https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/issue/feed วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี 2025-06-28T16:33:03+07:00 Dr.Thitiworada Sangsawang fms.uru2018@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี </strong></p> <p><strong>กำหนดออก</strong> : 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong> : <br /> วารสารมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยที่เป็นองค์ความรู้สำคัญในศาสตร์สาขาวิชาด้านการบริหารธุรกิจ การจัดการ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คอมพิวเตอร์ธุรกิจและสารสนเทศ การตลาด การบัญชี เศรษฐศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ นำไปสู่การประยุกต์ใช้ ต่อยอด และพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น สังคม</p> <p> เพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับ คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยและนักศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจ ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ประสบการณ์ในศาสตร์สาขาวิชาทางด้านวิทยาการจัดการ ก่อให้เกิดประโยชน์ คุณค่า สร้างการยอมรับในสังคม</p> https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/6003 การรับรู้คุณค่าและความไว้วางใจที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2025-01-09T15:16:42+07:00 เสาวลักษณ์ ศรีปลอด saowalak1641@gmail.com อัจฉราวรรณ รัตนพันธ์ saowalak1641@gmail.com พิมพ์แพร ศรีสวัสดิ์ saowalak1641@gmail.com วรรณวิชณีย์ ทองอินทราช saowalak1641@gmail.com <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้คุณค่า ความไว้วางใจ และกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้คุณค่าและความไว้วางใจที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 385 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการรับรู้คุณค่าการซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานีอยู่ในระดับมาก และ 2) ปัจจัยความไว้วางใจการซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) ปัจจัยการรับรู้คุณค่า พบว่า ด้านการใช้งาน ด้านสังคม ด้านคุณค่าทางความรู้ความคิด ด้านเงื่อนไข มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 5) ปัจจัยความไว้วางใจ พบว่า ความไว้วางใจในตัวผู้ขายสินค้าทางแพลตฟอร์ม TikTok และความไว้วางใจในธุรกิจและกฎระเบียบของสภาพแวดล้อม มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2025-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/6031 ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงและความไว้วางใจของผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำสินค้าสัตว์เลี้ยงผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2025-01-21T15:26:18+07:00 สุปวีณ์ ทองฉิม Supave.TH61@gmail.com พิมพ์แพร ศรีสวัสดิ์ Supave.TH61@gmail.com อัจฉราวรรณ รัตนพันธ์ Supave.TH61@gmail.com วรรณวิชณีย์ ทองอินทราช Supave.TH61@gmail.com <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงและความไว้วางใจของผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำสินค้าสัตว์เลี้ยงผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ทราบจำนวนประชากร (Infinite Population) ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 385 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงของผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยง ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว ความเสี่ยงด้านการขนส่ง ความเสี่ยงด้านสังคม ความเสี่ยงด้านเวลา ความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ และความเสี่ยงทางการเงิน ตามลำดับ 2) ปัจจัยความไว้วางใจของผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยง ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การรับรู้ถึงความปลอดภัยและการรับรู้ถึงความเป็นส่วนตัว ความเพลิดเพลินกับเทคโนโลยีออนไลน์ การรับรู้ถึงความสะดวกในการใช้งาน และการรับรู้ถึงประโยชน์ ตามลำดับ 3) ปัจจัยความตั้งใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยง ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ต้นทุนของผู้บริโภค การรับรู้คุณค่าและความภักดีของลูกค้า ความพึงพอใจของลูกค้าและความชื่นชอบในตราสินค้า การรับรู้ความเป็นธรรม และการรับรู้คุณภาพสินค้า ตามลำดับ 4) ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำสินค้าสัตว์เลี้ยงผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ พบว่า ความเสี่ยงทางด้านเวลา ความเสี่ยงด้านสังคม และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำสินค้าสัตว์เลี้ยงผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถพยากรณ์ผลได้ร้อยละ 16 5) ปัจจัยความไว้วางใจมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำสินค้าสัตว์เลี้ยงผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ พบว่า การรับรู้ถึงประโยชน์ การรับรู้ถึงความสะดวกในการใช้งาน การรับรู้ถึงความปลอดภัย และการรับรู้ถึงความเป็นส่วนตัว มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำสินค้าสัตว์เลี้ยงผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถพยากรณ์ผลได้ร้อยละ 61</p> 2025-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/6030 ทัศนคติของผู้บริโภคและส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้ามือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในประเทศไทย 2024-12-19T14:38:21+07:00 พศุตม์ วาระเพียง morkza491@gmail.com วรรณวิชณีย์ ทองอินทราช morkza491@gmail.com พิมพ์แพร ศรีสวัสดิ์ morkza491@gmail.com อัจฉราวรรณ รัตนพันธ์ morkza491@gmail.com <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้ามือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในประเทศไทย เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้ใช้บริการที่เคยซื้อเสื้อผ้ามือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในประเทศไทย โดยใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านทัศนคติของผู้ใช้บริการที่ซื้อเสื้อผ้ามือสอง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดและเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความเข้าใจ ด้านพฤติกรรม และด้านความรู้สึก ตามลำดับ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ของผู้ใช้บริการที่ซื้อเสื้อผ้ามือสอง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดและเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ การส่งเสริมการตลาด การให้บริการส่วนบุคคลและการรักษาความเป็นส่วนตัว ราคาและช่องทางการจัดจำหน่าย และผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ 3) กระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้ามือสอง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดและ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ การประเมินทางเลือก การตัดสินใจซื้อ การแสวงหาข้อมูลและพฤติกรรมภายหลังการซื้อ และการรับรู้ความต้องการ 4) ปัจจัยด้านทัศนคติที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้ามือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ พบว่า ด้านความเข้าใจ ด้านความรู้สึก ด้านพฤติกรรม ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้ามือสองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้ามือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการให้บริการส่วนบุคคล และด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้ามือสองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2025-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/7086 อิทธิพลของการวางกลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจในอุตสาหกรรมส่วนประกอบยานยนต์ 2025-03-27T10:50:21+07:00 จักรพันธ์ ศรีสวัสดิ์ jakraphunsrisawat@gmail.com ศิริชัย โชติสิริเมธานนท์ jakraphun.sri@uru.ac.th <p> การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนการวางกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอิทธิพลและความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพการการดำเนินงานของอุตสาหกรรมส่วนประกอบยานยนต์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศในองค์กรของอุตสาหกรรมส่วนประกอบยานยนต์คือ ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการสารสนเทศ จำนวน 180 ราย คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามวัตถุประสงค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM)</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า โมเดลการวิเคราะห์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลลัพธ์ระบุว่าแบบจำลองมีสัดส่วนและการถดถอยของสมมติฐานทั้งหมดได้รับการยอมรับด้วยค่า p &lt; 0.05 ส่วนผลการตรวจสอบความสอดคล้องและกลมกลืนพบว่ามีความสอดคล้องกับองค์ประกอบย่อยของโมเดลเชิงโครงสร้าง โดยมีค่า <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\chi^{2}" alt="equation" /> /df = 2.425, GFI = 0.946 , AGFI = 0.878 , RMR = 0.050, RMSEA = 0.089 , NFI = 0.971, CFI = 0.982 สำหรับผลทดสอบสมมติฐานพบว่า การวางกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ มีผลกระทบโดยตรงทางบวกต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน ในด้านของ การให้คำแนะนำและการมีส่วนร่วม และการกำหนดขอบเขตของงาน นอกจากนี้การให้ความสำคัญในด้านของความต่อเนื่องของข้อมูล และด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่ดีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กรให้สูงขึ้น</p> 2025-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/7113 ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าของพนักงานบัญชีในจังหวัดปัตตานี 2025-04-10T09:37:24+07:00 เพ็ญนภา เกื้อเกตุ pennapa.k@yru.ac.th จารุชา สินทวี pennapa.k@yru.ac.th อับดุลเราะห์มาน สาและ pennapa.k@yru.ac.th นรบดี ภัทรวิศรุต pennapa.k@yru.ac.th ภูริชาติ พรหมเต็ม pennapa.k@yru.ac.th <p> ภาวะซึมเศร้าซึ่งเป็นอาการความเครียดสะสมในวัยทำงานทวีความรุนแรงมากขึ้นและเป็นปัญหาที่กระทบกับประสิทธิภาพการทำงาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าของพนักงานบัญชีในจังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานบัญชีบริษัท จำกัดในจังหวัดปัตตานี จำนวน 199 แห่ง โดยมีอัตราการตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 72.89 ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าโดยรวมมากที่สุดคือปัจจัยด้านการปฏิบัติงานที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อภาวะซึมเศร้า (β=0.468) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 รองลงมาคือ ด้านการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อภาวะซึมเศร้า (β=0.336) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับปัจจัยด้านสังคมไม่มีผลกระทบกับภาวะซึมเศร้าของพนักงานบัญชี (β=-0.046) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2025-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี