วารสารสังคมพัฒนศาสตร์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD <p> <strong>วารสารสังคมพัฒนศาสตร์</strong> เป็นวารสารวิชาการของวัดสนธิ์ (นาสน) ตำบลมะม่วงสองต้น อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้นคว้าและนำเสนอองค์ความรู้ทางด้านวิชาการ โดยการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการแก่นักวิจัยนักวิชาการ คณาจารย์และนักศึกษา ในมิติเพื่อสนับสนุนการศึกษา การสอน การวิจัยในมหาวิทยาลัยสงฆ์รวมถึงคณะสงฆ์ไทย และสถาบันภายนอก รวมทั้งนักวิชาการและผู้สนใจ โดยเน้นสาขาวิชาเกี่ยวกับ การพัฒนาชุมชม การพัฒนาสังคม ศิลปะทั่วไปและมนุษยศาสตร์ ศาสนศึกษา ธุรกิจทั่วไป การจัดการและการบัญชี สังคมศาสตร์ทั่วไป การศึกษา รวมถึงสหวิทยาการด้านสังคมศาสตร์และและศาสตร์แห่งการพัฒนา โดยรับพิจารณาตีพิมพ์ต้นฉบับของบุคคลหรือองค์กร ทั้งภายในและภายนอกวัด เปิดรับบทความเฉพาะภาษาไทย ประเภท บทความวิจัย และ บทความวิชาการ</p> <p> บทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารสังคมพัฒนศาสตร์จะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) ผลงานที่ส่งมาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น มิใช่ความคิดของคณะผู้จัดทำ และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ทั้งนี้กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา</p> <p><strong>วารสารสังคมพัฒนศาสตร์</strong> มีกำหนดออกเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน)*</p> <p>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม</p> th-TH nattapong.krai@mcu.ac.th (พระณัฐพงษ์ ญาณเมธี) natthaphong.jan@mcu.ac.th (พระณัฐพงษ์ สิริสุวณฺโณ) Tue, 11 Jun 2024 13:58:15 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ยิ้มชาวนา : แนวทางส่งเสริมการผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทำนาบ้านป่าไหม้ ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/4920 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนา 3) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาบ้านป่าไหม้ ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช <br />เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม โดยเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ คือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาบ้านป่าไหม้ จำนวน 18 คน ผู้สนับสนุน และส่งเสริมการทำนาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มทำนาบ้านป่าไหม้ จำนวน 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม ผลการวิจัย พบว่า 1) การผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาบ้านป่าไหม้ ประกอบด้วย 1.1) การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าว 1.2) การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว 1.3) การปลูกข้าว แบ่งเป็น 2 แบบ 1.4) การดูแลรักษา ต้องคอยบำรุงต้นข้าวด้วยปุ๋ยตามช่วงอายุของการเติบโต 1.5) การเก็บเกี่ยว นับจากวันที่ปลูกประมาณ 120 - 130 วัน การเก็บเกี่ยวแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบใช้แรงงานคน และเครื่องจักร 2) สภาพปัญหาการผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาบ้านป่าไหม้ ประกอบด้วย 2.1) ปัญหาด้านเงินทุน 2.2) ปัญหาสิ่งแวดล้อม น้ำท่วมในช่วงหน้าฝน เนื่องจากเป็นที่รับน้ำ 2.3) ปัญหาด้านการตลาด กลุ่มผู้บริโภคเป็นเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ทำให้ไม่สามารถขยายตลาดได้มากนัก 3) แนวทางส่งเสริมการผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาบ้านป่าไหม้ ประกอบด้วย 3.1) การส่งเสริมเครือข่ายองค์กรชุมชน 3.2) ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3.3) การส่งเสริมด้านการตลาด</p> กนกวรรณ รัตนพล, จิตติมา ดำรงวัฒนะ, อุดมศักดิ์ เดโชชัย, เดโช แขน้ำแก้ว, พระมหา จรูญศักดิ์ ชูยงค์, พระครูปลัด สาโรจน์ แซ่อู้, เจียร ชูหนู, ปุญญาดา จงละเอียด, อนุชิต ปราบพาล, เสรี ปานทน, จรัญ ศรีสุข, เนติลักษณ์ สุทธิรักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมพัฒนศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/4920 Tue, 11 Jun 2024 00:00:00 +0700 บอกแดดเดียว : วิธีการทำปลากระบอกแดดเดียวเพื่อส่งเสริมอาชีพในชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านแหลมตะลุมพุก หมู่ที่ 2 ตำบลแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/4935 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการทำปลากระบอกแดดเดียว สภาพปัญหาการทำปลากระบอกแดดเดียว และแนวทางการส่งเสริมการทำปลากระบอกแดดเดียวเพื่อส่งเสริมอาชีพในชุมชน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการทำปลากระบอกแดดเดียว พบว่า 1.1) เตรียมวัสดุ และอุปกรณ์ 1.2) ทำความสะอาดตัวปลา 1.3) ผสมเกลือเพื่อล้างตัวปลาเพื่อลดความคาว 1.4) นำปลาตากแดดให้ผิวเนื้อด้านนอกและด้านในแห้งหมาด 1.5) เก็บรักษาไว้ในตู้เย็น สภาพปัญหาการทำปลากระบอกแดดเดียว พบว่า 2.1) จำนวนปลาลดลงเนื่องมาจากการประมงแบบทำลายล้าง การปล่อยน้ำเสีย 2.2) ปัญหาด้านการผลิตได้แก่ พบสารเคมีตกค้าง ผลิตปลากระบอกไม่ทันตามกำหนด 2.3) ปัญหาด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ได้แก่ สินค้าขาดคุณภาพ ไม่เป็นที่ยอมรับ 2.4) ขาดการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาเครือข่าย แหล่งเงินทุน และเทคโนโลยีสมัยใหม่ 2.5) ปัญหาด้านช่องทางการตลาดจากปัญหาการผลิตปลาแดดเดียวไม่ทันเวลาปัญหาช่องทางการจําหน่าย 3) แนวทางการส่งเสริมการทำปลากระบอกแดดเดียวเพื่อส่งเสริมอาชีพในชุมชนพบว่า 3.1) ให้ความรู้ในการอนุรักษ์พันธ์ปลาตามกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ ยุติทำประมงแบบทำลาย 3.2) พัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย และมาตรฐานเดียวกัน 3) ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจ โดยใช้วัตถุดิบ ทรัพยากรทุน และแรงงานในชุมชน 4) การส่งเสริมการจัดตั้งงบประมาณแหล่งกลุ่มวิสาหกิจ เพื่อขอทุนมาประกอบอาชีพในการทำปลากระบอกแดดเดียว 5) การส่งเสริมถ่ายทอดภูมิปัญญาความรู้รุ่นสู่รุ่นช่วยให้คนรุ่นหลังนำความรู้ประกอบอาชีพได้</p> นฤมล แป้นเกลี้ยง, จิตติมา ดำรงวัฒนะ, เดโช แขน้ำแก้ว, อุดมศักดิ์ เดโชชัย, พระมหา จรูญศักดิ์ ชูยงค์, พระครูปลัด สาโรจน์ แซ่อู้, ศักดิ์ดา หารเทศ, ชวนะ ทองนุ่น, เสรี ปานทน, จรัญ ศรีสุข, เนติลักษณ์ สุทธิรักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมพัฒนศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/4935 Tue, 11 Jun 2024 00:00:00 +0700 การบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มอาชีพเขียงไม้มะขาม ชุมชนบ้านจังหูน จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/4934 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการเกิดกลุ่มอาชีพเขียงไม้มะขาม ชุมชนบ้านจังหูน จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของกลุ่มอาชีพเขียงไม้มะขาม ชุมชนบ้านจังหูน จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มอาชีพเขียงไม้มะขาม ชุมชนบ้านจังหูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง เป็นจำนวน 7 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 3 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลรอง จำนวน 4 คน เป็นวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า 1) พัฒนาการเกิดกลุ่มอาชีพดานเฉียงไม้มะขาม พบว่า มี 4 ขั้นตอน คือ 1.1) ขั้นก่อตัวของกลุ่มอาชีพดานเฉียงไม้มะขาม 1.2) ขั้นตอนการรวมตัวกันของกลุ่มอาชีพดานเฉียงไม้มะขาม 1.3) ขั้นการผลิตสินค้าภายในกลุ่มอาชีพดานเฉียงไม้มะขาม และ 1.4) ด้านขั้นตอนการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพดานเฉียงไม้มะขาม 2) สภาพปัญหาของกลุ่มอาชีพดานเฉียงไม้มะขาม ดังนี้ 2.1) ปัญหาการผลิตกลุ่มอาชีพดานเฉียงไม้มะขาม 2.2) ปัญหาบรรจุภัณฑ์กลุ่มอาชีพดานเฉียงไม้มะขาม 2.3) ปัญหาด้านการตลาดของกลุ่มอาชีพดานเฉียงไม้มะขาม และ 2.4) ปัญหาด้านการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพดานเฉียงไม้มะขาม และ 3) การบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า 3.1) ความพอประมาณของกลุ่มอาชีพดานเฉียงไม้มะขาม 3.2) ความมีเหตุผลของกลุ่มอาชีพดานเฉียงไม้มะขาม 3.3) การมีภูมิคุ้มกันของกลุ่มอาชีพดานเฉียงไม้มะขาม และ 3.4) การมีความรู้ของกลุ่มอาชีพดานเฉียงไม้มะขาม 3.5) การมีคุณธรรมของกลุ่มอาชีพดานเฉียงไม้มะขาม</p> กาญจน์ พจนอารี, ปริศนา สิขิวัฒน์, จิตติมา ดำรงวัฒนะ, จรวยพร เหมรังษี, วิเชษฐ์ สินประสิทธิ์กุล, ธีรวัฒน์ ทองบุญชู, ปุญญาดา จงละเอียด, ศักดิ์ดา หารเทศ, ทิพย์วรรณ จันทรา, เสรี ปานทน, สุชาติ มสันต์, นรากร ทองแท้ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมพัฒนศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/4934 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/4921 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการเกิดกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชนของกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญใช้การเลือกแบบเจาะจง จำนวน 14 คน แบ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง มีจำนวน 9 คน และผู้ให้ข้อมูลรอง คือ ผู้ที่ส่งเสริม และสนับสนุนการบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีจำนวน 5 คน โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้เนื้อหาที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ผู้ทำการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาการการเกิดกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง มี 4 ขั้นตอน คือ 1.1) ขั้นก่อตัวของกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 1.2) ขั้นตอนการรวมตัวกันของกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 1.3) ขั้นการผลิตสินค้าภายในกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 1.4) ด้านขั้นตอนการบริหารจัดการกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 2) สภาพปัญหาของกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง ดังนี้ 2.1) ปัญหาการผลิตกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 2.2) ปัญหาบรรจุภัณฑ์กลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 2.3) ปัญหาด้านการตลาดของกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 4) ปัญหาด้านการบริหารจัดการกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรี 3) กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กลุ่ม 5 ดังนี้ 3.1) ความพอประมาณกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 3.2) ความมีเหตุผลกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 3.3) การมีภูมิคุ้มกันกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 3.4) การมีความรู้กลุ่มบ้านสมุนไพร 3.5) การมีคุณธรรมกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง</p> ณัฐภัทร ธานินพงศ์ , อนุชา รักมั่นคง, เพ็ญนภา ถนอมเกิด, จิตติมา ดำรงวัฒนะ, พระครููนิติธรรมบัณฑิต (สุริยา คงคาไหว), ชวนะ ทองนุ่น, เจียร ชูหนู, ทิพย์วรรณ จันทรา, พีระศิลป์ บุญทอง, พระณัฐพงษ์ ไกรเทพ, ศุภฤกษ์ ช่อคง, สุชาติ มสันต์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมพัฒนศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/4921 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่สละบ้านโปน ตำบลอินคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/4922 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการเกิดกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่สละบ้านโปน ตำบลอินคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่สละบ้านโปน ตำบลอินคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในกลุ่มชุมชนของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่สละ บ้านโปน ตำบลอินคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่สละบ้านโปน จำนวน 5 คน 2) ผู้ที่ส่งเสริม และสนับสนุนการบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง มีจำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสละมีการเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว เปลือกมีอาการแห้งอย่างรวดเร็วภายใน 3 - 5 วันเมื่อเก็บรักษา ไว้ที่อุณหภูมิห้อง เนื่องจากเปลือกของสละมีการเรียงตัวกันเหมือนเกล็ดงู ทำให้สละมีอีกชื่อหนึ่งว่า snake fruit ซึ้งลักษณะการเรียงตัวเช่นนี้ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเปลือกเป็นจำนวนมากประกอบกับเปลือกมีการเกาะ เรียงตัวของเส้นใยภายใน เปลือกอย่างหลวม ๆ ทำให้ผลสละมีการคายน้ำ ออกจากผลได้ง่ายและเร็วกว่าไม้ผล ชนิดอื่น อีกทั้งเปลือกของสละมีหนามแหลมไม่สะดวกในการบริโภค 2) ผลผลิตสละบางส่วนอย่างไม่เป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ผลสละตกเกรด มีเหลือทิ้งและเน่าเสียใน ปริมาณหนึ่งและกลุ่มชาวบ้านอำเภอพรหมคีรีหรือกลุ่มเกษตรในพื้นนที่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้หลากหลายชนิด 3) มีการพัฒนาและหาวิธีเพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่สินค้าด้วย ซึ่งจะมีผลทำ ให้ชุมชนสามารถพึ่งพา ตนเองได้และมีความยั่งยืนตลอดไป</p> เผดิมชัย เหมรัตนานนท์, เอกอรุณ ยอดสุวรรณ์, จิตติมา ดำรงวัฒนะ, จรวยพร เหมรังษี, วิเชษฐ์ สินประสิทธิ์กุล, พระณัฐพงษ์ จันทร์โร, พระครููนิติธรรมบัณฑิต (สุริยา คงคาไหว), ศักดิ์ดา หารเทศ, ทิพย์วรรณ จันทรา, พีระศิลป์ บุญทอง, เมธาวรินทร์ จำนงค์ธรรม, สุชาติ มสันต์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมพัฒนศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/4922 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700