https://so07.tci-thaijo.org/index.php/MCI/issue/feed วารสาร Media and Communication Inquiry 2023-12-31T23:32:58+07:00 โมไนยพล รณเวช [email protected] Open Journal Systems <p><strong>ISSN (Online)</strong> <strong>:</strong><em> 2697-5173</em><strong><br />ISSN (Print ) : </strong><em>2697-5084</em></p> <p><strong>กำหนดการออก :</strong> <em>3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน, ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม</em></p> <p><strong>นโยบายและขอบข่ายการตีพิมพ์</strong> : <em>เป็นวารสารที่นำเสนอผลงานวิชาการประเภทบทความวิจัย และบทความวิชาการ ซึ่งมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสื่อหรือการสื่อสารในบริบทต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการให้กับอาจารย์นักวิชาการ และนักศึกษา จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้มีโอกาสได้เผยแพร่ผลงานวิชาการของตนเองสู่สาธารณชน อันจะนำไปสู่การยกระดับศาสตร์ของสื่อและการสื่อสารให้มีองค์ความรู้ที่เข้มแข็ง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ต่อชุมชน องค์การ และสังคมได้</em></p> https://so07.tci-thaijo.org/index.php/MCI/article/view/3809 กลยุทธ์การสื่อสารการท่องเที่ยวโดยชุมชนหลังยุค COVID-19 2023-11-17T21:22:41+07:00 ศุภชา ฤกษ์เรืองฤทธิ์ [email protected] รัตนวดี เศรษฐจิตร [email protected] <p>เชื้อไวรัส COVID-19 มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทั่วโลกและท่องเที่ยวในประเทศไทย นักท่องเที่ยวกำลังมองหาประสบการณ์การท่องเที่ยวที่แตกต่างจากเดิม มีการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ ชุมชน และการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นมากขึ้น ชุมชนมีบทบาทสำคัญในสังคมโลกและในชุมชนท้องถิ่นมากขึ้น และหากการท่องเที่ยวส่งผลกระทบต่อชุมชน ชุมชนจะต้องรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหา วางแผน ดำเนินการ และรับผิดชอบร่วมกัน การจัดการท่องเที่ยวไม่เพียงเพื่อปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเพื่อความยั่งยืนในอนาคตทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย ทำให้การประชาสัมพันธ์หรือการบอกต่อสามารถทำได้ง่ายขึ้นมาก นำแนวคิดกลยุทธ์การสื่อสารการท่องเที่ยวโดยชุมชนหลัง COVID-19 เป็นแนวทางในการสร้างความเข้าใจ สร้างรายได้ และสร้างการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ การสร้างรูปแบบการสื่อสารเพื่อให้ทุกคนในชุมชนเข้าใจถึงความสำเร็จของชุมชน ช่วยนำพาชุมชนให้เกิดการพัฒนาด้านการสื่อสารให้ทันสมัย เพิ่มความเข้มแข็งแก่ชุมชน และช่วยให้ชุมชนจัดการการสื่อสารที่นำไปสู่การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่กำหนด</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/MCI/article/view/3908 Sharenting: ปัญหาของเด็ก ปัญหาของครอบครัว หรือปัญหาที่สังคมไทยต้องขบคิดร่วมกัน 2023-11-22T15:19:41+07:00 วรุตม์ พงศ์พิพัฒน์ [email protected] <p>บทความนี้มุ่งทบทวนบริบทของพฤติกรรมการเผยแพร่รูปภาพและกิจกรรมของลูกผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยพ่อแม่ หรือพฤติกรรมแบบ Sharenting ซึ่งเริ่มกลายเป็นปัญหาและความเสี่ยงใหม่กำลังถูกพูดถึงทั่วโลกพฤติกรรมดังกล่าวสร้างความเสี่ยงที่เกิดต่อตัวเด็ก ได้แก่ ความปลอดภัยจากอาชญากรรม การแอบอ้างตัวตน การแพทย์ และสภาพจิตใจจากการเลี้ยงดูที่อาจนำไปสู่ความรู้สึกของลูกในอนาคต ไปจนถึงความขัดแย้งระหว่างตัวพ่อแม่และลูกที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้นและเกิดความไม่พอใจต่อภาพ วิดิโอ และเนื้อหาที่พ่อแม่เผยแพร่ไปแล้ว ผลการศึกษาในหลายประเทศพบว่าการที่พ่อแม่และสังคมมีความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมดังกล่าวจะสามารถบรรเทาปัญหาและความเสี่ยงของพฤติกรรมแบบ Sharenting ได้</p> <p>นอกจากนั้นผลศึกษาจำนวนมากบ่งชี้ว่าการเลี้ยงดูลูกในยุคศตวรรษที่ 2มีสื่อสังคมออนไลน์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างที่ปฏิเสธไม่ได้ เพราะเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโลกเข้าไว้ด้วยกันทำให้พ่อแม่มักหาข้อมูลแบบแผนในการเลี้ยงดูลูก อินเตอร์เน็ตจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ประกอบสร้างความเป็นพ่อแม่ ในขณะเดียวกันคนที่เป็นพ่อแม่ก็มักจะนำเสนอและสรรค์สร้างตัวตนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งมีทั้งเนื้อหาในบทบาทความเป็นมนุษย์ ที่เผยแพร่เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว ทั้งรูปภาพ วิดิโอ ไปจนถึงประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน</p> <p>จากการวิจัยประเด็นนี้ในสังคมไทย ปัญหาชุดดังกล่าวอาจมีที่มาจากแนวคิดที่หล่อหลอมสังคมไทยซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญด้านสิทธิส่วนบุคคลของลูกมากนัก แม้พ่อแม่จำนวนหนึ่งจะมีความเข้าใจ แต่บางส่วนก็เลือกที่จะเผยแพร่ภาพลูกด้วยเหตุผลที่ว่าพ่อแม่เป็นผู้คัดกรอง และเรื่องราวเหล่านั้นมีแต่แง่บวก ประกอบกับพัฒนาการทางกฎหมาย และความเข้าใจต่อความเสี่ยงของสื่อสังคมออนไลน์ที่มากเพียงพอในการป้องกัน และสร้างความระแวดระวัง ต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะด้วยกลไกทางกฎหมาย การเผยแพร่ข้อมูลจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง และการสร้างความเข้าใจในการเลี้ยงดูเด็ก</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/MCI/article/view/3703 แนวทางการพัฒนากิจกรรมรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับ Generation Z ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม 2023-10-28T10:38:46+07:00 วชิรา สุวรรณวงศ์ [email protected] นิธิดา แสงสิงแก้ว [email protected] <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาความรู้และความคิดเห็นจากกลุ่ม Generation Z&nbsp;ที่เข้าร่วมกิจกรรมรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม รวมทั้งเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเชิงนโยบายของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมในการพัฒนากิจกรรมการรูเท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างวันที่ 12 – 30 มิถุนายน 2566 โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์จากเอกสาร และการสังเกตการณ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม Generation Z ที่เข้าร่วมกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อ 6 คน และผู้บริหาร/ผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม 3 คน รวมทั้งสิ้น 9 คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่ม Generation Z ได้รับเนื้อหาความรู้จากกิจกรรม ซึ่งเป็นการผสมผสานความรู้การเท่าทันสื่อกับทักษะการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในชีวิตประจำวัน แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับข่าวปลอม เนื้อหาเกี่ยวกับทักษะการรู้เท่าทันสื่อ และเนื้อหาการประยุกต์ใช้ความรู้ผ่านกรณีศึกษา ในส่วนของความคิดเห็นจากกลุ่ม Generation Z ที่เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้สื่อในเชิงสร้างสรรค์และเข้ามาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนสังคมด้วยการเป็นเยาวชนผู้ใช้สื่อในฐานะพลเมืองดิจิทัลของชุมชนที่มีความพร้อมในการนำทักษะรู้เท่าทันสื่อมาขยายผลให้กับครอบครัว โรงเรียน และสังคม โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ รวมถึงข้อเสนอแนะจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเชิงนโยบายในการพัฒนากิจกรรม พบว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมพร้อมสร้างภาคีเครือข่ายสำหรับการจัดกิจกรรมรู้เท่าทันสื่อเพื่อต่อยอดองค์ความรู้อย่างรอบด้าน โดยผลักดันให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาข่าวปลอมอย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p>&nbsp;</p> <p>คำสำคัญ : ข่าวปลอม, รู้เท่าทันสื่อ, เนื้อหาความรู้</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/MCI/article/view/3744 โฆษณาบนยูทูบ: ทัศนคติและพฤติกรรมการหลีกเลี่ยง 2023-10-30T19:06:15+07:00 สุธี สนธิ [email protected] โมไนยพล รณเวช [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการโฆษณาและพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาบนยูทูบ เพื่อศึกษาความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับทัศนคติต่อการโฆษณาบนยูทูบและพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาบนยูทูบ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้รูปแบบเชิงสำรวจ (Survey Research) ประชากร คือ ผู้ใช้งาน YouTube อายุระหว่าง 18 – 60 ปี ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก YouTube Premium จำนวน 305 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อการโฆษณาบนยูทูบในภาพรวมอยู่ในระดับเป็นกลาง โดยมีทัศนคติต่อโฆษณาวิดีโอในฟีดสูงที่สุด และมีทัศนคติต่อโฆษณาในสตรีมแบบข้ามไม่ได้ต่ำที่สุด ส่วนพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาบนยูทูบพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาบนยูทูบในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาในสตรีมแบบข้ามไม่ได้สูงที่สุด และมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาวิดีโอในฟีดต่ำที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าลักษณะทางประชากรของผู้บริโภค ได้แก่ เพศ อายุ และรายได้ส่วนตัวต่อเดือน อธิบายทัศนคติต่อการโฆษณาและพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาบนยูทูบได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นยังพบว่าทัศนคติต่อการโฆษณาบนยูทูบมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาบนยูทูบอย่างมีนัยสำคัญ หรือผู้บริโภคที่มีทัศนคติที่ดีต่อการโฆษณาบนยูทูบจะมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาต่ำกว่าผู้บริโภคมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการโฆษณาบนยูทูบ โดยรูปแบบของโฆษณาบนยูทูบที่มีขนาดความสัมพันธ์สูงที่สุด คือ โฆษณาในสตรีมแบบข้ามไม่ได้ รองลงมาคือ โฆษณาในสตรีมแบบข้ามได้ โฆษณาวิดีโอในฟีด และโฆษณาแบนเนอร์บนหน้าแรก ตามลำดับ</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/MCI/article/view/3818 ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับพฤติกรรมการซื้อสลากดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” 2023-11-11T20:46:59+07:00 นีรนารา สุขลังการ [email protected] โมไนยพล รณเวช [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อสลากดิจิทัลบนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ของผู้บริโภค 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสลากดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ของผู้บริโภค 3.) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากร กับ ทัศนคติที่มีต่อสลากดิจิทัลบนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ของผู้บริโภค 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อสลากดิจิทัลบนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” กับ พฤติกรรมการซื้อสลากดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ของผู้บริโภคโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือผู้บริโภคอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี ที่เคยซื้อสลากดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ขนาดตัวอย่าง 400 คน ใช้การเลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัคร ผลการวิจัย พบว่า โดยเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเชิงบวกต่อสลากดิจิทัล โดยมีทัศนคติเชิงบวกกับสลากดิจิทัลในด้านราคาสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ และ ด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ส่วนพฤติกรรมการซื้อสลากดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ของผู้บริโภค พบว่า โดยกลุ่มตัวอย่างซื้อสลากดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ค่าเฉลี่ยสูงสุด 6.42 ใบต่องวด</p> <p>ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศแตกต่างกันจะมีทัศนคติต่อสลากดิจิทัลด้านราคาและด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ผู้บริโภคที่มีเพศแตกต่างกันจะมีทัศนคติต่อสลากดิจิทัลด้านผลิตภัณฑ์และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผู้บริโภคที่มีอายุแตกต่างกันจะมีทัศนคติต่อสลากดิจิทัลด้านช่องทางการจัดจำหน่ายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ผู้บริโภคที่มีอายุแตกต่างกันจะมีทัศนคติต่อสลากดิจิทัลด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และ พบว่า ผู้บริโภคที่มีรายได้ส่วนตัวแตกต่างกันจะมีทัศนคติต่อสลากดิจิทัลด้านราคาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ผู้บริโภคที่มีรายได้ส่วนตัวแตกต่างกันจะมีทัศนคติต่อสลากดิจิทัลด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้น ยังพบว่า ทัศนคติต่อสลากดิจิทัลด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการซื้อสลากดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” อย่างมีนัยสำคัญ แต่ขนาดความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่ทัศนคติต่อสลากดิจิทัลด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสลากดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” อย่างมีนัยสำคัญ</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/MCI/article/view/3664 ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทย กับความตระหนักเกี่ยวกับภัยทางการเงินของผู้บริโภค 2023-11-11T20:42:31+07:00 ณัฐรดา ศรีไพโรจน์ [email protected] โมไนยพล รณเวช [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องภัยทางการเงิน และความตระหนักเกี่ยวกับภัยทางการเงินของผู้บริโภค เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องภัยทางการเงินของผู้บริโภค และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทยกับความตระหนักเกี่ยวกับภัยทางการเงินของผู้บริโภค การวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ผู้บริโภคที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และเคยเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องภัยทางการเงินภายในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จำนวน 300 คน ใช้การเลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัคร และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัย พบว่าโดยเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องภัยทางการเงินระดับปานกลาง สื่อออนไลน์ที่กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสูงที่สุด คือ Facebook รองลงมา คือ Website, Line official, Instagram, YouTube, Twitter และ TikTok ตามลำดับ&nbsp;กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องภัยทางการเงินต่ำกว่า 5 นาทีต่อครั้ง นอกจากนี้ ยังพบว่า โดยเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักเกี่ยวกับภัยทางการเงินในระดับมากที่สุด โดยรูปแบบภัยทางการเงินที่กลุ่มตัวอย่างตระหนักสูงที่สุด คือ กลโกงหลอกล่อเหยื่อให้หลงเชื่อ รองลงมา คือ กลโกงออนไลน์อื่น ๆ กลโกงทางโทรศัพท์ กลโกงธุรกิจการเงินนอกระบบ กลโกงธนาคารออนไลน์ และกลโกงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่มีอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด และรายได้ส่วนตัวต่อเดือนที่แตกต่างกัน จะมีการเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องภัยทางการเงินไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามการเปิดรับสื่อออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องภัยทางการเงินมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตระหนักเกี่ยวกับภัยทางเงินในรูปแบบกลโกงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ และกลโกงธนาคารออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : การจัดการการสื่อสาร / การเปิดรับสื่อ / สื่อออนไลน์ / ภัยทางการเงิน / ธนาคารแห่งประเทศไทย</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์