https://so07.tci-thaijo.org/index.php/LiberalJ/issue/feed วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนคร Journal of Liberal Arts Rajamangala University of Technology Phra Nakhon 2024-12-28T13:59:58+07:00 Assistant Professor Dr.Watcharaphong Soongpankhao j_larts@rmutp.ac.th Open Journal Systems <p><strong>ที่ปรึกษา</strong></p> <p>ดร.ณัฐวรพล รัชสิริวัชรบุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร</p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.นัฐโชติ รักไทยเจริญชีพ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนาคณาจารย์</p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุทธภูมิ สุวรรณเวช คณบดีคณะศิลปศาสตร์</p> <p> </p> https://so07.tci-thaijo.org/index.php/LiberalJ/article/view/6354 ผลกระทบและการปรับตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 กรณีศึกษา: ชุมชนแฟลตสิริสาสน์ 2024-12-28T12:43:12+07:00 ผ่องภัสสร มรรคผล 6403201004@nmu.ac.th แสน กีรตินวนันท์ 6403201004@nmu.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่มีต่อกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มวัยผู้สูงอายุ และศึกษาหาแนวทางการปรับตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; โควิด 19 ของกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มวัยผู้สูงอายุ ในพื้นที่ชุมชนแฟลตสิริสาสน์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกในพื้นที่ชุมชนแฟลตสิริสาสน์ที่อาศัยอยู่ในชุมชนมาไม่ต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวัยรุ่น จำนวน 4 คน และกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 4 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In - depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) งานวิจัยนี้วิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของการบรรยายที่เน้นการพรรณนาและการวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) เพื่อหาข้อสรุปเชิงอุปนัย (Inductive)</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนแฟลตสิริสาสน์ เคหะศรีย่าน มีลักษณะพื้นที่ชุมชนประเภทชุมชน อาคารสูง จำนวน 200 ห้องชุด ปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยทุกห้องชุด สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย และข้าราชการ จุดเด่นของชุมชน คือ ได้รับรางวัลดีเด่นและเป็นตัวอย่างของชุมชนเข้มแข็ง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 พบว่า ผลกระทบหลักที่มีต่อชุมชน ในด้านของเศรษฐกิจ คือ การตกงาน ทั้งนี้หลายครอบครัวไม่มีอาชีพเสริมรองรับ ซึ่งส่งผลกระทบให้รายรับที่ได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และหลายครอบครัวต้องนำเงินออมออกมาใช้จ่าย สำหรับผลกระทบด้านสังคมที่มีต่อชุมชนในกลุ่มวัยรุ่นคือ การที่โรงเรียนมีการปรับรูปแบบเป็นการเรียนออนไลน์ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดน้อยลง ในส่วนของกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า การที่เด็กต้องเรียนหนังสือที่บ้านเป็นการเพิ่มภาระให้ผู้ปกครอง เนื่องจากต้องอยู่บ้านดูแลบุตรหลาน อีกทั้งลักษณะของห้องชุดมีความคับแคบ บางห้องมีจำนวนสมาชิกครอบครัวจำนวนมาก เมื่อมีสมาชิกของบ้านติดเชื้อจากการออกไปทำงานนอกบ้านก็ไม่มีพื้นที่ในการแยกกักตัว ทำให้ติดต่อกันง่าย แต่จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้มีการเฝ้าระวังและดูแลคนในครอบครัวมากขึ้น และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต</p> 2024-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนคร https://so07.tci-thaijo.org/index.php/LiberalJ/article/view/6355 แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานขนส่งพัสดุด่วนบริษัทเคอรี่เอ็กซ์เพรส ณ ศูนย์กระจายสินค้าสมุทรสาคร 2024-12-28T12:53:23+07:00 เนตรนิภา สังข์ทอง netnapasongthong7@gmail.com ภัทรา สุขะสุคนธ์ Patra.s@dru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานขนส่งพัสดุด่วนบริษัทเคอรี่เอ็กซ์เพรส ณ ศูนย์กระจายสินค้าสมุทรสาคร และ 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานขนส่งพัสดุด่วนบริษัทเคอรี่เอ็กซ์เพรส จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานขนส่งพัสดุด่วนบริษัท เคอรี่เอ็กซ์เพรส ณ ศูนย์กระจายสินค้าสมุทรสาคร จำนวน 255 คน และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสำคัญของแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานขนส่งพัสดุด่วนบริษัทเคอรี่เอ็กซ์เพรส ณ ศูนย์กระจายสินค้าสมุทรสาคร ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยด้านปัจจัยจูงใจ (4.19) สูงกว่าปัจจัยค้ำจุน (4.17) และ 2) พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ด้านตำแหน่งงานแตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการทำงานส่งพัสดุด่วนบริษัทเคอรี่เอ็กซ์เพรสแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเหมาะสม สามารถรักษาไว้ซึ่งพนักงานขนส่งพัสดุด่วนบริษัทเคอรี่เอ็กซ์เพรส ณ ศูนย์กระจายสินค้าสมุทรสาคร และจูงใจพนักงานให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> 2024-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนคร https://so07.tci-thaijo.org/index.php/LiberalJ/article/view/6356 ส่วนประสมการตลาดบริการที่ลูกค้าใช้ตัดสินใจเลือกร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ประเภทปิ้งย่าง สุกี้ และชาบูชาบูในกรุงเทพมหานคร 2024-12-28T13:00:47+07:00 ปนัตตา เอียดศรีแก้ว kaeemlovely@gmail.com ภัทรา สุขะสุคนธ์ Patra.s@dru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการที่ลูกค้าใช้ตัดสินใจเลือกร้านอาหารบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่างสุกี้และชาบูชาบูในกรุงเทพมหานคร และ 2) เปรียบเทียบส่วนประสมการตลาดบริการที่ลูกค้าใช้ตัดสินใจเลือกร้านอาหารบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่าง สุกี้ และชาบูชาบู ในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ลูกค้าที่มาทานอาหารบุฟเฟ่ต์ประเภทปิ้งย่าง สุกี้ และ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ชาบูชาบูในกรุงเทพมหานครเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน คือ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ลูกค้าให้ความสำคัญกับส่วนประสมการตลาดบริการที่ใช้ตัดสินใจเลือกร้านอาหารบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่าง สุกี้ และชาบูชาบูในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ลูกค้าที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้แตกต่างกัน ใช้ส่วนประสมการตลาดบริการในตัดสินใจเลือกร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ประเภทปิ้งย่าง สุกี้ และชาบูชาบูในกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ผลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงส่วนประสมการตลาดบริการของร้านอาหารบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่าง สุกี้ และชาบูชาบูในกรุงเทพมหานครให้สามารถสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น</p> 2024-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนคร https://so07.tci-thaijo.org/index.php/LiberalJ/article/view/6357 แนวทางการพัฒนาการทำงานของพนักงานแม่บ้านโรงแรมเขตกรุงเทพมหานคร ในช่วงการระบาดของ COVID-19 2024-12-28T13:09:55+07:00 หทัยรัตน์ ปัทมาวิวัฒน์ hathairat.p@rmutp.ac.th ภคพนธ์ ศาลาทอง hathairat.p@rmutp.ac.th ปทุมมา อินทร์อ่อน patumma.i@rmutp.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบการทำงาน และการพัฒนาการทำงานของพนักงานแผนกแม่บ้านในโรงแรมในช่วงการระบาด COVID-19 เป็นการวิจัยแบบเชิงผสม (Mix Method Research) โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 169 คน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>ปัญหาและผลกระทบการทำงานของพนักงานแผนกแม่บ้านในโรงแรม สรุปภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.40 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความมั่นคงในการทำงานเป็นปัญหาและผลกระทบการทำงานอันดับหนึ่ง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 และน้อยที่สุดด้านสุขภาพอนามัยอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.91 ส่วนการพัฒนาการทำงานของพนักงานแผนกแม่บ้านในโรงแรมในช่วงการระบาด COVID-19 สรุปภาพรวมการพัฒนาการทำงานของพนักงานแผนกแม่บ้านในโรงแรมในช่วงการระบาด COVID-19 อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการส่งเสริมการพัฒนาพนักงานแม่บ้านของโรงแรมอันดับหนึ่ง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 และน้อยที่สุดด้านการพัฒนาตนเองของพนักงานแม่บ้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 นอกจากนี้ต้องเข้าใจถึงบริบทที่แท้จริงถึงสภาพปัญหาและความต้องการโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านจิตใจ และด้านปัญญาความรู้</p> 2024-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนคร https://so07.tci-thaijo.org/index.php/LiberalJ/article/view/6361 การพัฒนาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตสำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 2024-12-28T13:41:38+07:00 กษิดิ์เดช สุทธิวานิช kasidech.s@rmutp.ac.th วรัญญา สมศิริ warunya.so@rmutp.ac.th ธนวัฒน์ สุดจิตร์สมโภชน์ thanawat.su@rmutp.ac.th สุจินดา อิ่มเงิน sujinda.i@rmutp.ac.th ญาณินท์ สายหยุด yanin.sa@rmutp.ac.th นปภัช ถิรพัฒน์ธนโภคิน warunya.so@rmutp.ac.th ปัณณภัสร์ เลิศวริษฐ์กุล punnapas.l@rmutp.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตสำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์โครงสร้างและรูปแบบของหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในประเทศไทยเพื่อปรับใช้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 2) วิเคราะห์บริบทและกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต 3) เสนอแนะแนวทางการจัดทำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาและคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลต้องมีการจัดทำร่างหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตที่มีมาตรฐานตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิชานิติศาสตร์ พ.