วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU
<p><strong>วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี </strong></p> <p> </p> <p><video autoplay="autoplay" loop="loop" controls="controls" width="480" height="270"> <source src="https://www.fmsengage.com/thaijo/intro.mp4" type="video/mp4" /> </video> </p> <p><strong>กำหนดออก</strong> : 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong> : <br /> วารสารมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยที่เป็นองค์ความรู้สำคัญในศาสตร์สาขาวิชาด้านการบริหารธุรกิจ การจัดการ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คอมพิวเตอร์ธุรกิจและสารสนเทศ การตลาด การบัญชี เศรษฐศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ นำไปสู่การประยุกต์ใช้ ต่อยอด และพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น สังคม</p> <p> เพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับ คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยและนักศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจ ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ประสบการณ์ในศาสตร์สาขาวิชาทางด้านวิทยาการจัดการ ก่อให้เกิดประโยชน์ คุณค่า สร้างการยอมรับในสังคม</p>
Faculty of management Science, Uttaradit Rajabhat University
th-TH
วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี
2821-9317
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นลิขสิทธิ์ของ<strong>มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์<br /></strong>บทความที่ลงตีพิมพ์ใน<strong> วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ </strong>ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง</p> <pre id="tw-target-text" class="tw-data-text tw-text-large tw-ta" dir="ltr" data-placeholder="Translation" aria-label="Translated text" data-ved="2ahUKEwi0iKTEkZeIAxUY1DgGHWP5FXAQ3ewLegQIBxAU"><span class="Y2IQFc" lang="th">ผู้เขียนที่ตีพิมพ์ ยอมรับเงื่อนไขต่อไปนี้: - ผู้เขียนรักษาลิขสิทธิ์และให้สิทธิ์วารสารในการตีพิมพ์ครั้งแรกพร้อมกับผลงานที่ได้รับใบอนุญาตพร้อมกันภายใต้ <a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/">Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)</a> ที่อนุญาตให้ผู้อื่นแบ่งปันผลงานโดยรับทราบถึงผลงานของผู้เขียนและ การตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารนี้ - ผู้เขียนสามารถทำข้อตกลงเพิ่มเติมตามสัญญาแยกต่างหากสำหรับการเผยแพร่ผลงานฉบับตีพิมพ์ของวารสารแบบไม่ผูกขาด (เช่น โพสต์ลงในพื้นที่เก็บข้อมูลของสถาบันหรือตีพิมพ์ในหนังสือ) โดยรับทราบการตีพิมพ์ครั้งแรก ในวารสารนี้ - ผู้เขียนได้รับอนุญาตและสนับสนุนให้โพสต์ผลงานของตนทางออนไลน์ (เช่น ในคลังข้อมูลของสถาบันหรือบนเว็บไซต์) ก่อนและระหว่างขั้นตอนการส่งผลงาน เนื่องจากอาจนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่มีประสิทธิผล ตลอดจนการอ้างอิงงานที่ตีพิมพ์เร็วขึ้นและมากขึ้น</span></pre>
-
ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/2881
<p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ด้านรายได้-ค่าใช้จ่าย และอัตราดอกเบี้ยมีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจด้านภาวะเงินเฟ้อไม่มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง</p>
สุมินทร เบ้าธรรม
ดวงฤดี อู๋
ยุพิน เรืองแจ้ง
จิราภา ชาลาธราวัฒน์
เมธาวี ใครบุตร
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
3 1
1
22
-
พฤติกรรม ประโยชน์ และผลกระทบการสื่อสารโดยนิรนามในเฟซบุ๊ก
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/2938
<p> การสื่อสารโดยนิรนามมีคุณค่าหลายประการต่อสื่อพลเมืองอันนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม รวมทั้งการสร้างตัวตนออนไลน์ แต่เนื่องจากสิทธิในการสื่อสารโดยนิรนามอาจถูกนำไปใช้โดยมิชอบ การวิจัยนี้จึงสนใจศึกษา (1) พฤติกรรม (2) ประโยชน์ และ (3) ผลกระทบการสื่อสารโดยนิรนามในสื่อสังคมออนไลน์ ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน โดยศึกษาเอกสารร่วมกับสำรวจความคิดเห็นจากการฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนของนักศึกษา 48 คน ประกอบกับการเก็บข้อมูลจากเฟซบุ๊กเพจ 5 เพจ ซึ่งสุ่มตัวอย่างเพจที่นำมาศึกษาโดยใช้ดุลพินิจ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>(1) พฤติกรรมการสื่อสารโดยนิรนาม (1.1) จากผลสำรวจจากการฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน ผู้มีบัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัว 1 บัญชี (ร้อยละ 58.3) รองลงไปคือ 2 บัญชี (ร้อยละ 31.3) ส่วนใหญ่ใช้ข้อมูล ชื่อ อีเมล หมายเลขโทรศัพท์จริง เพื่อสมัครสมัครใช้งานเฟซบุ๊ก มีผู้ใช้เฟซบุ๊กในลักษณะนิรนาม ร้อยละ 27.1 และ (1.2) การเก็บข้อมูลจากเฟซบุ๊กเพจ พบว่าการสื่อสารนิรนามมีการตั้งชื่อโดยใช้นามแฝง ใช้ภาษาที่ไม่เป็นทางการและคำหยาบ การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น ตำหนิการทำงานของฝ่ายรัฐ เหยียดชาติพันธุ์ ประทุษทางวาจา การเสียดสี แสดงมุกตลก สร้างวาทกรรมแปลก ๆ ตัดต่อภาพล้อเลียนบุคคลมีชื่อเสียง</p> <p>(2) ประโยชน์ของการสื่อสารโดยนิรนาม ได้แก่ เสรีภาพในการสื่อสาร ป้องกันการล่วงละเมิดบุคคล เป็นเครื่องมือในการแสดงออกสิทธิของคนกลุ่มน้อยในสังคม การแสดงความคิดเห็น ในประเด็นที่อ่อนไหว การลดความเครียด</p> <p>(3) ผลกระทบของการสื่อสารโดยนิรนาม ได้แก่ การแสดงอารมณ์ความรุนแรง การคุกคามทางเพศออนไลน์ การละเมิดสิทธิผู้อื่น</p>
ปองปรารถน์ สุนทรเภสัช
ชุตินิษฐ์ ปานคำ
อัจฉราภรณ์ วรรณมะกอก
กิติวัฒน์ กิติบุตร
เบญจวรรณ เลาลลิต
กนกพร เอกกะสินสกุล
ภาคภูมิ พิชวงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
3 1
23
43
-
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณค่าของแบรนด์ Laptop ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/3906
<p> การวิจัยนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ถึงคุณค่าของแบรนด์ Laptop ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้ T-Test, One-Way ANOVA และ Simple Correlation Analysis</p> <p> ผลทดสอบสมมติฐานพบว่า รายได้ต่อเดือนและแบรนด์ Laptop ที่สนใจซื้อในอนาคตที่ต่างกันจะมีผลต่อการรับรู้คุณค่าของแบรนด์ Laptop ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในด้านความตระหนักถึงแบรนด์ ด้านการรับรู้ถึงคุณภาพ และด้านความภักดีต่อแบรนด์ ส่วนปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) และช่องทางในการแสวงหาข้อมูลมีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณค่าของแบรนด์ Laptop อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญที่สุด คือ ด้านกระบวนการ รองลงมาคือ ด้านบุคคล ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการสร้างและการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ สำหรับช่องทางในการแสวงหาข้อมูลที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญที่สุด คือ แสวงหาข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ รองลงมาคือ แสวงหาข้อมูลจากประสบการณ์ตรงของผู้ใช้ จากตัวแทนจำหน่าย และจากตัวบุคคล ตามลำดับ และปัจจัยด้านการรับรู้คุณค่าของแบรนด์ Laptop ที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญที่สุด คือ ด้านการรับรู้ถึงคุณภาพ รองลงมาคือ ด้านความตระหนักถึงแบรนด์ ด้านความจงรักภักดีต่อแบรนด์ และด้านความสัมพันธ์กับแบรนด์ ตามลำดับ</p>
ธีรดล พูพัฒนานุรักษ์
พัสกร ลิมานนท์ดำรงค์
วราวุฒิ สุกคร
ชาตรี ปรีดาอนันทสุข
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
3 1
45
63
-
การปฏิบัติการวิจัยอย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการจัดการตลาดดิจิทัล กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพทรงคนอง พริกแกงครัวคนอง ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/4231
<p> งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการตลาดดิจิทัลและการพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพ ตำบลทรงคนอง พริกแกงครัวคนอง ให้รู้จักมากยิ่งขึ้น เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริโภคที่พบสื่อประชาสัมพันธ์ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพตำบลทรงคนอง พริกแกงครัวคนอง จำนวน 200 ชุด แบบเจาะจง ใน จังหวัดนครปฐม ใช้วิธีการคัดเลือกแบบสุ่มอย่างง่ายที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า มีระดับความพึงพอใจด้านประเภทเนื้อหาสื่อดิจิทัล Facebook ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีระดับความพึงพอใจด้านประเภทเนื้อหาสื่อดิจิทัล Facebook ด้านประเภทเนื้อหาสื่อดิจิทัล Instagram ด้านประเภทเนื้อหาสื่อดิจิทัล Instagram ด้านการพัฒนาตราสินค้าในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด</p>
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
3 1
65
86
-
ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานด้านการเงินของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/3951
<p> การศึกษาวิจัยเรื่อง ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก อำเภอแม่สอด จังหวัดตากการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบขนาดของโรงงาน จำนวนพนักงาน เงินทุน และประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อเปรียบเทียบขนาดของโรงงาน จำนวนพนักงาน เงินทุน และประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ผลการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ประกอบการในโรงงานอุตสาหกรรม เขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 73 โรงงาน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์สัมประสิทธิ์ถดถอยแบบพหุ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ประกอบการที่มีอายุในการดำเนินธุรกิจแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์กับผลการดำเนินงาน พบว่า 1) ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ ด้านการติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานโดยรวม 2) ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ ด้านการติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์ ด้านกระบวนการสั่งซื้อ ด้านการจัดซื้อ ด้านการบริหารสินค้าคงคลัง ด้านการขนส่ง มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานด้านการเงินของโรงงานอุตสาหกรรม</p>
สุพิศ ศิริจิรัสยา
วาสนา จรูญศรีโชติกำจร
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
3 1
87
101