วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU <p><strong>วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี </strong></p> <p><strong>กำหนดออก</strong> : 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong> : <br /> วารสารมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยที่เป็นองค์ความรู้สำคัญในศาสตร์สาขาวิชาด้านการบริหารธุรกิจ การจัดการ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คอมพิวเตอร์ธุรกิจและสารสนเทศ การตลาด การบัญชี เศรษฐศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ นำไปสู่การประยุกต์ใช้ ต่อยอด และพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น สังคม</p> <p> เพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับ คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยและนักศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจ ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ประสบการณ์ในศาสตร์สาขาวิชาทางด้านวิทยาการจัดการ ก่อให้เกิดประโยชน์ คุณค่า สร้างการยอมรับในสังคม</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นลิขสิทธิ์ของ<strong>มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์<br /></strong>บทความที่ลงตีพิมพ์ใน<strong> วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ </strong>ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง</p> [email protected] (Dr.Thitiworada Sangsawang) [email protected] (Dr.Chawiang Wongjinda) Mon, 25 Dec 2023 18:25:16 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 เศรษฐกิจพอเพียงและบัญชีครัวเรือน : แนวคิดการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนผ่านศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/1832 <p> บทความนี้มีเจตนาที่จะนำเสนอแนวคิดการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนบนความสัมพันธ์ระหว่างหลักเศรษฐกิจพอเพียงและบัญชีครัวเรือน ในสภาวะการปรับตัวภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน ผ่านการศึกษาและสังเคราะห์ถึงหลักการ แนวคิด และทฤษฎี ที่ระบุไว้ในเอกสารวิชาการ งานวิจัย และแหล่งข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ ที่เกี่ยวข้องด้วยวางลำดับประเด็นตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงประเด็นที่สุดท้ายตามวัตถุประสงค์การวิจัย และความเกี่ยวพันกันในประเด็นต่าง ๆ ตามกรอบแนวคิดการวิจัย ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวน 3 แห่ง ซึ่งคัดเลือกจากความแตกต่างของภูมิภาคคือ ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง ที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของพื้นที่ ได้แก่ 1) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร และ 3) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี โดยทำการศึกษาในระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565</p> <p> ผลจากการสังเคราะห์ข้อมูลเกิดข้อค้นพบคือ ประชาชนสามารถเรียนรู้ในการนำพาตัวเอง ครอบครัว ชุมชน สู่ความสุขอย่างยั่งยืนบนความพอมีพอกิน อย่างสอดคล้องกับปัจจัยการผลิตทั้ง ดิน น้ำ และป่าไม้ ที่มีความสัมพันธ์กัน และการเรียนรู้เพื่อสร้างวินัยทางการเงินด้วยการจัดทำบัญชีครัวเรือน ส่งผลให้มีการออมเงินเพิ่มขึ้น ปัญหาหนี้สินลดลง จากการรับรู้ถึงระดับรายได้และรายจ่ายของตนเอง</p> ณัฏฐ์ดนัย ประเทืองบริบูรณ์, ปิยพัชร์ ศรีวงษ์วิศาล, โสภณ ตู้จินดา Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/1832 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยการรับรู้ที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชันธนาคารไทยของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/2868 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้ที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้แอปพลิ เคชันธนาคารไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 338 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการรับรู้ด้านสภาพอำนวยความสะดวก ปัจจัยการรับรู้ด้านประสิทธิภาพการใช้งานและปัจจัยการรับรู้ด้านความพึงพอใจในการแอปพลิเคชันเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางบวกต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชันของธนาคารไทย ส่วนปัจจัยการรับรู้ด้านความง่ายในการใช้งาน และปัจจัยการรับรู้ด้านอิทธิพลทางสังคมไม่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชันของธนาคารไทย</p> สุมินทร เบ้าธรรม, ดวงฤดี อู๋, จิราภา ชาลาธราวัฒน์, ภัทรพร ล้ำเลิศ, สุธิดา พาลึก, อมรสตรี พลศรีลา Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/2868 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/2393 <p> การวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพของกลุ่มผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของของกลุ่มผู้สูงอายุ เขตเทศบาลตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปางโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาครั้งนี้ คือ สมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุผู้ผลิตผ้ารองอเนกประสงค์ในตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง จำนวน 14 คน และตัวแทนจากหน่วยงานพัฒนาชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบจดบันทึกข้อมูล การศึกษานี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1)วิเคราะห์บริบทชุมชน วิเคราะห์กลุ่ม วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ พฤติกรรมผู้บริโภค และสำรวจกระแสนิยม ระยะที่ 2) การให้ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การตลาด และการบริหารจัดการกลุ่ม และระยะที่ 3) ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขยายตลาด การประยุกต์ใช้การตลาดเชิงสังคมและการตลาดเชิงสัมพันธ์ จากนั้น นำผลการวิจัยมานำเสนอเป็นโมเดลการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ 1) การปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) ผลิตภัณฑ์เป็นหัวใจสำคัญของกลุ่มอาชีพ ควรให้ความสำคัญในการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ก่อนพิจารณาส่วนประสมทางการตลาดอื่น ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์มีส่วนช่วยในการขยายตลาด 3) ปัจจัยสำคัญของกลุ่มอาชีพที่มีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุ คือ ลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้สูงอายุ (สุขภาพ อายุ ทักษะ และความสามารถ) และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ชอบช่วยเหลือและชอบบริจาค 4) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุควรพิจารณาจากกลุ่มสัมพันธ์ การใช้เวลาว่าง การได้รับรายได้เสริม การได้รับการอุดหนุนช่วยเหลือ และการมีความอิ่มอกอิ่มใจ และ 5) การตลาดเอาใจใส่สังคมมีส่วนช่วยขยายลูกค้าและสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ</p> วิจิตรา แซ่ตั้ง, นุสรา แสงอร่าม, ชิดชนก วงศ์เครือ, กัญญารัตน์ ไชยสงคราม Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/2393 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 รูปแบบการจัดการธุรกิจโรงแรมระดับ 5 ดาว อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/1820 <p> การวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการธุรกิจโรงแรมระดับ 5 ดาว อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจความสำเร็จของการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการท่องเที่ยวของผู้ประกอบการโรงแรมระดับ 5 ดาว อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวของ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 386 คน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารหรือการวิจัยเชิงเอกสาร และกระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารโรงแรมระดับ 5 ดาว ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 6 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การสรุปประเด็นการสัมภาษณ์และมีการอภิปรายผล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา </p> <p> ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ค่าสถิติ KMO เท่ากับ 0.703 ค่าสถิติไคสแควร์ เท่ากับ 13692.904 โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบสามารถสกัดปัจจัยได้ 5 องค์ประกอบ ซึ่งมีพิสัยของค่าไอเกนอยู่ระหว่าง 1.250 – 8.279 และมีค่าความแปรปรวนสะสมร้อยละ 51.74 ได้แก่ 1) ด้าน สิ่งดึงดูดใจ 2) ด้านเส้นทางการเข้าถึง 3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 4) ด้านกิจกรรมไฮไลท์ และ5) ด้านที่พัก และผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ประกอบการณ์ทำการประชุมหาแนวทางการปรับปรุงการให้บริการโดยเพิ่มจุดเด่น เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้กลับมาเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 จัดการฝึกอบรมพนักงานเพื่อเพิ่มมาตรการความปลอดภัยหลังสถานการณ์โควิด-19 องค์กรได้ศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติและศักยภาพของพนักงานที่มีต่อการทำงานในปัจจุบัน และมีการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เข้ามาใช้ดึงดูดนักท่องเที่ยวหรือการหารายได้เสริมให้กับองค์กร เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรต่อไป โดยสรุปผลการวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณมีความสอดคล้องกัน โดยจะต้องมุ่งเน้นการพัฒนาสิ่งดึงดูดใจ เส้นทางการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรมไฮไลท์ และที่พักให้มีจุดเด่นเพิ่มมากขึ้นและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพักผ่อนและทำกิจกรรมไปพร้อมกันภายในโรงแรมได้</p> ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์, ฉัตรวิไล รัตนเขื่อน, ณพิชา โรจนธนธร, ณัฐกานต์ แก้วใส, พิมพ์วิภา สิทธิจันทร์ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/1820 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 An Application of Arbitrage Pricing Theory to Determine the Influence of Macroeconomic Factors on the Top Eight Thai Stocks https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/3343 <p> งานวิจัยฉบับนี้ช่วยในการสำรวจอิทธิพลของตัวบ่งชี้เศรษฐกิจมหภาคต่อผลตอบแทนของหุ้นภายใต้ทฤษฎีการหาราคาเพื่อเก็งกำไรโดยใช้ข้อมูลจากประเทศไทย การศึกษามุ่งเน้นที่มูลค่าของหุ้น 8 อันดับแรกประกาศบนเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 16/5/2565 และใช้เทคนิคการถดถอยแบบพาแนล กับข้อมูลรายเดือนตั้งแต่วันที่ 6/2/2561 ถึง 1/11/2565 ผลการวิเคราะห์เชิงประจักษ์เผยให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และการเติบโตของผลผลิตโดยวัดจากดัชนีการผลิต แสดงผลกระทบเชิงลบต่อผลตอบแทนส่วนเกินของหุ้น ในทางตรงกันข้ามการส่งออกสุทธิแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลเชิงบวกต่อผลตอบแทนส่วนเกินของหุ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยไม่ได้กำหนดผลตอบแทนส่วนเกินของหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นนักลงทุนและผู้จัดการทางการเงินจึงสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนของตน และรัฐบาลสามารถใช้เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ</p> อดิเรก วัชรพัฒนกุล Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/3343 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700