https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/issue/feed วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 2024-03-28T09:09:19+07:00 วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา [email protected] Open Journal Systems <h3><span style="vertical-align: inherit;">วารสารวิชาการรับใช้สังคม </span><strong><span style="vertical-align: inherit;">มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา<br /></span></strong></h3> <p><strong>Online ISSN:2651-0723</strong></p> <p><strong>Print ISSN:2586-8268</strong></p> <p><strong>กำหนดออก: 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม </strong></p> <h3><strong><span style="vertical-align: inherit;"> </span></strong></h3> https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/article/view/3126 กระบวนการกระจายสินค้าด้วยรถพุ่มพวงสู่การยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจน ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2023-12-22T15:18:57+07:00 สรรเพชร เพียรจัด [email protected] เชาวลิต สิมสวย [email protected] อุดมพงษ์ เกษศรีพงษ์ศา [email protected] วิษณุ ปัญญายงค์ [email protected] <p>การบูรณาการความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยปรากฏการณ์รถพุ่มพวง ถือว่ารูปแบบการกระจายสินค้าที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติในตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นกลไกการแก้ไขปัญหาด้านการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากรด้วยตัวของชุมชนเอง ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าภายในชุมชน เกิดหมุนเวียนทางการเงิน การหมุนเวียนของทรัพยากรท้องถิ่น และที่สำคัญเป็นกลไกที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มของสินค้าในชุมชนได้อย่างเป็นธรรมชาติ จากกลไกดังกล่าวก่อให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตของครัวเรือนยากจนในอำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ให้ดีขึ้น โดยอาศัยห่วงโซ่คุณค่าและกลไกการขับเคลื่อนของกลุ่มผู้ประกอบการรถพุ่มพวงที่มีอยู่เป็นต้นทุนสำคัญในการขับเคลื่อน โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1.เก็บข้อมูลห่วงโซ่มูลค่ากระบวนการกระจายสินค้าโดยรถพุ่มพวง 2.การสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาช่องว่างและเติมเต็มกระบวนการกระจายสินค้าโดยรถพุ่มพวง 3.วางระบบปฏิบัติการยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจน ด้วยวิธีการดำเนินงานใน 3 กิจกรรมสำคัญคือ 1.การจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าชุมชน (Community Distribution Centre) 2.การพัฒนา Application PoomPong &nbsp;3.การจัดทำระบบสวัสดิการให้แก่รถพุ่มพวง &nbsp;ผลการดำเนินงานพบว่า &nbsp;1.ศูนย์กระจายสินค้าชุมชน (Community Distribution Centre) โดยศูนย์ดังกล่าวมีบทบาทหน้าที่ไปรวบรวมสินค้าตาม Order นำมาคัดแยกใส่บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม &nbsp;แล้วนำขึ้นรถพุ่มพวงที่จะกระจายตัวออกไปในแต่ละเส้นทาง ส่งผลให้เกิดการย้ายถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นลดลง เกิดแหล่งงานที่มั่นคงในพื้นที่ใกล้บ้าน และเกิดความรักความอบอุ่นในครอบครัว &nbsp;2.Application PoomPong ทำให้ผู้ประกอบการรถพุ่มพวงมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการมีลูกค้ากลุ่มใหม่หรือกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานที่ใช้ Application ในการ Order สินค้า จากเดิมที่มีลักษณะการใช้เงินสดแลกสินค้าแบบ Face to Face ซึ่งทำให้มีรายได้จากลูกค้ากลุ่มสูงอายุในเส้นทาง (Roots) ที่เร่ขายเป็นส่วนใหญ่&nbsp; 3. ระบบสวัสดิการให้แก่รถพุ่มพวง เป็นการจูงใจให้รถพุ่มพวงเข้ามาร่วมดำเนินมากขึ้นจากเดิม 16 คันเพิ่มขึ้นเป็น 46 คัน จึงก่อให้เกิดการกระจายสินค้าไปยังพื้นที่อื่นได้ในปริมาณที่มากขึ้นตามมา&nbsp; ผลจากการดำเนินงานสามารถยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจนจากจำนวน 24 ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเป็น 142 ครัวเรือนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและต่อเนื่องเฉลี่ย 14,600 บาทต่อเดือน&nbsp; ซึ่งถือว่ามีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดความมั่นคงมั่งคั่งต่อไปได้&nbsp; และถ้าหากมีการลงทุนขยายผลการดำเนินงานไปยังพื้นที่อื่นในบริบทที่ใกล้เคียงกัน&nbsp; ก็จะส่งผลให้ครัวเรือนยากจนในพื้นที่ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง&nbsp; ซึ่งเป็นผลมาจากมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมในเบื้องต้น</p> 2024-02-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/article/view/3213 โคมลอยล้านนาจำลองเพื่ออนุรักษ์สภาพแวดล้อมและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา เทศกาลโคมล้านนาปูจาผางประทีปหนองบัวพระเจ้าหลวง ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2565 2023-08-22T09:24:16+07:00 วีระศักดิ์ สวนจันทร์ [email protected] กอปรพร นุกูลคาม [email protected] เปศล อัศวปรมิตชัย [email protected] ศิขรินทร์ มัลลิกาวงศ์ [email protected] <p>เทศบาลตำบลเชิงดอย ได้จัดโครงการประพณียี่เป็งและปล่อยโคมลอยเป็นประจำทุกปี ซึ่งมีความเชื่อว่าการปล่อยโคมลอยเป็นการปล่อยทุกข์ แต่โคมลอยที่ตกลงมากลับสร้างความเดือดร้อนให้กับสภาพแวดล้อม ผู้วิจัยและเทศบาลตำบลเชิงดอย เห็นปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวคิดในการออกแบบพื้นที่จัดแสดงโคมลอยล้านนาจำลอง เพื่อสืบสานประเพณีอันดีงามของชุมชน ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้กับชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบพื้นที่จัดแสดงการรับรู้มิติสัมพันธ์ของโคมลอยให้มีการจัดวางที่ต่างกัน ลดปริมาณขยะจากการปล่อยโคมลอย และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผู้วิจัยเสนอแนวคิดในการออกแบบ สำรวจพื้นที่ สร้างแบบจำลองมุมมองเพื่อสร้างบรรยากาศของการปล่อยโคมลอยโดยมีบริบทของการสะท้อนน้ำในหนองบัวพระเจ้าหลวง และพื้นฉากหลังที่เป็นแนวเขาของดอยสะเก็ด กำหนดมุมมองและจุดถ่ายภาพ ปลายสะพาน มุมบิดสะพาน และบนตลิ่ง เลือกใช้การสร้างมิติมุมมองด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ของขนาดวัตถุที่มีระยะห่าง ยิ่งไกลมากจะมีขนาดเล็กลง และเสริมมิติระยะด้วยขนาดโคมลอย ความเข้มของแสงที่ต่างกัน ซึ่งการจัดแสดงดังกล่าวมีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเข้ามาชมจำนวนมาก ทั้งสื่อออนไลน์และสื่อท้องถิ่นต่างชื่นชมกับแนวคิดในการจัดแสดงครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการจัดแสดงครั้งนี้สามารถสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของล้านนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหนองบัวพระเจ้าหลวง ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย</p> 2023-12-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/article/view/3304 แนวทางการพัฒนากลุ่มเพาะเห็ดฟาง ชุมชนบ้านช้าง ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2024-02-21T09:37:26+07:00 Kanoknat Promnakon [email protected] <p>แนวทางการพัฒนากลุ่มเพาะเห็ดฟาง ชุมชนบ้านช้าง ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากลุ่มเพาะเห็ดฟางและการจัดตั้งกลุ่มเพาะเห็ดฟางโดยมีวิธีการดำเนินงานดังนี้ คือ 1) การศึกษาและสำรวจบริบทพื้นที่ โดยการสนทนากลุ่ม 2) การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยชุมชนมีส่วนร่วม และ 3) ประเมินผลลัพธ์จากการดำเนินงาน ผลจากการศึกษาวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาและประเมินศักยภาพบริบทพื้นที่ร่วมกันกับชุมชน &nbsp;ผู้วิจัย&nbsp; และปราชญ์ชาวบ้าน พบว่า ชุมชนมีความต้องการพัฒนาอาชีพเพาะเห็ดฟางจากเศษเหลือหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ส่งผลให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มเพาะเห็ดฟางบ้านช้างเป็นอาชีพเสริม ผู้วิจัยร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านของชุมชนถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนตั้งแต่กระบวนการนำวัตถุดิบเศษเหลือหลังการเก็บเกี่ยวข้าว คือ ฟางข้าว มาเป็นวัตถุดิบหลักในการเพาะเห็ดฟาง โดยมีสมาชิกในกลุ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 84 จากสมาชิก 4 คน เป็น 25 คน ซึ่งส่งผลให้มีสถานที่โรงเรือนเพาะเห็ดฟางบ้างช้างเป็นต้นแบบของชุมชน และมีความพึงพอใจในผลการดำเนินงานร้อยละ 100 ทำให้เห็ดฟางมียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 85 ต่อเดือนจาก 3,000 บาท เป็น 20,000 บาท เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรจากเศษเหลือหลังการเก็บเกี่ยวและทางกลุ่มมีการบริหารจัดการกลุ่มได้เอง เกิดการกระจายรายได้สู่ตลาดชุมชน สร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชน</p> 2024-03-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/article/view/3510 การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนตลาดบางหลวง จังหวัดนครปฐม 2024-03-28T09:09:19+07:00 กานต์นภัส ช้ำเกตุ [email protected] <p>การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามนโยบายภาครัฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่คงเอกลักษณ์วัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน อีกทั้งความหลากหลายทางวัฒนธรรมทำให้สถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่งมีเรื่องราวแตกต่างกันไป แต่ด้วยลักษณะหรือวิถีชีวิตแบบคนไทยย่อมมีความคล้ายคลึงของวัฒนธรรมอยู่บ้าง การสร้างอัตลักษณ์การท่องเที่ยวที่สะท้อนความเป็นตัวตนของชุมชนตลอดจนสร้างความสนใจและความดึงดูดนักท่องเที่ยวจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเข้ามายังแหล่งท่องเที่ยว งานวิจัยนี้ได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรม วิเคราะห์อัตลักษณ์ชุมชนตลาดบางหลวง จังหวัดนครปฐม เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนตลาดบางหลวง จังหวัดนครปฐม โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลในพื้นที่ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งพิจารณาจากบุคคลดั่งเดิมและอาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวน 10 ท่าน เพื่อสะท้อนมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน&nbsp; ผลงานวิจัยพบว่า อาคารบ้านเก่าเหล่าเต๊งไม้&nbsp; ศาลเจ้าแม่ทับทิม และเครื่องดนตรีจีนโบราณ การแห่อาม่าหรือเจ้าแม่ทับทิมช่วงเทศกาลตรุษจีน อาหารท้องถิ่น (ชุนเปี๊ยะ) และการแสดงดนตรีจีน เป็นสิ่งที่สะท้อนอัตลักษณ์ชุมชน สามารถนำมาต่อยอดการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในมิติต่างๆ เช่น การสร้างหลักสูตรอบรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารพื้นถิ่นและดนตรีจีน และสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนของชุมชนได้อนาคตได้</p> 2024-03-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/article/view/2850 รูปแบบการสื่อสารวัจนปฏิบัติศาสตร์ในบริบทวิถีชีวิตใหม่: กรณีศึกษาผู้ให้บริการร้านอาหารและผู้ให้บริการรับและส่งอาหาร 2023-09-05T15:32:03+07:00 ศศิวิมล ชุดขัน [email protected] กัลยารัตน์ เศวตนันทน์ [email protected] <p>บทคัดย่อ</p> <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการรูปแบบการสื่อสารวัจนปฏิบัติศาสตร์โดยใช้หลักการแนวคิดวัจนปฏิบัติศาสตร์(Pragmatics) ของ Grice และออกแบบชุดภาษาสื่อสารวัจนปฏิบัติศาสตร์สำหรับผู้ให้บริการในร้านอาหารและผู้ให้บริการรับและส่งอาหารในบริบทวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง และให้บริการในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ผู้ให้บริการในร้านอาหารและผู้ให้บริการรับและส่งอาหารจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบการสังเกตการณ์ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความต้องการการใช้กลวิธีการสื่อสารเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ และแบบการประเมินคุณภาพของนวัตกรรมภาษาจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มให้บริการในร้านอาหารและผู้ให้บริการรับและส่งอาหาร ต้องการพัฒนาภาษาในการกล่าวขอบคุณและกล่าวอำลาเป็นภาษาอังกฤษ ลำดับรองลงมาคือ การบอกราคาอาหารและวิธีการชำระเงิน การขอร้องให้ลูกค้าพูดซ้ำเมื่อได้ยินไม่ชัดเจนเป็นภาษาอังกฤษ รูปแบบภาษาที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 2 รูปแบบ ได้แก่รูปแบบภาษาสำหรับพนักงานร้านอาหารและรูปแบบภาษาสำหรับผู้ให้บริการรับและส่งอาหารผ่าน จากการประเมินความพึงพอใจพบว่ารูปแบบภาษาที่พัฒนาขึ้นมีการลำดับเนื้อหามีลำดับขั้นตอนที่เข้าใจง่ายต่อการนำไปใช้ นำเสนอเนื้อหาถูกต้อง ชัดเจน และมีเนื้อหาทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์วิถีปกติใหม่</p> <p>คำสำคัญ: การสื่อสารวัจนปฏิบัติศาสตร์, บริบทวิถีชีวิตใหม่, ผู้ให้บริการร้านอาหาร, ผู้ให้บริการรับและส่งอาหาร </p> <p> </p> <p> </p> 2023-12-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/article/view/3528 การใช้คติชนชุมชนเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านกองกาน ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 2023-09-13T12:47:33+07:00 พิศาพิมพ์ จันทร์พรหม [email protected] นริศ กำแพงแก้ว [email protected] กฤต พันธุ์ปัญญา [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้คติชนชุมชนเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาประชากรในพื้นที่ตามกลุ่มเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ประกอบด้วยกลุ่มเยาวชน กลุ่มวัยกลางคน และกลุ่มวัยผู้สูงอายุ รวมทั้งหมด 35 คน งานวิจัยนี้เน้นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อประเมินและพัฒนาการสื่อสารคติชนชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน รวมถึงการตรวจสอบรายการเกี่ยวกับคติชนชุมชน เพื่อใช้ในการจัดการท่องเที่ยว การสนทนากลุ่มย่อย การสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง และโปรแกรมการสื่อสารคติชนชุมชน โดยใช้โปรแกรมการท่องเที่ยวคติชนชุมชน ผลการดำเนินการวิจัยและพัฒนา ดังนี้ 1) ผลการวิจัยแสดงว่าคติชนชุมชนมีศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลประเภทต่าง ๆ เช่น ข้อมูลปาฐะและลายลักษณ์, วัฒนธรรมวัตถุ, ประเพณีสังคมพื้นบ้าน, และการแสดงศิลปะพื้นบ้าน มีร้อยละ 80 ของประชากรในชุมชนบ้านกองการ จำนวน 325 คน เห็นชอบการใช้คติชนชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยร้อยละ 80 ให้การสนับสนุนในการพัฒนาคติชนชุมชนเพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) การพัฒนาการสื่อสารคติชนชุมชน ผลคะแนนหลังกระบวนการพัฒนาการสื่อสารคติชนชุมชนโดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือแสดงว่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น แสดงถึงความสำเร็จในกระบวนการพัฒนาการสื่อสารคติชนชุมชนโดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือ และ 3) การพัฒนาเครื่องมือสื่อสารเพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายในด้านลักษณะของสื่อ มาตรฐานการออกแบบ มาตรฐานการใช้เทคนิค