วารสาร Media and Communication Inquiry https://so07.tci-thaijo.org/index.php/MCI <p><strong>ISSN (Online)</strong> <strong>:</strong><em> 2697-5173</em><strong><br />ISSN (Print ) : </strong><em>2697-5084</em></p> <p><strong>กำหนดการออก :</strong> 2<em> ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</em></p> <p><strong>นโยบายและขอบข่ายการตีพิมพ์</strong> : <em>เป็นวารสารที่นำเสนอผลงานวิชาการประเภทบทความวิจัย และบทความวิชาการ ซึ่งมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสื่อหรือการสื่อสารในบริบทต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการให้กับอาจารย์นักวิชาการ และนักศึกษา จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้มีโอกาสได้เผยแพร่ผลงานวิชาการของตนเองสู่สาธารณชน อันจะนำไปสู่การยกระดับศาสตร์ของสื่อและการสื่อสารให้มีองค์ความรู้ที่เข้มแข็ง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ต่อชุมชน องค์การ และสังคมได้</em></p> Journalism and Mass Communication Faculty, Thammasat University th-TH วารสาร Media and Communication Inquiry 2697-5084 <p>ลิขสิทธิ์บทความ</p> วิดีโอเกม กับการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/MCI/article/view/5251 <p>วิดีโอเกมจัดเป็นสื่อใหม่ที่มีคุณลักษณะที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย เป็นอิสระจากอำนาจรัฐ มีการเชื่อมโยงกันเป็นกลุ่ม เปิดโอกาสให้ผู้เล่นที่มีสถานะเป็นผู้รับสารเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์เนื้อหาและการสื่อสารได้ วิดีโอเกมจึงสามารถใช้เป็นสื่อเพื่อแสดงออกเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ในสังคมได้ ในบทความนี้ประกอบด้วยการวิเคราะห์กรณีศึกษา 3 เกม ได้แก่ Detroit: Become Human Escape Fishstop 3D และ Grand Theft Auto (GTA) 5 ออนไลน์โหมด FiveM ด้วยแนวคิดเกี่ยวกับวิดีโอเกม และทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ จากการศึกษาพบว่า วิดีโอเกมที่มีลักษณะของการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคมจะใช้กลยุทธ์การสื่อสารโดยอ้างอิงเหตุการณ์จากโลกจริง ทั้งนี้แม้วิดีโอเกมจะมีความเป็นอิสระจากอำนาจรัฐ และเปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถสร้างสรรค์และแสดงออกทางความคิดได้ แต่ทั้งหมดนี้ยังอยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมของผู้สร้าง หรือผู้ดูแลเกม และการสื่อสารอาจยังจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มผู้เล่นเกมเท่านั้น</p> รุ่งลดิศ จตุรไพศาล Copyright (c) 2024 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 6 1 206 250 ความคิดเห็น พฤติกรรมการเปิดรับ และการมีส่วนร่วมกับช่องวาร์ปแก๊งค์ (Warp Gvng) ของผู้ชมในประเทศไทย https://so07.tci-thaijo.org/index.php/MCI/article/view/4646 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นพฤติกรรมการเปิดรับและการมีส่วนร่วมที่มีต่อช่องวาร์ปแก๊งค์ เป็นการศึกษาด้วยระเบียบ วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เคยเปิดรับเนื้อหาจากช่องวาร์ปแก๊งค์และอาศัยอยู่ในประเทศไทยจำนวน 300 คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็น พฤติกรรมการเปิดรับ และการมีส่วนร่วมของผู้ชมในประเทศไทยที่มีต่อช่องวาร์ปแก๊งค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ช่วงอายุ 31-40 ปี มีการเปิดรับชมเนื้อหาจากช่องวาร์ปแก๊งค์ในวันจันทร์-ศุกร์(วันธรรมดา)มากกว่าวันเสาร์-อาทิตย์ โดย ส่วนใหญ่มีความชื่นชอบในแนวเพลงป๊อป ฮิปฮอปและ อาร์แอนบี ตามลำดับ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p>ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับความคิดเห็น ในส่วนความคิดเห็นต่อเนื้อหาช่องวาร์ปแก๊งค์ และความคิดเห็นต่อช่องวาร์ปแก๊งค์โดยรวม มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการเปิดรับเป็นความสัมพันธ์ในเชิงบวก โดยความคิดเห็นต่อผู้ดำเนินรายการ และความคิดเห็นต่อการผลิตรายการ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับ และ พฤติกรรมการเปิดรับมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมผ่านทางการกดไลค์ คอมเมนท์และแชร์ ของผู้ชมช่องวาร์ปแก๊งค์ โดยเป็นความสัมพันธ์ในเชิงบวกเช่นกัน</p> ราชภักดิ์ เพียงเกษ กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์ Copyright (c) 2024 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 6 1 1 22 การเปิดรับสื่อ ทัศนคติ พฤติกรรม และแนวโน้มพฤติกรรมต่อการตลาดเชิงกิจกรรม (Event Marketing) ของ นิตยสารออนไลน์ The Cloud https://so07.tci-thaijo.org/index.php/MCI/article/view/4007 <p style="font-weight: 400;">การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยเข้าร่วมการตลาดเชิงกิจกรรมของนิตยสารออนไลน์ The Cloud จำนวน 280 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเชิงบวกต่อกิจกรรมที่จัดโดยนิตยสารออนไลน์ The Cloud ต่อประเด็น การจัดกิจกรรมช่วยในการสร้างบันดาลใจในการใช้ชีวิตในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ พฤติกรรมการเข้าร่วมการตลาดเชิงกิจกรรมของนิตยสารออนไลน์The Cloud พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้เหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรม เพราะ การให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ คุณสมบัติ และการบริการของแบรนด์ ทั้งนี้ จากผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ทัศนคติที่มีต่อกิจกรรมที่จัดโดยนิตยสารออนไลน์ The Cloud มีความสัมพันธ์ต่อแนวโน้มพฤติกรรมการเข้าร่วมการตลาดเชิงกิจกรรมของนิตยสารออนไลน์ The Cloud อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีความสัมพันธ์ทางบวก (r=0.606) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติด้านภาพลักษณ์กิจกรรมทางบวก (r=0.554) และด้านองค์ประกอบการดำเนินการตลาดเชิงกิจกรรมทางบวก (r=0.534) จะมีแนวโน้มพฤติกรรมการเข้าร่วมการตลาดเชิงกิจกรรมของนิตยสารออนไลน์ The Cloud ในอนาคตตั้งใจมาก เช่น ความตั้งใจที่จะแนะนำกิจกรรมแก่ผู้อื่น ความตั้งใจติดตามข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรม และความตั้งใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งต่อไป</p> วรณัณ โชควารีพร แอนนา จุมพลเสถียร Copyright (c) 2024 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 6 1 23 72 การประกอบสร้างความหมายความงาม กรณีศึกษาโฆษณาออนไลน์ของมิสทิน https://so07.tci-thaijo.org/index.php/MCI/article/view/3953 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความหมายเกี่ยวกับความงามที่ปรากฏในงานโฆษณาของมิสทิน และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการของการประกอบสร้างความหมายของความงามที่ปรากฏในงานโฆษณาของมิสทิน เพื่อต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงของการสื่อสารเกี่ยวกับความงามในโฆษณาของแบรนด์มิสทินในแต่ละยุค โดยเป็นการศึกษาโฆษณาทางออนไลน์ในช่องทาง YouTube ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2558 จนถึงวันที่ 1 มีนาคม 2566 จำนวนทั้งหมด 9 ชิ้นงาน โดยเน้นศึกษาตามแนวทางและทฤษฎีการประกอบสร้างความหมายความงาม แนวคิดและมายาคติเกี่ยวกับความงามและแนวคิดเกี่ยวกับโฆษณา ซึ่งผู้วิจัยสนใจวิเคราะห์การประกอบสร้างความหมายความงามด้วยการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) และบันทึกข้อมูลลงในตารางรหัส (Coding Sheet) ผลการศึกษาสามารถแบ่งได้ 2 ส่วน ได้แก่ 1) การประกอบสร้างความหมายเกี่ยวกับความงามที่ปรากฏในงานโฆษณาของมิสทินผ่าน 4 ประเด็น ได้แก่ แก่นเรื่อง โครงเรื่อง ฉาก และคุณลักษณะทางกายภาพของพรีเซ็นเตอร์หรือตัวแสดงหลัก 2) การวิเคราะห์การพิจารณาเปรียบเทียบการประกอบสร้างความหมายความงามผ่าน 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านความงาม มิติด้านสังคม และมิติด้านความเป็นแบรนด์เครื่องสำอาง (Mistine) โดยจะเห็นได้ว่าโฆษณาของมิสทินแบ่งได้เป็น 2 ยุค ได้แก่ ยุคปี พ.ศ. 2558 – 2563 ที่โฆษณาของมิสทินส่วนใหญ่มีการนำเสนอความงามเป็นตามแบบมาตรฐาน และยุคหลังปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา โฆษณาของมิสทินเริ่มมีการนำเสนอความงามที่ท้าทายต่อมายาคติหลักหรือการนำเสนอความงามที่ไม่ได้เป็นไปตามอุดมคติความงามในสังคม</p> จริยาวรรณ รดาฤทธิ์ เกศราพร ทองพุ่มพฤกษา Copyright (c) 2024 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 6 1 73 72 การเปิดรับยูทูบ ทัศนคติที่มีต่อรูปแบบการนำเสนอข้อมูลของอินฟลูเอนเซอร์ และพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค https://so07.tci-thaijo.org/index.php/MCI/article/view/3936 <p>วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับยูทูบ ทัศนคติที่มีต่อรูปแบบการนำเสนอข้อมูลของอินฟลูเอนเซอร์ พฤติกรรมการซื้อและแนวโน้มพฤติกรรมในการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค ซึ่งเป็นวิจัยเชิงปริมาณ รูปแบบวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่เปิดรับการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของอินฟลูเอนเซอร์และมีพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจำนวน 300 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับชมการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของอินฟลูเอนเซอร์ทางยูทูบทั้งหมดโดยเฉลี่ย 3 ครั้ง/สัปดาห์ โดยเปิดรับมากที่สุดในช่วงเวลา 18.01-21.00 น.และรอบ 6 เดือนที่ผ่านมากลุ่มตัวอย่างรับชมการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของอินฟลูเอนเซอร์ทั้ง 10 ท่านในระดับปานกลางโดยมีการเปิดรับ Babyjingko (เบบี้จิงโกะ) มากที่สุด ในส่วนทัศนคติพบว่า ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเชิงบวกต่อรูปแบบการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของอินฟลูเอนเซอร์ทางยูทูบทั้ง 5 รูปแบบ โดยมีทัศนคติเชิงบวกมากที่สุดในประเด็นนำเสนอรูปแบบรีวิวผลิตภัณฑ์ ส่วนพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความถี่การซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเกี่ยวกับผิวหน้าเฉลี่ย 2 ครั้ง/เดือน ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความถี่ซื้อ 1 ครั้ง/เดือนมากที่สุดในกลุ่มเครื่องสำอางบำรุงใบหน้า ด้านแนวโน้มพฤติกรรมในการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจระดับมากในประเด็นตั้งใจที่จะซื้อเมื่อเห็นรีวิวมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การเปิดรับยูทูบโดยรวมมีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อรูปแบบการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของอินฟลูเอนเซอร์โดยความสัมพันธ์มีค่าเป็นบวก ทั้งนี้ความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.491***)ทัศนคติที่มีต่อรูปแบบการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของอินฟลูเอนเซอร์ในภาพรวมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (r = 0.081) ทัศนคติที่มีต่อรูปแบบการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของอินฟลูเอนเซอร์โดยรวมมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมในการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมีค่าความสัมพันธ์เป็นบวก ทั้งนี้ ความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (r = 0.622***)โดยรูปแบบที่มีระดับความสัมพันธ์สูงสุด คือรูปแบบแกะกล่องของใหม่ (r = 0.648)</p> ศรัณยกร มณฑาเธียร แอนนา จุมพลเสถียร Copyright (c) 2024 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 6 1 124 261 การวิเคราะห์เนื้อหาเรื่องเล่าในรายการเดอะโกสเรดิโอ (The Ghost Radio) https://so07.tci-thaijo.org/index.php/MCI/article/view/5165 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาเรื่องเล่าและโครงสร้างการเล่าเรื่องของรายการเดอะโกสเรดิโอ (The Ghost Radio) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 เรื่อง ที่มียอดการรับชมสูงสุดบนแพลตฟอร์มยูทูป (YouTube) ระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566 - 31 มีนาคม<br>พ.ศ. 2567 ผลการศึกษาพบว่า ผีในเรื่องเล่าของรายการเดอะโกสเรดิโอ (The Ghost Radio) ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่อง 11.11 ที่ไม่มีผีปรากฏตัว มีทั้งผีดีหรือผีร้ายที่สามารถให้คุณหรือโทษได้แก่มนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่มักปรากฏในรูปลักษณ์ที่แตกต่างจากมนุษย์และมักปรากฏในช่วงเวลาเย็น-กลางคืน นอกจากนี้ ผียังสามารถปรากฏตัวได้ในหลายสถานที่ และพบมากที่สุดในต่างจังหวัด ขณะที่การรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พบ การพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือศาสนามากที่สุด ส่วนโครงสร้างการเล่าเรื่องนั้น มีการใช้กลวิธีที่หลากหลายเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง โดยกลวิธีที่พบมากที่สุด คือ การผสมผสานความคิด (Converging Ideas) ที่เป็นการเล่าเรื่องจากการนำเรื่องราวหรือความคิดหลาย ๆ ส่วนมาสู่บทสรุปที่เป็นใจความสำคัญของเรื่อง และแบบภูเขา (The Mountain) ที่ส่วนแรกจะเป็นการปูพื้นเรื่องราว ตามมาด้วยความท้าทาย และพัฒนาเหตุการณ์ ก่อนจะถึงบทสรุปที่มีการสร้างเส้นทางไปสู่จุดสูงสุดและคลายปมในตอนจบ</p> ลภัสรดา รักมนุษย์ บัณฑูร พานแก้ว Copyright (c) 2024 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 6 1 162 205