วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR <p>วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี (Journal of Mani Chettha Ram Wat Chommani) <br />เลขมาตรฐาน P-ISSN : 2774-0455 (Print): 2774-0455 (Print) E-ISSN : 2774-0978 (Online)<br />เป็นวารสารในกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ </p> <p> </p> วัดจอมมณี ต.มีชัย อ.เมือง จ.หนองคาย th-TH วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2774-0455 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7108 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ออกแบบแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การออกแบบแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ<br />การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ขั้นที่ 2 การประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 27 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (1) การมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ มี 10 ตัวบ่งชี้ <br />(2) การกระตุ้นทางปัญญา มี 5 ตัวบ่งชี้ (3) การสร้างแรงบันดาลใจ มี 5 ตัวบ่งชี้ และ (4) การสร้างสัมพันธ์รายบุคคล มี 7 ตัวบ่งชี้ ค่าเฉลี่ยความเหมาะสมขององค์ประกอบภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ <br />2) การออกแบบแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2.1) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา มี 4 ด้าน 33 แนวทาง ได้แก่ (1) การมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ 16 แนวทาง (2) การกระตุ้นทางปัญญา 5 แนวทาง (3) การสร้างแรงบันดาลใจ <br />6 แนวทาง และ (4) การสร้างสัมพันธ์รายบุคคล 6 แนวทาง 2.2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ<br />การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้ง 4 ด้าน 33 แนวทาง มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด</p> เหมราช วงศ์ศรี กฤตฏ์ ชมภูวิเศษ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 1 15 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ การดำเนินงานวิชาการด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7190 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานวิชาการด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานวิชาการด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานวิชาการด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็น ครู จำนวน 332 คน ได้มาโดยสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการดำเนินงานวิชาการด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานวิชาการด้านการนิเทศภายในสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ อยู่ระหว่าง 0.621 – 0.730 และ 4) ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานวิชาการด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา ได้แก่ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการคำนึงถึงปัจเจกบุคคล ที่ดีที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.768 มีอำนาจในการพยากรณ์ ร้อยละ 59.00 สมการพยากรณ์ได้ดังนี้</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ:</p> <p>Y´ = 1.400 + 0.287x<sub>3</sub> + 0.236x<sub>5</sub> + 0.169x<sub>4</sub></p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน:</p> <p> Z´ = 0.326z<sub>x3</sub> + 0.302z<sub>x5</sub> + 0.197z<sub>x4</sub></p> สิริญญา ประเสริฐสังข์ กฤตฏ์ ชมภูวิเศษ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 16 30 ตัวบ่งชี้ความฉลาดทางจริยธรรม (MQ) ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7166 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้ความฉลาดทางจริยธรรม (MQ) ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องอย่างกลมกลืนและยืนยันองค์ประกอบความฉลาดทางจริยธรรม (MQ) ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเป็นนักศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 780 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ตัวบ่งชี้ความฉลาดทางจริยธรรม (MQ) ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 14 ตัวบ่งชี้ และ 64 พฤติกรรมตัวบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือตํ่ากว่า 30%</li> <li>โมเดลมีความสอดคล้องอย่างกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ (c2) เท่ากับ 64 ค่าองศาอิสระ เท่ากับ 5.889 ค่านัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 0.240 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.929 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.884 ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.079 น้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ทั้ง 5 องค์ประกอบมีค่าเป็นบวกมีค่าตั้งแต่ 0.97-1.02 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ทุกค่า โดยความซื่อสัตย์ (IE) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 1.02 ความรับผิดชอบ (RE) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 1.02 ความเมตตา (KE) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 1.01 ความมีวินัย (DE) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 1.00 และตัวบ่งชี้การให้อภัย (FE) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.97</li> </ol> วัชรินทร์ ใจชื่น ทิพมาศ เศวตวรโชติ สันติ อุนจะนำ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 31 44 กลยุทธ์การพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7010 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร และ 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ผู้ให้ข้อมูลระยะที่ 1 คือผู้บริหารสถานศึกษา โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 การสนทนากลุ่ม สร้างกลยุทธ์โดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 ผู้ให้ข้อมูลคือผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินกลยุทธ์การพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร สถิติที่ใช้ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร พบว่ามี 5 แนวทางการพัฒนาดังนี้ 1. แนวทางการดำเนินการจัดทำการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร 2.แนวทางการนำเสนอบทสรุปข้อมูลของสถานศึกษา 3.แนวทางการสรุปผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาในแต่ละปีการศึกษาโดยเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายให้เห็นเด่นชัด 4.แนวทางการวิเคราะห์เพื่อวางแผนปรับปรุง และพัฒนาการกำหนดค่าเป้าหมายคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในแต่ละปีการศึกษา 5. แนวทางการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา</li> <li>ผลการสร้างกลยุทธ์การพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ผลการวิจัยพบว่า ได้แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ด้านจักขุมา 10 แนวทาง ด้านวิธูโร 5 แนวทาง ด้านนิสสยสัมปันโน 5 แนวทาง</li> <li>ผลการประเมินกลยุทธ์การพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพ ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ</li> </ol> ษิญาภา บัวศรี วรกฤต เถื่อนช้าง Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 45 57 ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7270 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารถานศึกษา 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และขนาดสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 360 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามการแทนสูตรการคำนวณของ เครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการสื่อสารวิสัยทัศน์ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ และด้านการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ ตามลำดับ 2) ผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ข้าราชการครูที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน แต่ข้าราชการครูที่มีอายุ ขนาดสถานศึกษา และวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ3)แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วยแนวทางด้านการสร้างวิสัยทัศน์ แนวทางด้านการสื่อสารวิสัยทัศน์และแนวทางด้านการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์</p> ชมพูนุช ประชาญสิทธิ์ อนุสรา สุวรรณวงศ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 58 72 ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพเหนือ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7271 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) เปรียบเทียบทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพเหนือ จำนวน 328 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณด้วยสูตรของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพเหนือ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย ด้านการคิดสร้างสรรค์ ด้านการแก้ปัญหา ด้านการสื่อสาร ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และด้านการทำงานเป็นทีมตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อมีความคิดเห็นต่อทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพเหนือ แตกต่างกัน ส่วนครูที่มีเพศต่างกันและครูที่ทำงานในโรงเรียนขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพเหนือไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการคิดสร้างสรรค์ ด้านการแก้ปัญหา ด้านการสื่อสาร ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และด้านการทำงานเป็นทีม</p> สายฝน กองมะณี อนุสรา สุวรรณวงศ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 73 86 รูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียน ประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7069 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารชุมชนแห่ง<br />การเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 <br />2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 3)เพื่อประเมินรูปแบบ<br />การบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม วิธีดำเนินการวิจัย มี 3 ระยะ ระยะแรกศึกษาองค์ประกอบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ อาจารย์มหาวิทยาลัย ครู โดยการสัมภาษณ์จำนวน 18 คน ระยะสอง สร้างรูปแบบโดยสัมมนาอิงเชี่ยวชาญ 9 คนผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา 3 คนผู้เชี่ยวด้านการบริหาร 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3 คน ระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบโดยเก็บข้อมูลจากผู้อำนวยการโรงเรียน 30 คน ด้วยแบบประเมิน สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1)ผลการศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการบริหารชุมชนแห่ง<br />การเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 มี 6 ด้าน ได้แก่ (1) ภาวะผู้นำผู้บริหารสถานศึกษา (2) การทำงานเป็นทีม (3) การสร้างวัฒนธรรมองค์กร (4) การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (5) การเรียนรู้และการพัฒนา (6) การสร้างความร่วมมือ 2) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 ตามหลักกัลยาณมิตรธรรมมี 3 ส่วนคือส่วนนำประกอบด้วยหลักการและวัตถุประสงค์ ส่วนเนื้อหาประกอบด้วยองค์ประกอบทั้ง 6 ด้าน และส่วนเงื่อนไขความสำเร็จอธิบายถึงสิ่งที่คำนึงถึงในการนำรูปแบบไปใช้ และ 3) ผลการประเมินรูปแบบ ฯ พบว่าความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด</p> บุญสืบ ยังเจริญ ธานี เกสทอง Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 87 99 การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านออกเสียงคำของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7308 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนจัดการเรียนรู้พัฒนาความสามารถการอ่านออกเสียงคำโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านออกเสียงคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้พัฒนาความสามารถการอ่านออกเสียงคำ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านหินประกาย จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 27 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านออกเสียงคำ แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้พัฒนาความสามารถการอ่านออกเสียงคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีผลรวมการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.51) 2) ความสามารถการอ่านออกเสียงคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนแบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.78 , S.D. = 0.40)</p> ณกรณ์พงศ์ สายธิวงค์ น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 100 112 การพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำและการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ บันไดทักษะ 4 ขั้นร่วมกับเกมมิฟิเคชัน https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7202 <p> การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการอ่านสะกดคำก่อนและหลังจัดกิจกรรมโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบบันไดทักษะ 4 ขั้นร่วมเกมมิฟิเคชันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบบันไดทักษะ 4 ขั้นร่วมกับเกมมิฟิเคชัน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านดอนพลอง จำนวน 21 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบบันไดทักษะ 4 ขั้นร่วมกับเกมมิฟิเคชัน แบบสอบวัดทักษะ และแบบสอบถามการเรียนรู้อย่างมีความสุข สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบบันไดทักษะ 4 ขั้นร่วมกับ</p> <p>เกมมิฟิเคชัน มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 9.90 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 17.81</p> <p>เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการสอบถามการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบบันไดทักษะ 4 ขั้นร่วมกับเกมมิฟิเคชันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมระดับความสุขอยู่ในระดับมาก ( = 2.86, S.D. = 0.28)</p> เตชัส ส่งศรี ส่งศรี กาญจนา วิชญาปกรณ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 113 125 การพัฒนาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กรณีห้องเรียนที่ใช้เทคโนโลยีและไม่ใช้เทคโนโลยี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7164 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับห้องเรียนที่ใช้เทคโนโลยี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับห้องเรียนที่ไม่ใช้เทคโนโลยี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 3) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนห้องเรียนที่ใช้เทคโนโลยีกับเกณฑ์ร้อยละ 70 4) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนห้องเรียนที่ไม่ใช้เทคโนโลยีกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 5) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างห้องเรียนที่ไม่ใช้เทคโนโลยีและใช้เทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 58 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยไม่ใช้เทคโนโลยี และ 3) แบบทดสอบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์งานเขียน สถิติทดสอบที กรณีกลุ่มเดียว และสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มอิสระ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 75.31/72.19 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยไม่ใช้เทคโนโลยี มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 73.50/71.66 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3) การพัฒนาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนห้องเรียนที่ใช้เทคโนโลยีสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) การพัฒนาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนของห้องเรียนที่ไม่ใช้เทคโนโลยีสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5) คะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนห้องเรียนที่ใช้เทคโนโลยีกับนักเรียนห้องเรียนที่ไม่ใช้เทคโนโลยีไม่มีความแตกต่างกัน</p> ศุภิสรา หานุสิงห์ รามนรี นนทภา Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 26 141 การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้กลวิธีเอสคิวพีทูอาร์เอสร่วมกับผังกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7267 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กลวิธีเอสคิวพีทูอาร์เอสร่วมกับผังกราฟิก 2) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 2 จำนวน 34 คน โรงเรียนอุทัยวิทยาคม จังหวัดอุทัยธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้กลวิธีเอสคิวพีทูอาร์เอสร่วมกับ ผังกราฟิก จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรม การเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนการทดสอบของนักเรียนหลังสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.52)</p> กรรณิการ์ จิตรวิชัย กาญจนา วิชญาปกรณ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 142 154 การพัฒนาระบบจัดการข้อมูลหลักสูตรระยะสั้น คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7260 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบจัดการข้อมูลหลักสูตรระยะสั้น คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบระบบจัดการข้อมูลหลักสูตรระยะสั้น และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบจัดการข้อมูลหลักสูตรระยะสั้น เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้หลักการวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) ใช้ภาษา PHP, HTML, CSS, JavaScript และ Bootstrap ในการพัฒนาระบบ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 คน และผู้ใช้งานระบบ จำนวน 380 คน เลือกโดยใช้สูตรทราบจำนวนประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบจัดการข้อมูลหลักสูตรระยะสั้น แบบประเมินประสิทธิภาพระบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบที่พัฒนาขึ้นแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนของผู้ดูแลระบบและส่วนของผู้ใช้งานทั่วไป 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.00, S.D.=0.67) โดยด้านประสิทธิภาพการทำงานของระบบมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( =4.35, S.D.=3.58) และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.43, S.D.=0.58) โดยด้านประโยชน์และการนำไปใช้มีความพึงพอใจสูงที่สุด ( =4.75, S.D.=0.45) ระบบจัดการข้อมูลหลักสูตรระยะสั้นที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลหลักสูตรระยะสั้นและส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาในรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> ณิชนันทน์ กะวิวังสกุล อัษฎา มีกาละ ภคนันท์ เบ็ญจศิริวรรณ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 155 168 การพัฒนาสื่อเกมเพื่อการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมภาษา Python ด้วยรูปแบบ Active Learning สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7248 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสื่อเกมเพื่อการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมภาษา Python ด้วยรูปแบบ Active Learning และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยสื่อเกมเพื่อการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมภาษา Python ด้วยรูปแบบ Active Learning กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเลยพิทยาคม อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย จำนวน 40 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินคุณภาพสื่อเกมเพื่อการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของสื่อเกมเพื่อการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมภาษา Python ด้วยรูปแบบ Active Learning มีค่าเท่ากับ 80.13/80.25 และ 2) ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05</p> วิเชษฐ์ นันทะศรี ศักดิ์สิทธิ์ โกยทรัพย์มา Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 169 180 ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7293 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 โดยวิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลในสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 ด้านผู้เรียน มีดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด รองลงมา คือ ด้านผู้สอน และด้านการจัดการเรียนรู้ 2) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลในสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาควรจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเน้นการเรียนรู้แบบเฉพาะบุคคลโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลหลากหลายรูปแบบและการประเมินผลที่ยืดหยุ่น ด้านผู้สอนมุ่งการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเป้าหมายการเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพครู และการบูรณาการเทคโนโลยีในการสอน ด้านชุมชนการเรียนรู้ควรมีเป้าหมายชัดเจนและใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลที่เหมาะสมในการสื่อสาร ด้านทรัพยากรการเรียนรู้ควรจัดระบบให้เข้าถึงง่ายและใช้เทคโนโลยี AI ช่วยในการจัดการเรียนรู้ ส่วนด้านการจัดการเรียนรู้เน้นสภาพแวดล้อมที่ยืดหยุ่นพร้อมโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพและระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้ภายนอก</p> ผาณิตา เมฆเคลื่อน ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 181 194 การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7303 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูที่มีต่อ การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 17 คน และ ครู จำนวน 321 คน รวมจำนวน 338 คน ได้มาโดยวิธีการเปิดตารางเครจซี่และมอร์แกน และใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการส่งต่อนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และด้านส่งเสริมและพัฒนา ตามลำดับ และ 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูที่มีต่อการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> อภิรุต มะโนราช อมรทิพย์ เจริญผล Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 195 210 การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7355 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา และ2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดคุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 460 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 45 ข้อ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33-0.70 ค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา มี 5 องค์ประกอบ และ 15 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1.1) องค์ประกอบคุณธรรมและจริยธรรม มี 3 ตัวบ่งชี้ 1.2) องค์ประกอบภาวะผู้นำ มี 3 ตัวบ่งชี้ 1.3) องค์ประกอบความเป็นผู้นำทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา มี 3 ตัวบ่งชี้ 1.4) องค์ประกอบความสามารถในการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ มี 3 ตัวบ่งชี้ 1.5) องค์ประกอบการพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง มี 3 ตัวบ่งชี้ 2) โมเดลการวัดคุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์</p> กรรณิกา เพชรฉกรรจ์ กฤตฏ์ ชมภูวิเศษ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 211 220 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดตาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7256 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ2) ศึกษาแนวทางภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากข้าราชการครู จำนวน 5 โรงเรียน ปีการศึกษา 2567 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 219 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครู จำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1)ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับ มาก และ 2) แนวทางภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำไปเป็นแนวทาง ดังนี้ 2.1) ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และเป้าหมายที่ชัดเจน ทันสมัย และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 2.2) ด้านการสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ควรมีการส่งเสริมเปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ค่านิยม ตลอดจนการจัดโครงสร้างการบริหารของสถานศึกษา 2.3) ด้านการมีส่วนร่วมและทำงานเป็นทีม ควรให้ครูและบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน ตั้งแต่ให้ทุกคนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมปรับปรุงแก้ไข 2.4) ด้านการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ควรเปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรมีอิสระด้านความคิดในการวางแผนการปฏิบัติงาน สามารถประยุกต์ใช้วิธีการปฏิบัติงานใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์ มีความสอดคล้องกับงานและบริบทของสถานศึกษา และ5) ด้านการบริหารความเสี่ยง ควรมีการวางแผน วิเคราะห์ กำหนดแนวทางการควบคุม ป้องกัน กำกับ ติดตาม และตรวจสอบอย่างมีระบบ</p> นลธวัช ยุทธวงศ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 221 234 แนวทางเสริมสร้างสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7196 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลแบบสอบถาม คือ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 379 ได้จากการเปิดตาราง เครจซีและมอร์แกน เครืองที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดย หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าความต้องการจำเป็นโดยรวมอยู่ระหว่าง 0.39 – 0.49 และ 2) แนวทางเสริมสร้างสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 5 ด้าน จำนวน 45 แนวทาง ดังนี้ ด้านการรู้และเข้าใจดิจิทัล จำนวน 9 แนวทาง ด้านการใช้ดิจิทัล จำนวน 9 แนวทาง ด้านแก้ปัญหาดิจิทัล จำนวน 9 แนวทาง ด้านการปรับตัวยุคดิจิทัล จำนวน 9 แนวทาง และด้านการมีจริยธรรมดิจิทัล จำนวน 9 แนวทาง</p> <p><strong> </strong></p> สุจิตรา วันทอง ธีระพล เพ็งจันทร์ นวัตกร หอมสิน Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 235 248 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7356 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 2) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 119 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบการคิดทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบความเข้าใจ ทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบความรู้ทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดเจตคติทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อนแบบสเต็ปไวส์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดทางคณิตศาสตร์ โดยเรียงลำดับค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 จากค่ามากไปหาน้อย มีตัวแปรความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ ( ) ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ( ) การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ( ) เจตคติทางคณิตศาสตร์ ( ) มีความสัมพันธ์กับการคิดทางคณิตศาสตร์ โดยมีค่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ดังนี้ .823, .793, .776 และ .634 ตามลำดับ ซึ่งทุกตัวแปรมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ปัจจัยด้านความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ ( ) ด้านความรู้ทางคณิตศาสตร์ ( ) ด้านการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ( ) และด้านเจตคติทางคณิตศาสตร์ ( ) ร่วมกันพยากรณ์การคิดทางคณิศาสตร์ ( ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้ร้อยละ 74.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถนำค่าที่ได้มาเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้</p> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ</p> <p> </p> <p><strong> </strong></p> สรอัฑฒ์ เทียมวงค์ นวพล นนทภา Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 249 262 ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT ที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7114 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนโรงเรียนอนุบาลเมืองสิงห์บุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT รายวิชาวิทยาการคำนวณ ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 แผน 2) แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบวิลคอกซัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการคิดวิเคราะห์รายวิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักร 4MAT อยู่ในระดับมาก</p> ผกามาศ สุขประเสริฐ กรวุฒิ แผนพรหม สุวัทนา สงวนรัตน์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 263 275 การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา กลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7361 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา และ2) เปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในสังกัดกรุงเทพมหานครได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ LSD</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ โครงสร้างองค์การ การให้ความสำคัญกับผู้เรียน การมุ่งเน้นบุคลากร การบริหารจัดการองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการนำองค์การ และ2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน ในภาพรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามขนาดสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ยกเว้นด้านการมุ่งเน้นบุคลากร </p> รัตนชาติ จันทร์โสดา ฉัตรกุล เอื้อพิพัฒนากูล Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 276 288 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7325 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 29 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง ทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที กรณีกลุ่มเดียว และกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ และการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพของการเรียนรู้ 81.14/85.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 2) การเปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การเปรียบเทียบแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ และการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก </p> อนัญญาพร อระบุตร รามนรี นนทภา Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 289 305 การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่น https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7377 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่น และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย ปีการศึกษา 2567 จำนวน 24 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่น 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.79, S.D. = 0.05) 2) ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่น สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, S.D. = 0.29)</p> ธิติวรรณ อินทพงษ์ กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 306 318 แนวทางการส่งเสริมบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7365 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน และ 3) แนวทางการส่งเสริมบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนและผู้ทรงคุณวุฒิ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน จำนวน 301 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ได้มาแบบเจาะจงเลือก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จำนวน 5 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบเป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างรายคู่ LSD และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล พบว่า จำแนกตามระดับการศึกษาและขนาดของสถานศึกษามีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และ 3) แนวทางการส่งเสริมบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่ ควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ควรใช้เครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายในการคัดกรองนักเรียนโดยเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก</p> รัตน์ชนก แพรทอง ฉัตรกุล เอื้อพิพัฒนากูล Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 319 332 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดหนองคาย https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7385 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดหนองคาย และกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 และ เขต 2 จำนวน 262 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามปัจจัยภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีความเชื่อมั่น เท่ากับ .982 และประสิทธิผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข มีความเชื่อมั่น เท่ากับ .982 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดหนองคายโดยรวม อยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดหนองคายโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดหนองคายมีความสัมพันธ์กันทางบวก ระดับปานกลาง</p> <p><strong> </strong></p> พรประคอง แสงศร พนายุทธ เชยบาล Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 333 349 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วน ตำบลโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7288 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง 2) เปรียบเทียบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนในการให้บริการต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อให้ข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง จำนวน 386 คน ด้วยการใช้สูตรของ Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่าที (t-test) และใช้สถิติเอฟ (f-test)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.78) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การให้บริการด้านทางระบายน้ำ (= 4.00) รองลงมา คือ การให้บริการด้านประปา (= 3.90) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การให้บริการด้านถนน (= 3.40)</li> <li>การเปรียบเทียบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง ไม่แตกต่างกัน</li> <li>ข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ สำรวจสภาพถนนในพื้นที่ตำบลโนนสูง เช่น สภาพผิวถนน การคมนาคม การเกิดอุบัติเหตุจราจร หรือปัญหาจากการใช้งานจริง</li> </ol> วุฒินันท์ สิทธิพุฒมนต์ โกศล สอดส่อง Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 350 363 ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานีอำนาจเจริญ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7352 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี และอำนาจเจริญ 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัด 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารกับการบริหารงานวิชาการ และ 4) เพื่อพยากรณ์การบริหารงานวิชาการจากทักษะการบริหารในยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 114 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ด้าน รวม 27 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น .95 และค่าอำนาจจำแนก .96</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารในยุคดิจิทัลอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ทักษะการบริหารของผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารงานวิชาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 r = .826 ถึง .936 และ 4) ทักษะด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี (X4), ทักษะความรู้ดิจิทัล (X2) และทักษะการสื่อสารดิจิทัล (X5) สามารถพยากรณ์การบริหารงานวิชาการได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยแบบมาตรฐาน (β) เท่ากับ .485, .361 และ .235 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .91 อธิบายความแปรปรวนของการบริหารงานวิชาการได้ร้อยละ 83</p> ขวัญฤดี วงค์เย็น สุรางคนา มัณยานนท์ ฐิติมา โกศัลวิตร Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 364 375 ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายคุณภาพ การศึกษาเมืองฟ้า สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7323 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายคุณภาพการศึกษาเมืองฟ้า สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 และ 2) ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายคุณภาพการศึกษาเมืองฟ้า สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 ครั้งนี้ศึกษาประชากรทั้งหมด ได้แก่ ครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายคุณภาพการศึกษาเมืองฟ้า สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 ปีการศึกษา 2567 ครูผู้สอนจำนวน 112 คน ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 112 คน คิดเป็น 100% เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 33 ข้อ มาตราส่วนประมาณค่า และมีข้อคำถามปลายเปิดจำนวน 1 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหาความถี่ และร้อยละ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล ที่สำคัญดังนี้ <strong>1</strong>) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ดิจิทัล ผู้บริหารควรกำหนดเป้าหมายทางวิชาการที่ชัดเจน เพื่อให้ครูสามารถนำไปปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน 2) ด้านการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ผู้บริหารควรจัดจุดบริการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้เพียงพอต่อการใช้งานของนักเรียน และควรมีการสร้างฐานข้อมูลของสถานศึกษาไว้ในระบบเพื่อง่ายต่อการจัดเก็บและสืบค้นง่าย และเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้เทคโนโลยี 3) ด้านการเป็นผู้นำดิจิทัล ผู้บริหารควรมีทักษะการใช้เทคโนโลยีเบื้องต้นเพื่อสะดวกต่อการทำงาน และ 4) ด้านการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารควรสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีให้กับครู เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน และควรมีการสังเกต ติดตามประเมินผลการใช้สื่อเทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน</p> สมใจ ภูมิแสน สุรางคนา มัณยานนท์ ไพฑูรย์ มีกุศล Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 376 388 การบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยอง https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7078 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยอง 2) เปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยอง จำแนกตามตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 4,095 คน กลุ่มตัวอย่างกำหนดขนาดตามตารางเครจซี่ มอร์แกน จำนวน 352 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการทดสอบเอฟ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยอง จำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีด้านที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านการวางแผน และ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ได้แก่ การวางแผน ที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการกำหนดเป้าหมาย การจัดองค์การ ที่กระจายอำนาจและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ การนำที่เน้นผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม และการสื่อสารที่เปิดกว้าง การควบคุมที่ใช้ระบบติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบด้วยแนวทาง PDCA เพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง</p> กัญชลารักษ์ ทีปกากร จำรัส มุ่งเฝ้ากลาง พจน์ เจริญสันเทียะ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 389 401 การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7087 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 2) เปรียบเทียบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 2,507 คน กลุ่มตัวอย่างกำหนดขนาดตามตารางเครจซี่ มอร์แกน จำนวน 333 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินงานระบบดูแลนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีด้านที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนดของสถานศึกษา เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีด้านที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ควรเน้นการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียนโดยใช้เครื่องมือที่มีมาตรฐาน การส่งเสริมพัฒนานักเรียนผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย การป้องกันและช่วยเหลือด้วยการวางแผนสนับสนุน และการส่งต่อนักเรียนที่มีปัญหาหรือความต้องการพิเศษไปยังผู้เชี่ยวชาญอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที</p> ศศิธร ทุ่มกระโทก จำรัส มุ่งเฝ้ากลาง พจน์ เจริญสันเทียะ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 402 415 การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7090 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 จำแนกตามตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 333 คน โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80–1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามมีค่าเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 จำแนกตามตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากร การพัฒนาเครื่องมือการวัดผลที่มีมาตรฐาน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การใช้เทคโนโลยีและสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย และการส่งเสริมกิจกรรมที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียน โดยมีการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนในการพัฒนาระบบการศึกษาภายในโรงเรียน</p> <p><strong> </strong></p> ลดารัตน์ หาดคำ กฤษฎา วัฒนศักดิ์ วิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 416 429 ความต้องการของครูผู้สอนต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7093 <p>บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของครูผู้สอนต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 2) เปรียบเทียบความต้องการของครูผู้สอนต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาความศึกษาความต้องการของครูผู้สอนต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.80 – 1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการของครูผู้สอนต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบความต้องการของครูผู้สอนต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ควรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านการคิดวิเคราะห์และการปฏิบัติจริง ควบคู่กับการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในความสัมพันธ์ของโลก การพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพเป็นสิ่งจำเป็น โดยเน้นการฝึกปฏิบัติและส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ นอกจากนี้ควรปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยม และประชาธิปไตยผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม สุดท้ายการเรียนรู้ต้องอาศัยความร่วมมือจากครอบครัวและชุมชน พร้อมทั้งมีการประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง</p> กัลยา สีบาง จำรัส มุ่งเฝ้ากลาง พจน์ เจริญสันเทียะ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 430 455 การบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบล ตลาดไทร อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7091 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา 2) เปรียบเทียบการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามอาชีพ และระดับการศึกษา 3) แนวทางการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 122 คน โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80–1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามมีค่าเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีปัจจัยด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นจุดเด่น ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับชุมชนยังต้องการการพัฒนาเพิ่มเติม 2) การเปรียบเทียบการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามระดับการศึกษาและอาชีพ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก พร้อมปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็กและเน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและกิจกรรมสร้างสรรค์ ควรส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครองและชุมชน รวมถึงสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างครบวงจร</p> ประภัสสร สีสุโพธิ์ กฤษฎา วัฒนศักดิ์ วิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 443 455 การบริหารการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7094 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 339 คน โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ มีค่า IOC=0.80–1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test f-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบการบริหารการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การพัฒนาการเรียนรู้ควรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านการคิดวิเคราะห์และการปฏิบัติจริง ควบคู่กับการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในความสัมพันธ์ของโลก การพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพเป็นสิ่งจำเป็น โดยเน้นการฝึกปฏิบัติและส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ นอกจากนี้ควรปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยม และประชาธิปไตยผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม สุดท้าย การเรียนรู้ต้องอาศัยความร่วมมือจากครอบครัวและชุมชน พร้อมทั้งมีการประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง</p> พิมลวรรณ สังฆเวช จำรัส มุ่งเฝ้ากลาง พจน์ เจริญสันเทียะ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 456 468 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7096 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 397 คน โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80–1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test f-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน ภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการมีอิทธิพลต่อผู้ร่วมงาน ด้านการพัฒนาผู้ร่วมงาน ด้านการเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลง ด้านการบริหารความขัดแย้ง ด้านการสร้างความผูกพัน และด้านการทำงานร่วมกันเป็นทีม</p> ปัทมาภรณ์ สาลีอาจ สุวัตน์ อาษาสิงห์ วศิน สอนโพธิ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 469 492 การพัฒนาเว็บไซต์บทเรียนออนไลน์ www.ครูวิท.ไทย เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ร่วมกับกระบวนการ PRAWIT+E Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 1 โรงเรียนบ้านพญาวัง https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7435 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพเว็บไซต์บทเรียนออนไลน์ www.ครูวิท.ไทย เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ร่วมกับกระบวนการ PRAWIT<sup>+E</sup> Model ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อเว็บไซต์บทเรียนออนไลน์ www.ครูวิท.ไทย เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ร่วมกับกระบวนการ PRAWIT<sup>+E</sup> Modelกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 โรงเรียนบ้านพญาวัง ปีการศึกษา 2567 โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เว็บไซต์บทเรียนออนไลน์ www.ครูวิท.ไทย เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ร่วมกับกระบวนการ PRAWIT<sup>+E</sup> Model แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample</p> <p>ผลการวิจัยพับว่า 1) ผลการทดสอบประสิทธิภาพเว็บไซต์บทเรียนออนไลน์ www.ครูวิท.ไทย เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ร่วมกับกระบวนการ PRAWIT<sup>+E</sup> Model มีประสิทธิภาพ 85.00/93.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเว็บไซต์บทเรียนออนไลน์ www.ครูวิท.ไทย เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ร่วมกับกระบวนการ PRAWIT<sup>+E</sup> Model หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนด้วยเว็บไซต์บทเรียนออนไลน์ www.ครูวิท.ไทย เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ร่วมกับกระบวนการ PRAWIT<sup>+E</sup> Model อยู่ในระดับมากที่สุด</p> ประวิทย์ นาคมอญ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 482 492 ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กับการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7426 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 2) เพื่อศึกษาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการศึกษาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01 ในระดับความสัมพันธ์สูง</p> สุภัคสร ยิ้มเขียว สกนธ์ชัย ชะนูนันท์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 493 508 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อประสิทธิผลการบริการสาธารณะ ขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7428 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก และ 2)เพื่อศึกษาแนวทางภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมืองตาก จังหวัดตากใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มประชากร จำนวน 122 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อประสิทธิผลการบริการสาธารณะ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับ มาก</li> <li>แนวทางภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อประสิทธิผลการบริการสาธารณะ พบว่า 1) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน องค์การบริหารส่วนตำบลควรมีการวางแผน สำรวจ ปรับปรุง ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 2) ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต องค์การบริหารส่วนตำบลควรมีการอบรมสัมมนาให้ความรู้ด้านอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวในชุมชน 3) ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย องค์การบริหารส่วนตำบลควรจัดวางระบบในชุมชนให้เป็นระเบียบ จัดกิจกรรมให้ความรู้ป้องกันต่อต้านยาเสพติด และมีหน่วยประจำช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ ในชุมชน 4) ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนตำบลควรมีการวางแผนจัดฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการลงทุนประกอบกิจการร้านค้า เพิ่มรายได้ มีการติดตามประเมินผล และช่วยเหลือแนะนำ 5) ด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลควรจัดกิจกรรมให้ความรู้ สร้างความตระหนักให้ทุกคนเกิดความรักต่อชุมชน ส่งเสริมให้ทุกคนช่วยกันดูแลรักษา พัฒนา และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้เป็นระเบียบ 6) ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลควรส่งเสริมสนับสนุนบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี การทำนุบำรุงศาสนา ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น</li> </ol> นลธวัช ยุทธวงศ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 509 521 การพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแอปพลิเคชัน https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7425 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแอปพลิเคชัน เพื่อพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแอปพลิเคชัน และ 3) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนพรานกระต่าย พิทยาคมปีการศึกษา 2567 จำนวน 42 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะการแต่ง คำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ 2) แอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแอปพลิเคชัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแอปพลิเคชัน เพื่อพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) เท่ากับ 84.42/82.19 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแอปพลิเคชันสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแอปพลิเคชัน เพื่อพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.63, S.D. = 0.33)</p> ภารัณ อินทพงษ์ กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 522 536 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตําบลหมากแข้ง ชุมชนเขต 1 อําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7291 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตําบลหมากแข้ง ชุมชนเขต 1 2) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตําบลหมากแข้ง ชุมชนเขต 1 ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อให้ข้อเสนอแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตําบลหมากแข้ง ชุมชนเขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตําบลหมากแข้ง ชุมชนเขต 1จำนวน 359 คน ด้วยการใช้สูตรของทาโร ยามาเน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่าที และใช้สถิติเอฟ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตําบลหมากแข้ง ชุมชนเขต 1 อําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน</li> <li>ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตําบลหมากแข้ง ชุมชนเขต 1 ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมประชาชนที่มีอายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตําบลหมากแข้ง ชุมชนเขต 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ และอาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตําบลหมากแข้ง ชุมชนเขต 1 ไม่แตกต่างกัน</li> <li>ข้อเสนอแนะ แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตําบลหมากแข้ง ชุมชนเขต 1 ได้แก่ ใช้ช่องทางการสื่อสารหลากหลาย เช่น โซเชียลมีเดีย โรงเรียน หรือชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับยาเสพติด</li> </ol> วรรณนิสา แก้วแสนเมือง โกศล สอดส่อง Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 537 551 การพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7296 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอวังสามหมอ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอวังสามหมอ ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ 3) เพื่อให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอวังสามหมอ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอวังสามหมอ จำนวน 201 คน ด้วยการใช้สูตรของทาโร ยามาเนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่าที และใช้สถิติเอฟ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.73, S.D = 0.31) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการฝึกอบรม (= 4.62, S.D = 0.30) รองลงมา คือ ด้านการศึกษาต่อ (= 3.71, S.D = 0.42) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการพัฒนาตนเอง (= 3.41, S.D = 0.56)</li> <li>ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยภาพรวมบุคลากรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ไม่แตกต่างกัน</li> </ol> <p> 3. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการและข้อเสนอแนะจะช่วยให้สามารถพัฒนาแผนฝึกอบรมได้ตรงกับความต้องการจริง ๆ</p> ภาวิณี วรรณพราหมณ์ บุญเหลือ บุบผามาลา Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 552 565 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะในด้านการจัดการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7431 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนของครู 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีกับสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนของครู กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 242 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และครูผู้สอนจำนวน 212 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของครูผู้สอนแต่ละโรงเรียน เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร ปีการศึกษา 2567 ใช้แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 28 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ระดับมาก 2) สมรรถนะในด้านการจัดการเรียนการสอนของครู ในภาพรวมอยู่ระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะในด้านการจัดการเรียนการสอนของครู โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01 อยู่ในระดับสูงมาก โดยด้านที่มีความความสัมพันธ์กันสูงสุด คือ ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ กับสมรรถนะในด้านการจัดการเรียนการสอนของครู และด้านที่มีความความสัมพันธ์กันต่ำสุด คือภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีด้านความรู้ทางกฎหมายและจริยธรรมด้านเทคโนโลยีกับสมรรถนะในด้านการจัดการเรียนการสอนของครู ดังนั้น งานวิจัยในครั้งต่อไปควรศึกษา แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในด้านการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา</p> อังคนา บดีรัฐ สกนธ์ชัย ชะนูนันท์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 566 577 สภาพและแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษา ของสถานศึกษาสหวิทยาเขตภูลังกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7437 <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษา ของสถานศึกษาสหวิทยาเขตภูลังกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษาของสถานศึกษาสหวิทยาเขตภูลังกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 194 คน และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 1 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.953 และ 2) แบบสัมภาษณ์แบบปลายเปิด มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษาของสถานศึกษา สหวิทยาเขตภูลังกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา ในภาพรวมทั้ง 7 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก และ 2) แนวทางการบริหารสถานศึกษา สู่ความเป็นเลิศทางการศึกษาของสถานศึกษาสหวิทยาเขตภูลังกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา ทั้ง 7 ด้าน พบว่า 1) ด้านการนำองค์กร สถานศึกษาต้องมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ด้านกลยุทธ์ สถานศึกษาต้องมีการกำหนดแผนกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่นและส่งเสริมการใช้นวัตกรรม 3) ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สถานศึกษาต้องสร้างความสัมพันธ์และรับฟังความต้องการของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4) ด้านการวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ สถานศึกษาต้องมีการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย 5) ด้านบุคลากร สถานศึกษาต้องมีการบริหารบุคลากรที่ชัดเจนและมีระบบประเมินผลที่โปร่งใส 6) ด้านการปฏิบัติการ สถานศึกษาต้องการออกแบบหลักสูตรและมีการจัดสรรทรัพยากรการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และ7) ด้านผลลัพธ์ สถานศึกษาต้องมีการวางแผนการดำเนินงานและประเมินผลเพื่อปรับปรุงผลลัพธ์อยู่เสมอ</p> ธิดารัตน์ วิชญเนตินัย อาภาพรรณ ประทุมไทย Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 578 592 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7430 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความพร้อมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลความพร้อมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ กับความพร้อมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 278 คน กำหนดขนาดกลุ่ม ตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ สัมประสิทธ์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความพร้อมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกลยุทธ์องค์กร 2) ผลการศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านประโยชน์การใช้งาน 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่าปัจจัยที่ที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงที่สุด ได้แก่ ด้านการสนับสนุนขององค์กร 4) ผลการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบปกติของปัจจัยส่งผลต่อความพร้อมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่าปัจจัยที่สามารถนำไปสร้างสมการพยากรณ์ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ ด้านประโยชน์ในการใช้งาน และด้านการสนับสนุนขององค์กร สามารถเขียนสมการพยากรณ์ ดังนี้</p> <p><strong> </strong></p> รพีพัฒน์ ชูเมือง ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 593 607 สมรรถนะการบริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่าย CEO วังหิน 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7403 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย CEO วังหิน 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในกลุ่มเครือข่าย CEO วังหิน1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 151 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .90 - .95 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .67-.100 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย CEO วังหิน 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่ามี (1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ผู้บริหารควรปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลงานตามเป้าหมายและมาตรฐานที่องค์กรกำหนดไว้อย่างดีที่สุด (2) ด้านการบริการที่ดี ผู้บริหารควรให้การช่วยเหลืองานแก่ผู้มาติดต่องาน ทั้งบุคลากรภายในและภายนอก (3) ด้านการพัฒนา ผู้บริหารควรศึกษาหาความรู้จากแหล่งความรู้ตลอดเวลา เพื่อนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาตนเองและบุคลากรให้ดียิ่งขึ้น (4) ด้านการทำงานเป็นทีม ผู้บริหารควรควรจัดให้มีการพูดคุยทำความเข้าใจก่อนที่จะแบ่งหน้าที่กันทำงานเพื่อจะได้แบ่งหน้าที่ตามความสามารถของบุคคล (5) ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ผู้บริหารควรแก้ปัญหาและพัฒนางานรวมทั้งสามารถวิเคราะห์องค์กรหรืองานในภาพรวมได้ (6) ด้านการสื่อสารและการจูงใจ ผู้บริหารควรเปิดใจในการสื่อสาร ให้เกียรติผู้ฟังเสมอถ่ายทอดด้วยความจริงใจ (7) ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ผู้บริหารควรช่วยแก้ปัญหาที่เจอและให้คำแนะนำที่ดี (8) ด้านการมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมายที่ชัดเจน รักสถาบัน สร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรได้ด้วยทัศนวิสัยของผู้นำที่ดี</p> มนลัดดา สีบุญเรือง สุรางคนา มัณยานนท์ สมหมาย สร้อยนาคพงษ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 608 622 การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะนิทานพื้นบ้านม้งร่วมกับกลวิธีการสอนอ่านแบบเมตาคอกนิชัน https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7429 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะนิทานพื้นบ้านม้งร่วมกับกลวิธีการสอนอ่านแบบเมตาคอกนิชัน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะนิทานพื้นบ้านม้งร่วมกับกลวิธีการสอนอ่านแบบเมตาคอกนิชัน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนรวมไทยพัฒนา 5 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 35 ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบฝึกทักษะนิทานพื้นบ้านม้ง 3) แบบทดสอบ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบ่งเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 พบว่า นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนเฉลี่ย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> ศราวุฒิ พรมชมพู อ้อมธจิต แป้นศรี Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 623 634 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6760 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องการอ่านและการเขียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับก่อนเรียน เรื่องการอ่านและการเขียน 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องการอ่านและการเขียน รูปแบบการวิจัยที่ใช้คือการวิจัยเชิงทดลอง ตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนวานิชวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวนนักเรียน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าที </p> <p>ผลการวิจัย 1) ผลการศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านและการเขียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการอ่านและการเขียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD อยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p><strong> </strong></p> เบญจมาภรณ์ ขมโคกกรวด คงศักดิ์ สังฆมานนท์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 635 649 การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7065 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 <br />2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 และ3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 322 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปเครจซี่และมอร์แกน การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการเอาชนะ ด้านการหลีกเลี่ยง และด้านการยอมให้ มีการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกัน และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการร่วมมือ และด้านการประนีประนอม มีการปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 พบว่า ผู้บริหารสถานควรใช้อำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ มีกฎระเบียบอย่างยุติธรรมเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันของบุคลากรในสถานศึกษา สร้างความตระหนัก ความเข้าใจ และเป้าหมายของงานให้บุคลากรในสถานศึกษาเห็นถึงความสำคัญของงานนั้น ๆ ควรการแก้ไขปัญหาโดยยึดทางสายกลาง มุ่งความพึงพอใจของผู้อื่น เพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยใช้เหตุผลและข้อมูล ฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายก่อนตัดสินใจ มีการวางเฉยเป็นทางเลือกที่ดี หากเป็นปัญหาเล็กน้อย และไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ และเสียสละเวลาส่วนตนให้กับส่วนร่วม ชุมชน</p> ศิรวิทย์ พันธนาม สุวัฒน์ อาษาสิงห์ วศิน สอนโพธิ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 650 663 แนวทางการส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชน ในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายการศึกษา สมเด็จเจ้าพะโคะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสงขลา เขต 1 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7418 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชน ในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายการศึกษาสมเด็จ เจ้าพะโคะ 2) เพื่อร่างแนวทางการส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชน ในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายการศึกษาสมเด็จเจ้าพะโคะ และ 3) เพื่อประเมินแนวทางการส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชน ในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายการศึกษาสมเด็จเจ้าพะโคะ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายการศึกษาสมเด็จเจ้าพะโคะ จำนวน 118 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี และมอร์แกน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชน ในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายการศึกษาสมเด็จเจ้าพะโคะ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชน ในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายการศึกษาสมเด็จเจ้าพะโคะ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเข้าใจตนเองตามหลักสาราณียธรรม 6, ด้านการเข้าใจคนอื่นตามหลัก สาราณียธรรม 6 และ ด้านการเข้าใจสิ่งแวดล้อมตามหลักสาราณียธรรม 6 และ 3) ระดับความเหมาะสมของแนวทางการส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชน ในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายการศึกษาสมเด็จเจ้าพะโคะ มีคะแนนความเหมาะสม คิดเป็น ร้อยละ 97.77</p> สานนท์ แก้วจันทร์ สันติ อุนจะนำ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 664 677 ภาวะผู้นำเชิงวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7059 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 <br />2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 และ3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 322 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปเครจซี่และมอร์แกน การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <p>1) ระดับภาวะผู้นำเชิงวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก</p> <p>2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> <p>3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 พบว่า 1) ด้านภาวะผู้นำแบบสั่งการ ควรมีประชุมร่วมกัน วางแผนงานอย่างเป็นระบบในการดำเนินงานกับผู้รับผิดชอบงาน และนำเสนอให้ทราบโดยทั่วกัน 2) ด้านภาวะผู้นำแบบสนับสนุน ควรเปิดโอกาสให้ครูเข้าพบ มีความยืดหยุ่น ทั้งด้านเวลา และสถานที่ 3) ด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ควรเปิดโอกาสให้ครูมีเวทีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาองค์กร 4) ด้านภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จของงาน ควรสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่เปิดกว้าง และเน้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ กำหนดวาระที่ชัดเจนในการทำงาน</p> อุษณีย์ พันธนาม สุวัฒน์ อาษาสิงห์ วศิน สอนโพธิ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 678 692 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7420 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยมีการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 160 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบทีม การยอมรับและปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร การพัฒนาทักษะการสื่อสาร การเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์สำหรับผู้นำในยุคดิจิทัล และการบริหารด้วยความเข้าอกเข้าใจในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง 2) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 7 ด้าน ซึ่งผู้วิจัยวิเคราะห์เนื้อหา โดยแต่ละด้านมีจำนวน 3 แนวทาง รวมทั้งสิ้น 21 แนวทาง</p> อนุตตรีย์ ดิษเจริญ อ้อมธจิต แป้นศรี Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 693 704 การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความและความพึงพอใจโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7158 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การอ่านจับใจความ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนกับก่อนเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน เรื่อง การอ่านจับใจความ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2รูปแบบการวิจัยที่ใช้คือการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มประชากรคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของกลุ่มโรงเรียน ในเขตพื้นที่ ตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษกและโรงเรียนแสนสุข ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 6 ห้อง รวมทั้งหมด276 คนกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนแสนสุขจำนวน 26 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนการสอน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าสถิติที </p> <p>ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การอ่านจับใจความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การอ่านจับใจความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และ 2)ความพึงพอใจต่อการเรียนเรื่อง การอ่านจับใจความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด</p> ปรีชญาดา พรหมมินทร์ คงศักดิ์ สังฆมานนท์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 705 719 คุณภาพการบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี จังหวัดขอนแก่น https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7357 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพการบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี 2) เปรียบเทียบระดับคุณภาพการบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนผู้มาติดต่อขอรับบริการ จำนวน 304 คน ด้วยการใช้สูตรของ Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่า และใช้สถิติเอฟ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1 คุณภาพการบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.76) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (= 4.08) รองลงมา คือ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ( = 3.96) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการ (= 3.40)</p> <ol start="2"> <li>ผลการเปรียบเทียบระดับคุณภาพการบริการ พบว่า โดยภาพรวมประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับ แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการ ไม่แตกต่างกัน</li> <li>ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี ได้แก่ จัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะทั้งทางด้านกฎหมายและทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากร</li> </ol> พิมพ์พนิต วงศ์พรหม บุญเหลือ บุบผามาลา Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 720 736 สภาพปัจจุบัน ปัญหา และอุปสรรคของการวางแผนทางการเงินของ กลุ่มวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7404 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ของการวางแผนทางการเงิน และศึกษาการวางแผนทางการเงินของกลุ่มวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ แต่ได้นำเสนอเฉพาะด้านการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือ วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จากผู้เชี่ยวชาญการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี จำนวน 17 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิควิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรค ของวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร เช่น รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่สูง ความกดดันจากค่าครองชีพในเมืองใหญ่ และขาดการวางแผนที่ชัดเจนในการออมและการลงทุน ซึ่งส่งผลให้การวางแผนทางการเงินมีอุปสรรคและข้อจำกัดที่สำคัญ และ 2) ผลการวิเคราะห์การวางแผนทางการเงินระยะสั้น ระยะยาว เช่น การควบคุมการใช้จ่าย การออมและเลือกการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลายหลาย การจัดการหนี้อย่างมีระบบ และจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเงินของแต่ละบุคคล การวางแผนภาษี การวางแผนการเกษียณ จะช่วยให้ความมั่นคงทางการเงินระยะยาวบรรลุเป้าหมายทางการเงิน</p> ์ืสุกัญญา ศิริโท เกียรติชัย วีระญาณนนท์ ณัฐภัสสร ธนาบวรพาณิชย์ รภัสศา รวงอ่อนนาม Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 737 749 การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคการเดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Gallery walk) ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7445 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ก่อนและหลังใช้เทคนิคการเดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เทคนิคการชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ วิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 กลุ่ม 3 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ ปีการศึกษา 2567 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 18 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการเดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) แบบทดสอบความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มไม่อิสระ </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบเทคนิคการเดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.72/86.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เทคนิคการเดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.59)</p> ธันย์ชนก เกิดผล สุดากาญจน์ ปัทมดิลก Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 750 763 ปัจจัยที่ส่งเสริมการคงอยู่ในงานของครูเจ้าหน้าที่การเงินของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การศึกษาพหุกรณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7446 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการคงอยู่ในงานของครูเจ้าหน้าที่การเงินของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและ2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการส่งเสริมการคงอยู่ในงานของครูเจ้าหน้าที่การเงินของสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีพหุกรณีศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลักมี 2 กลุ่มได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 3 คน 2) ครูเจ้าหน้าที่การเงิน จำนวน 3 คน รวมจำนวน 6 คน จากโรงเรียนที่มีระบบการบริหารงบประมาณที่ดี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสรุปอุปนัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า1)ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการคงอยู่ในงานของครูเจ้าหน้าที่การเงินพบว่ามี 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านองค์กรและนโยบาย2)ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ3)ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ4)ด้านส่วนบุคคล5)ด้านลักษณะงานและ6)ด้านผู้บริหาร นอกจากนี้ยังพบปัจจัยที่ค้นพบใหม่ 2 ปัจจัย คือด้านคุณธรรมจริยธรรม และด้านการสนับสนุน ซึ่งส่งผลต่อความผูกพัน ความพึงพอใจ ความมั่นคงในอาชีพของครูเจ้าหน้าที่การเงิน ผลการศึกษานี้นำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบริหารงานบุคลากรในโรงเรียนอื่นได้2)ข้อเสนอแนะการส่งเสริมการคงอยู่ในงานของครูเจ้าหน้าที่การเงินพบว่าผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงในหน้าที่การงานของบุคลากรผ่านการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงาน การให้กำลังใจอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการเงิน อีกยังให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจที่ช่วยเสริมสร้างความผูกพันและความตั้งใจที่จะคงอยู่ในงานในระยะยาว จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปปรับใช้กับโรงเรียนของตนเองได้ เพื่อให้ครูเจ้าหน้าที่การเงินปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปได้</p> <p><strong> </strong></p> สุกัญญา ประจิตร์ อนุชา กอนพ่วง Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 764 775 การบริหารงานวิชาการตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของครู สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7283 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลในการทำงานของครู สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 กับประสิทธิผลในการทำงานของครู 4) เพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์การบริหารงานวิชาการตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของครู ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ และสถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวม อยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลในการทำงานของครู สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการทำงานของครู สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกระดับสูง .808 และรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 4) ตัวแปรพยากรณ์การบริหารงานวิชาการตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 7 ด้าน โดยใช้การวิเคราะห์สถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ด้านโน จัฏฐาเน นิโยชเย การบริหารงานวิชาการโดยใช้หลักมีความเป็นผู้นำ และด้านภาวนีโย การบริหารงานวิชาการโดยใช้หลักเป็นผู้มีความรู้ สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลในการทำงานของครู</p> พรรณนลิน เค้าศิริวัฒน์ สันติ อุนจะนำ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 776 794 ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ ทักษะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7362 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู 2) เพื่อศึกษาระดับทักษะดิจิทัลของครู 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับทักษะดิจิทัลของครู 4) เพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะดิจิทัลของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 205 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นจำแนกตามชื่อโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับทักษะดิจิทัลของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับทักษะดิจิทัลของครู โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 4) ตัวแปรภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 ด้าน เป็นตัวแปรพยากรณ์ดีที่สุด คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี และด้านการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ซึ่งตัวแปรทั้ง 2 สามารถอธิบายการผันแปรทักษะดิจิทัลของครู ได้ร้อยละ 51.60 สามารถสร้างสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ทักษะดิจิทัลของครู ในรูปคะแนนดิบ มีดังนี้ = 1.372 + .411(X<sub>1</sub>) + .279(X<sub>4</sub>) สมการพยากรณ์ทักษะดิจิทัลของครู ในรูปคะแนนมาตรฐาน มีดังนี้ = .463(X<sub>1</sub>) + .386(X<sub>4</sub>)</p> ธิดารัตน์ ไชยวรรณ์ สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 795 806 ภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 3 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7071 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 322 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างการสุ่มอย่างง่ายตามตารางสำเร็จรูปเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง และระดับการศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกัน และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีบุคลิกที่ดีทั้งภายนอกและภายใน รวมถึงการมีหลักธรรมเป็นเครื่องชี้นำในการทำงาน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคลากร มีกลวิธีที่หลากหลาย เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ตนเองมาประยุกต์และบูรณาการใช้ในการปฏิบัติงาน มีทักษะในการสื่อสารที่ดี มีเหตุผล รู้จักการประสานงาน เคารพและให้เกียรติบุคลากรทุกคน</p> <p><strong> </strong></p> จิรศักดิ์ เรืองเศษ สุวัฒน์ อาษาสิงห์ วศิน สอนโพธิ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 807 821 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่พักโฮมสเตย์ในเขตอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7246 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดบริการในการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่พักโฮมสเตย์ ในเขตอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานที่ท่องเที่ยวที่พักโฮมสเตย์ในเขตอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Methodology) ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยว ที่พักโฮมสเตย์ในเขตอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น จำนวน 244 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เลือกตัวอย่างแบบโควตา (Quota sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติเชิงอนุมานทดสอบ สถิติt -test และ F-test (One-way ANOVA) ตามวิธีของ<strong><em> </em></strong>Least-Significant Different (LSD)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ปัจจัยการตลาดบริการในการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่พักโฮมสเตย์ในเขตอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) รองลงมาคือ ด้านราคา (Price) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำมากที่สุดคือ ด้านการส่งเสริมการขาย (Promotion) และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานที่ท่องเที่ยวที่พักโฮมสเตย์ในเขตอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น พบว่า โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านคุณภาพการให้บริการ รองลงมาคือ ด้านการบริการ และการ ตอบรับ และด้านที่ต่ำสุดคือ ด้านการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่พักโฮมสเตย์</li> <li>ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยทางการตลาดบริการในการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่พักโฮมสเตย์ ในเขตอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ พบว่า มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนจำแนกตามสถานภาพ พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</li> </ol> อภิรดี คำไล้ รวัฒน์ มันทรา ช่อเพชร สำราญพันธุ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 822 832 แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นเรียน ในโรงเรียนพื้นที่เกาะ ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7386 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นเรียน ในโรงเรียนพื้นที่เกาะ 2)เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นเรียน ในโรงเรียนพื้นที่เกาะ 3) เพื่อประเมินแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นเรียน ในโรงเรียนพื้นที่เกาะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ปีการศึกษา 2567 จำนวน 63 คน โดยเลือกแบบผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นเรียน ในโรงเรียนพื้นที่เกาะ รวมอยู่ในระดับ มาก 2) แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นเรียน ในโรงเรียนพื้นที่เกาะ พบว่า มี 5 ด้าน 20 ข้อ คือ แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นเรียนการวางแผนการเรียนการสอน จำนวน 4 ข้อ แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นเรียนการนิเทศภายใน กำกับ ติดตามผลการเรียนการสอน จำนวน 4 ข้อ แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นเรียนการประเมินผลการเรียนการสอน จำนวน 4 ข้อ แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นเรียนการส่งเสริมสื่อ สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน จำนวน 4 ข้อ แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นเรียนการจัดชั้นเรียนและครูเข้าชั้นเรียน จำนวน 4 ข้อ 3) ผลการประเมินความเหมาะสมของแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นเรียน ในโรงเรียนพื้นที่เกาะ ตำบลเกาะศรี บอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ พบว่าทุกข้อมีความเหมาะสมอยู่ระหว่างร้อยละ 80 – 100</p> ประพันธ์ ปานเต้ง สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 833 843 การบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7432 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 2)เพื่อศึกษาแนวการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 และ 3) เพื่อประเมินแนวการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 216 แห่ง รวม 1,662 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 310 คน ซึ่งกำหนดขนาดตัวอย่างโดยทำการใช้สูตรเครจซี่และมอร์แกน โดยเลือกแบบผู้ให้ข้อมูลเป็นประธานเครือข่ายสถานศึกษา จำนวน 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 รวมอยู่ในระดับ มาก 2) แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 พบว่ามี 4 ด้าน 20 ข้อ คือแนวทางด้านการบริหารงานวิชาการตามหลักพรหมวิหาร 4 จำนวน 5 ข้อ แนวทางด้านการบริหารงานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 จำนวน 5 ข้อ แนวทางด้านการบริหารงานงบประมาณตามหลักพรหมวิหาร 4 จำนวน 5 ข้อ แนวทางด้านการบริหารงานทั่วไปตามหลักพรหมวิหาร 4 จำนวน 5 ข้อ และ 3) ผลการประเมินความเหมาะสมของแนวทางในการส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 พบว่า ทุกข้อมีความเหมาะสมอยู่ระหว่าง 80 – 100</p> ธนนันท์ ลาภอนันต์ตระกูล บุญส่ง ทองเอียง Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 844 854 การศึกษาองค์ประกอบการบริหารเพื่อยกระดับการประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษาอาชีวศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7470 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารเพื่อยกระดับการประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษาอาชีวศึกษา 2) เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบการบริหาร เพื่อยกระดับการประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษาอาชีวศึกษา และ 3) เพื่อยืนยันองค์ประกอบการบริหารเพื่อยกระดับการประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษาอาชีวศึกษา โดยเป็นวิธีการวิจัย แบบผสม (Mixed Methods) ใช้แหล่งข้อมูลจากวารสารวิชาการ วิทยานิพนธ์ รายงานวิจัย หนังสือ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงสร้างแบบสอบถาม เพื่อยืนยันองค์ประกอบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบองค์ประกอบการบริหารที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการประเมินผลและความรับผิดชอบต่อสังคม ได้รับความเห็นว่าเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.42) มีองค์ประกอบย่อย ได้แก่ การวัดผลการดำเนินงาน ความโปร่งใส การประเมินผลกระทบทางสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการบริหารจัดการ (ค่าเฉลี่ย 4.28) ครอบคลุมการตั้งเป้าหมาย วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจัดสรรทรัพยากร และการกำหนดตัวชี้วัด 3) ด้านการพัฒนาเนื้อหาและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (ค่าเฉลี่ย 4.06) เช่น การประยุกต์ใช้ AI การเลือกช่องทางสื่อสาร และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และ 4) ด้านการสร้างการมีส่วนร่วมและเครือข่าย (ค่าเฉลี่ย 4.00) เช่น การสร้างความร่วมมือกับชุมชนและพันธมิตร</p> <p>องค์ประกอบทั้ง 4 ด้านมีลักษณะบูรณาการซึ่งกันและกัน โดยมีการวางแผนเป็นฐาน เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือ การมีส่วนร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อน และการประเมินผลเป็นตัวปรับปรุงกลยุทธ์ สะท้อนให้เห็นว่า การประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องเป็นกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือและตอบสนองต่อความคาดหวังของสังคมได้อย่างแท้จริง</p> ศิวกร อินภูษา พระมหาพิสิฐ วิสิฎฺฐปญฺโญ สิบนิสัย ยิ่งสรรค์ หาพา Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 855 868 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7436 <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชันกับเกณฑ์ ร้อยละ 75 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านดงเสือเหลือง จำนวน 22 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน มีคะแนนสอบรายวิชาภาษาไทยเรื่อง ชนิดของคำ สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 75 และ3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> สุพรรษา เข็มทอง กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 869 881 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7338 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) หาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสานวิธี ออกแบบการวิจัยในรูปแบบเชิงอธิบายเป็นลำดับ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยเป็น <br />2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอน จำนวน 332 คนโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระยะที่ 2 หาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลมาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา <br /> ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการจัดการความขัดแย้ง 2) ด้านการมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3) ด้านการสร้างความไว้วางใจ 4) ด้านการมีความสามารถในการสื่อสาร และ 5) ด้านการมีความเห็นอกเห็นใจในการปฏิบัติงาน และ 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มี 20 แนวทาง ประกอบด้วย 1) ด้านการจัดการความขัดแย้ง มี 5 แนวทาง 2) ด้านการมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มี 3 แนวทาง 3) ด้านการสร้างความไว้วางใจ มี 4 แนวทาง <strong> </strong>4) ด้านการมีความสามารถในการสื่อสาร มี 4 แนวทาง และ 5) ด้านการมีความเห็นอกเห็นใจในการปฏิบัติงาน มี 4 แนวทาง โดยได้รับการยืนยันว่าใช้ได้ทุกแนวทาง</p> ทรงศักดิ์ ยงยืน พนายุทธ เชยบาล Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 882 894 ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7328 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสารคามพิทยาคม ปีการศึกษา 2567 จำนวน 280 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบทดสอบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ 2) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 3) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ 4) แบบสอบถามความตั้งใจเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 5) แบบวัดการกำกับตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ 6) แบบวัดเจตคติทางคณิตศาสตร์ 7) แบบวัดพฤติกรรมการสอนของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อนแบบสเต็ปไวส์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย พฤติกรรมการสอนของครู เจตคติทางคณิตศาสตร์ การกำกับตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ ความตั้งใจเรียนวิชาคณิตศาสตร์ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะทางคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .854, .892, .860, .904, .875, .881 และ 2) สมการพยากรณ์สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงซ้อนแบบสเต็ปไวส์ พบว่าตัวแปรทั้ง 6 ตัวสามารถพยากรณ์สมรรถนะทางคณิตศาสตร์และร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ <strong> </strong>ที่ร้อยละ 88.3 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถนำค่าที่ได้มาเขียนเป็นสมการพยากรณ์</p> ภีมพัฒน์ นามโยธา นวพล นนทภา Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 895 907 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมการคิดทางเรขาคณิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7326 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมการคิดทางเรขาคณิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบการคิดทางเรขาคณิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ กับเกณฑ์<br />ร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบการคิดทางเรขาคณิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน<br /> และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา <br />กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/10 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม<br />เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างทางเรขาคณิต ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) แบบทดสอบการคิดทางเรขาคณิต 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์งานเขียน การบรรยายเชิงวิเคราะห์ สถิติทดสอบค่าสถิติที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 79.85/75.94 สูงกว่าเกณฑ์ 70/70 <br />ที่กำหนด 2) การคิดทางเรขาคณิต มีค่าเฉลี่ย 15.18 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 15.20 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การคิดทางเรขาคณิตและผลสัมฤทธิ์<br />ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) หลังจากเข้าร่วมกิจกรรม<br />การเรียนรู้ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษานักเรียนมีมีความพึงพอใจคะแนนเฉลี่ย 4.42 ซึ่งคะแนนเฉลี่ยที่ได้<br />อยู่ในเกณฑ์ ตั้งแต่ 3.51–4.50 มีความพึงพอใจอยู่ใน ระดับมาก</p> ธัญญลักษณ์ กะตะศิลา รามนรี นนทภา Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 908 923 การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ รูปแบบสมองเป็นฐาน (Brain base learning) ร่วมกับบอร์ดเกม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7383 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม โดยเป็นงานวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านน้ำชุน จำนวน 15 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากนักเรียนจำนวนทั้งหมด 11 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผลการพิจารณาความเหมาะสมของแผนการจัดการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน มีความเหมาะสมระดับเหมาะสมมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมพบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52 , S.D. = 0.23)</p> เนตรกมล ศรีสุธรรม อ้อมธจิต แป้นศรี Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 924 936 ภาวะผู้นำและการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7479 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำ การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหาร และสุขภาพองค์การของสถานศึกษา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำและการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารกับสุขภาพองค์การของสถานศึกษา 3) สร้างสมการภาวะผู้นำและการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารที่สามารถทำนายสุขภาพองค์การของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 270 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.979 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสมการถดถอยพหุคูณแบบบเป็นขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำ ระดับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหาร และระดับสุขภาพองค์การของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ภาวะผู้นำกับสุขภาพองค์การของสถานศึกษา ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารกับสุขภาพองค์การของสถานศึกษา ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) สมการพยากรณ์ภาวะผู้นำและการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารที่สามารถทำนายสุขภาพองค์การของสถานศึกษา พบว่า มีจำนวน 4 ตัวแปร คือ แบบภาวะผู้นำทางวิชาการ (X<sub>3</sub>) แบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (X<sub>1</sub>) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารแบบร่วมมือ (X<sub>7</sub>) แบบหลีกเลี่ยง (X<sub>4</sub>) สามารถร่วมกันทำนายสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง ได้ร้อยละ 74.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้</p> <p> = 1.359 + 0.209X<sub>3</sub> + 0.167X<sub>1</sub> + 0.354X<sub>7</sub> - 0.049X<sub>4</sub> </p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน</p> <p> = 0.239Z<sub>X3</sub> + 0.186Z<sub>X1</sub> + 0.406Z<sub>X7</sub> - 0.127Z<sub>X4</sub></p> วรพันธ์ รอดสถิตย์ จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 952 969 การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยใช้วงจรคุณภาพ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/7486 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ และ 2) เพื่อสร้างและประเมินแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยใช้วงจรคุณภาพ การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 338 คน โดยเลือกสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ระยะที่ 2 การสร้างและประเมินแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยใช้วงจรคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เลือกแบบเจาะจงเป็นผู้บริหารต้นแบบ เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และลำดับความต้องการจำเป็น เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการเตรียมการวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ด้านการติดตามผลการดำเนินการให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ด้านจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งสู่คุณภาพ ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ด้านกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และด้านจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา</li> <li>แนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยใช้วงจรคุณภาพ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 35 แนวทาง ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</li> </ol> <p> </p> เฉลิมพล วิโรจน์รัตน์ สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2025-06-28 2025-06-28 8 3 937 951