วารสารสังคมพัฒนศาสตร์
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD
<p> <strong>วารสารสังคมพัฒนศาสตร์</strong> เป็นวารสารวิชาการของวัดสนธิ์ (นาสน) ตำบลมะม่วงสองต้น อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้นคว้าและนำเสนอองค์ความรู้ทางด้านวิชาการ โดยการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการแก่นักวิจัยนักวิชาการ คณาจารย์และนักศึกษา ในมิติเพื่อสนับสนุนการศึกษา การสอน การวิจัยในมหาวิทยาลัยสงฆ์รวมถึงคณะสงฆ์ไทย และสถาบันภายนอก รวมทั้งนักวิชาการและผู้สนใจ โดยเน้นสาขาวิชาเกี่ยวกับ การพัฒนาชุมชม การพัฒนาสังคม ศิลปะทั่วไปและมนุษยศาสตร์ ศาสนศึกษา ธุรกิจทั่วไป การจัดการและการบัญชี สังคมศาสตร์ทั่วไป การศึกษา รวมถึงสหวิทยาการด้านสังคมศาสตร์และและศาสตร์แห่งการพัฒนา โดยรับพิจารณาตีพิมพ์ต้นฉบับของบุคคลหรือองค์กร ทั้งภายในและภายนอกวัด เปิดรับบทความเฉพาะภาษาไทย ประเภท บทความวิจัย และ บทความวิชาการ</p> <p> บทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารสังคมพัฒนศาสตร์จะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) ผลงานที่ส่งมาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น มิใช่ความคิดของคณะผู้จัดทำ และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ทั้งนี้กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา</p> <p><strong>วารสารสังคมพัฒนศาสตร์</strong> มีกำหนดออกเผยแพร่ปีละ 12 ฉบับ (รายเดือน)*</p> <table width="100%"> <tbody> <tr> <td width="32%"> <p>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม</p> </td> <td width="35%"> <p>ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์</p> </td> <td width="31%"> <p>ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม</p> </td> </tr> <tr> <td width="32%"> <p>ฉบับที่ 4 เดือนเมษายน</p> </td> <td width="35%"> <p>ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม</p> </td> <td width="31%"> <p>ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน</p> </td> </tr> <tr> <td width="32%"> <p>ฉบับที่ 7 เดือนกรกฎาคม</p> </td> <td width="35%"> <p>ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม</p> </td> <td width="31%"> <p>ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน</p> </td> </tr> <tr> <td width="32%"> <p>ฉบับที่ 10 เดือนตุลาคม</p> </td> <td width="35%"> <p>ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน</p> </td> <td width="31%"> <p>ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม</p> </td> </tr> </tbody> </table> <p><em>*มีผลตั้งแต่ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป</em></p>
วัดสนธิ์ (นาสน)
th-TH
วารสารสังคมพัฒนศาสตร์
2774-0412
-
กระบวนการและกลยุทธ์การใช้สื่อในการสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมทางการเมือง
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8302
<p>การสื่อสารทางการเมือง เป็นกลไกสำคัญในการสร้างความนิยมทางการเมืองหรืออิทธิพลทางการเมืองให้กับนักการเมือง กลุ่มการเมือง หรือพรรคการเมือง ผ่านการใช้สื่อในการสื่อสารกับประชาชนเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้และการสนับสนุนในกิจกรรมทางการเมือง ตลอดจนการสร้างภาพลักษณ์และความนิยมทางการเมืองให้เกิดขึ้น โดยการใช้สื่อในการสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมทางการเมืองนั้นมีบทบาทสำคัญในฐานะตัวกลางระหว่างนักการเมือง กลุ่มการเมือง และพรรคการเมือง กับประชาชน ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนชัยชนะหรือความสำเร็จในการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมือง กลุ่มการเมือง หรือพรรคการเมือง ที่จำเป็นต้องคำนึงถึงการใช้สื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยบทความเรื่อง กระบวนการและกลยุทธ์การใช้สื่อในการสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมทางการเมือง มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อนำเสนอกระบวนการและกลยุทธ์การใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการสื่อสารเพื่อการสร้างความนิยมทางการเมืองให้กับนักการเมือง กลุ่มการเมือง หรือพรรคการเมือง ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมทางการเมืองให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นกระบวนการใช้สื่อ (Process) ซึ่งประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ผู้รับสาร 2) การวิเคราะห์กิจกรรมการสื่อสาร 3) การกำหนดเครื่องมือการสื่อสาร 4) การดำเนินการสื่อสาร และ 5) การประเมินผลการสื่อสาร และกลยุทธ์การใช้สื่อ (Strategies) ซึ่งประกอบด้วย 1) สื่อบุคคล 2) สื่อพื้นบ้าน 3) สื่อชุมชน 4) สื่อกิจกรรม 5) สื่อนิทรรศการ 6) สื่อกลางแจ้ง 7) สื่อออนไลน์ และ 8) สื่อมวลชน ซึ่งจะเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในการวางแผนและเลือกใช้สื่อในการสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมทางการเมืองให้กับนักการเมือง กลุ่มการเมือง หรือพรรคการเมือง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในบริบททางการเมืองที่แตกต่างกันไป</p>
ภัทรธีรา แพครบุรี
วิทยาธร ท่อแก้ว
กมลรัฐ อินทรทัศน์
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-26
2025-06-26
8 6
143
155
-
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสำหรับชุมชน: การพัฒนาและบทสะท้อนจากการปฏิบัติ
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8304
<p>บทความนี้นำเสนอแนวทางการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในชุมชน โดยเน้นการออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับปัญหาและบริบทเฉพาะของแต่ละพื้นที่ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียนและชุมชน กิจกรรมเชื่อมโยงปัญหาสิ่งแวดล้อม เข้ากับการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ตรงและแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา กระบวนการพัฒนาชุดกิจกรรมประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและความต้องการ ด้วยการสำรวจข้อมูลและสนทนากลุ่มกับผู้นำชุมชน 2) การออกแบบชุดกิจกรรม ครอบคลุมเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากร และการส่งเสริมการมีส่วนร่วม พร้อมแบบทดสอบก่อน–หลังเรียน 3) การพัฒนาและผลิตสื่อ เช่น อินโฟกราฟิก กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ 4) การนำไปทดลองใช้จริงในชุมชน โดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 5) การประเมินผลและปรับปรุงจากผลการเรียนรู้ ผลการดำเนินงานพบว่า ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้กับสถานการณ์จริง พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การทำงานร่วมกัน และความรับผิดชอบต่อสังคม ขณะที่ชุมชนมีความพึงพอใจ เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วม และขยายผลแนวคิดไปสู่การดำเนินงานอื่น ๆ เช่น การตั้งคณะทำงานสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้เกิดการจัดการทรัพยากรในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า นอกจากนี้ ชุดกิจกรรมส่งเสริมให้ชุมชนกลายเป็น “องค์กรและชุมชนแห่งการเรียนรู้” โดยชุมชนมีบทบาทร่วมวางแผน ออกแบบ และประเมินผลกิจกรรม สร้างความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของและความร่วมมือในระยะยาว ผลลัพธ์สะท้อนการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านพฤติกรรม ความรู้ ทักษะ และการรวมกลุ่มของชุมชน สถานศึกษากลายเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน แสดงถึงความสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับชุมชน</p>
กิตติยา ฤทธิภักดี
มนตรี กุมวาปี
ทัศนีย์ โพธิ์ขวัญ
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-26
2025-06-26
8 6
156
170
-
ค่านิยมและโครงสร้างการปกครอง: ปัจจัยหนุนหรือต้านการทุจริต
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8327
<p>ปัญหาการทุจริตเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมายาวนาน และส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินและงบประมาณที่นำไปใช้ในการพัฒนาประเทศถูกเบียดบังไป หนึ่งในสาเหตุสำคัญคือการขาดคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการทั้งฝ่ายประจำและฝ่ายการเมือง ที่ไม่ให้ความสำคัญกับประโยชน์สาธารณะเป็นลำดับแรก และประชาชนก็ยังคงพึ่งพาระบบอุปถัมภ์ ความรักพวกพ้อง ส่งเสริมค่านิยมแบบเอื้อประโยชน์ส่วนตนและลำเอียง ซึ่งนำไปสู่ความไม่เป็นธรรมในสังคม ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการทุจริตเชิงนโยบาย ยิ่งไปกว่านั้น การรัฐประหารในประเทศไทยเกือบทุกครั้งล้วนมีข้ออ้างเกี่ยวกับการทุจริตของรัฐบาลก่อนหน้า มีการออกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2558) ดังนั้น หากต้องการแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างเป็นรูปธรรม จึงต้องศึกษาว่าโครงสร้างของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหรือการรัฐประหารว่ามีผลต่อการทุจริตหรือไม่ อีกทั้งศึกษาค่านิยมที่มีบทบาทในการส่งเสริมพฤติกรรมทุจริต เพื่อนำไปใช้ในการรณรงค์สร้างค่านิยมที่ดีและต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน จากผลการวิจัยพบว่า ดัชนีการรับรู้การทุจริตของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและที่มาจากการรัฐประหารไม่แตกต่างกันอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ค่านิยมที่ฝังอยู่ในระบบอุปถัมภ์ของไทยมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเกิดทุจริต ดังนั้น การแก้ปัญหาในระยะยาวจึงต้องมุ่งเปลี่ยนค่านิยมของสังคมไทยไม่ส่งเสริมระบบอุปถัมภ์ ส่งเสริมให้ยึดมั่นในความดี ความถูกต้อง และจริยธรรม ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างพลเมืองที่มีคุณธรรมและสามารถป้องกันการทุจริตได้อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต</p>
ปกรณ์ สุดแสน
วัชรินทร์ ศิรวจนะกุล
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-27
2025-06-27
8 6
321
338
-
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณและคุณภาพของนักศึกษาจีนในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2567
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8342
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณและคุณภาพของนักศึกษาจีนในประเทศไทย ตลอด 6 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ถึง 2567 โดยวิเคราะห์จากแนวโน้มการเติบโตของจำนวนนักศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาในไทย การเลือกมหาวิทยาลัยและสาขาวิชา ตลอดจนผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาในบริบทของตลาดแรงงานไทยและจีน ปรากฎว่า จำนวนนักศึกษาจีนเพิ่มขึ้นกว่า134% จากปี 2562 โดยมีปัจจัยหลักจากความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม และการเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมยุคใหม่ โดยเฉพาะด้านธุรกิจ วิศวกรรม และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยไทยโดยเฉพาะภาคเอกชน คือ มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยชินวัตร และมหาวิทยาลัย แสตมฟอร์ด มีการลงทุนและความร่วมมือกับกลุ่มทุนจีนอย่างเข้มข้น ส่งผลให้หลักสูตรมีความหลากหลายและทันสมัยมากขึ้น ขณะเดียวกัน ความร่วมมือเชิงนโยบายระหว่างรัฐบาลไทย-จีนอย่างเขตการค้าเสรี (FTA) และ EEC ส่งผลบวกต่อการตัดสินใจเรียนต่อของนักศึกษาจีน นอกจากนี้ บัณฑิตจีนที่สำเร็จการศึกษาในไทยมีแนวโน้มได้รับการจ้างงานในภาคธุรกิจจีนที่ลงทุนในไทย โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจ EEC และมีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย อย่างไรก็ตาม บัณฑิตจีนยังคงเผชิญความท้าทายเรื่องการขอใบอนุญาตทำงาน และการแข่งขันในตลาดแรงงานของจีน และเสนอโมเดลการพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับชาวต่างเทศให้เหมาะต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เนื่องจากนักศึกษาจีนเรียนภาษาไทยลดลง จึงควรให้ความสำคัญในการพัฒนาทักษะเพิ่มเติมและการสร้างเครือข่ายในประเทศไทยเพื่อเพิ่มโอกาสในการมีงานทำได้ สิ่งที่ควรระวังระยะยาวคือความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษา ความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์กับอุปทานของตลาดแรงงาน และผลกระทบต่อระบบอุดมศึกษาไทย</p>
จรรยาลักษณ์ เกษบุตร
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-29
2025-06-29
8 6
350
361
-
เกษตรกรยุคใหม่ สู่แนวทางเกษตรแม่นยำเพื่อความยั่งยืน
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8356
<p>เกษตรกรยุคใหม่และเกษตรแม่นยำเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนภาคเกษตรไทยสู่ความยั่งยืน เกษตรกรยุคใหม่ หมายถึง เกษตรกรที่ปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลและมีความพร้อมในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และสร้างความยั่งยืนในการเกษตรกรรม โดยมีลักษณะ เช่น การเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ มีแนวคิดเชิงธุรกิจ และมีความสนใจในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เกษตรกรกลุ่มนี้ต้องมีทักษะด้านเทคโนโลยี ทักษะการตลาด ทักษะการบริหารจัดการ ทักษะการเรียนรู้ และทักษะการทำงานร่วมกัน โดยใช้เกษตรแม่นยำเป็นระบบในการจัดการการเกษตรที่อาศัยข้อมูลและเทคโนโลยีในการตัดสินใจ โดยมีหลักการพื้นฐาน คือ การให้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมในปริมาณที่ถูกต้อง ณ เวลาที่เหมาะสม และในตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจง ระบบนี้ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การตัดสินใจ และการปฏิบัติการ การบูรณาการเทคโนโลยีหลัก เช่น ระบบเซนเซอร์ โดรน ดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และปัญญาประดิษฐ์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการอนุรักษ์ทรัพยากร การประยุกต์ใช้เกษตรแม่นยำในพืชเศรษฐกิจของไทย เช่น ข้าว อ้อย และพืชผลไม้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน เกษตรแม่นยำมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืนทางการเกษตรในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจผ่านการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ด้านสิ่งแวดล้อมผ่านการลดการใช้สารเคมีและการอนุรักษ์ทรัพยากร และด้านสังคมผ่านการเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกร การเปลี่ยนผ่านสู่เกษตรแม่นยำต้องการการเตรียมความพร้อมในด้านความรู้ เทคโนโลยี ทุน และการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างภาคเกษตรที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และความยั่งยืนสำหรับอนาคต</p>
โกศล สุขเกษม
พระวัชรพุทธิบัณฑิต (ปรีดา บัวเมือง)
ไพรัตน์ ฉิมหาด
ทิพย์วรรณ จันทรา
พระณัฐพงษ์ จันทร์โร
ธีรวัฒน์ ทองบุญชู
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-30
2025-06-30
8 6
372
386
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมการทำงานของพนักงานปั๊มน้ำมัน ปตท. เขตกรุงเทพมหานคร
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8279
<p>การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมการทำงานของพนักงานปั๊มน้ำมัน ปตท. เขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมการทำงานของพนักงานปั๊มน้ำมัน ปตท. เขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมการทำงานของพนักงานปั๊มน้ำมัน ปตท.เขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมการทำงานของพนักงานปั๊มน้ำมัน ปตท. เขตกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการทำงานของพนักงานปั๊มน้ำมัน ปตท. เขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากพนักงานปั๊มน้ำมัน ปตท. เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 261 ชุด และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปด้วย สถิติ t-test และ One Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ตำแหน่งและประสบการณ์การทำงานมีผลวัฒนธรรมการทำงานของพนักงานปั้ม ปตท. เขตกรุงเทพมหานครแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยจูงใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก อันดับแรก ด้านความรับผิดชอบ รองลงมาคือ ด้านความสำเร็จในงานที่ทำ ด้านความก้าวหน้า ด้านลักษณะงาน และด้านการได้รับการยอมรับ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยค้ำจุน มีความคิดเห็นในระดับมากต่อปัจจัยค้ำจุนโดยรวม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก อันดับแรก คือ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน รองลงมา คือ ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านความมั่นคง ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานและด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา วัฒนธรรมการทำงานของพนักงานปั๊มน้ำมัน ปตท. เขตกรุงเทพมหานครพบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับแรก ด้านการร่วมสร้างพลังความดี รองลงมาคือ ด้านการร่วมใจสร้างความเชื่อมั่น ด้านการร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ด้านการสร้างพลังร่วมอันยิ่งใหญ่ ด้านการร่วมสร้างนวัตกรรม และด้านการร่วมมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ตามลำดับ</p>
สมควร ละมูล
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-25
2025-06-25
8 6
1
13
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ บริษัท รักษาความปลอดภัย พันธ์ การ์ด 2022 จำกัด
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8280
<p>การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ บริษัท รักษาความปลอดภัย พันธ์ การ์ด 2022 จำกัด มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ บริษัท รักษาความปลอดภัย พันธ์ การ์ด 2022 จำกัด และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ บริษัท รักษาความปลอดภัย พันธ์ การ์ด 2022 จำกัด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ใช้บริการบริษัท รักษาความปลอดภัย พันธ์ การ์ด 2022 จำกัด ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือวัดผลและเก็บข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยด้วย t-test และ One - way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า พนักงานเป็นผู้ชาย อายุ 41 - 50 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี และเป็นคณะกรรมการจัดจ้างของหน่วยงานในหมู่บ้านเดี่ยว ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ บริษัท รักษาความปลอดภัย พันธ์ การ์ด 2022 จำกัด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก อันดับแรก คือ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมา คือด้านบุคลากร ด้านประสิทธิภาพและคุณภาพ ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านราคา ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ บริษัท รักษาความปลอดภัย พันธ์ การ์ด 2022 จำกัด พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านประสิทธิภาพและคุณภาพที่แตกต่างกัน ผู้ใช้บริการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ บริษัท รักษาความปลอดภัย พันธ์ การ์ด 2022 จำกัด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการบริษัท รักษาความปลอดภัย พันธ์ การ์ด 2022 จำกัดที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และหน่วยงานที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
พันธ์ศักดิ์ เคหบาล
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-25
2025-06-25
8 6
14
25
-
การประเมินและการป้องกันความเสี่ยงของปั้นจั่นแบบเคลื่อนที่ภายในลิฟต์ สำหรับอาคารสูง
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8282
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงจากการใช้งานปั้นจั่นชนิดติดตั้งภายในลิฟต์ไปตามความสูงของอาคารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการใช้งานปั้นจั่นชนิดติดตั้งภายในลิฟต์ไปตามความสูงของอาคารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อวิเคราะห์ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานปั้นจั่นชนิดติดตั้งภายในลิฟต์ตามความสูงของอาคารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4) เพื่อเสนอแนวทางการลดความเสี่ยงและสร้างความปลอดภัย จากการใช้งานปั้นจั่นชนิดติดตั้งภายในลิฟต์ ตามความสูงของอาคารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การวิจัยใช้วิธีเชิงปริมาณ และการเก็บข้อมูลมาจากกลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์ในการใช้งานปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ภายในลิฟต์ จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการทำงานการใช้ปั้นจั่นชนิดติดตั้งภายในลิฟต์ จำนวน 40 คนจาก 4 แห่งในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และจัดลำดับความเสี่ยงรูปแบบ 5x5 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบมี 4 ด้าน ได้แก่ 1.1) ด้านสภาพโครงสร้าง สภาพของตัวน็อต ไม่มีการตรวจสอบก่อนนำมาใช้งาน เนื่องจากขาดการดูแลรักษาหลังจากทำงาน 1.2) ด้านบุคลากร ฝ่ายปฏิบัติการและผู้บังคับ ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ 1.3) ด้านการจัดการบริหารก่อสร้าง ขั้นตอนการสมัครงานคัดเลือกผู้ปฏิบัติงาน ยังไม่ผ่านขั้นตอนการยอมรับตามที่กำหนด 1.4) ด้านสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบด้านฝุ่นและเสียงระหว่างทำงาน 2) ประเมินความเสี่ยงพบว่าไม่มีการตรวจสอบก่อนการใช้งานเป็นประจำและมีการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและ 3) แนะนำให้มีการตรวจสอบประจำปี และการฝึกอบรมบุคลากร เพื่อให้เห็นถึงผลกระทบที่ชัดเจนในการป้องกันอุบัติเหตุ</p>
สุนันทา นิลสนธิ
วรานนท์ คงสง
บุญธรรม หาญพาณิชย์
กฤษดา พิศลยบุตร
ชัยวัฒน์ ภู่วรกุลชัย
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-25
2025-06-25
8 6
26
39
-
การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาเทคโนโลยีสำหรับวิทยาศาสตร์ ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8283
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 28 คน ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การหาประสิทธิภาพของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที 3) การหาค่าดัชนีประสิทธิผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าดัชนีประสิทธิผล และ 4) การศึกษาความพึงพอใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.71/83.93 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเท่ากับ 0.7024 ซึ่งแสดงว่า หลังการเรียนรู้ของนักศึกษามีความก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้น 0.7024 คิดเป็นร้อยละ 70.24 และ 4) นักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพรวมนักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 4.41, S.D.=0.63)</p>
เมธี มธุรส
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-25
2025-06-25
8 6
40
53
-
แนวทางการบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8284
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) สร้างแนวทางการบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา และ 3) ประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 297 คน ได้มาโดยการเปิดตารางเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI<sub>modified</sub> และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 4.28, S.D. = 0.66) สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 4.78, S.D. = 0.47) และค่าความต้องการตามองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า ด้านการประสานความสัมพันธ์กับชุมชน มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด (PNI<sub>Modified</sub> = 0.137) รองลงมา คือ ด้านการจัดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ และด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่บูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษา ตามลำดับ 2) แนวทางการบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 4 ด้าน จำนวน 16 วิธีดำเนินการ 44 โครงการ/กิจกรรม 44 วิธีปฏิบัติ 3) ผลการศึกษาการประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยภาพรวมมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 4.54, S.D. = 0.52)</p>
วิศรุต วังคาม
สุชาติ บางวิเศษ
จุฑามาส ศรีจำนงค์
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-25
2025-06-25
8 6
54
67
-
การพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุในชุมชนบ้านนานอน ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8285
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุฯ และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุในชุมชนบ้านนานอน ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านนานอน จำนวน 293 คน เลือกโดยการใช้สูตรคำนวณ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำชุมชน, ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นประจำ จำนวน 17 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปลายปิด และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามปลาบปิดและการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุในชุมชนบ้านนานอน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ควรส่งเสริมการพัฒนาทักษะความสามารถในด้านอาชีพที่เหมาะสมกับวัยเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ จากเทคโนโลยี 2) ด้านกิจกรรมการออกกำลังกาย ควรมีการประเมินความพร้อมและข้อจำกัดร่างกายของผู้สูงอายุ ออกกำลังกายผ่านเทคโนโลยี 3) กิจกรรมพัฒนาสังคม ควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีบทบาทในสังคม เป็นวิทยากรสอนอาชีพให้คนรุ่นใหม่ เป็นที่ปรึกษาให้กับชุมชน 4) กิจกรรมเสริมการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยี ควรมีการอบรมเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุเป็นประจำ มีศูนย์ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี ในชุมชน 5) ด้านกิจกรรมทางศาสนา ควรใช้เทคโนโลยีเพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงธรรมะ และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างวัย</p>
ดนุสรณ์ อินแสงแวง
กันตภณ หนูทองแก้ว
ดิเรก นุ่นกล่ำ
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-25
2025-06-25
8 6
68
79
-
การศึกษาความต้องการการพัฒนากิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุของศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8286
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาการบริหารกิจกรรมดูแลผู้สูงอายุของศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการบริหารกิจกรรมดูแลผู้สูงอายุของศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช กำหนดรูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน และการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน 19,964 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 380 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยรวบรวมมาจากการสัมภาษณ์ ส่วนเชิงปริมาณใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation">) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาการบริหารกิจกรรมดูแลผู้สูงอายุ มีจำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงในชีวิต ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม พบว่า ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีระดับความต้องการในการพัฒนาการบริหารกิจกรรมดูแลผู้สูงอายุ โดยรวม ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 4.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความมั่นคงในชีวิต มีค่าเฉลี่ยมากสุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 4.39) รองลงมา คือ ด้านการศึกษา (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 4.22) และ ด้านเศรษฐกิจ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 3.85) มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการบริหารกิจกรรมดูแลผู้สูงอายุ พบว่า 1) ด้านความมั่นคงในชีวิต ควรมีกิจกรรมออกกำลังกายตามความเหมาะสม 2) ด้านการศึกษา ควรมีการส่งเสริมด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3) ด้านเศรษฐกิจ ควรมีกิจกรรมอบรมอาชีพ กิจกรรมศึกษาดูงานการฝึกอาชีพในหน่วยงานต่าง ๆ 4) ด้านสังคม ควรมีกิจกรรมรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ</p>
ประสิทธิ์ ดิษสระ
ดิเรก นุ่นกล่ำ
ไพรัตน์ ฉิมหาด
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-25
2025-06-25
8 6
80
92
-
ปัจจัยทางจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่ง
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8295
<p>การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของนักศึกษาชั้น<br>ปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่ง จำนวน 211 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาอยู่ระหว่าง .845 - .934 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 4 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจาก ปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปหาปัจจัยที่ส่งผลน้อยที่สุด ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทัศนคติที่ดีต่อหลักสูตร บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา และการสนับสนุนของครอบครัว โดยสามารถทำนายการคงอยู่ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้ ร้อยละ 66.7 จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า มหาวิทยาลัยควรจัดกิจกรรมหรือออกแบบหลักสูตรที่ท้าท้าย มีนโยบายการสร้างระบบการดูแลนักศึกษา หลักสูตรควรเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอน มีการพัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาให้มีทักษะการสื่อสารเพื่อให้คำปรึกษาด้านการวางแผนการเรียนและอาชีพ มีการส่งเสริมบทบาทของผู้ปกครองผ่านกิจกรรมพลังใจจากครอบครัว เพื่อสร้างความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา และพัฒนาช่องทางสื่อสารออนไลน์ระหว่างอาจารย์กับผู้ปกครอง เพื่อการดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษา</p>
วิภาพร ตัณฑสวัสดิ์
รัฐสภา แก่นแก้ว
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-26
2025-06-26
8 6
93
106
-
การประเมินความต้องการจำเป็นในการรับรองคุณภาพอาจารย์เพื่อส่งเสริม การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8296
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นในการรับรองคุณภาพอาจารย์เพื่อส่งเสริมการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ปีการศึกษา 2567 จำนวน 128 คน ได้มาจากการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค Modified Priority Need Index และวิเคราะห์สถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1.) ลำดับของความต้องการจำเป็น ได้แก่ 1.1) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนพร้อมทั้งสามารถให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ 1.2) ด้านการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล 1.3) ด้านการออกแบบและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 1.4) ด้านการเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน 1.5) ด้านความรู้ในศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ 1.6) ด้านการพัฒนาตนเองในวิชาชีพอาจารย์อย่างต่อเนื่อง 1.7) ด้านความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาของตน 1.8) ด้านการธำรงไว้ซึ่งจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอาจารย์ ตามลำดับ 2.) การวิเคราะห์เมทริกซ์ระหว่างสภาพที่เป็นอยู่กับสภาพที่ควรจะเป็น พบว่า 2.1) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนพร้อมทั้งสามารถให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ 2.2) ด้านการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล 2.3) ด้านการออกแบบและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพอยู่ใต้จุดตัดที่ 3.50 3.) ความต้องการจำเป็นระหว่างอาจารย์ที่สอนวิชาชีพครูกับอาจารย์ที่สอนวิชาเอก ทุกด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
อรุณรัตน์ ศรีวิทัศน์
ณัฐชนน กองพลพรหม
เรืองวัฒน์ ประทุมอ่อน
สริน ประดู่
ชาญชลักษณ์ เยี่ยมมิตร
ธิติพงษ์ สุขดี
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-26
2025-06-26
8 6
107
119
-
การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของเครือข่ายการท่องเที่ยว ชุมชนเชิงเกษตรตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8297
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนเชิงเกษตรตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราชและ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนเชิงเกษตรตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เสนอให้ใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลท่าเสม็ด จำนวน 355 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน การวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้เทคนิคเชิงพรรณนา เชิงปริมาณใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation">) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนเชิงเกษตรตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวม มีค่าเฉลี่ยแปลผลอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 4.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ พบว่า ด้านการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 4.70) รองลงมา ได้แก่ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 4.59) ด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 4.10) และด้านการสร้างรายได้สำหรับชุมชน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 3.83) ส่วนด้านการสร้างความเข้มแข็งและการแบ่งปัน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 3.49) 2) ข้อเสนอแนะการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนเชิงเกษตรตำบลท่าเสม็ด พบว่า ควรนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว จัดพื้นที่จำหน่ายสินค้าและบริการให้สวยงามน่าสนใจพร้อมการตลาดออนไลน์ สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมของคนในชุมชนและแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง วางกฎระเบียบเพื่อดูแลฟื้นฟูธรรมชาติและวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืนสืบไป</p>
สุจารี อุปลา
ณิชารีย์ ปรีชา
ไพรัตน์ ฉิมหาด
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-26
2025-06-26
8 6
120
129
-
การส่งเสริมหลักสัปปายะ 4 ในการบริหารจัดการวัด ในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดภูเก็ต
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8298
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการวัด 2) ศึกษาหลักสัปปายะ 4 ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 3) ส่งเสริมหลักสัปปายะ 4 ในการบริหารจัดการวัดในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าคณะพระสังฆาธิการ ผู้มีประสบการณ์ด้านการปกครองไม่น้อยกว่า 10-20 ปี ในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดภูเก็ตเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ นำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบการเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดการบริหารจัดการวัด เป็นการบริหารจัดการตามหลักพระธรรมวินัย ด้วยความโปรงใส่ ยุติธรรม สอดคล้องกับภารกิจ 6 ด้าน คือ การปกครอง การศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสาธารณสงเคราะห์ และ การสาธารณูปการ 2) หลักสัปปายะ 4 คือ การได้อยู่อาศัยในสถานที่เหมาะสม เกื้อกูลต่อผู้ปฏิบัติธรรมในการบรรลุคุณงามความดี ประกอบด้วย 1) อาวาสสัปปายะ คือ ที่อยู่อาศัยมีความเหมาะสมด้านสภาพอากาศ อุณภูมิ และสภาพแวดล้อม 2) อาหารสัปปายะ คือ อาหารที่บริโภคมีความเหมาะสม ถูกหลักโภชนาการ 3) ปุคคลสัปปายะ คือ บุคคลที่อยู่ร่วมกัน บุคคลที่ติดต่อคบหาควรเป็นผู้ตั้งมั่นในศีลธรรม มีความสันโดษ การได้อยู่ใกล้ชิดกับกัลยาณมิตร 4) ธรรมสัปปายะ คือ การสนทนาพูดคุยกันแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติ 3) การส่งเสริมหลักสัปปายะ 4 ในการบริหารจัดการวัดในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดภูเก็ต ส่งเสริมให้วัดมีการพัฒนาไปสู่ความเจริญ เพื่อขับเคลื่อนพระพุทธศาสนา ตลอดถึงเล็งเห็นถึงความคุณค่าความสำคัญด้านการปกครองแบบธรรมมาภิบาล และส่งเสริมการสร้างสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ ตามแนวทางพระพุทธศาสนา</p>
พระจิรัชย์ ปนฺนภาโร (สิริเพราะ)
พระครูวิจิตรศีลาจาร (ชาตวณฺโณ)
พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล (อนุวฑฺฒโน)
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-26
2025-06-26
8 6
130
142
-
ความคาดหวังของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เขตอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8308
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคาดหวังของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี 2) เปรียบเทียบระดับความคาดหวังของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จำแนกตามปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอพรหมบุรี จำนวน 16,473 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 391 คน ได้มาจากการคำนวณสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ โดยการสุ่มตัวอย่างตามสัดส่วน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย F-test และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคาดหวังของประชาชน ในภาพรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยมีความคาดหวังด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้มีการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ให้มีการพัฒนาปรับปรุงถนน และระบบประปา ด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมือง ให้สามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ 2) การเปรียบเทียบระดับความคาดหวังของประชาชนในการบริหารงาน พบว่า เพศที่แตกต่างกันมีความคาดหวังไม่แตกต่างกัน อายุที่แตกต่างกันมีความคาดหวังไม่แตกต่าง ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคาดหวังไม่แตกต่าง สถานภาพสมรสที่แตกต่างกันมีความคาดหวังไม่แตกต่าง อาชีพที่แตกต่างกันมีความคาดหวังไม่แตกต่าง และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีความคาดหวังไม่แตกต่าง</p>
ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒิ
ธัญปวีณ์ ภัคสุวรรณวัตน์
ศิริพร แสงชาติ
ณัฐพงษ์ เทวะเวชพงษ์
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-26
2025-06-26
8 6
171
181
-
ความต้องการในการศึกษาต่อ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8309
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความต้องการในการศึกษาต่อ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือในงานวิจัยเป็นแบบสอบถาม ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .94 และนำไปหาค่าความเชื่อมั่น มีค่าเท่ากับ .92 กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 300 คน จากการสุ่มด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ต้องการศึกษาต่อ ส่วนใหญ่ เป็นเพศชายช่วงอายุ 26 - 30 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ประกอบอาชีพ เป็นพนักงานเอกชน เหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจศึกษาต่อ เพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ เหตุผลเลือกศึกษาต่อที่วิทยาเขตสุพรรณบุรี เนื่องจากมีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับของสังคม ช่วงเวลาที่ต้องการศึกษาต่อ เป็นภาคพิเศษ (เสาร์ - อาทิตย์) รูปแบบที่ต้องการให้มีการจัดการเรียนการสอน เป็นแบบเต็มเวลาในชั้นเรียน และออนไลน์ แผนการศึกษาที่ต้องการในการศึกษา เป็นแผน 1 แบบวิชาการ และแผนการศึกษาดูงานที่ต้องการในระหว่างการศึกษา ต้องการศึกษาดูงานในประเทศ และ 2) ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เมื่อศึกษาต่อในหลักสูตร พบว่า ด้านความรู้ (4.54±.43) ด้านทักษะ (4.53±.48) และด้านลักษณะบุคคล (4.51±.48) มีความคาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านจริยธรรม (4.38±.51) มีความคาดหวังอยู่ในระดับมาก</p>
ปวเรศร์ พันธยุทธ์
พัชรี ทองคำพานิช
ฉัตร์ชัย แสงสุขีลักษณ์
ฉัตรตระกูล ปานอุทัย
อธิวัฒน์ ดอกไม้ขาว
อัมพร กรุดวงษ์
อรทัย แย้มโอษฐ์
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-26
2025-06-26
8 6
182
195
-
ปัจจัยการเลือกผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดสิงห์บุรี
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8310
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการเลือกผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดสิงห์บุรี 2) เปรียบเทียบปัจจัยการเลือกผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดสิงห์บุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดสิงห์บุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในจังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 165,459 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ได้มาจากเปิดตารางสำเร็จรูปของทาโร่ยามาเน่ ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย ค่าเอฟ ค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการเลือกผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดสิงห์บุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า การประเมินและการจัดลำดับผู้รับเลือกตั้ง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง อยู่ในระดับปานกลาง การสร้างหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกตั้ง อยู่ในระดับปานกลาง และการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบปัจจัยการเลือกผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดสิงห์บุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศที่แตกต่างกันมีปัจจัยการเลือกไม่แตกต่างกัน อายุที่แตกต่างกันมีปัจจัยการเลือกไม่แตกต่างกัน ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีปัจจัยการเลือกไม่แตกต่างกัน อาชีพที่แตกต่างกันมีปัจจัยการเลือกไม่แตกต่างกัน และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีปัจจัยการเลือกไม่แตกต่างกัน</p>
ชูชิต ชายทวีป
พชร เลิศสรรพทรัพย์
ประสงค์ รักวาทิน
ดิน บุนตระกูล
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-26
2025-06-26
8 6
196
206
-
การรับรู้ของประชาชนต่อมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8311
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้ของประชาชนต่อมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบระดับการรับรู้ของประชาชนต่อมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร จำนวน 49,936 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 381 คน ได้มาจากเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม โดยใช้แนวคิดเรื่องการรับรู้ของ Klapper เป็นกรอบในการสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย ค่าเอฟ ค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีระดับการรับรู้โดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการเปิดรับข้อมูล ด้านการให้ความสนใจ ด้านการรับรู้และตีความ และด้านการจดจำ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการรับรู้ของประชาชนต่อมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 จำแนกตามเพศ อายุ มีระดับการรับรู้ไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษา และอาชีพ มีระดับการรับรู้แตกต่างกัน ผลการทดสอบความแตกต่างรายคู่ พบว่า ผู้ที่มีอาชีพรับจ้างทั่วไปมีการรับรู้น้อยกว่าผู้ที่มีอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้ที่มีอาชีพรับจ้างทั่วไปมีการรับรู้น้อยกว่าผู้ที่มีอาชีพพนักงานเอกชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่การป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของเขตทวีวัฒนา ควรทำผ่านรูปแบบสื่อที่หลากหลาย</p>
พงษ์พิพัฒน์ มัลลิกะมาลย์
ธนพันธุ์ พูลชอบ
วดิธ ยลชื่น
นริดา พรนาคสอนโกษา
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-26
2025-06-26
8 6
207
216
-
การประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของชุมชนบ่านซ้านจุ้ยตุ่ย ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8315
<p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) เพื่อศึกษาหลักไตรสิกขาที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 3) เพื่อการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ่านซ้านจุ้ยตุ่ย ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากพระภิกษุสงฆ์ ผู้นำชุมชน อาจารย์ และประชาชนในพื้นที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ นำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบการเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นกระบวนการฝึกฝนพฤติกรรมทางกาย จิต สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และปัญญาของมนุษย์ให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสงบสุขในสังคม มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาให้ได้รับประโยชน์สุขในการดำรงชีวิตประจำวัน ซึ่งประเมินจากความสุขของบุคคล ครอบครับ ชุมชน และสังคม 2) หลักไตรสิกขา ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เป็นระบบการประพฤติปฏิบัติสำคัญที่ช่วยพัฒนาคุณชีวิตของมนุษย์ 3 ด้าน ได้แก่ ศีล การควบคุมมารยาท ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น สมาธิ การฝึกจิตให้สงบ ตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน และปัญญา รู้แจ้งแทงตลอด สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปัญญาชน รู้เท่าทันต่อกิเลส 3) การนำหลักไตรสิกขามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตนั้น ทำให้ผู้คนในชุมชน รู้จักสำรวมระวังในการประพฤติ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น รู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความสามัคคีเมตตาต่อกัน โดยให้ความสำคัญกับทุกคนในสังคม ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ทำให้ชุมชนมีความน่าอยู่อาศัยยิ่งขึ้น และเป็นที่เจริญใจต่อผู้มาเยี่ยมเยือนจากต่างถิ่น โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยว เมื่อนักท่องเที่ยวได้เห็นความเป็นมิตร ก็ทำให้เกิดความประทับใจในวิถีชีวิตของชุมชน</p>
พระสมุห์วีระศักดิ์ สุทฺธิจิตฺโต (ก่อเกิด)
พระครูโกศลอรรถกิจ (เปสโล)
พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล (อนุวฑฺฒโน)
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-26
2025-06-26
8 6
217
230
-
การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8316
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย จำนวน 349 คน เลือกโดยการใช้สูตรคำนวณของเครจซี่และมอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย จำนวน 5 คน ครูหัวหน้าสายชั้นประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 คน ครูประจำสายชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 9 คน และ 4) เจ้าอาวาส/พระสงฆ์วัดศาลามีชัย จำนวน 3 รูป รวมทั้งสิ้นจำนวน 20 รูป/คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัยฯ โดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัยฯ มี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมคุณธรรม ด้านการให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม ด้านการสร้างโอกาสให้นักเรียนฝึกปฏิบัติ ด้านการสร้างบทเรียนจากประสบการณ์ และด้านการสร้างระบบสนับสนุน ทำให้การเรียนรู้และการปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน และยังพบรายละเอียดที่สะท้อนถึงการมีบรรยากาศที่ดี ความปลอดภัย การเรียนรู้แบบเน้นคุณธรรม การฝึกปฏิบัติจริง และการจัดระบบสนับสนุนที่เป็นรูปธรรม</p>
พระธนดล กิตฺติโก (บุญเพ็ชร)
ไพรัตน์ ฉิมหาด
ดิเรก นุ่นกล่ำ
ณิชารีย์ ปรีชา
ปุญญาดา จงละเอียด
พระณัฐพงษ์ ญาณเมธี
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-26
2025-06-26
8 6
231
246
-
การส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8320
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนฯ และข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง จำนวน 357 คน เลือกโดยการใช้สูตรคำนวณ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปลายปิด และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามปลายปิดและการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนฯ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชน มี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านส่งเสริมการจัดการโดยชุมชน ควรมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน มีแนวทางและนโยบายที่ชัดเจน โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง 2) ด้านส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมชุมชน ควรจัดกิจกรรมเรียนรู้ความงดงามของวัฒนธรรมชุมชน รวมทั้งการฟื้นฟูประเพณีที่สร้างอัตลักษณ์ของชุมชน เปิดโอกาสการเรียนรู้ให้นักท่องเที่ยวหรือคนในชุมชนได้ศึกษา เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนทางวัฒนธรรมของชุมชน 3) ด้านการส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นระบบ ควรจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการโดยผ่านกิจกรรมที่โดดเด่นสอดคล้องกับวิถีชุมชนด้วยการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 4) ด้านการส่งเสริมสินค้าและบริการท้องถิ่น ควรมีการประชาสัมพันธ์ทุกช่องทางเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณภาพ เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวกลับมาเยือนครั้งต่อไป</p>
พระอธิการกีรติ อรุโณ (กีรติ รินรส)
ดิเรก นุ่นกล่ำ
พระครูนิติธรรมบัณฑิต (สุริยา คงคาไหว)
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-27
2025-06-27
8 6
247
258
-
การสร้างแบบทดสอบทักษะและเกณฑ์ปกติกีฬายิมนาสติก สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8321
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบและเกณฑ์ปกติทักษะกีฬายิมนาสติกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ การศึกษาวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ที่ในปีการศึกษา 2567 โดยแบ่งออกเป็นดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างเพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ จำนวน 40 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 2) กลุ่มตัวอย่างเพื่อสร้างเกณฑ์ปกติ จำนวน 400 คน โดยการสุ่มแบบ 2 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบทักษะกีฬายิมนาสติกมีลักษณะเป็นเกณฑ์การประเมินแบบวิเคราะห์มีระดับการวัด 3 ระดับ การประเมินทักษะประกอบด้วย 1) ช่วงเตรียม 2) ช่วงส่งแรง 3) ช่วงแรงกระทำ 4) ช่วงสุดท้าย และ 5) ช่วงสำคัญหรือผลลัพธ์ของทักษะ หาคุณภาพเครื่องมือด้านความเที่ยงตรง โดยค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา หาคุณภาพด้านความเชื่อมั่น โดยใช้การทดสอบซ้ำ หาคุณภาพด้านความเป็นปรนัย โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคะแนนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน การวิเคราะห์ข้อมูลในสร้างเกณฑ์ของแบบทดสอบทักษะกีฬายิมนาสติกแต่ละรายการ โดยใช้คะแนนดิบ และคะแนนที แบ่งระดับความสามารถด้านทักษะกีฬายิมนาสติกเป็น 5 ระดับ คือ ดีมาก ดี ปานกลาง ต่ำ และต่ำมาก ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบทดสอบทักษะกีฬายิมนาสติกมีค่า I-CVI เท่ากับ 0.97 และค่า S-CVI เท่ากับ 0.86 แบบทดสอบทักษะกีฬายิมนาสติกทุกทักษะมีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับดีมาก และมีความเป็นปรนัยอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) เกณฑ์ปกติของแบบทดสอบทักษะกีฬายิมนาสติกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติทั้ง 8 ทักษะ ถือเป็นเกณฑ์ที่มีคุณภาพ</p>
ธิติพงษ์ สุขดี
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-27
2025-06-27
8 6
259
269
-
ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้ากับคุณค่าตราสินค้า ธุรกิจกาแฟสตาร์บัคส์ของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8323
<p>งานวิจัยนี้เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าและการรับรู้คุณค่าตราสินค้าธุรกิจกาแฟสตาร์บัคส์ของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้ากับคุณค่าตราสินค้าธุรกิจกาแฟสตาร์บัคส์ของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคกาแฟสตาร์บัคส์จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) เป็นสถิติทดสอบ จากผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 21 - 34 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนในช่วง 20,001 - 40,000 บาท และมีสถานภาพสมรส ผลการศึกษาโดยรวมมีการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าของผู้บริโภคทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.35, S.D. = 0.53) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ด้านบรรยากาศของร้านเป็นอันดับ 1 และผลการศึกษาโดยรวมมีการรับรู้คุณค่าตราสินค้าทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.88, S.D. = 0.80) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ด้านการรับรู้คุณภาพเป็นอันดับ 1 สำหรับผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ภาพลักษณ์ตราสินค้าทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณค่าตราสินค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และระดับ 0.05 โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพลักษณ์ตราสินค้าด้านสินค้ากับคุณค่าตราสินค้าด้านการรับรู้คุณภาพ มีความสัมพันธ์ระดับมากอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
ภัทรวรรณ แท่นทอง
ขวัญฤดี แก้วหีด
สุชาติ ฉันสำราญ
สมใจ หนูผึ้ง
วรุตม์ สามารถ
นิษฐิดา สุดใหม่
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-27
2025-06-27
8 6
270
284
-
แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของมหาวิทยาลัยในเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8324
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของมหาวิทยาลัยในเสฉวนสาธารณรัฐประชาชนจีน 2) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยจำแนกตามเพศ ชั้นปี พื้นฐานการเรียนภาษาไทย และแผนการเรียนที่ประเทศไทย และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือนักศึกษาที่ศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยของมหาวิทยาลัยในเสฉวนสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามทัศนคติของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบเอฟ และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยได้พบว่า 1) นักศึกษามีทัศนคติต่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยโดยรวมอยู่ในระดับน้อย 2) เมื่อเปรียบเทียบทัศนคติจำแนกตามตัวแปรต่าง ๆ พบว่า นักศึกษาเพศชายและเพศหญิงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักศึกษาชั้นปีต่างกันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักศึกษาที่มีพื้นฐานการเรียนภาษาไทยต่างกันและแผนการเรียนที่ประเทศไทยต่างกันไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักศึกษาเห็นว่า การเรียนการสอนต้องปรับปรุงในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านบทบาทอาจารย์ และด้านการวัด และการประเมินผลอยู่ในระดับน้อยที่สุด ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยคือ ควรเพิ่มกิจกรรมที่มีการสื่อสารกับเจ้าของภาษาและกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อเพิ่มโอกาสในการสื่อสารภาษาไทยในชีวิตประจำวันของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเสฉวนสาธารณรัฐประชาชนจีน</p>
WANG SHIQI
กุสุมา แย้มเกตุ
จตุพล ยงศร
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-27
2025-06-27
8 6
285
296
-
การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากของกลุ่มอาชีพเกษตรกรบ้านห้วยแหยง ตำบลท่าประจะ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8325
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากของกลุ่มอาชีพเกษตรกรบ้านห้วยแหยง ตำบลท่าประจะ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากของกลุ่มอาชีพเกษตรกรบ้านห้วยแหยง ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยการคัดเลือกจากวิธีการใช้แบบสอบถาม ระบุกลุ่มประชากรจำนวน 6, 088 คน ใช้วิธีการเลือกแบบโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 363 คน การวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้เทคนิคเชิงพรรณนา เชิงปริมาณใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation">) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากของกลุ่มอาชีพเกษตรกรบ้านห้วยแหยง ตำบลท่าประจะ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 4.00) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านพัฒนาทักษะและการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 4.23) รองลงมา ได้แก่ ด้านการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 4.16) ด้านการสนับสนุนนวัตกรรม (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 3.98) ด้านการประชาสัมพันธ์ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 3.87) และด้านการสร้างพันธมิตรและเครือข่าย มีค่าเฉลี่ยในระดับน้อย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation"> = 3.74) 2) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากของกลุ่มอาชีพเกษตรบ้านห้วยแหยง ตำบลท่าประจะ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ควรส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานให้เข้มแข็งเพื่อรองรับการพัฒนา ด้านเครือข่ายควรสร้างความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อขยายศักยภาพ การสนับสนุนนวัตกรรมควรเน้นสร้างสิ่งใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นการพัฒนา และการประชาสัมพันธ์ควรหลากหลายรูปแบบเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน</p>
ศศิธร สงศิริ
ไพรัตน์ ฉิมหาด
ปุญญาดา จงละเอียด
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-27
2025-06-27
8 6
297
307
-
แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานตามมาตรฐานโรงเรียนสุจริต กลุ่มโรงเรียนโมกขละ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8326
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้วิธีการสำรวจ (Descriptive Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานตามมาตรฐานโรงเรียนสุจริต กลุ่มโรงเรียนโมกขละ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 และหาแนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานตามมาตรฐานโรงเรียนสุจริต กลุ่มโรงเรียนโมกขละ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2กลุ่มเป้าหมายคือผู้บริหารและข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนโมกขละ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำนวน 157 คน และผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด (Population Study) เนื่องจากจำนวนไม่มากและสามารถเข้าถึงได้ทั้งหมด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านผลลัพธ์และภาพแห่งความสำเร็จมีระดับสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานทั่วไป และด้านการบริหารงานบุคคล ตามลำดับปัญหาที่พบ ได้แก่ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริตที่จะนำไปใช้ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ยังไม่ชัดเจน มีความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณ การพัฒนาบุคลากรที่ไม่ทั่วถึง และการประเมินความพึงพอใจที่ยังไม่ครอบคลุม แนวทางการพัฒนา ได้แก่ ควรมีการเสริมสร้างศักยภาพครูในการบูรณาการโรงเรียนสุจริตสู่แผนการจัดการเรียนรู้ จัดการอบรมเสริมสร้างความรู้ด้านระเบียบการคลัง การวางแผนงบประมาณ การประเมินบุคลากรที่เน้นคุณธรรม และการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านคุณธรรม พร้อมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ของโรงเรียนโดยผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนและเครือข่ายอย่างยั่งยืน</p>
ประจวบ เป็งโย
สุภาภรณ์ กิตติรัชฎานนท์
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-27
2025-06-27
8 6
308
320
-
ช่องทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแชมพูและครีมนวดผม
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8341
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ช่องทางการตลาดออนไลน์และการตัดสินใจซื้อแชมพูและครีมนวดผม 2) เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อแชมพูและครีมนวดผมจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 3) ช่องทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแชมพูและครีมนวดผม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริโภคทั่วไปที่ซื้อสินค้าผ่านตลาดออนไลน์ เลือกด้วยสูตรคำนวณของ W.G. Cochran ได้จำนวน 407 ราย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test วิเคราะห์ช้อมูลใช้แบบ ANOVA และ Multiple Regression Analysis ผลการวิจัย พบว่า ช่องทางการตลาดบนแพลตฟอร์มสื่อกลางการติดต่อซื้อขาย Online Marketplace มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแชมพูและครีมนวดผมผ่านตลาดออนไลน์ อยู่ในระดับสำคัญมาก ผลการเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อ แชมพูและครีมนวดผม จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแชมพูและครีมนวดผมที่แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคล ด้านอายุ ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อแชมพูและครีมนวดผม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน และ ช่องทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแชมพูและครีมนวดผม พบว่า ช่องทางการตลาดออนไลน์ การตลาดที่ใช้ผู้มีอิทธิพลบนโลกอินเทอร์เน็ตหรือการรีวิวจากผู้ใช้จริง การตลาดผ่านเว็บไซต์และรองรับการติดอันดับบนหน้าแรกเมื่อค้นหา การตลาดบนแพลตฟอร์มสื่อกลางการติดต่อซื้อขาย Online Marketplace การตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook และการตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อแชมพูและครีมนวดผม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
ปาริชา มุติมรรคา
สุธรรม พงศ์สำราญ
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-29
2025-06-29
8 6
339
349
-
การอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีต้นแบบเรือพระล้อไม้ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8354
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประวัติของประเพณีเรือพระล้อไม้ฯ และข้อเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีต้นแบบเรือพระล้อไม้ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ มี 5 กลุ่ม ได้แก่ ช่างทำเรือพระล้อไม้ พระภิกษุ/คนเฒ่าคนแก่ที่มีความรู้ด้านเรือพระล้อไม้ ชาวบ้านที่มีความเชื่อด้านประเพณีลากพระ คนที่เข้าร่วมประเพณีลากพระ และผู้นำชุมชน/ผู้ทรงคุณวุฒิ เลือกแบบเจาะจง จำนวน 25 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ประวัติของประเพณีเรือพระล้อไม้ เป็นประเพณีอันทรงคุณค่าที่สะท้อนศรัทธาในพุทธศาสนาและภูมิปัญญาช่างฝีมือ สมควรสร้างความตระหนักให้เยาวชนรู้คุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ควรสนับสนุนการเรียนรู้และสืบทอดทักษะการต่อเรือพระล้อไม้จากช่างฝีมือท้องถิ่น และแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีต้นแบบเรือพระล้อไม้ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการศึกษาและการสืบค้น 2) ด้านการสนับสนุนการเรียนรู้ในหน่วยงาน 3) ด้านการส่งเสริมการเข้าร่วมในกิจกรรม 4) ด้านการสร้างสื่อที่เกี่ยวข้อง 5) ด้านการสนับสนุนการสร้างศิลปะและงานฝีมือ และ 6) ด้านการสนับสนุนการจัดกิจกรรมของวัด ในปัจจุบันเรือพระล้อไม้กำลังเผชิญความท้าทายในการอนุรักษ์และการฟื้นฟู จึงควรส่งเสริมในการจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมอนุรักษ์ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และบูรณาการประเพณีเข้ากับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม ให้คนในพื้นที่เห็นความสำคัญของการรักษาประเพณีนี้ไว้อย่างยั่งยืน</p>
พระปลัดสุธรรมรัตน์ สุจิณฺโณ (พุทโธสิทธิ์)
พระครูวิรัตธรรมโชติ
ไพรัตน์ ฉิมหาด
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-30
2025-06-30
8 6
362
371