และความมีสุนทรียภาพของสื่ออยู่ในระดับดี ทั้งนี้เครื่องมือสื่อสารดังกล่าวถือเป็นส่วนสำคัญในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในชุมชนบ้านกองกาน ซึ่งมีความสำเร็จและความพึงพอใจในการใช้งานเครื่องมือนี้</p> 2023-12-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/article/view/2863 การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของกาแฟและดอกกาแฟอาราบิก้าของวิสาหกิจชุมชนน้ำหนาวอาราบิก้า จังหวัดเพชรบูรณ์ 2024-01-26T11:18:10+07:00 Sirirat Panich [email protected] ฉันทนา ปาปัดถา [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการและฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของกาแฟพันธุ์อาราบิก้าและดอกกาแฟชงดื่มผลิตโดยวิสาหกิจชุมชนน้ำหนาวอาราบิก้า จังหวัดเพชรบูรณ์ และนำข้อมูลดังกล่าวถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิกในวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้างนักวิจัยท้องถิ่นและให้สมาชิกมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตนเองเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอนาคต จากการทดสอบพบว่ากาแฟอาราบิก้าน้ำหนาวคั่วอ่อน กลางและเข้มในปริมาตร 100 มิลลิลิตรมีแคลอรี 2-3 กิโลแคลอรี โปรตีน 0.1-0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 0.4-0.6 กรัม และตรวจไม่พบปริมาณไขมัน น้ำตาลและวิตามิน เมื่อเปรียบเทียบกาแฟคั่วอ่อนกับดอกกาแฟอาริก้าชงดื่มพบว่ามีปริมาณคุณค่าทางโภชนาการที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เมื่อทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระพบว่ากาแฟคั่วอ่อนมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด รองลงมาคือคั่วกลาง และคั่วเข้มตามลำดับสอดคล้องกับปริมาณสารประกอบฟินอลิกและปริมาณแทนนินที่พบมากที่สุดในกาแฟคั่วอ่อนเช่นกัน เมื่อพิจารณาถึงปริมาณคาเฟอีนต่อ 100 มิลลิลิตรพบว่ากาแฟคั่วเข้มมีปริมาณคาเฟอีนสูงที่สุดคือ 62.2 กรัม รองลงมาคือคั่วอ่อนและคั่วกลางในขณะที่ดอกกาแฟชงดื่มมีปริมาณคาเฟอีนต่ำที่สุดคือ 20 มิลลิกรัม ผลการทดสอบดังกล่าวจะเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอนาคตให้กลายเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ของชุมชนต่อไป</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> 2024-03-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/article/view/2932 การจัดการขยะ กรณีศึกษา ชุมชนบ้านม่อนเขาแก้ว ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 2023-12-22T15:12:06+07:00 pongsakorn surin [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการขยะ กรณีศึกษา ชุมชนบ้านม่อนเขาแก้ว ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง วิธีการดำเนินงาน การชี้แจงโครงการ การให้ความรู้การคัดแยก กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 146 ตัวอย่าง การชั่งน้ำหนักขยะก่อนคัดแยก การปฏิบัติการคัดแยกขยะ และการถอดบทเรียน ผลการวิจัย พบว่า น้ำหนักขยะทั่วไปก่อนคัดแยก จำนวน 1,023.55 กิโลกรัม และเมื่อปฏิบัติการคัดแยกขยะน้ำหนักขยะทั่วไป จำนวน 302.06 กิโลกรัม ทำให้สามารถลดขยะทั่วไปลง จำนวน 721.49 กิโลกรัม คิดเป็น 70.48 เปอร์เซ็นต์ โดยสามารถคัดแยกไปรีไซเคิล ได้แก่ พลาสติก จำนวน 147.25 กิโลกรัม ขวดแก้ว จำนวน 356.70 กิโลกรัม กระดาษจำนวน 84 กิโลกรัม และโลหะ จำนวน 3.90 กิโลกรัม นอกจากนี้ชุมชนได้ออกแบบการจัดการขยะในลักษณะเครือข่ายภายในพื้นที่ชุมชน 3 ส่วน ทำหน้าที่ ติดตามการคัดแยกขยะ การเก็บรวม และการขายให้ผู้ประกอบการ ผลของการทำงานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนทำให้คัดแยกขยะรีไซเคิลได้ทั้งหมด 1,866.55 กิโลกรัม และมีรายได้จากการขายทั้งหมด 6,224 บาท</p> 2024-02-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา