชัดเจนในด้านของการยินดีที่บ่งบอกถึงการแสดงความมุทิตาจิตอย่างชัดเจนเช่นอวยพรวันคล้ายวันเกิด การโยกย้าย เกษียณอายุราชการ ด้านอุเบกขา ทำตามกฎเกณฑ์ระเบียบแบบสายกลางโดยบุคลากรทุกคนปฏิบัติตาม</li> <li>3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักธรรมพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 ด้านความเมตตา มีกิจกรรมส่งเสริมความมีเมตตา เช่นการแผ่เมตตากิจกรรมหน้าเสาธง ทักทาย ไหว้ยิ้ม ด้านกรุณา จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมมุ่งเน้นเรื่องมีความกรุณา ด้านมุทิตา มีกิจกรรมการแสดงความยินดี เมื่อเพื่อนร่วมงานประสบความสำเร็จในทุก ๆ ด้าน เช่นการมุทิตาจิตการเกษียณอายุราชการ หรือการโยกย้าย ด้านอุเบกขา ผู้บริหารเป็นควรแบบอย่างที่ดี ครองตน ครองคน ครองงาน มีคุณธรรม จริยธรรม</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5528
การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
2024-08-28T10:45:00+07:00
ฉมาพันธ์ อาจแก้ว
miingky0612@gmail.com
กรรณิกา ไวโสภา
chamapan.art@student.mbu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเลย เขต 1 และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 400 คน เพื่อให้สอดคล้องโมเดลลิสเรล (Boomsma, 1983 อ้างถึงในนงลักษณ์ วิรัชชัย, 2542) ด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิเป็นรายอำเภอและนำมาสุ่มอย่าง่ายเลือกกลุ่มตัวอย่างจากอำเภอตามสัดส่วน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเลย เขต 1 มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าแบบ 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.995 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการตรวจสอบความสอดคล้องและความเหมาะสมของโมเดลการวัด โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเลย เขต 1 มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์ 2) การกำหนดกลยุทธ์ 3) การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การ และ 4) การบริหารจัดการบุคลากร</p> <p> 2) โมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเลย เขต 1 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ดัชนีทุกตัวผ่านเกณฑ์การประเมินความสอดคล้อง ในระดับดี โดยผลการตรวจสอบดัชนีความสอดคลองพิจารณาค่า Chi-square เท่ากับ 47.29 ค่า p-value (ของ ) เท่ากับ 0.27 ค่า df เท่ากับ 42 ค่า Chi-square/df เท่ากับ 1.13 NFI เท่ากับ 0.98 NNFI เท่ากับ 0.99 GFI เท่ากับ 0.95 AGFI เท่ากับ 0.93 CFI เท่ากับ 0.99 SRMR เท่ากับ 0.03 และ RMSEA เท่ากับ 0.02</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5572
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
2024-09-01T14:27:49+07:00
จารุวรรณ คาบแก้ว
meawmeaw750@gmail.com
กฤษฎา วัฒนศักดิ์
meawmeaw750@gmail.com
วิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม
meawmeaw750@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 323 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก</li> <li>2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านมีไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน และขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05</li> <li>แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่</li> </ol> <p>ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจ ด้านการจัดการหลักสูตรและการสอน ด้านการนิเทศการสอน ด้านการกำกับ ติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน และด้านการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนการสอน</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5496
แนวทางการส่งเสริมบทบาทของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
2024-08-21T10:34:39+07:00
จักรพันธ์ แน่นหนา
ja_jukgrapunt@hotmail.com
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์
Ja_jukgrapunt@hotmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูปฐมวัยต่อบทบาทของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล และ3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมบทบาทของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูปฐมวัย จำนวน 327 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย LSD และวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านจัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ด้านจัดกิจกรรมตรงกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ด้านการจัดประสบการณ์ ด้านตอบสนองต่อแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัยและด้านประสานผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูปฐมวัยจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 และ3) แนวทางส่งเสริมบทบาทของครูปฐมวัย คือ ครูปฐมวัยควรมุ่งจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะผู้เรียนในทุกด้าน และดำเนินการประเมินพัฒนาผู้เรียนตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual : DSPM) อย่างต่อเนื่อง</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5576
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4
2024-09-02T06:19:37+07:00
อัญธิกา มาสูงเนิน
650401320098@nmc.ac.th
กรองทิพย์ นาควิเชตร
650401320098@nmc.ac.th
วิภาส ทองสุทธิ์
650401320098@nmc.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 <br />2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษาและขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จำนวน 320 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก</li> <li>ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน</li> <li>3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการมีความยืดหยุ่นและปรับตัว ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ และด้านการทำงานเป็นทีม</li> </ol> <p><strong> </strong></p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5582
การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4
2024-09-02T06:27:05+07:00
สุวารี ดอนจังหรีด
ftnatee.su@gmail.com
กรองทิพย์ นาควิเชตร
650401320100@nmc.th.com
วิภาส ทองสุทธิ์
650401320100@nmc.th.com
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4<em> <br /></em>2) เปรียบเทียบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4 จำนวน 320 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที และค่าเอฟ</p> <p><em> </em></p> <p><em> </em> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>2<em>. </em>ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต จำแนกตามตำแหน่ง พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนครูผู้ที่มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราช สีมาเขต 4 จำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล จำแนกตามระดับการศึกษาจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน</li> <li>แนวทางการพัฒนาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4 ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการส่งต่อ</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5583
สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4
2024-09-02T15:33:02+07:00
พรพรรณ สุระภักดิ์
mommii.2537@gmail.com
กรองทิพย์ นาควิเชตร
mommii.2537@gmail.com
วิภาส ทองสุทธิ์
mommii.2537@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 2) เปรียบเทียบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จำนวน 320 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าเอฟ</p> <p><strong> </strong></p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> <p>2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามตำแหน่ง พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีตำแหน่งต่างกันมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการพัฒนาตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>3) แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์, ด้านการบริการที่ดี, ด้านการพัฒนาตนเอง และด้านการทำงานเป็นทีม</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5481
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง สำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1
2024-08-19T21:43:03+07:00
สุวัทนา สงวนรัตน์
suwattana.s@lawasri.tru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง 4) เพื่อประเมินหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย หลักสูตรฝึกอบรม แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินความสามารถการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก แบบประเมินความคิดเห็นของครูที่มีต่อหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติทดสอบ t-test แบบ One Sample</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานหลักสูตรฝึกอบรม พบว่าเป็นหลักสูตรที่มีกระบวนการพัฒนาที่เสริมสร้างให้ครูมีองค์ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ ตามความสามารถของครู ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก โดยใช้กระบวนการชี้แนะและเป็นพี่เลี้ยง ในการช่วยเหลือให้คำแนะนำ และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานในสถานศึกษา 2) ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.50, S.D.=0.17) เมื่อนำไปศึกษานำร่อง พบว่าหลักสูตรมีความเป็นไปได้ต่อการนำไปใช้ 3) หลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง สำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 ครูมีความรู้และสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 4) ผลประเมินความคิดเห็นของครูที่มีต่อหลักสูตร ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่า ครูมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.43, S.D.=0.17)</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5596
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา
2024-09-03T07:34:01+07:00
รัชฎาพร วัชรวิชานันท์
tanaporn_10320@nmc.ac.th
วิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม
ratchadaporn26011982@gmail.com
วิมาน วรรณคำ
ratchadaporn26011982@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา <br />2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน ระดับการศึกษา และขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำนวน 346 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน และได้โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ใน ศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 346 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 -1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 082 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า </p> <ol> <li>ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาอยู่ในระดับมาก</li> <li>ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา</li> </ol> <p>สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามระดับการศึกษา และขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <ol start="3"> <li>แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ร่วม การสร้างสมรรถนะหลัก การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร การมีคุณธรรมจริยธรรม และการริเริ่มสร้างสรรค์</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5600
บทบาทของผู้บริหารและคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชน ต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสกลนคร
2024-09-03T11:48:52+07:00
ปวีณา ว่านสุวรรณา
tanaporn_10320@nmc.ac.th
ภมร ขันธหัตถ์
beycwrrncanthrsaengsi@gmail.com
เบญยาศิริ งามสอาด
beycwrrncanthrsaengsi@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร 2) วิเคราะห์บทบาทของผู้บริหารละคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารและคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนในการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารของพิชญ์ณิฐา พรรณศิลป์ คุณภาพการให้บริการของมิลเล็ต<strong> </strong>และการให้บริการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประเภทของการวิจัยเป็นระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมวิธี ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์บริหารส่วนตำบล จำนวน 391,811 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์บริหารส่วนตำบล จำนวน 384 คน โดยได้มาจากวิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของเครชซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงของอำเภอ ในจังหวัดสกลนคร จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>บทบาทของผู้บริหารละคุณภาพการให้บริการส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 43.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 <strong> </strong></li> <li>แนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารและคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนในการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย ด้านสาธารณูปโภคชุมชน ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยควรมีการจัดระเบียบเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ด้านการบริการสาธารณสุขชุมชน และด้านพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควรมีการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5537
ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเลย
2024-08-29T08:14:45+07:00
พัชนีย์ วิธิบุญ
patchanee.vit@student.mbu.ac.th
บุญช่วย ศิริเกษ
Patchanee.22@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา <strong><br /></strong>2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเลย ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 165 คน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.995 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <p>1) ระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p>2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p>3) ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p>4) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเลย ที่นำมาวิเคราะห์อำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ตัวแปรที่มีอำนาจพยากรณ์ดีที่สุด คือด้านการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล (<strong>X<sub>4</sub></strong>) มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยการพยากรณ์ เท่ากับ .377 รองลงมา คือด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงาน (<strong>X<sub>3</sub></strong>) มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยการพยากรณ์ เท่ากับ .252 และ ด้านฝึกอบรมพัฒนา และติดตามผลการปฏิบัติงาน (<strong>X<sub>5</sub></strong>) มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยการพยากรณ์ เท่ากับ .207 ซึ่งตัวแปรทั้ง 3 ด้านนี้ สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเลย ได้ร้อยละ 59.20 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานการพยากรณ์เท่ากับ <strong> .21913</strong></p> <p> สามารถเขียนสมการการวิเคราะห์พหุคูณถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้</p> <p> <strong> = 2.055+.252(X<sub>4</sub>) + .172 (X<sub>3</sub>) + .126 (X<sub>5</sub>)</strong></p> <p> <strong> = .377 (X<sub>4</sub>) + .252 (X<sub>3</sub>) + .207 (X<sub>5</sub>)</strong></p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5616
ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2
2024-09-04T16:41:02+07:00
ประดิษฐ์ พิมพา
tanaporn_10320@nmc.ac.th
กรองทิพย์ นาควิเชตร
650401320102@nmc.ac.th
วิภาส ทองสุทธิ์
650401320102@nmc.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 <br />2) เปรียบเทียบทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 290 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 – 1.00 และ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test)</p> <p> </p> <p> </p> <p> ผลการวิจับพบว่า</p> <ol> <li>ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด</li> <li>การเปรียบเทียบทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 จำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านมนุษยสัมพันธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านเทคโนโลยีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน</li> <li>แนวทางในการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ <br />1) ทักษะด้านเทคโนโลยี 2) ทักษะการสื่อสาร 3) ทักษะการคิดวิเคราะห์และคิดสร้างสรรค์ <br />4) ทักษะการบริหารจัดการองค์กร และ 5) ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5561
ภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดเลย
2024-08-31T17:17:50+07:00
ขนิษฐา วีระจิตสกุลงาม
khanidha.wir@student.mbu.ac.th
กรรณิกา ไวโสภา
ekkarad2552@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัด กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดเลย จำนวน 167 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ทดสอบค่า <br />(t-Test) และการสังเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way Anova) การหาค่าความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทดสอบความแตกต่าง ค่าเฉลี่ยนเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’)</p> <p> </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ระดับภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดเลย พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านวิสัยทัศน์แบบองค์รวม ด้านการจัดการความรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การมีความท้าทายเชิงปรับเปลี่ยน</li> <li>ภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดเลย จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน</li> <li>แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดเลย ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ 1) สมรรถนะทางวัฒนธรรม ผู้บริหารควรมีการมีการสร้างความเข้าใจ ค่านิยม ความเชื่อ และวัฒนธรรม <br />2) การจัดการความรู้ ผู้บริหารควรมีการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ ฝึกเป็นคนช่างสังเกต ช่างคิดวิเคราะห์ 3) การสร้างความกลมเกลียว ผู้บริหารควรมีการยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน มีความรักความเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้อื่น 4) วิสัยทัศน์แบบองค์รวม ผู้บริหารควรมีการสร้างวิสัยทัศน์ของตน ทำความเข้าใจสภาพการณ์ของสังคมในปัจจุบันและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต 5) การมีความท้าทายเชิงปรับเปลี่ยน ผู้บริหารควรมีความฉลาดทางอารมณ์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น มีความคิดสร้างสรรค์ และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5662
การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจทางการเรียนรายวิชาจิตวิทยาเพื่อการศึกษา เรื่อง จิตวิทยาพัฒนาการโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิดของนักศึกษาสาขาวิชาชีพครู วิทยาลัยนครราชสีมา
2024-09-11T12:40:44+07:00
ธนภรณ์ แซ่ลิ่ม
620402320002@nmc.ac.th
วิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม
Tanaporn_10320@nmc.ac.th
วิรพจน์ โคกเกษม
Tanaporn_10320@nmc.ac.th
นัสชนะ ส่างช้าง
Tanaporn_10320@nmc.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาจิตวิทยาเพื่อการศึกษา เรื่อง จิตวิทยาพัฒนาการ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิดของนักศึกษาสาขาวิชาชีพครู วิทยาลัยนครราชสีมา หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ <br />2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรายวิชาจิตวิทยาเพื่อการศึกษา เรื่อง จิตวิทยาพัฒนาการ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด ของนักศึกษาสาขาวิชาชีพครู วิทยาลัยนครราชสีมา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาชีพครู วิทยาลัยนครราชสีมา ปีการศึกษา 2567 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนบริหารการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาจิตวิทยาเพื่อการศึกษา เรื่อง จิตวิทยาพัฒนาการ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิดของนักศึกษาสาขาวิชาชีพครู วิทยาลัยนครราชสีมา หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75</li> <li>ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรายวิชาจิตวิทยาเพื่อการศึกษา เรื่อง จิตวิทยาพัฒนาการ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด ของนักศึกษาสาขาวิชาชีพครู วิทยาลัยนครราชสีมา อยู่ในระดับมากที่สุด</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5559
ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนตามความคิดเห็นของครู ในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
2024-09-03T15:06:05+07:00
สุพรรษา อยู่คง
supansa.y55@gmail.com
ฉัตรกุล เอื้อพิพัฒนากูล
supansa.y55@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนตามความคิดเห็นของครูในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และ2) เปรียบเทียบทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนตามความคิดเห็นของครูในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ และเขตพื้นที่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 359 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .67-1.00 ค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ LSD</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนตามความคิดเห็นของครูในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะด้านการตัดสินใจ ทักษะด้านเทคนิค และทักษะด้านความคิดรวบยอด และ2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนตามความคิดเห็นของครู พบว่า จำแนกตามเพศและเขตพื้นที่ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ส่วนความคิดเห็นของครูที่มีระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงานต่างกันไม่แตกต่างกัน</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5591
ความต้องการเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
2024-09-03T07:43:20+07:00
ภูรินท์ พิงภูงา
phurin.ping9@gmail.com
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์
purin.ping9@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความต้องการเพิ่มทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2 และ2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับความต้องการเพิ่มทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2 จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 196 คน ใช้วิธีสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความตรงตามเนื้อหารายข้ออยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ LSD</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการเพิ่มทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านบริหารงานทั่วไป ด้านบริหารงานวิชาการ ด้านบริหารงานงบประมาณ และด้านบริหารงานบุคคล และ2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู โดยภาพรวมเพศ อายุ ระดับการศึกษาตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความคิดเห็นแตกต่างกัน</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5618
การบริหารจัดการความร่วมมือเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การศึกษา ไทยกับจีนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษานนทบุรี
2024-09-05T08:42:50+07:00
กัญวรา ธูปแก้ว
kanwara.thup@sai.ac.th
ชมแข พงษ์เจริญ
kanwarathup@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการความร่วมมือเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การศึกษาไทยกับจีนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี <br />2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในการบริหารจัดการความร่วมมือเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การศึกษาไทยกับจีนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีจำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.67-1.00 ค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test independent) การวิเคราะห์ ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ด้วย LSD</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการความร่วมมือเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การศึกษาไทยกับจีนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการจัดส่งครูสอนภาษาจีนในรูปแบบที่หลากหลาย ด้านการรับรองคุณภาพครูภาษาจีนนานาชาติ ด้านการส่งเสริมและขยายระบบการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน ด้านการฝึกอบรมครูสอนภาษาจีนชาวไทย ด้านการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีน และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน และ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อการบริหารจัดการความร่วมมือเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การศึกษาไทยกับจีนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำแนกตามเพศ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ทำงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5612
แนวทางการพัฒนาทักษะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
2024-09-04T14:12:46+07:00
พลศาล ไหวฉลาด
pondpainai@gmail.com
อัจฉรา นิยมาภา
pondpainai@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 2) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครู 4) เพื่อศึกษาค้นคว้าตัวแปรพยากรณ์บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช จำนวน 337 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิด สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก</li> <li>ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับระดับความสุขในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา พบว่า โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด</li> <li>ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักอิทธิบาท 4 โดยรวม (X) กับความสุขในการปฏิบัติงานของครู โดยรวม (Y) ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างสูง (r = .916) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> <li>ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน พบว่า ตัวแปรตามหลักวิริยะ และตามหลักฉันทะ สามารถร่วมกันทำนายความสุขในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ซึ่งตัวแปรทั้ง 2 สามารถอธิบายการผันแปรที่มีต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ได้ร้อยละ 92.3 (R2 = .923) ค่าความคลาดเคลื่อนที่จะเกิดจากการพยากรณ์ เท่ากับ 0.143 สามารถเขียนสมการได้ดังนี้</li> </ol> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ <strong>Y<sup>^ </sup></strong> = 1.610 + 0.982 (X2) + 0.329 (X1)</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน <strong>Z<sup>^</sup></strong> = 1.205 (X2) + 0.311 (X1)</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5628
