วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR <p>วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี (Journal of Mani Chettha Ram Wat Chommani) <br />เลขมาตรฐาน P-ISSN : 2774-0455 (Print): 2774-0455 (Print) E-ISSN : 2774-0978 (Online)<br />เป็นวารสารในกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ </p> <p> </p> th-TH thitiwattano@gmail.com (พระมหาฐิติวัสส์ หมั่นกิจ, ดร.) thitiwattano@gmail.com (พระมหาฐิติวัสส์ หมั่นกิจ, ดร.) Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการพัฒนาที่มีคุณภาพ ของการบริหารสถานศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6383 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วยฉันทะ, วิริยะ, จิตตะ, และวิมังสา เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน การสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรผ่านการสนับสนุนสภาพแวดล้อมการทำงานและการกำหนดเป้าหมายร่วมกันช่วยเสริมสร้างความพึงพอใจในงาน และการทุ่มเทในการพัฒนาสถานศึกษาอย่างเต็มที่ (ฉันทะ) ความพากเพียรในการเผชิญปัญหาและบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและเสริมศักยภาพของบุคลากร (วิริยะ) ความเอาใจใส่ในการติดตามผลและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทุกฝ่าย จะส่งเสริมบรรยากาศที่อบอุ่นและร่วมมือกันในองค์กร (จิตตะ) การใช้ปัญญาในการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ช่วยพัฒนากระบวนการบริหารและเพิ่มความโปร่งใสในองค์กร (วิมังสา) การนำหลักอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาจะช่วยสร้างความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและความยั่งยืนของสถานศึกษา การนำหลักอิทธิบาท 4 มาใช้ในการบริหารสถานศึกษา จะช่วยให้โรงเรียนสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี และสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาการศึกษา ผู้นำสถานศึกษาที่สามารถผสานหลักธรรมเหล่านี้เข้ากับการบริหารจะช่วยให้เกิดความก้าวหน้าและความสุขในองค์กรอย่างแท้จริง</p> พระครูปริยัติโสภณกิจ, พระปลัดฮอนด้า วาทสทฺโท, ยิ่งสรรค์ หาพา Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6383 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 บทบาทศึกษานิเทศก์ในยุคปัญญาประดิษฐ์: การปรับตัว และการเสริมสร้างศักยภาพครู https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6451 <p>ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคม การศึกษาเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะบทบาทของศึกษานิเทศก์ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จำเป็นต้องปรับตัวให้สอดรับกับความก้าวหน้าของ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการนิเทศและสนับสนุนครูอย่างมีประสิทธิผล บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์บทบาทใหม่ของศึกษานิเทศก์ในยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาในหลายมิติ โดยเน้นความสำคัญของการปรับตัวเพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Leader) ที่สามารถนำ AI มาใช้ในการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพครูและระบบการศึกษา พร้อมทั้งวิเคราะห์ความท้าทาย โอกาส และแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพครูให้สอดคล้องกับบริบทของศตวรรษที่ 21 </p> <p> การศึกษานี้ดำเนินการโดยการทบทวนวรรณกรรมและกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการนำ AI มาใช้ในระบบการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า AI สามารถช่วยศึกษานิเทศก์ในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น การประเมินศักยภาพครูเฉพาะบุคคล การสร้างสถานการณ์จำลองเพื่อฝึกฝนครู และการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการของนักเรียนแต่ละคน ทั้งนี้ AI ยังช่วยลดภาระงานที่ซ้ำซ้อนและเพิ่มความแม่นยำในการนิเทศ อย่างไรก็ตาม ความท้าทายสำคัญที่พบคือการขาดแคลนทรัพยากรและทักษะด้านดิจิทัลของครูในบางพื้นที่ รวมถึงความเสี่ยงจากการพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไป ซึ่งอาจลดบทบาทของปฏิสัมพันธ์เชิงมนุษย์ จึงเสนอแนะให้ศึกษานิเทศก์พัฒนาความรู้ด้าน AI ผ่านการอบรมและการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ร่วมกับการส่งเสริมการใช้ AI อย่างสมดุล เพื่อให้สามารถสนับสนุนครูและยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างยั่งยืน</p> อภิภัสร์ ปาสานะเก, สาลินี ลิขิตพัฒนะกุล, ชัยวัฒน์ ป้อมพิทักษ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6451 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้แบบใหม่โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6572 <p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบใหม่โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ พร้อมนำเสนอแนวคิด วิธีการ และแนวทางในการจัดการเรียนรู้แบบใหม่โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ ผ่านมุมมองตามแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และแนวคิดเกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เพื่อเป็นแนวทางสำคัญในการจัดการเรียนรู้แบบใหม่โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน</p> <p> จากการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบใหม่โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์เป็นการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทย เป็นการจัดการเรียนรู้ที่สามารถบูรณาการเนื้อหาให้เชื่อมโยงกับชุมชนโดยใช้การปฏิบัติงานด้วยการลงมือปฏิบัติจริงในชุมชน สร้างความรู้จากการร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างสรรค์นวัตกรรม มีครูเป็นผู้ฝึกสอนและอำนวยความสะดวกโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการใช้นวัตกรรมสื่อการสอน สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ภายใต้การเรียนรู้จากประสบการณ์และเล่าเรื่องจากชุมชน เพื่อให้ผู้ชมเห็นถึงคุณค่าความงามของประเพณี สถานที่ หรือแหล่งสำคัญของชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยใช้แนวคิดการสร้างสรรค์ในรูปแบบเล่าเรื่องเกี่ยวกับประเพณีต่างๆ เป็นองค์ความรู้เชิงนาฏศิลป์ในการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ตามจินตนาการของผู้สร้างสรรค์</p> จิตสุภวัฒน์ สำราญรัตน์, วรรณวิภา มัธยมนันท์, วิไลวรรณ ไชยลังการ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6572 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำตามหลักพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6404 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำตามหลักพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา2) ศึกษาแนวปฏิบัติภาวะผู้นำตามหลักพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา ใช้การวิจัยแบบผสมผสานโดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากครูผู้สอนซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 124 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 23 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ขั้นตอนที่ 1 ภาวะผู้นำตามหลักพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับ มาก</li> <li>ขั้นตอนที่ 2 แนวปฏิบัติภาวะผู้นำตามหลักพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำมาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตน ได้ดังนี้ 2.1) ควรนำหลักอิทธิบาท 4 ได้แก่ มีความพึงพอใจในตำแหน่งหน้าที่ เอาใจใส่ในการปฏิบัติงานด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ และแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล 2.2) ควรนำหลักฆราวาสธรรม 4 ได้แก่ มีความจริงใจ รักษาคำพูด มีความซื่อสัตย์ อดทน อดกลั้น มีน้ำใจเสียสละ และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม 2.3) ควรนำหลักสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ ให้ความช่วยเหลือทุกคนด้วยความเต็มใจ ใช้คำพูดที่สุภาพ ให้โอกาสผู้อื่น ถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ และปฏิบัติตนวางตัวเสมอต้นเสมอปลาย 2.4) ควรนำหลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ มีน้ำใจให้เกียรติช่วยเหลือทุกคนทุกฝ่ายให้ได้รับการพัฒนาตนเอง โดยไม่เลือกปฏิบัติ ยกย่อชมเชยทุกคน และปฏิบัติกับทุกคนด้วยความเสมอภาค</li> </ol> นลธวัช ยุทธวงศ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6404 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน กับชุมชนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6440 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชน 2) ศึกษาการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และ 4) ศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนจำนวน 335 คนได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเฟียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ด้านครูผู้สอน ด้านกลยุทธ์การพัฒนา และด้านการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมากที่สุด 2) การสร้างความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชนโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการนำโรงเรียนออกสู่ชุมชน และด้านการนำชุมซนเข้ามาสู่โรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ปัจจัยการบริหารมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง กับ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ4) ปัจจัยการบริหารทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ด้านครูผู้สอน ด้านกลยุทธ์การพัฒนา และด้านการมีส่วนร่วม ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ได้ร้อยละ 66.