ศ. 2561 โดยกำหนดเป้าหมาย เอกลักษณ์ และผลลัพธ์ให้ชัดเจน เน้นกลไกตามยุทธศาสตร์การจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2565 สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำหลักสูตรนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลได้ และส่งเสริมให้บัณฑิตศึกษาต่อในหลักสูตรเนติบัณฑิต และมีการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบคลังหน่วยกิต สำหรับการร่างหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสามารถนำภูมิหลังหรือพื้นฐาน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาประยุกต์หรือบูรณาการกับการสร้างรายวิชาทางด้านนิติศาสตร์ โดยมุ่งเน้นกฎหมายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กฎหมายเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรม กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจ กฎหมายภาษีและแรงงาน และกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน เป็นต้น</p> 2024-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนคร https://so07.tci-thaijo.org/index.php/LiberalJ/article/view/6362 บทบาทร้านกาแฟที่ส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ของซอยอารีย์ กรุงเทพมหานคร 2024-12-28T13:52:32+07:00 อธิกัญญ์ เหลืองสกุลพงษ์ athikan@nmu.ac.th <p>การวิจัยเรื่องบทบาทร้านกาแฟที่ส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ของซอยอารีย์ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์บทบาทของร้านกาแฟในการส่งเสริมการเป็นย่านสร้างสรรค์ให้กับเมือง ทั้งบทบาททางเศรษฐกิจ สังคม และกายภาพ (2) เสนอแนะแนวทางในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ด้วยธุรกิจร้านกาแฟในย่านอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานครต่อไป รูปแบบของการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสมผสาน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ (1) เชิงปริมาณ เป็นการเก็บข้อมูลจากผู้เข้ามาใช้บริการร้านกาแฟในย่านอารีย์จำนวน 400 คน จากร้านที่เป็นตัวแทนในแต่ละประเภทที่ถูกคัดเลือกจากกลุ่มประชากร โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ (2) เชิงคุณภาพ เป็นการเก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงจากกลุ่มเจ้าของธุรกิจร้านกาแฟ โดยการสัมภาษณ์ การสังเกต การศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและนำมาวิเคราะห์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบร้านกาแฟในซอยอารีย์ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ตอบสนองความสนใจของลูกค้าแต่ละกลุ่ม ทั้งร้านกาแฟบรรยากาศดั้งเดิม แบบร่วมสมัย การรีโนเวทบ้านเก่า หรือร้านกาแฟในพื้นที่จำกัด โดยบทบาทของร้านกาแฟในการส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ของซอยอารีย์ สามารถจำแนกได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่ บทบาททางด้านเศรษฐกิจที่ค่อนข้างจำกัด บทบาททางด้านสังคมที่โดดเด่นในการเป็นพื้นที่ที่สามของเมือง และบทบาททางด้านกายภาพที่ส่งเสริมการเติบโตทางกายภาพของย่าน และสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับย่าน ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถของเมืองด้านคุณภาพชีวิตของประชากร อย่างไรก็ตาม จากข้อจำกัดในบทบาทด้านเศรษฐกิจสามารถนำไปสู่การออกนโยบายสนับสนุนธุรกิจร้านกาแฟ เพื่อให้ตอบสนองด้านพลวัตของเศรษฐกิจท้องถิ่น และส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ให้ได้รับการพัฒนา อย่างยั่งยืนต่อไป</p> 2024-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนคร https://so07.tci-thaijo.org/index.php/LiberalJ/article/view/6363 ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2024-12-28T13:59:58+07:00 ธัญญารัตน์ เจริญ apichaya-bu@rmutp.ac.th วันวิสา คำพรัด apichaya-bu@rmutp.ac.th อภิชญา บำรุงจิตต์ apichaya-bu@rmutp.ac.th วิชญาพร แจ่มปัญญา apichaya-bu@rmutp.ac.th พรรณษา มีโต apichaya-bu@rmutp.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1- 4 จำนวน 262 คน ใช้การสุ่มแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความสัมพันธ์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16<strong><br></strong>เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า นักศึกษาคิดว่าภาษาอังกฤษช่วยให้มีโอกาสก้าวหน้าทางอาชีพมากขึ้น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.47 รองลงมาคือ นักศึกษาคิดว่าการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจําวันมีความสําคัญมากน้อยเพียงใด มีค่าเฉลี่ย 4.45 อันดับสุดท้ายคือ นักศึกษาคิดว่าภาษาอังกฤษช่วยให้ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้มากขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.42 และพฤติกรรมการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.89 และทัศนคติมีความสัมพันธ์การใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05</p> 2024-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนคร