วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL <h3><span style="vertical-align: inherit;">วารสารวิชาการรับใช้สังคม </span><strong><span style="vertical-align: inherit;">มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา<br /></span></strong></h3> <p><strong>Online ISSN:2651-0723</strong></p> <p><strong>Print ISSN:2586-8268</strong></p> <p><strong>กำหนดออก: 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม </strong></p> <h3><strong><span style="vertical-align: inherit;"> </span></strong></h3> มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา th-TH วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 2586-8268 การใช้ประโยชน์จากผลลูกตาลแก่สำหรับนวดฝ่าเท้าเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุจากภูมิปัญญาของชุมชน ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/article/view/3306 <p>การศึกษางานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากผลลูกตาลแก่สำหรับนวดฝ่าเท้าเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุจากภูมิปัญญาของชุมชน ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน การดําเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาข้อมูลบริบทและความต้องการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2)พัฒนาลูกตาลนวดฝ่าเท้าเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุจากภูมิปัญญาของชุมชน 3) ประเมินผลการดำเนินงานการใช้ประโยชน์จากผลลูกตาล การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกชนิดข้อมูล การวิเคราะห์คำหลักจากการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนมีทรัพยากรที่เป็นอัตลักษณ์คือแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้านน้ำตาลสด ผลของต้นตาลที่นำไปทำขนมที่สร้างอาชีพบนเส้นทางการท่องเที่ยวเป็นสิ่งของเหลือใช้จึงได้คิดเห็นร่วมกันพัฒนาเป็นลูกตาลนวดฝ่าเท้า ความพึงพอใจของการใช้ประโยชน์จากผลลูกตาลนวดฝ่าเท้าเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.38±0.82) ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุผ่อนคลายและสามารถกระตุ้นปลายประสาทเป็นการส่งเสริมสุขภาพการดูแลเท้าของผู้สูงอายุ</p> ชนะพล สิงห์ศุข ศิรินันท์ คำสี สุรีย์พร ธรรมิกพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL 2024-07-31 2024-07-31 8 1 การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากส้มสีทองน่านของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สมุนไพรบ้านเชียงยืน ตำบลบ่อสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/article/view/3499 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาต้นทุนจากการลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์ และ2) วิเคราะห์จุดคุ้มทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ยาอบสมุนไพร เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและทำการเก็บข้อมูลจากประธาน สมาชิกวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านเชียงยืน จำนวน 8 คน ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์นำมาคำนวณต้นทุนการผลิต ซึ่งประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้การผลิต วิเคราะห์จุดคุ้มทุนและอัตรากำไร ผลการศึกษาพบว่า ลูกประคบสมุนไพรมีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 8,894.50 บาท หรือ 88.95 ต่อหน่วย ยาอบสมุนไพรมีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 13,794.50 บาท หรือ 137.95 ต่อหน่วยการจำหน่ายลูกประคบสมุนไพรสร้างรายได้ 12,000 บาท โดยมีอัตรากำไรขั้นต้น 34.21% และมีอัตรากำไรสุทธิ 25.88% ต่อรอบการผลิต การจำหน่ายยาอบสมุนไพรสร้างรายได้ 18,000 บาทโดยมีอัตรากำไรขั้นต้น 28.92% และมีอัตรากำไรสุทธิ 23.36% ต่อรอบการผลิต จากการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากส้มสีทองน่าน จากการศึกษาพบว่า 1) ลูกประคบสมุนไพรมียอดขายที่จุดคุ้มทุน 7.75 หน่วยหรือ 930 บาท ต่อรอบการผลิต 2) ยาอบสมุนไพรยอดขาย ณ จุดคุ้มทุนเท่ากับ 6.21 หน่วยหรือ 1,118 บาท ต่อรอบการผลิต