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> อุดมพงศ์ ประสานเชื้อ, ธีระเดช จิราธนทัต Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6440 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสังคมกับความสุขในการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอตาพระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6447 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอตาพระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 2) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอตาพระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสังคมกับความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอตาพระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอตาพระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 จำนวนนักเรียน 286 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดจำนวน 2 ชุด คือ แบบวัดความฉลาดทางสังคม เป็นมาตรประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 54 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 และแบบวัดความสุขในการเรียนรู้ เป็นมาตรประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 28 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ความฉลาดทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมและรายองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก 2) ความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมและรายองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสังคมกับความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมมีความสัมพันธ์ในทางบวกอยู่ในระดับสูง (r<sub>xy</sub> = .837) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์ในทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้นด้านการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น อยู่ในระดับปานกลาง</p> ฐิตาวตี ดีจรัส, อุทัยวรรณ สายพัฒนะ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6447 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความสามารถในการตัดสินใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6445 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน 2) ศึกษาระดับความสามารถในการตัดสินใจของนักเรียน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความสามารถในการตัดสินใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร จำนวน 348 คน การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเปิดตาราง เครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 36 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 และแบบวัดความสามารถในการตัดสินใจ เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 37 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมและรายพฤติกรรมอยู่ในระดับสูง 2) ความสามารถในการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมและรายพฤติกรรมอยู่ในระดับสูง ยกเว้นความเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความสามารถในการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความสัมพันธ์ในทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> อนุพงษ์ ช่วยชาติ, อุทัยวรรณ สายพัฒนะ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6445 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลนครสงขลา : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนร่วมใจพัฒนา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6392 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลนครสงขลา : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนร่วมใจพัฒนา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลนครสงขลา : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนร่วมใจพัฒนา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยได้แก่ เชิงปริมาณ ได้กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนชุมชนร่วมใจพัฒนา จำนวน 346 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ เบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <p>1) ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลนครสงขลา : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนร่วมใจพัฒนา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากเมื่อพิจาราณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านบทบาทบาทสังคมและสาธารณสุข และด้านพัฒนาเศรษฐกิจ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ</p> <p>2) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลนครสงขลา : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนร่วมใจพัฒนา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา พบว่า ปัญหา มีการวางขายสินค้าของพ่อค้าแม่ค้าบนทางเท้าทำให้การสัญจรไม่สะดวก ปัญหาการว่างงาน และในเรื่อง มีเสียงรถมอเตอร์ไซค์ดังรบกวนจากการซิ่งรถ และ อสม ไม่ค่อยมีบทบาทในการแจ้งข่าวสารแนวทางแก้ปัญหา กำหนดพื้นที่ขายสินค้าให้กับประชาชนและ ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีอาชีพเสริม และตั้งจุดตรวจและกวดขันการใช้รถใช้ถนนในชุมชน และกำหนดให้ อสม เข้าเยี่ยมบ้านประชาชนในชุมชนทุกสัปดาห์</p> พระกฤษดา ฐิตธมฺโม (แก้วประยูร) Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6392 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับบทเรียนออนไลน์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญาตรี สาขาการศึกษาปฐมวัย https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6385 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับบทเรียนออนไลน์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการศึกษาปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาแบบย้อนกลับร่วมกับบทเรียนออนไลน์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา และ <strong>3</strong>) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับบทเรียนออนไลน์วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยสันตพล ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน <strong>33</strong> คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ 1) บทเรียนออนไลน์วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับบทเรียนออนไลน์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับบทเรียนออนไลน์มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 75<strong>.</strong>87/76<strong>.</strong>82 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนแบบย้อนกลับร่วมกับบทเรียนออนไลน์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .<strong>05</strong> และ <strong>3</strong>) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับบทเรียนออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4<strong>.</strong>47, S<strong>.</strong>D<strong>.</strong>=0<strong>.</strong>50)</p> สถิตย์ กุลสอน, ทิพยวรรณ แพงบุพผา, ญาณิน ดาจง, มิลินท์ ศิรินทร์กัญญา Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6385 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาบอร์ดเกมการศึกษาตามแนวทางการคิดแก้ปัญหาร่วมกับการเรียนรู้ แบบเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาและเจตคติต่อการเรียน วิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6494 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนาบอร์ดเกมการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดแก้ปัญหาก่อนและหลังการใช้บอร์ดเกมการศึกษา 3) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียน ก่อนและหลังใช้บอร์ดเกมการศึกษา 4) เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อการเล่นบอร์ดเกมการศึกษา 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อบอร์ดเกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนชุมพลโพนพิสัย ภาคเรียนที่ 2/2566 จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ 1) บอร์ดเกมการศึกษา 2) แบบประเมินคุณภาพบอร์ดเกมการศึกษา 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหา 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบวัดเจตคติต่อการเล่นบอร์ดเกมการศึกษา 6) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบอร์ดเกมการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) และการทดสอบค่าที t – test (Dependent Samples)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพบอร์ดเกมการศึกษาด้านเนื้อหามีคุณภาพ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยด้านเนื้อหา 4.69 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมีคุณภาพโดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.64 อยู่ในระดับมากที่สุด และประสิทธิภาพของบอร์ดเกมการศึกษา เท่ากับ 89.28/88.00 2) ผลการพัฒนาความสามารถทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บอร์ดเกมการศึกษาสูงกว่าก่อนเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังใช้บอร์ดเกมการศึกษาสูงกว่าก่อนเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการวัดเจตคติที่มีต่อการเล่นบอร์ดเกมการศึกษา โดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 นักเรียนมีเจตคติต่อ การเล่นบอร์ดเกมการศึกษาระดับมากที่สุด และ 5 ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อบอร์ดเกมการศึกษา นักเรียนมีความพึงพอใจเฉลี่ย 4.76 ระดับมากที่สุดทุกรายการ </p> กาญจนา ทองจบ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6494 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะกับความฉลาดทางอารมณ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เครือข่าย 2 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6472 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เครือข่าย 2 2) ศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เครือข่าย 2 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะกับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เครือข่าย 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เครือข่าย 2 จำนวน 256 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ จำนวน 7 ข้อ เป็นแบบวัดด้วยการ วาดภาพ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .76 และแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ เป็นแบบมาตรประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 57 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน </p> <p> ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เครือข่าย 2 โดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความคิดคล่องแคล่ว ด้านความคิดยืดหยุ่น และด้านความคิดละเอียดลออ มีค่าเฉลี่ยในระดับสูงมาก ตามลำดับ ส่วนด้านความคิดริเริ่ม มีค่าเฉลี่ยในระดับสูง</li> <li>ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เครือข่าย 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก</li> <li>ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความฉลาดทางอารมณ์ อยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> </ol> ปุณยวรรณ พุ่มพวง, อุทัยวรรณ สายพัฒนะ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6472 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 กระบวนการส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนในการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนครศรีธรรมราช https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6483 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพทั่วไป ปัญหาและอุปสรรคของการส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) วิเคราะห์องค์ประกอบของการส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนในการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) นำเสนอรูปแบบของการส่งเสริมความรู้ทางการเมืองให้แก่ประชาชนในการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกพรรคการเมือง คณะกรรมการการเลือกตั้ง นักการเมืองท้องถิ่น และประชาชน รวม 28 คน และผู้เข้าร่วมเวทีเสวนากลุ่มอีก 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดเวทีเสวนากลุ่ม และการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การส่งเสริมความรู้ทางการเมืองควรดำเนินการตามรูปแบบ BRIDGE Model ประกอบด้วย การเสริมสร้างศักยภาพผ่านการพัฒนาบุคลากรและสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การบูรณาการทรัพยากรจากทุกภาคส่วนเพื่อลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเผยแพร่ความรู้ผ่านช่องทางที่หลากหลาย การพัฒนาทักษะความรู้ด้านดิจิทัลเพื่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการรู้เท่าทันสื่อ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมระดับรากหญ้าผ่านกิจกรรมชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น และการประเมินและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยพบปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ได้แก่ การใช้สื่อดิจิทัลที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน การจัดกิจกรรมชุมชนที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความตระหนักในความสำคัญของการเลือกตั้ง บทบาทของสถาบันการศึกษาในการปลูกฝังความรู้ทางการเมืองตั้งแต่ระดับพื้นฐาน และการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนการส่งเสริมความรู้อย่างเป็นระบบ รวมถึงการพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน</p> <p><strong> </strong></p> กรวิชญ์ บุญมี, พระครูปลัดอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ (สุขพานิช) Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6483 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6470 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น 2) สร้างและปรับปรุงแก้ไข และ 3) ประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัย มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 312 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 สร้างและปรับปรุงแก้ไขแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มี 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 สร้างแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และขั้นที่ 2 ปรับปรุงแก้ไขแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนความต้องการจำเป็นมี 5 อันดับ ได้แก่ อันดับที่ 1 ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อันดับที่ 2 ด้านการนิเทศการศึกษา อันดับที่ 3 ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา อันดับ 4 ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ อันดับที่ 5 ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มี 5 ด้าน 38 แนวทาง ได้แก่ (1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 7 แนวทาง (2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 8 แนวทาง (3) ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน 8 แนวทาง และ (4) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 8 แนวทาง (5) ด้านการด้านการนิเทศการศึกษา 7 แนวทาง และ 3) แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้ง 5 ด้าน 38 แนวทาง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน</p> วิศรุตา คูณแสน, ธีระเดช จิราธนทัต Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6470 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์เขต 1 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6489 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร 3) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ ครูผู้รับผิดชอบการประกันคุณภาพระดับประถมศึกษา และครูผู้รับผิดชอบการประกันคุณภาพระดับปฐมวัย จำนวน 113 แห่งๆ ละ 4 คน รวม 452 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมินและรับรองรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การวิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 ได้ 7 องค์ประกอบ 82 ตัวแปร</li> <li>รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนนำ (2) เนื้อหาและแนวทางการดำเนินงาน ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์ประกอบที่ 2 ทรัพยากรทางการบริหารสถานศึกษา องค์ประกอบที่ 3 การบริหารจัดการสถานศึกษา องค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ องค์ประกอบที่ 5 การนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา องค์ประกอบที่ 6 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษา และองค์ประกอบที่ 7 การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ (3) เงื่อนไขความสำเร็จ<strong> </strong></li> <li>ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร พบว่า มีความถูกต้อง มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสมและมีประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด</li> </ol> วรินทร์ธรา ภัคอัมพาพันธ์, ธานี เกสทอง, วรกฤต เถื่อนช้าง Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6489 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6517 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา <br />2) ศึกษาระดับสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู และ <br />4) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี จำนวน 346 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอที่ตั้งของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก <br />2) สมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศของครูในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูในโรงเรียนเอกชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา 4 ตัวแปร ได้แก่ บทบาทการส่งเสริมพัฒนาครู บทบาทการจัดสรรทรัพยากร บทบาทการสร้างขวัญกำลังใจ และบทบาทการประเมิน สามารถร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูได้ร้อยละ 76<strong>.</strong>10 โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ 0<strong>.