การสร้างเมืองแห่งความสุขแบบมีส่วนร่วมของจังหวัดนครพนม
2024-09-10T20:00:24+07:00
พระครูสิริเจติยานุกิจ
dc.npm@mcu.ac.th
<p><strong> </strong>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการสร้างเมืองแห่งความสุขแบบมีส่วนร่วม และ 2) เพื่อนำตัวชี้วัดความสุขสู่การพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนม ผู้ให้สัมภาษณ์ คือ เจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 5 คน และชาวบ้านตำบลหนองสังข์ จำนวน 25 คน รวม 30 คน ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ชาวบ้านตำบลหนองสังข์ จำนวน 380 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างเมืองแห่งความสุขแบบมีส่วนร่วมโดย อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.36) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.68) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย= 3.39) และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย= 3.28) ส่วนด้านที่ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อยู่ในระดับปานกลาง(ค่าเฉลี่ย= 3.11) และการให้ความสำคัญของผู้ให้สัมภาษณ์ เรียงจากมากไปหาน้อย 1) ครอบครัว 2) รายได้ 3) สุขภาพ 4) จิตใจผ่องใส 5) ประเพณีดีงาม 6) สังคมสงบสุข และ 7) เพื่อนบ้านที่ดี 2) หลังเข้าร่วมกิจกรรมนำตัวชี้วัดความสุขสู่การพัฒนาชุมชน เรียงลำดับดังนี้ ลำดับ 1 จิตใจผ่องใส ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 อยู่ในระดับ มาก ลำดับ 2 ประเพณีดีงาม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 อยู่ในระดับ มาก ลำดับ 3 ครอบครัว ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 อยู่ในระดับ มาก ลำดับ 4 รายได้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 อยู่ในระดับ มาก ลำดับ 5 สุขภาพ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 อยู่ในระดับ มาก ลำดับ 6 สังคมสงบสุข ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 อยู่ในระดับ มาก ลำดับ 7 เพื่อนบ้านที่ดี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 อยู่ในระดับ มาก</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5682
ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู
2024-09-13T07:39:17+07:00
สุภาพร ศรีพหม
supaporn.sri@student.mbu.ac.th
พิมพ์อร สดเอี่ยม
supaporn.sri@student.mbu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 2) เพื่อศึกษาระดับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 324 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มหลายขั้นตอน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์สมการสันวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธี Stepwise เพื่อดูตัวแปรที่มีนัยสำคัญ และนำค่าสถิติที่ได้ไปสร้างสมการพยากรณ์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก</li> <li>ความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก</li> <li>3. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยรวม พบว่า <br />มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ 646</li> <li>ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นตัวพยากรณ์ความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู มี 4 ด้าน คือ การมีทักษะและความรู้ดิจิทัล (x<sub>4</sub>) การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล (x<sub>2</sub>) ความเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล (x<sub>3</sub>) และการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล (x<sub>1</sub>) ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยหรืออำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 42.40 สามารถสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามวิธี (Stepwise) ดังต่อไปนี้</li> </ol> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Unstandardized Score)</p> <p> = 1.550 + 0.251(x<sub>4</sub>) + 0.132(x<sub>2</sub>) + 0.135(x<sub>3</sub>) + 0.102(x<sub>1</sub>)</p> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized Score)</p> <p> = 0.311(x<sub>4</sub>) + 0.179(X<sub>2</sub>) + 0.168(x<sub>3</sub>) + 0.138(x<sub>1</sub>)</p> <p> </p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5754
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2024-09-20T15:39:26+07:00
รัชกร ทานผดุง
ratchakorn0095@gmail.com
ภัทรฤทัย ลุนสำโรง
ratchakorn0095@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เทคโนโลยี (การออกแบบเทคโนโลยี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เทคโนโลยี (การออกแบบเทคโนโลยี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ (3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เทคโนโลยี (การออกแบบเทคโนโลยี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวนนักเรียน 20 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สามารถพัฒนาผลการเรียนรู้ได้ร้อยละ 88.86 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 80</li> <li>ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เทคโนโลยี (การออกแบบเทคโนโลยี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05</li> <li>นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เทคโนโลยี (การออกแบบเทคโนโลยี) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5727
การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
2024-09-16T18:38:49+07:00
บุศราภรณ์ กองรส
poohbusara1989@gmail.com
จิราภรณ์ มีสง่า
tonruck@gmail.com
ธีรวัฒน์ มอนไธสง
tonruck@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้อำนาจของผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของครู 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู 4) เพื่อศึกษารูปแบบการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 332 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นด้านการใช้อำนาจของผู้บริหารและด้านการปฏิบัติงานของครู เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ</p> <p> </p> <p> </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการใช้อำนาจเชี่ยวชาญค่าเฉลี่ยสูงสุดและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการใช้อำนาจการให้รางวัล</p> <p>2) การปฏิบัติงานของครู โดยในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการปฏิบัติงานของครูที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดและด้านการจัดการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด</p> <p>3) ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครู ภาพรวมมีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p>4) การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู คือ ด้านการใช้อำนาจเชี่ยวชาญ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยทำนายได้ร้อยละ 7 สามารถสร้างสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 5.199 +(-0.137X5) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = <br />(-0.269X5)</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5671
ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
2024-09-11T12:04:04+07:00
พิมพ์ชนก เถื่อนโทสาร
buzzaprem43p@gmail.com
พิมพ์อร สดเอี่ยม
buzzaprem43p@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานของครู 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากับความสุขในการทำงานของครู และ 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ปี การศึกษา 2566 จำนวน 320 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 เท่ากับ 0.944 และความสุขในการทำงานของครู เท่ากับ 0.949 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธี Stepwise เพื่อดูตัวแปรที่มีนัยสำคัญ และนำค่าสถิติที่ได้ไปสร้างสมการพยากรณ์</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>ความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานในศตวรรษที่ 21 ศึกษากับความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> <li>ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ได้แก่ การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (x<sub>5</sub>) การกำหนดทิศทาง (x<sub>3</sub>) การทำงานร่วมกัน (x<sub>4</sub>) และการสื่อสาร (x<sub>2</sub>) ตามลำดับ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.801 สามารถพยากรณ์ความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ได้ร้อยละ 63.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถสร้างสมการในการพยากรณ์ และสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ ดังนี้</li> </ol> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Unstandardized Score)</p> <p> = 0.962 + 0.361(x<sub>5</sub>) + 0.170(x<sub>3</sub>) + 0.145(x<sub>4</sub>) + 0.083(x<sub>2</sub>)</p> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized Score)</p> <p> = 0.470(x<sub>5</sub>) + 0.199(x<sub>3</sub>) + 0.191(x<sub>4</sub>) + 0.116(x<sub>2</sub>)</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5740
แนวทางการบริหารงานกิจกรรมนักเรียนของสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
2024-09-18T10:32:01+07:00
นิรุตติ์ สระบัว
nirut@attc.ac.th
ชัยยศ เดชสุระ
nirut@attc.ac.th
พรเทพ รู้แผน
nirut@attc.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานกิจกรรมนักเรียน ของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานกิจกรรมนักเรียนของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิธีวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานกิจกรรมนักเรียน ของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ที่ปฏิบัติงานในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 254 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2 เสนอแนวทางการบริหารงานกิจกรรมนักเรียน ของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 7 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานกิจกรรมนักเรียนของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการควบคุม รองลงมา คือ ด้านการจัดองค์กร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการวางแผน และ 2) การนำเสนอแนวทางการบริหารงานกิจกรรมนักเรียน ของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้าน 26 รายการ ดังนี้ <br />1) ด้านการวางแผน มีรายการปฏิบัติจำนวน 7 รายการ 2) ด้านการจัดองค์กร มีรายการปฏิบัติจำนวน 7 รายการ 3) ด้านการนำองค์กร มีรายการปฏิบัติจำนวน 8 รายการ 4) ด้านการควบคุม มีรายการปฏิบัติจำนวน 4 รายการ</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5661
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
2024-09-11T11:53:19+07:00
ธนพล สรรคพงษ์
thanapon@tpn.ac.th
สุกัญญา สุดารารัตน์
thanapon@tpn.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาและ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูจำนวน<strong><br /></strong>315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหารายข้อ<strong><br /></strong>อยู่ระหว่าง .67-1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์<strong><br /></strong>คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์<strong><br /></strong>ค่าแปรปรวนทาง และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลงเชิงนวัตกรรม ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรเชิงนวัตกรรม ด้านการบริหารความเสี่ยงเชิงนวัตกรรม ด้านการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และด้านการมีส่วนร่วม<br />และทำงานเป็นทีมเชิงนวัตกรรม และ 2) ผลการเปรียบเทียบตามความคิดเห็นของครูจำแนกตามเพศ ประสบการณ์ทำงานและขนาดโรงเรียน ในภาพรวม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 <strong> </strong></p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5769
แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2024-09-20T15:30:36+07:00
ภูเบศ คามวัน
phubedh@gmail.com
ชัยยศ เดชสุระ
phubedh@gmail.com
ธีระวัฒน์ มอนไธสง
phubedh@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและ 2) เพื่อนำเสนอแนวแนวทางพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยผสานวิธี โดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 175 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 7 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงโดยใช้แบบสัมภาษณ์ซึ่งได้มาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาในรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการทำความร่วมมือ และด้านที่น้อยที่สุด คือ ด้านการจัดหลักสูตร ปัญหาของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถาน โดยภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณาในรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการจัดหลักสูตร และด้านที่น้อยที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนและการฝึกอาชีพ 2) แนวทางมีการส่งเสริมให้สถานศึกษาและสถานประกอบการร่วมกันจัดทำแผนการฝึกอาชีพ และจัดการเรียนการสอนการฝึกอาชีพในสาขาวิชาชีพที่ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ สร้างแรงจูงใจให้สถานประประกอบการเข้าร่วมการจัดการศึกษา การสร้างภาพลักษณ์การเรียนวิชาชีพระบบทวิภาคีด้านโอกาสในการประกอบอาชีพ จัดระบบตรวจสอบความก้าวหน้าและรายงานผลการฝึกอาชีพของผู้ฝึกอาชีพ ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้ด้านวิชาการ และความสามารถด้านทักษะวิชาชีพ ตามจุดประสงค์การเรียนและสมรรถนะประจำรายวิชา</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5778
แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานงบประมาณ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
2024-09-20T18:21:30+07:00
ปวิดา จันทะขาล
pattychantakhal@gmail.com
ภัธภร หลั่งประยูร
pattychantakhal@gmail.com
ธีระวัฒน์ มอนไธสง
pattychantakhal@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา และ 2) นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายงบประมาณ หัวหน้างานงบประมาณ และครูผู้ปฏิบัติงานด้านงบประมาณจำนวน 116 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามขนาดโรงเรียน โดยใช้วิธีเทียบสัดส่วนจำนวนผู้บริหารสถานศึกษาและครูแต่ละสถานศึกษา โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2 นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4คน ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 3 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) สภาพปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายข้อพบว่า ด้านส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากสุดคือ มีการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการตรวจสอบติดตามการใช้เงินและผลการดำเนินงาน รองลงมา คือ มีการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ด้านส่วนชุดคำสั่ง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากสุด คือ มีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการเบิกจ่ายและการอนุมัติงบประมาณ รองลงมา คือ มีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการควบคุมดูแลบำรุง รักษา และจำหน่ายพัสดุ ด้านส่วนบุคลากร ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากสุด คือ สถานศึกษามีเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรในการประมาณการ ทรัพยากรที่จำเป็นและจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม(=4.79) รองลงมา คือ สถานศึกษามีเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรในการประเมินผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน(=4.67)</p> <p>2) แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย 3 ด้าน 42 รายการ ปฏิบัติ ดังนี้</p> <p>ด้านที่ 1 ด้านส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ มี 14 รายการ เช่น การจัดอบรมให้บุคลากรหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานบริหารงบประมาณให้มีความรู้ทางการการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขณะที่มีการปฏิบัติงาน หากผู้ใช้มีความรู้พื้นฐานในการใช้งาน ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> <p> ด้านที่ 2 ด้านส่วนชุดคำสั่ง มี 14 รายการ เช่น สถานศึกษาควรมีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลด้วยโปรแกรม เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน ตรงตามความต้องการและทำให้บุคลากรที่รับผิดชอบในการบริหารงานงบประมาณสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว</p> <p>ด้านที่ 3 ด้านส่วนบุคลากร มี 14 รายการ เช่น การจัดให้มีการสัมนาเชิงปฏิบัติการและการศึกษาดูงานกับโรงเรียนที่มีการบริหารงานงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำมาปรับใช้กับการบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษาของตนเอง</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5695
การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียน โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์สงฆ์ ไชยะบุลี
2024-09-16T08:44:17+07:00
พระบัวใส วงศ์จันทร์ทา
buasaichayawanno@gmail.com
สุวิญ รักสัตย์
buasaichayawanno@gmail.com
พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร
buasaichayawanno@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ของนักเรียนที่มี อายุ เกรดเฉลี่ย ระดับชั้น ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์สงฆ์ ไชยะบุลี การวิจัยเชิงปริมาณมีแบบสัมภาษณ์ประกอบ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 132 คน ให้ข้อมูลสำคัญจากการสัมภาษณ์ จำนวน 5 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม/แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test F–test วิเคราะห์ความแตกต่างด้วยวิธีการของ Scheffe ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงทฤษฎี</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>1. ผลการวิเคราะห์ระดับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์สงฆ์ ไชยะบุลี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.84) ด้านฉันทะ <br />มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.89) รองลงมาคือ ด้านวิริยะ และด้านจิตตะ ( = 3.83) ส่วน วิมังสา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.81)</li> <li>2. ผลการเปรียบเทียบระดับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียน ที่มี อายุ ระดับชั้นและเกรดเฉลี่ย ต่างกัน พบว่า อายุและระดับชั้น ต่างกัน โดยรวม แตกต่างกันที่ระดับ .001 และนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยต่างกัน โดยรวม แตกต่างกันที่ระดับ .05</li> <li>ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียน พบว่า ครูผู้สอนมีควรวางแผนการจัดการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยเพื่อสร้างความสนใจให้นักเรียนมีความพอใจ ควรส่งเสริมให้มีความรู้สึกไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใด ๆ ส่งเสริมให้นักเรียนมีการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาในการเรียน และครูผู้สอนควรพิจารณาใคร่ครวญดำเนินตามหลักสูตรและนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาช่วยในการเรียนการสอน</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5696
การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานบุคคล โรงเรียนผาโอ นครหลวงพระบาง
2024-09-16T08:46:06+07:00
พระบัวเลียน ภูมิมะลัยสิทธิ์
buasaichayawanno@gmail.com
พระมหาขนบ สหายปญฺโญ
buasaichayawanno@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคล 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคล ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุงาน และตำแหน่งงานต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคลโรงเรียนผาโอ นครหลวงพระบาง การวิจัยเชิงปริมาณมีแบบสัมภาษณ์ประกอบ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากการสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test F–test วิเคราะห์ความแตกต่าง ด้วยวิธีการของ Scheffe ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงทฤษฎี</p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>1. ผลการวิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.85) ด้านธัมมัญญุตา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.95) รองลงมาคือ ด้านอัตถัญญุตา ( = 3.89) ส่วน ด้านปุคคลัญญุตา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.76)</li> <li>2. ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคล พบว่า บุคลากรที่มีเพศต่างกัน โดยรวม แตกต่างกันที่ระดับ .001 อายุต่างกัน แตกต่างกันที่ระดับ .01 ส่วนระดับการศึกษา, อายุงาน และ ตำแหน่งต่างกัน ไม่แตกต่างกันที่ระดับ .05</li> <li>ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคล พบว่า ควรวางแผนการบริหารงานบุคคลให้เป็นระบบ ตรวจสอบการดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่งเสริมการมีกิจกรรมที่สนับสนุนนการพัฒนาตนเพื่อเพิ่มความรู้ ควรทำงานโดยจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นเข้าใจบริบทและปัญหาในองค์กร ทำความเข้าใจความแตกต่างของแต่ละบุคคลเพื่อให้การบริหารงานบุคคลมีประสิทธิภาพ</li> </ol>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5641
การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องการใช้งานอินเตอร์เน็ต สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 8
2024-09-11T11:58:37+07:00
พนิตพิชาภัสส์ พินทะภูวงศ์
mahacee1994@gmail.com
นภาภรณ์ ธัญญา
Panitpichapass@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพการสอนบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้งานอินเตอร์เน็ต สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 8 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 กำหนดเกณฑ์ผ่านไว้ที่ (80/80) 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรียน ด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้งานอินเตอร์เน็ต สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 8 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนจากบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้งานอินเตอร์เน็ต สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 8 ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย โดยวิธีการเลือกเจาะจง จำนวน 45 รูป เป็นการวิจัย เชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการ เก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่องการใช้งานอินเตอร์เน็ต สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 8 (E1<strong>/</strong>E2) เท่ากับ 86.68/82.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่องการใช้งานอินเตอร์เน็ต สำหรับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 8 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่องการใช้งานอินเตอร์เน็ต สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 8 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5818
การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของ ผู้บริหารสถานศึกษาในวิทยาลัยสารพัดช่างภาคกลาง
2024-09-25T13:09:57+07:00
สุกัญญา สุดารารัตน์
sudararat.3108@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในวิทยาลัยสารพัดช่างภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 61 คน และครูผู้สอนของวิทยาลัยสารพัดช่างภาคกลาง จำนวน 217 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นแบ่งชั้น จำแนกตามวิทยาลัยสารพัดช่างภาคกลาง รวมทั้งหมด จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความตรงเชิงเนื้อหารายข้อเท่ากับ .67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ .984 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในวิทยาลัยสารพัดช่างภาคกลาง มี 7 องค์ประกอบหลัก 39 ตัวแปร ประกอบด้วย ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ความคิดเชิงบูรณาการ ประกอบด้วย 12 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 2 วิสัยทัศน์ ประกอบด้วย 6 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 3 ความริเริ่มสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 4 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 4 การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ประกอบด้วย 5 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 5 การทำงานเชิงรุก ประกอบด้วย 3 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 6 การมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 5 ตัวแปร และองค์ประกอบที่ 7 คุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วย 4 ตัวแปร </p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5713
ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
2024-09-16T08:52:52+07:00
บุศริน เหมือนพร้อม
budsarinburin@gmail.com
ดรุณี ปัญจรัตนากร
paijitsakong@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร และ <strong><br /></strong>2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู จำนวน 248 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย LSD</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ความเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล การจัดการด้านเทคโนโลยี การส่งเสริมความรู้ที่เหมาะสมด้านเทคโนโลยีเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ วัฒนธรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และวิสัยทัศน์และการวางแผนด้านเทคโนโลยี และ 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามระดับการศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/5897
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเครือข่ายจิตอาสาของพระสงฆ์ เขตภาคกลางตอนล่างในประเทศไทย
2024-10-11T19:30:47+07:00
กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์
aurairungruangkit@gmail.com
พระครูสังฆรักษ์ยศวีร์ ปมุตฺโต
kanjira9@gmail.com
พระชินกร สุจิตฺโต (ทองดี)
kanjira9@gmail.com
เกษฎา ผาทอง
kanjira9@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมเครือข่ายจิตอาสาของพระสงฆ์ในภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากพระสงฆ์จำนวน 400 รูป โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควตา ข้อมูลที่ได้ถูกวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานผ่านการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเครือข่ายจิตอาสาของพระสงฆ์ประกอบด้วย 1) เจตคติที่มีค่าเฉลี่ยสูง ( = 4.09) 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่มีค่าเฉลี่ยสูง <br />( = 3.99) 3) พฤติกรรมเชิงจริยธรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูง ( = 4.09) โดยการทดสอบค่าถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ พบว่าปัจจัยการรับรู้มุมมองร่วมกัน (X1) (ß = .264), ปัจจัยการมีส่วนร่วม (X4) (ß = .104), ปัจจัยการเสริมสร้าง (X5) (ß = .095), และปัจจัยการพึ่งพาอาศัยกันและกัน (X6) มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม (F = 132.725; p – Value = 0.001)</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี