วารสารจิตวิทยา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JPsychol <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;</p> <p>วารสารจิตวิทยา คลอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา ในสาชาวิชา จิตวิทยาทั่วไป จิตวิทยาการทดลอง&nbsp; จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการแนะแนว จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ จิตวิทยาชุมชน และ พุทธจิตวิทยา เป็นต้น&nbsp; โดยรับบทความวิจัย (Research articles) บทความวิชาการ (Academic articles) บทความปริทัศน์ (Review articles) และ บทวิจารณ์หนังสือ (Book review) ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เอกสารการประชุม หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น โดยวารสารจิตวิทยาปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ที่ สกอ. และ สกว. กำหนด โดยกองบรรณาธิการประกอบด้วย ศาสตราจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกที่มีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง มาจากสถาบันภายนอกเป็นส่วนใหญ่ และมาจากสถาบันภายในส่วนหนึ่งและมีผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) &nbsp;ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องทำหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองบทความ อย่างน้อย 2 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลของกันและกัน (Double-blind peer review) และเป็นวารสารที่ออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง ปีละ 2 ฉบับ ตามปีปฏิทิน คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม&nbsp; - ธันวาคม</p> สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย th-TH วารสารจิตวิทยา 0858-8627 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย</p> <p>&nbsp;</p> <p>ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> ความสัมพันธ์ระหว่างความสำคัญของอินสตาแกรมและการเห็นคุณค่าในตนเองโดยมีการเปรียบเทียบทางสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JPsychol/article/view/6213 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>อินสตาแกรมเป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย โดยอยู่ในสามอันดับแรกของแอปพลิเคชันยอดนิยม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความสำคัญของอินสตาแกรมกับการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยมีการเปรียบเทียบทางสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 207 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่าง แบบตามสะดวกผ่านแบบสอบถามออนไลน์ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามความสำคัญของอินสตาแกรม (α = 0.823) มาตรวัดการเปรียบเทียบทางสังคม (α = 0.929) และมาตรวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง (α = 0.877) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย PROCESS macro บนโปรแกรม SPSS พบว่า ความสำคัญของอินสตาแกรมไม่มีผลโดยตรงต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง (β = -0.12, p &gt; 0.05) แต่มีผลในทางลบต่อการเห็นคุณค่าในตนเองโดยมีการเปรียบเทียบทางสังคมกับบุคคลที่ประสบความสำเร็จมากกว่าเป็นตัวแปรส่งผ่าน (β = -0.4380***, p &lt; 0.001) ในขณะที่การเปรียบเทียบทางสังคมกับบุคคลที่ประสบความสำเร็จน้อยกว่าไม่มีผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง (β = 0.1535, p = 0.07) ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของโซเชียลมีเดียในการกระตุ้นกระบวนการเปรียบเทียบทางสังคม โดยเฉพาะการเปรียบเทียบกับบุคคลที่ประสบความสำเร็จมากกว่า ซึ่งส่งผลให้ผู้ใช้เห็นคุณค่าในตนเองลดลง การศึกษานี้เสนอให้ส่งเสริมการตระหนักรู้ในการใช้อินสตาแกรมอย่างเหมาะสม เพื่อลดผลกระทบด้านลบและเพิ่มผลกระทบด้านบวกที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งาน</p> เนตรวิภา รอดริน อารดา ศรีเภาทอง อิทธิพัฒน์ ลูกอินทร์ นรุตม์ พรประสิทธิ์ ธนพล เลี้ยงสุขสันต์ สำเนียง เพชรจอม Copyright (c) 2025 สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-21 2025-01-21 22 1 50 65 การศึกษาสุขภาพจิต บุคลิกภาพแบบเก็บตัว-แสดงตัว ความสามารถในการเผชิญปัญหา และฟันฝ่าอุปสรรค กับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JPsychol/article/view/4882 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ สุขภาพจิต และความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ ระดับชั้น บุคลิกภาพแบบเก็บตัว-แสดงตัว และสุขภาพจิต และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค กับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 378 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามสุขภาพจิต แบบสอบถามบุคลิกภาพแบบเก็บตัว-แสดงตัว แบบสอบถามความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค และแบบสอบถามความฉลาด ทางอารมณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test แบบเป็นอิสระต่อกัน สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 3.41, S.D. = .30) โดยด้านร่วมรับความรู้สึก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (= 4.20, S.D. = .604) รองลงมาคือ ด้านทักษะทางสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ( = 3.86, S.D. = .517) ด้านแรงจูงใจในตนเอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ( = 3.50, S.D. = .444) ด้านการจัดการอารมณ์ตนเอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.33, S.D. = .039) และด้านการตระหนักรู้ในตนเอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างไม่ดี ( = 2.32, S.D. = .060) 2) ระดับสุขภาพจิตของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับต่ำกว่าคนทั่วไป (ร้อยละ 47.62) รองลงมาคือ สุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป (ร้อยละ 37.04) และสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป (ร้อยละ 15.34) 3) ระดับความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 3.71, S.D. = .51) 4) นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีความฉลาดทางอารมณ์ไม่แตกต่างกัน 5) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 มีความฉลาดทางอารมณ์ไม่แตกต่างกัน 6) นักเรียนที่มีระดับสุขภาพจิตต่างกันมีความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน โดยนักเรียนที่มีสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป มีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่านักเรียนที่มีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001 7) นักเรียนที่มีบุคลิกภาพต่างกันมีความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001 โดยนักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบแสดงตัว มีความฉลาด ทางอารมณ์สูงกว่านักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว และ 8) ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความฉลาดทางอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r = .449)</p> น้ำเพชร แสงน้อยอ่อน ศศิธร พรนพรัตน์ อธิวัฒน์ รัตนวงศ์แข Copyright (c) 2025 สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-06 2025-01-06 22 1 1 20 ความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักรู้ในตนเองกับความสามารถในการเผชิญปัญหา ของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยรามคำแหง https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JPsychol/article/view/5319 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตระหนักรู้ในตนเองและความสามารถในการเผชิญปัญหาของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อเปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเองและความสามารถในการเผชิญปัญหา จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ และประสบการณ์การทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยรามคำแหง และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักรู้ในตนเองกับความสามารถในการเผชิญปัญหาของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 333 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะคำถามแบบให้เลือกตอบ แบบประเมินการตระหนักรู้ในตนเอง ลักษณะคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ และแบบประเมินความสามารถในการเผชิญปัญหา ลักษณะคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการตระหนักรู้ในตนเองและความสามารถในการเผชิญปัญหาในระดับมาก โดยบุคลากรสายสนับสนุนเพศหญิงมีการตระหนักรู้ในตนเองและความสามารถในการเผชิญปัญหาสูงกว่าบุคลากรสายสนับสนุนเพศชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุ สถานภาพ รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์การทำงาน ที่แตกต่างกันของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการตระหนักรู้ในตนเองและความสามารถในการเผชิญปัญหาโดยรวมไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ระดับการศึกษามีผลต่อความสามารถในการเผชิญปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่พบความแตกต่างกับการตระหนักรู้ในตนเอง นอกจากนี้ยังพบว่าการตระหนักรู้ในตนเองมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสามารถในการเผชิญปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .805, p &lt; .01)</p> สราวุฒิ ทวีรัตน์ อุมาภรณ์ สุขารมณ์ Copyright (c) 2025 สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-06 2025-01-06 22 1 21 35 ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน ของครูการศึกษาพิเศษ ในกรุงเทพมหานคร https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JPsychol/article/view/6111 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะหมดไฟในการทำงานของครูการศึกษาพิเศษ 2) เปรียบเทียบภาวะหมดไฟในการทำงานของครูการศึกษาพิเศษ ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง กับภาวะหมดไฟในการทำงานของครูการศึกษาพิเศษ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะหมดไฟในการทำงานของครูการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ครูการศึกษาพิเศษ ในสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 189 คน<strong> </strong>เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test One-way ANOWA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะหมดไฟในการทำงานของครูการศึกษาพิเศษ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ครูการศึกษาพิเศษที่มีเพศ ระดับการศึกษาสูงสุด รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีภาวะหมดไฟในการทำงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุแตกต่างกัน มีภาวะหมดไฟในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การรับรู้ความสามารถของตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะหมดไฟในการทำงานของครูการศึกษาพิเศษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะหมดไฟในการทำงานของครูการศึกษาพิเศษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ธิติยา จุลรักษ์ ผกาวรรณ นันทะเสน Copyright (c) 2025 สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-06 2025-01-06 22 1 36 49