</strong>224 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> สำนวน คุณพล, เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6517 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 2 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6522 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้<br />ของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้<br />ของสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษากับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ทางการศึกษาของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 จำนวน 265 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตามตารางเครซี่และมอร์แกนจากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามสัดส่วนของผู้บริหารและครูแต่ละโรงเรียน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และค่าถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า</p> <p> 1) ระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51) 2) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.47) 3) ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพยากรณ์ มีความสัมพันธ์ในทางบวกระดับปานกลางถึงสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 <br />มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.551 – 0.818 4) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านโครงสร้างขององค์กร <br />( =.262) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ( =.254) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ <br />( =.0.284) และปัจจัยด้านบรรยากาศการทำงาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.879 มีอำนาจพยากรณ์ (R<sup>2</sup>) ร้อยละ 77.30 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน .251</p> พิชญพันธุ์ จันทร์น้อย, สถิรพร เชาวน์ชัย, ชนัดดา ภูหงษ์ทอง Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6522 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6449 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น ที่จำแนกเพศ อายุ อาชีพ และจํานวนสมาชิกในครอบครัว และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น คำนวณตามสูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน่ 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.886</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.78, S.D.= 0.35) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านร่างกาย ( = 3.94, S.D.= 0.56) รองลงมาคือด้านจิตใจ ( = 3.88, S.D.= 0.49) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านสิ่งแวดล้อม ( = 3.65, S.D.= 0.72)</li> <li>ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น ที่จำแนกเพศ อายุ อาชีพ และจํานวนสมาชิกในครอบครัว โดยภาพรวมผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น ที่มีเพศ อายุ อาชีพ และจํานวนสมาชิกในต่างกัน มีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน</li> </ol> <p> 3. ผลการศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น ได้แก่ ควรมีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงและเพียงพอในสถานที่ราชการ สวนสาธารณะ</p> พลอยพรรณ คำสีลา, บุญเหลือ บุบผามาลา Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6449 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาของเทศบาลตำบลหนองหว้า อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6448 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาของเทศบาลตำบลหนองหว้า 2) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาของเทศบาลตำบลหนองหว้า ที่จําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เป็นแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาของเทศบาลตำบลหนองหว้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนที่อยู่ในรายชื่อตามทะเบียนบ้าน อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหนองหว้า จำนวน 382 คน ด้วยการใช้สูตรของ Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และการทดสอบเอฟ (f-test)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาของเทศบาลตำบลหนองหว้าอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์</li> <li>ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาของเทศบาลตำบลหนองหว้า ที่จําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมพบว่า ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาของเทศบาลตำบลหนองหว้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาของเทศบาลตำบลหนองหว้า ไม่แตกต่างกัน</li> <li>แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาของเทศบาลตำบลหนองหว้า ได้แก่ เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงานโครงการ เพื่อเป็นการกำหนดเป้าหมายในการทำงาน</li> </ol> ณัฐดนัย ชัยจิตร, โกศล สอดส่อง Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6448 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการดูแลและสร้างความปลอดภัยแก่นักเรียนในยุคดิจิทัล โดยใช้ชุมชนเป็นฐานสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6566 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบและความต้องการจำเป็นในการดูแลและสร้างความปลอดภัยแก่นักเรียนในยุคดิจิทัลโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 2) พัฒนารูปแบบการดูแลและสร้างความปลอดภัยแก่นักเรียนในยุคดิจิทัลโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 124 คน โดยการสุ่มแบบแบบแบ่งชั้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็น แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNI<sub> Modified)</sub></p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการดูแลและสร้างความปลอดภัยแก่นักเรียนในยุคดิจิทัลโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การเสริมสร้างทักษะดิจิทัลอย่างปลอดภัยมี (2) การปลูกฝังจริยธรรมและความรับผิดชอบในสังคมดิจิทัล (3) การเสริมสร้างความร่วมมือของชุมชนเพื่อความปลอดภัยดิจิทัล (4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อความปลอดภัยในยุคดิจิทัล (5) การบริหารจัดการและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ (6) การดูแลสุขภาพจิตและอารมณ์ของนักเรียนในโลกดิจิทัล 2) รูปแบบการดูแลและสร้างความปลอดภัยแก่นักเรียนในยุคดิจิทัลโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ สาระสำคัญ วิธีการดำเนินงาน เงื่อนไขของความสำเร็จ รูปแบบมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด</p> พระมหาฐิติวัสส์ ฐิติวฑฺฒโน (หมั่นกิจ), อุไรรัตน์ ทิพยเนตร, รัศมี อุกประโคน, นิพล อินนอก, วทัญญู ภูครองนา Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6566 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติ สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6558 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะปฏิบัติของผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำนวน 34 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินคุณภาพบทเรียนอีเลิร์นนิง แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้บทเรียน อีเลิร์นนิงร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติ มีค่าเท่ากับ 84.83/83.82 2) ผลเปรียบเทียบทักษะ การฝึกปฏิบัติโดยรวมมีค่าร้อยละ 89.22 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ 3) ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05</p> วิเชษฐ์ นันทะศรี, อัจฉรา นันทะศรี Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6558 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6530 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 2) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power Analysis ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 129 คน และสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา และทำการสุ่มโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา 1.00 ทุกข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ .967 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู เท่ากับ .959 สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์และด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ซึ่งเขียนเป็นสมการพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ได้ดังนี้</p> <p> = 1.135 + 0.385<sup>***</sup> X<sub>1</sub> - 0.233 X<sub>2 </sub> + 0.585<sup>***</sup> X<sub>3</sub> + 0.029 X<sub>4</sub></p> <p> <em>= </em> 0<em>.</em>433<sup>***</sup> X<sub>1</sub> - 0.269 X<sub>2 </sub>+ <sub> </sub>0.681<sup>***</sup> X<sub>3</sub> + <sub> </sub>0.041 X<sub>4</sub></p> กนกพร แทนบุญ, นวรัตน์ ไวชมภู, ชณัฐ พรหมศรี Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6530 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชลบุรี เขต3 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6510 <div> <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่สามารถทำนายการบริหาร และ 5) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา<br />กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 320 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี-มอร์แกนและใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 3 อยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 3 อยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำดิจิทัลของบริหาร โดยรวม กับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง =0.795 และมีความนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 4) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา พบว่าด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา และประสิทธิภาพการทำนายร้อยละ 66.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถเขียนเป็นสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ สมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบ Y’ = 0.999 + 0.482(XC) + 0.298 (XD)</p> <p>สมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน Z’ = 0.512 (XC) + 0.355 (XD)</p> <p>5) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 3 มีจำนวน 3 ด้าน ที่ต้องได้รับการพัฒนา ประกอบด้วย ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล ด้านการเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล ด้านการสร้างเครือข่ายดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้</p> </div> รดา บุนนาค, ชัยฤทธิ์ แสงสว่าง, สนั่น ประจงจิตร Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6510 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6477 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว 2) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะ แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว จำนวน 377 คน ด้วยการใช้สูตรของ Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่า (T-Test) และใช้สถิติเอฟ (F-Test)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน</li> <li>ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยภาพรวมประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ไม่แตกต่างกัน</li> <li>ข้อเสนอแนะ แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ 1) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ควรจัดประชุมหรือเปิดเวทีให้ประชาชนมีส่วนร่วมในด้าน ต่าง ๆ เป็นประจำทุก ๆ เดือน</li> </ol> ภคภณ สุธรรมมา, สุปัน สมสาร์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6477 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6454 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย จำนวน 362 คน จากสูตรของทาโรยามาเน่ หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติค่าที (T-Test) และใช้สถิติเอฟ (F-Test) </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.73, S.D = 3.73) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักนิติธรรม ( = 4.22, S.D = 0.39) รองลงมา คือ ด้านหลักมุ่งเน้นฉันทามติ ( = 4.11, S.D = 0.51) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านหลักความโปร่งใส ( = 3.10, S.D = 0.38)</li> <li>ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือยอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่จําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือยอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ไม่แตกต่างกัน</li> <li>ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ ควรมีวิธีการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณให้มีความคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ที่ใช้งานง่ายและรวดเร็ว</li> </ol> ชลลดา ตาเมือง, ชาญยุทธ หาญชนะ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6454 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6450 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ 2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติค่า (T-Test) และใช้สถิติเอฟ (F-Test) </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักการกระจายอำนาจ รองลงมา คือ ด้านหลักความเสมอภาค และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านหลักความโปร่งใส</li> <li>ผลการเปรียบเทียบระดับการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า โดยภาพรวมประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ อําเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น ไม่แตกต่างกัน</li> <li>แนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ อําเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ควรส่งเสริมให้บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ ได้รับข่าวสาร กฎระเบียบข้อบังคับที่ทันสมัยในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อให้เกิดมาตรฐานและลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน</li> </ol> วิภาพรรณ โคตร์ฮุย, ชาญยุทธ หาญชนะ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6450 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 นวัตกรรมการจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมพื้นที่ลุ่มน้ำสวยโดยการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อหนุนเสริมการเกษตรแบบยั่งยืนสู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดหนองคาย https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6587 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการ ปัญหาและอุปสรรค ในการจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมพื้นที่ลุ่มน้ำสวยโดยการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อหนุนเสริมการเกษตรแบบยั่งยืนสู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดหนองคาย 2) เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินการจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมพื้นที่ลุ่มน้ำสวยของจังหวัดหนองคาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่มใหญ่/สัมภาษณ์กลุ่มกับผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านและประชาชน ทั้ง 6 ตำบล จำนวน 900 คน การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน การประชุมผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลโดยใช้เทคนิคสามเส้า แล้วนำเสนอเชิงพรรณนาความ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการ ปัญหาและอุปสรรค ในการจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมพื้นที่ลุ่มน้ำสวยโดยการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อหนุนเสริมการเกษตรแบบยั่งยืนสู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดหนองคาย (1) โดยทั่วไปชาวบ้านจะใช้วิธีการแบบเรียบง่ายโดยอาศัยสิ่งที่มีอยู่ในพื้นที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ โดยอาศัยแนวคิด วิธีการ ที่สอดคล้องกับพื้นที่ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในชุมชน อันเกิดจากความสามารถและประสบการณ์สืบต่อกันมาที่สอดคล้องกับประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน เพื่อการจัดสรรน้ำและการใช้ประโยชน์จากลุ่มน้ำสวยในการหล่อเลี้ยงชีวิต ซึ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำสวยเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิต ที่หล่อเลี้ยงชาวบ้านมาอย่างยาวนาน (2) การใช้น้ำเพื่อการเกษตร ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาการใช้เทคโนโลยีในการจับสัตว์น้ำ เป็นต้น ปัญหาต่างๆ เหล่านี้หน่วยงานภาครัฐพยายามเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา</p> พระครูโสภณธรรมโชติ (สัมพันธ์ สิริโรจน์บริรักษ์) Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6587 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6588 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 2) ศึกษาการเป็นสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ารศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนขนาดเล็ก อำเภอเมืองพิจิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 214 คน แบ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 87 คน จาก 87 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง และครูผู้สอน จำนวน 127 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของ เครจซี่และมอร์แกน และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ตามสัดส่วนของครูแต่ละโรงเรียน จำนวน 87 โรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามชนิดมาตราประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 64)</li> <li>สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71)</li> </ol> <p> 3. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r = 0.790**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01</p> ปิ่นมนัส ใบนิล, ทัศนะ ศรีปัตตา Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6588 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาปัญหาการบริหารงานระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6639 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับปัญหาการบริหารงานระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จำแนกตามตำแหน่งปัจจุบัน ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางเครซี่ และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 297 คน เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 21 คน และครู จำนวน 276 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามปัญหาการบริหารงานระบบข้อมูลสารสนเทศ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.67-1.00 มีค่าความเที่ยง 0.98 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและค่าเอฟ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li>ระดับปัญหาการบริหารงานระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.73, S.D. = 0.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีปัญหาสูงที่สุด คือ ด้านการจัดเก็บข้อมูล มีปัญหาอยู่ในระดับมาก ( = 3.96, S.D. = 0.76) รองลงมาคือ ด้านการประมวลผลข้อมูล มีปัญหาอยู่ในระดับมาก ( = 3.93, S.D. = 0.76) และด้านที่มีปัญหาต่ำที่สุด คือ ด้านการนำข้อมูลไปใช้ มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.42, S.D. = 0.70)</li> <li>ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จำแนกตามตำแหน่งปัจจุบัน ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน พบว่า ไม่แตกต่างกัน</li> </ol> พงศธร แรงเขตวิทย์, นันธวัช นุนารถ, ฐิตินันท์ ด้วงสุวรรณ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6639 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมที่สร้างจาก Wordwall เพื่อส่งเสริมการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6575 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมที่สร้างจาก Wordwall และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมที่สร้างจาก Wordwall กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ปีการศึกษา 2567 จำนวน 103 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยคือ แผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติค่าที t-test for Dependent</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมที่สร้างจาก Wordwall มีผลสัมฤทธิ์การจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมที่สร้างจาก Wordwall อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ที่ 4.63</li> </ol> สิรินทร์ทิพย์ ชุมทอง, เปรมพล วิบูลย์เจริญสุข Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6575 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6456 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง ที่จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ 3) เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชากรที่อาศัยในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบวัดหลวง อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้น จำนวน 380 คน ด้วยการใช้สูตรของทาโรยามาเน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่า และใช้สถิติเอฟ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์</li> <li>ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง ที่จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยภาพรวม พบว่าประชาชนที่มีอายุและอาชีพ ต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน ส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง ไม่แตกต่างกัน</li> <li>ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ได้แก่ 1) ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดลำดับความสำคัญของโครงการเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการกำหนดนโยบายสาธารณะ 2) ควรมีการจัดประชุมเพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ให้ข้อมูลที่จำเป็นในการวางแผนขั้นตอนในการจัดการกำหนดนโยบายสาธารณะ 3) ควรสร้างแบบสอบ ถามความพึงพอใจในการดำเนินโครงการตามแผนต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ประเมินความพึงพอใจในการทำงาน และ 4) ควรหาแนวทางให้คนในชุมชนให้มีรายได้ ให้มีงานทำ ให้มีอาชีพเสริม สร้างความรักความสามัคคีกันในชุมชน</li> </ol> รัฐกร จงรักษ์, บุญเหลือ บุบผามาลา Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6456 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนในอำเภอนาด้วง สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6589 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในอำเภอนาด้วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 2) การเป็นองค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนในอำเภอนาด้วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนในอำเภอนาด้วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือครูในโรงเรียน อำเภอนาด้วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 148 คน ซึ่งมาจากการเทียบตารางของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม โดยใช้ชุดโปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูปทางสถิติ ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในอำเภอนาด้วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>2<strong>.</strong> ระดับการเป็นองค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนในอำเภอนาด้วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก </li> <li>การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอนาด้วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 และการเป็นองค์กรแห่งความสุขในโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <strong>.</strong>01</li> </ol> จักรภพ สังคีตศิลป์, จรูญ บุญธรรม, สุเทพ ตระหง่าน Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6589 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรีเขต 1 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6660 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรีเขต 1 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยสุ่มจากครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2567 โดยใช้ตารางการประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซีและมอร์แกนจำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก</p> <ol start="2"> <li>แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารบริหารสถานศึกษาส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และ4. สมการณ์พยากรณ์พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู เรียงตามลำดับประกอบด้วย พฤติกรรมแบบมุ่งสัมพันธ์ พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งผลผลิต และพฤติกรรมผู้นำพ่อแม่ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .293 สามารถร่วมกันพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ได้ร้อยละ .086 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถสร้างสมการในการพยากรณ์หรือสมการถดถอย ได้ดังนี้</li> </ol> <p>สมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนดิบ คือ</p> <p><em> </em> = 3.066 + .259 - .210 + .104</p> ธารารัตน์ สามิภักดิ์, ชัยฤทธิ์ แสงสว่าง, สนั่น ประจงจิตร Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6660 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพลเมืองดิจิทัล โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่งร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6647 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาคุณภาพการจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่งร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง และกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเลยพิทยาคม อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินคุณภาพ การจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่งร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพของการจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่งร่วมกับ การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD พบว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่งร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> ภราดร รีชัยพิชิตกุล, วิลาวัลย์ อุธคำ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6647 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6498 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม จำนวน 381 คน ด้วยการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่าที และใช้สถิติเอฟ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์</li> <li>การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า โดยภาพรวมประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และอาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม ไม่แตกต่างกัน</li> <li>แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม ได้แก่ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ</li> </ol> อัฐนิยา พุทธจันทร์, พิชัยรัฐ หมื่นด้วง Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6498 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 คุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6499 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู 2) ระดับเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนทั่วไปที่มาใช้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 400 คน ด้วยการใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่าที และใช้สถิติเอฟ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>คุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.94, S.D = 0.38) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ( = 4.16, S.D = 0.36) รองลงมา คือ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ ( = 4.15, S.D = 0.36) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ ( = 3.66, S.D = 0.69) </li> <li>การเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู ไม่แตกต่างกัน</li> <li>แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ เปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้บริการและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนเข้าใจในกระบวนการและไม่มีข้อสงสัย</li> </ol> ธนภัทร คีรี (ผู้แปล); พิชัยรัฐ หมื่นด้วง Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6499 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถในการถอดความจากงานเขียนเชิงวิชาการ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด สำหรับนักศึกษา สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6550 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน 2.ศึกษาความ<br />พึงพอใจของนักศึกษาสาขาภาษาไทยต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องการถอดความจากงานเขียน<br />โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล <br />กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 <br />โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เพื่อความเหมาะสมต่อการวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ <br />และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย <br />ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า</p> <p> 1) นักศึกษาที่เรียนเรื่องการถอดความจากงานเขียนเชิงวิชาการโดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดมีความก้าวหน้าทางการเรียนอยู่ในระดับสูง จำนวน 3 คน อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 8 คน และอยู่ในระดับต่ำจำนวน 3 คน</p> <p> 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องการถอดความจากงานเขียนเชิงวิชาการโดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า เนื้อหาสาระเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้เพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน อยู่ในระดับสูงสุด รองลงมา เนื้อหามีความเหมาะสมต่อระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอน และข้อที่อยู่ระดับต่ำสุด คือ กิจกรรมเพื่อนคู่คิดช่วยให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการคิดได้</p> มาลินี ผลประเสริฐ, ฐิติมน ฉัตรจรัลรัตน์, ทิพยวรรณ แพงบุปผา, สารัชต์ วิเศษหลง, มิลินท์ ศิรินทร์กัญญา, เดือนฉาย ผ่องใส, เบญจสิริ เจริญสวัสดิ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6550 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของที่ทำการปกครอง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6476 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของที่ทำการปกครองอำเภอโนนสัง 2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของที่ทำการปกครองอำเภอโนนสัง ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางเสริมสร้างการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของที่ทำการปกครองอำเภอโนนสัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอโนนสัง จำนวน 397 คน ได้มาจากสูตรของ ทาโร ยามาเน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการทดสอบเอฟ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า </p> <ol> <li>การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของที่ทำการปกครองอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.23, S.D = 0.26) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักประสิทธิผล ( = 4.62, S.D = 0.34) รองลงมา คือ ด้านหลักการตอบสนอง ( = 4.61, S.D = 0.35) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านหลักสำนึกรับผิดชอบ ( = 3.91, S.D = 0.39)</li> <li>ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของที่ทำการปกครองอำเภอโนนสังจังหวัดหนองบัวลำภูที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่าโดยภาพรวมประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของที่ทำการปกครองอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภูไม่แตกต่างกัน</li> </ol> <p> 3. แนวทางพัฒนาการเสริมสร้างการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของที่ทำการปกครองอำเภอโนนสังจังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ รับฟังความคิดเห็น ข้อร้องเรียน หรือข้อเสนอแนะจากประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและตรงประเด็น</p> อภิณพ ปัญโญวัฒน์, โกศล สอดส่อง Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6476 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6703 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 เป็นงานวิจัยเชิงผสานวิธี กรอบแนวความคิดศึกษามาจากเวเบอร์ ประชากรคือ ครู 1,200 คน จาก 107 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 291 คน ได้มาจากวิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ การจัดการด้านหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้การจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี และ วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า องค์ประกอบมี 6 ด้านและ 38 องค์ประกอบย่อย และ 3)โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีความสอดคล้องกัน</p> ธีระศักดิ์ เกตุอำไพ, นาวิน นิลแสงรัตน์, นรเศรษฐ์ ชุมวงษ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6703 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยอง https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6701 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1)เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา และระดับประสิทธิผลของโรงเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาและระดับประสิทธิผลของโรงเรียน และ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างองค์ประกอบ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยองประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูใน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยองจำนวน 51โรงเรียน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2,656 คน และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 348 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของ ผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้าง องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ <strong> </strong></p> สุภัชชา ศรีชะอุ่ม, พรรัชต์ ลังกะสูตร, คณิต สุขรัตน์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6701 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6700 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท และ 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงผสานวิธี ขั้นตอนดำเนินการวิจัยมีดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน สร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา โดยสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท มี 5 องค์ประกอบ 2) รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท มีความเหมาะสมทุกด้าน 3) ระดับความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> จำนงค์ ศรีโมรา, นาวิน นิลแสงรัตน์, อธิพงษ์ เพชรสุทธิ์ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6700 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6622 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) สร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหาร รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอนกลุ่มทักษะอาชีพ โดยวิธีการลือกแบบเจาะจง จำนวน 120 คน และสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีการปฏิบัติที่ดี จำนวน 5 แห่ง ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 แห่ง ระยะที่ 2 การสนทนากลุ่ม สร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยผู้ข้อมูลสำคัญ คือผู้บริหารโรงเรียนเฉพาะความพิการที่บกพร่องทางสติปัญญาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 15 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินที่สอบถามความเหมาะสมของรูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <ol> <li>ผลการศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย 5 2) องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการ (Process) ประกอบด้วย 4 และ 3)องค์ประกอบที่ 3 ผลผลิต (Outputs) ประกอบด้วย 4</li> <li>ผลการสร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการ (Process) ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย องค์ประกอบที่ 3 ผลผลิต (Outputs) ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย และ องค์ประกอบที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย</li> <li>ผลการประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 องค์ประกอบที่สำคัญ 4 องค์ประกอบ ซึ่งมีความถูกต้องของรูปแบบ ความเหมาะสมของรูปแบบ ความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งผลของการประเมินรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน</li> </ol> อภิญญา บุณยเกียรติ, วรกฤต เถื่อนช้าง Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6622 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาแนวคิดทางสุทรียศาสตร์ และสัญศาสตร์ของไอคอน พระนางมารีย์พรหมจารีในโบสถ์คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6518 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ และสัญศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาประวัติและไอคอนของพระนางมารีย์พรหมจารีในโบสถ์คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคอทอลิก 3)เพื่อ วิเคราะห์แนวคิดสุนทรียศาสตร์และสัญศาสตร์ ของไอคอนพระนางมารีย์พรหมจารี ในโบสถ์คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก 4) เพื่อวิจารณ์แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ และสัญศาสตร์ ของไอคอนพระนางมารีย์พรหมจารีย์ ในโบสถ์คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) สุนทรียศาสตร์เป็นแนวคิดที่ศึกษาความงามกระบวนการรับรู้เกี่ยวกับความรู้สึก และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความงาม ทั้งความงามจากธรรมชาติและความงามจากผลงานศิลปะ ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ต้องการวิเคราะห์ไอคอนของพระนางมารีย์พรหมจารี ซึ่งเป็นผลงานศิลปะของศิลปิน จึงต้องใช้ทฤษฎีในการอธิบายความงาม 2) พระนางมารีย์พรหมจารีย์เป็นมารดาของพระเยซู และเป็นแม่พระของคริสต์ชน มีบทบาทสำคัญต่อคริสต์ศาสนาโดยมีความเชื่อว่าพระนางจะพาผู้ศรัทธาไปหาพระเจ้าความศรัทธาที่มีต่อพระนางมารีย์พรหมจารีได้แผ่ไปอย่างกว้างขวาง 3) ไอคอนพระนางมารีย์พรหมจารีย์ เป็นผลงานศิลปะที่ศิลปินสร้างขึ้นเป็นภาพแทนพระนางมารีย์ผู้เป็นมารดาของพระเยซูคริสต์มีลักษณะทางสุนทรียะและสัญญะที่สัมพันธ์กับความเชื่อตามหลักคริสต์ศาสนาและบริบทของสังคมและวัฒนธรรม เป็นผลงานศิลปะที่มีคุณค่าทางสุนทรียะที่สามารถสร้างประสบการณ์สุนทรียะให้กับผู้ชมทางสังคมได้ 4) ข้อวิจารณ์ในส่วนของทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ก็คือเรื่องของเกณฑ์ในการพิจารณา และความไม่เป็นสากลของความงามเนื่องจากขึ้นอยู่กับภาวะอัตวิสัยของผู้ชมทางสังคม</p> สิริมิตร สิริโสฬส, พระครูปลัดสุวัฒนวิสุทธิสารคุณ Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6518 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 THE CONTEMPORARY VALUE AND POPULARIZATION OF DUNHUANG DANCE AND DAI PEACOCK DANCE https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6632 <p>The purpose of this research was to study the historical and cultural value the traditional dances of different nationalities in Dunhuang and Xishuangbanna, and to analyze the cultural value of Dunhuang dance and Dai Peacock dance in modern civilization. The researchers use the qualitative with techniques of literature research method and the oral method of the inheritors to try to discuss and analyze from three aspects: historical origin, contemporary value and promotion path. The research findings revealed that the promotion of Dunhuang dance and Dai Peacock dance culture should be closely linked with modern new media technology to improve the diversity of Dunhuang dance and Dai Peacock dance culture publicity. Combining the traditional "intangible cultural heritage" with the artistic practice and theory of modern civilization is a way to study the sustainable development of contemporary social civilization in the creative transformation.</p> Xu Mengni, Supavadee Potiwetchakul Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6632 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 AN EXPLORATION OF THE CENTRAL ROLE OF FIELDWORK IN THE STUDY OF TAOIST DRUMMING AT XISHAN GUAN https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6633 <p>Taoist drumming is a form of artistic performance unique to Xishan Guan in Guangfeng, Jiangxi Province. As an important part of traditional Chinese religious culture, it carries deep historical deposits and unique religious connotations. In Taoist ceremonies, drumming is not only a bridge between humans and gods, but also an important medium for the transmission of Taoist culture. With the deepening of academic research, fieldwork, as a direct and vivid means of research, plays an increasingly important role in the study of Taoist drumming. The purpose of this paper is to explore the central role of fieldwork in the study of Taoist drumming and how it can provide new perspectives and depth to our understanding and interpretation of Taoist drumming as a traditional art form. In conclusion, fieldwork plays a central role in the study of Taoist drumming, not only enriching the content of the study, but also opening up new avenues for academic research and cultural heritage of Taoist music. This paper analyses examples of the application of fieldwork to the study of Taoist drumming and explores its important contributions in terms of data collection, theory construction, cultural understanding, and preservation and transmission.</p> Yu Meihan, Manissa Vasinarom Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6633 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6452 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ โดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้น จำนวน 379 คน ด้วยการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่า และใช้สถิติเอฟ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.75, S.D.= 0.38) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านหลักประสิทธิผล ( = 4.23, S.D.= 0.40) รองลงมาคือด้านหลักการตอบสนอง ( = 4.08, S.D.= 0.46) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านหลักการมีส่วนร่วม ( = 3.33, S.D.= 0.83)</li> <li>ผลการเปรียบเทียบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพพบว่าประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ไม่แตกต่างกัน</li> <li>แนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ ได้แก่ การพัฒนาและปรับปรุงระบบการทำงานเพื่อให้การดำเนินงานมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการข้อมูล การติดต่อสื่อสาร หรือการให้บริการประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์</li> </ol> นันทนัช ผลแสง, บุญเหลือ บุบผามาลา Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6452 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในเครือข่ายรัตนบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6573 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพนักเรียน <br />2) เพื่อศึกษาคุณภาพนักเรียน และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในเครือข่ายรัตนบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 11 คน และครูผู้สอน จำนวน 115 คน รวมทั้งหมด 126 คน โดยวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพนักเรียน และแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน <br />โดยภาพรวมซึ่งอยู่ในระดับมาก ( = 4.36, S.D. = 0.21) และปัจจัยด้านคุณลักษณะของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก = 4.40, S.D. = 0.29) 2) คุณภาพนักเรียนของโรงเรียน โดยภาพรวมซึ่งอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D. = 0.19) 3) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร และปัจจัยด้านคุณลักษณะของครูผู้สอน ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพนักเรียน ได้ร้อยละ 59.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์ (S.E.est) เท่ากับ 0.127 ได้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้</p> <p> สมการรูปคะแนนดิบ Y' = 2.138 + 0.319X1 + 0.189X2</p> <p> สมการรูปคะแนนมาตรฐาน Z'y = 0.706ZX1 + 0.242ZX2</p> สุพิชญา สาขะจันทร์, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม, ธนาศักดิ์ ข่ายกระโทก Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6573 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมนวัตกรรมกับการเป็นองค์กรนวัตกรรม ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6537 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 2) เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมนวัตกรรมกับการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 รวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 จำนวน 88 คน ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับวัฒนธรรมนวัตกรรมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมและการจูงใจในการทำงาน 2) ระดับการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสื่อสารภายในสถานศึกษา 3) สหสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมนวัตกรรมกับการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> พรพรรณ ทำชอบ, สถิรพร เชาวน์ชัย, ชนัดดา ภูหงษ์ทอง Copyright (c) 2025 วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/6537 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700