โดยผลิตภัณฑ์ที่มีอัตรากำไรขั้นต้นและอัตรากำไรสุทธิดีที่สุด ได้แก่ ลูกประคบสมุนไพร ดังนั้นวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านเชียงยืนจึงสามารถกำหนดราคาขายได้สอดคล้องกับต้นทุนสินค้าที่แท้จริงและตัดสินใจเลือกลงทุนผลิตให้ได้ตรงกับจุดคุ้มทุน และวางแผนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่สร้างผลกำไรได้มากที่สุด นอกจากนี้ วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านเชียงยืนยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีอัตลักษณ์ท้องถิ่นพิเศษซึ่งมาจาก "ส้มสีทองน่าน" เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมส้มสีทองน่านให้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรหลักของจังหวัดน่านสะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นของชุมชน ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นนี้จะสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์และรับรองการเติบโตอย่างยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในระยะยาว</p> <p> </p> วันวิภา ปานศุภวัชร สมบูรณ์ กุมาร ธิตินันท์ กุมาร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL 2024-07-17 2024-07-17 8 1 การพัฒนากระบวนการเผาถ่านแบบดั้งเดิมสู่ชุมชนนวัตกรรมต้นแบบหมู่บ้านไร้ควัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/article/view/3771 <p>งานวิจัยนี้มีลักษณะเป็นงานวิชาการเพื่อสังคมที่ได้ทำการวิจัยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ผ่านการร่วมมือแบบภาคีระหว่างนักวิจัยและชุมชน ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยนี้เพื่อลดปัญหาควันไฟที่เกิดจากการเผาถ่านแบบดั้งเดิมในพื้นที่ของเกษตรกรที่มีอาชีพเผาถ่านที่มีจำนวน 49 เตา ในพื้นที่บ้านคลองอาราง จังหวัดสระแก้ว การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ลงพื้นที่ศึกษาบริบทชุมชน 2. ศึกษานวัตกรรมและเทคโนโลยีพร้อมใช้ 3. ถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยี 4. พัฒนาศักยภาพนวัตกรชุมชน 5. วิเคราะห์และสรุปผลกับชุมชน และ 6. ส่งมอบและขยายผลในพื้นที่ จากการวิจัยได้มีการออกแบบและสร้างเตาเผาถ่านที่มีลักษณะเด่นใช้ระบบการไหลของอากาศผ่านช่องแคบบริเวณฐานเตาและปากปล้องเตาเกิดการไหลและเติมของอากาศทให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ลดการเกิดควันจากการเผาส่งผลให้มีการปล่อยควันน้อย และการเผาด้วยกระบวนการไพโรไลซีลจากแก๊สในตัวเนื้อไม้ โดยมีเตาเผาในชุมชนจำนวน 40 เตา ทดแทนและลดการใช้งานเตาเผาถ่านแบบดั้งเดิมส่งผลให้เกิดปล่อยควันที่เป็นมลพิษในชุมชนลดน้อยลง ถ่านที่ได้จากการเผาไม้ยูคาลิปตัสและไม้กระถินณรงค์ในเตาแบบใหม่สามารถดูดซับไอโอดีนได้ 284.13 mg/g และ 288.55 mg/g ตามลำดับ นอกจากนี้สามารถสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือสู่การเป็นต้นแบบศูนย์เรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนในอนาคตต่อไป </p> เทอดเกียรติ แก้วพวง จิระศักดิ์ เฮงศรีสมบัติ ปิยะพงษ์ ยงเพชร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL 2024-06-13 2024-06-13 8 1 แนวทางการออกแบบตลาดชุมชนด้วยแนวทางที่ยั่งยืน : กรณีศึกษา อ.พร้าว จังหวัดเชียงใหม่ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/article/view/3794 <p>งานวิจัยนี้มุ่งส่งเสริมพัฒนาพื้นที่แหล่งกระจายรายได้หมุนเวียนเข้าสู่ชุมชน ณ บริเวณหน้าฝายเก็บน้ำ แม่สะลวม เขตเทศบาล อำเภอพร้าว โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพบริบทชุมชน 2) พัฒนาต้นแบบโลโก้และรูปแบบร้านค้าชั่วคราวที่เหมาะสำหรับตลาดชุมชน 3) ประเมินความพึงพอใจที่มีผลต่อการออกแบบตลาดชุมชนที่สอดคล้องกับแนวความคิดการออกแบบที่ยั่งยืน ปัญหาที่พบ ได้แก่ ชุมชนมีผลผลิตทางด้านการเกษตร หัตถกรรม และงานฝีมือจำนวนมาก แต่ยังขาดพื้นที่จัดจำหน่ายสินค้าภายในชุมชน ดังนั้นทางเทศบาลต้องการสนับสนุน จัดทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดตั้งตลาดชุมชน ทุก ๆ วันเสาร์ เพื่อการสร้างงานสร้างรายได้ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มชาติพันธุ์ ตามการพัฒนาแบบยั่งยืน (SDGs) ทางเทศบาลได้ร่วมมือกับ คณาอาจารย์ และนักศึกษา สาขาสถาปัตยกรรมออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการบูรณาการงานวิจัยเข้ากับการเรียนการสอน วิธีดำเนินงาน 1) สำรวจบริบทโดยรอบของพื้นที่ที่จะทำการออกแบบ 2) ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ การสังเกต และการสัมภาษณ์เฉพาะกลุ่ม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ และนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สรุปผลแนวทางการออกแบบตลาดชุมชน พบว่าพื้นที่ทางด้านหน้าที่ติดกับถนนใหญ่ใกล้กับสามแยกมีความเหมาะสมสำหรับเป็นจุดเริ่มต้นของตลาด ด้านการออกแบบมีการพัฒนาโลโก้และรูปแบบร้านค้าโดยคำนึงถึงการออกแบบที่ยั่งยืน การคำนึงถึงวัสดุ ฟังก์ชั่นการใช้งาน และอัตลักษณ์ของชุมชนมาประยุกต์ใช้ ผลจากการวิพากษ์โดยทางเทศบาลเห็นด้วยกับแนวความคิดของนักศึกษาทั้ง 3 กลุ่ม ในเรื่องการนำเสนอที่มีความน่าสนใจ มีการสรุปค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ซึ่งมีความเป็นได้ในการดำเนินการต่อไปในอนาคต</p> ธนิตพงศ์ พุทธวงศ์ จุรีพร เลือกหา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL 2024-06-13 2024-06-13 8 1 การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในมิติความรู้โดย เครือข่ายพ่อแม่ชุมชนเมืองสุราษฎร์ธานี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/article/view/2892 <p>งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายพ่อแม่เพื่อการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยใน ชุมชนเมือง สุราษฎร์ธานี 2) เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาและเพิ่มทักษะชีวิตให้กับเด็กและเยาวชนผ่านเครือพ่อแม่ และ 3) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการจัดศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนเมืองสุราษฎร์ธานี ผลการวิจัยพบว่า เครือข่ายพ่อแม่ชุมชนเมือง 20 ครอบครัว มาจากครอบครัวนักธุรกิจ ข้าราชการ และเกษตรกร มีเยาวชนที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัยจำนวน 31 คน โดยพ่อแม่นักธุรกิจ ให้ความสำคัญกับ การเท่าทันสื่อออนไลน์ มารยาททางสังคม ทุนทางสังคมและศักยภาพของเมือง ตามลำดับ พ่อแม่ข้าราชการ ให้ความสำคัญกับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ การเท่าทันสื่อออนไลน์ มารยาททางสังคม ทุนและศักยภาพของเมือง เครือญาติ และกลุ่มคนตามลำดับ และพ่อแม่เกษตรกร ให้ความสำคัญกับเครือญาติ และกลุ่มคนทางสังคม การเท่าทันสื่อออนไลน์ มารยาททางสังคม ทุนศักยภาพเมือง และ ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ตามลำดับ สรุปได้ว่าเครือข่ายพ่อแม่ชุมชนเมือง ที่มีฐานจากนักธุรกิจ ข้าราชการ และเกษตรกร มีผลต่อการลดความเหลื่อมล้ำของความรู้บุตรหลานควรมีการสร้างเวทีให้เครือข่ายพ่อแม่ชุมชนเมืองได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และจัดตั้งเครือข่ายการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย โดยให้เครือข่ายพ่อแม่ชุมชนเมืองได้ร่วมวางแผนยกระดับ ประเมิน และกำกับการศึกษาในระบบให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21</p> กฤษณะ ทองแก้ว เสน่ห์ บุญกำเนิด Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL 2024-07-31 2024-07-31 8 1 Research แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้า Eco Print เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของ วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ จ.แพร่ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/article/view/3825 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ Eco print ให้กับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ 2. เพื่อวิเคราะห์แนวทางการสร้างอัตลักษณ์ชุมชนสำหรับผลิตภัณฑ์ Eco print ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการวิจัย ได้แก่ การสนทนากลุ่มย่อยกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 26 คน ผลการวิจัย พบว่า การถ่ายทอดองค์ความรู้การทำผ้า Eco print มีขั้นตอนทำ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมผ้า 2) การเตรียมน้ำ Mordant 3) การเตรียมน้ำสีย้อมจากฝางเสน 4) การเตรียมใบไม้และการวางใบ 5) การนึ่ง และ 6) การซักฟิกสี แนวทางการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ 1. ผ้า Eco print ประกอบด้วย ผ้าชิ้น ผ้าคลุมไหล่ เสื้อยืด 2. ผลิตภัณฑ์แปรรูป ประกอบด้วย ผ้าซิ่น ร่ม 3. นำเศษผ้ามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์รองเท้าโบโร่แบบตัดปะผ้าเศษจากตีนจกและผ้า Eco print และ 4. การเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอมือและผ้า Eco print สำหรับผลิตภัณฑ์ Eco print ที่เป็นอัตลักษณ์ชุมชนมีความเห็นร่วมกันในการจัดทำผ้าซิ่นจากผ้า Eco print ซึ่งจะยึดตามแนวทางการทำผ้าซิ่นของอำเภอลองจะมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ มีส่วนประกอบหัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่น ไม่นิยมทอเต็มผืน จึงนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์การนำผ้าทอมือส่วนที่เป็นตัวซิ่นมาต่อกับผ้า Eco print ผ้าซิ่นทอมือมีลวดลายเฉพาะ เรียกว่า ตัวซิ่นต๋า มีลักษณะเป็นลายทางยาวตามเอกลักษณ์ของไทยวน ทำให้มีลักษณะที่แตกต่างจากคู่แข่งขันในตลาด ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ พบว่า สมาชิกกลุ่มมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 ด้านสังคม มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ของชุมชน และด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ต้นไม้ เพื่อนำมาทำลวดลายบนผ้า</p> น้ำฝน รักประยูร ณัฐพร จันทร์ฉาย นิติกาญจน์ นาคประสม เกศินี วีรศิลป์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL 2024-09-12 2024-09-12 8 1 กระบวนการเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเห็ดด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมในวิถีเกษตรเชิงพื้นที่: กรณีศึกษาชุมชนนวัตกรรม “ณ-วัด-ตะกำ ฟาร์มมีสุก” ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/article/view/2978 <p>กระบวนการเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเห็ดด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมในวิถีเกษตรเชิงพื้นที่: กรณีศึกษาชุมชนนวัตกรรม “ณ-วัด-ตะกำ ฟาร์มมีสุก” ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์สร้างผลผลิตเชิงกระบวนการด้านองค์ความรู้/เทคโนโลยีที่เหมาะสม เกิดพื้นที่การเรียนรู้และมีนวัตกรชุมชนที่มีความรู้และความสามารถขยายผลสู่การพัฒนาอาชีพให้ยั่งยืน โดยการพัฒนารูปแบบ/โมเดลการสร้างชุมชนนวัตกรรม (Learning and Innovation Platform: LIP) การมีส่วนร่วมยกระดับเกษตรวิถีชุมชนกลุ่มเพาะเห็ดบ้านแม่สุก กลไกการมีส่วนร่วมยกระดับการพัฒนากลุ่มเพาะเห็ดบ้านแม่สุกที่ใช้ทุนเดิมเป็นฐาน กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน 4 กิจกรรม ดังนี้กิจกรรมที่ 1 พัฒนากระบวนการกลุ่มเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม จัดเวทีประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจ การดำเนินการวิจัยและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของ “เครือข่ายวิจัย” ร่วมดำเนินงาน Focus group สร้างค่านิยมของกลุ่มเครือข่าย วิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลปัญหาที่สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของชุมชน เสริมทักษะความรู้ กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม กิจกรรมที่ 2 กระบวนการรวบรวมค้นคว้าข้อมูลเชิงพื้นที่และประเด็น โดยมีกลไกการดำเนินงานสำรวจ รวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ และศึกษากระบวนการผลิตเห็ด วิเคราะห์รายละเอียดฐานการเรียนรู้และพัฒนากระบวนการผลิตโดยใช้แบบสอบถามการผลิต กิจกรรมที่ 3 กลไกการบ่มเพาะนักวิจัยชุมชน/นวัตกรชุมชนด้านระบบการผลิตและการจัดการการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำของชุมชน สร้างกระบวนการเรียนรู้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ระหว่างทีมนักวิจัยในโครงการกับทีมนักวิจัยชุมชน อบรมเชิงปฏิบัติการ และบ่มเพาะนักวิจัยชุมชนร่วมกับนักวิชาการ วางแผนการผลิต ร่วมกำหนดและออกแบบแนวทางการเรียนรู้พัฒนานวัตกรรมหรือการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อการทดลองจริงในพื้นที่การผลิต เปรียบเทียบกับรูปแบบการผลิตเดิมของนักวิจัยชุมชน และกิจกรรมที่ 4 การจัดเก็บข้อมูล ทำการวัดผลความรู้ทีมวิจัยชุมชนก่อนและหลังการดำเนินงานวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม สัมภาษณ์ ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ และในภาพรวมของการดำเนินงาน จำแนกวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงฐานทุนเดิมเกิดผลผลิตตามเป้าหมายชุมชนนวัตกรรมใน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) พื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1 ต้นแบบการเรียนรู้ “ณ-วัด-ตะกำ ฟาร์มมีสุก” ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปางที่มีองค์ประกอบของบ้าน วัด โรงเรียน (โมเดลการเรียนรู้พัฒนาอาชีพ) โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้สามารถเชื่อมโยงสู่แผนพัฒนาพื้นที่เชิงนโยบายของจังหวัดลำปาง 2) กิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้บนห่วงโซ่คุณค่าการผลิตเห็ด เช่น การฝึกอบรม บ่มเพาะ ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในและนอกชุมชน หรือขยายวงกว้างในระบบเครือข่ายออนไลน์ โดยมุ่งการเรียนรู้กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนให้มีการรวมกลุ่มอาชีพและสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว 3) องค์ความรู้หรือนวัตกรรมพร้อมใช้ มีชุดความรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสามารถขยายผลเชิงการจัดการห่วงโซ่คุณค่า ได้แก่ โรงเรือนเพาะเห็ด ระบบการให้น้ำในโรงเห็ดแบบอัตโนมัติอย่างง่ายสามารถเชื่อมโยงกับการจัดการผลผลิตเห็ดคุณภาพมีมาตรฐานปลอดภัย และการแปรรูปเพิ่มมูลค่าจากเห็ดได้ และ 4) นวัตกรชุมชน เกิดนวัตกรชุมชนในชุมชนบ้านแม่สุก จำนวน 9 คน มีพัฒนาการจากประสบการณ์ที่วัดผลจากความสามารถ ความพยายาม และทัศนคติในการรับ ปรับใช้ และขยายผลถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ตรงให้กับสมาชิกในชุมชนและผู้สนใจทั่วไปได้นำไปปรับใช้ได้จริง</p> sunti changjeraja รุ่งนภา ช่างเจรจา พงศ์ยุทธ นวลบุญเรือง ศิริพร อ่ำทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL 2024-07-17 2024-07-17 8 1 การพัฒนาการตลาดเชิงเนื้อหาสินค้าสมุนไพรแปรรูปแบบมีส่วนร่วม กรณีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรดาวอินคา ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/article/view/3255 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาช่องทางการสื่อสารออนไลน์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรดาวอินคา ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว เพื่อให้สามารถดำเนินการตลาดเชิงเนื้อหา (Content Marketing) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และแบบสอบถามในการเก็บข้อมูล โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักคือประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ และสมาชิกจำนวน 7 คน รวมถึงการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคจำนวน 100 รายที่ถูกเลือกแบบเจาะจง</p> <p> เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม และการสังเกต ผลการศึกษาพบว่า การสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดาวอินคา มีประสิทธิภาพในระดับปานกลาง โดยมีความน่าสนใจของเนื้อหา การเปิดเผยข้อมูลใหม่ และความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่สูง ด้านการพัฒนาเนื้อหาสำหรับการตลาดเชิงเนื้อหา (Content Marketing) ได้มีการสร้าง การจัดการ การเผยแพร่ และการเพิ่มความน่าสนใจให้กับเนื้อหา เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและลูกค้า เนื้อหาที่พัฒนาขึ้นมี 3 ประเด็นหลัก 8 รูปแบบ ได้แก่ การสร้างการรับรู้ (Brand Awareness) การสร้างความน่าเชื่อถือ (Credibility) และการสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement) ผ่านการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ประโยชน์ของสินค้า สมุนไพรที่ใช้ กระบวนการผลิต บทความรีวิวสินค้า และวิธีการใช้งานสินค้า</p> จิระศักดิ์ เฮงศรีสมบัติ พรรณี พิมพ์โพธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL 2024-06-13 2024-06-13 8 1