วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/UpLawJournal
<p><strong>วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา</strong></p> <p><strong>ISSN:</strong></p> <p><strong>E-ISSN:</strong></p> <p><strong>กำหนดตีพิมพ์</strong></p> <p>2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม </p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong></p> <p>คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จัดพิมพ์ “วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา” มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านนิติศาสตร์หรือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทางนิติศาสตร์ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจทั้งแง่มุมทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ มุ่งมั่นที่จะขยายพรมแดนความรู้และเป็นพื้นที่นำเสนอผลงานทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะ</p>คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาth-THวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาการนำวิธีการสอนแบบโครงงานเป็นฐานมาใช้พัฒนาทักษะนิสิตนิติศาสตร์ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/UpLawJournal/article/view/5126
<p>วิจัยเรื่องนี้เป็นวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์ว่าจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานซึ่งในงานวิจัยนี้โครงงานเป็นฐานจะสามารถพัฒนาผู้เรียนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตปรับปรุง 2563 ให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรได้หรือไม่ อย่างไร เพื่อนำผลการศึกษามาพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและการวางแผนบริหารจัดการหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรต่อไป โดยโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน 2) เพื่อนำวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานมาใช้กับรายวิชาที่รับผิดชอบ 3) เพื่อวิเคราะห์ว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานสามารถพัฒนาทักษะนิสิตคณะนิติศาสตร์ตาม Expected Learning Outcomes ได้ จากการศึกษาการวัดและประเมินผลประกอบกับการตอบแบบสอบถามของนิสิตโดยการอภิปรายผลจะเป็นการเปรียบเทียบกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตปรับปรุงปี 2563 พบว่าผู้เรียนเห็นว่าการทำโครงงานพัฒนาทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียนที่นิสิตจำเป็นต้องรับฟังการวิพากษ์จากอาจารย์ และใช้ไหวพริบในการตอบคำถามรวมถึงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้มากที่สุด ลำดับต่อมาคือ การพัฒนาทักษะด้านการออกแบบการนำเสนอที่สะท้อนเรื่องการคิดแบบสร้างสรรค์ ทำให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจลึกซึ้งเกี่ยวกับหัวข้อที่เลือกทำรายงาน สร้างทักษะการสื่อสารกับเพื่อนในกลุ่มทั้งด้านการรับฟัง การแสดงความคิดเห็น สร้างทักษะการวางแผนการทำงาน ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามยังมีผลลัพธ์การเรียนรู้บางประการที่ไม่สามารถวัดผลได้จากการทำโครงงานอย่างชัดเจน เช่น เช่น ผลลัพธ์การเรียนรู้เรื่องสุนทรียศิลป์ มีความรู้ ความเข้าใจและซาบซึ้งในคุณค่าของศาสตร์ที่ศึกษา ศิลปะและ วัฒนธรรม ผลลัพธ์การเรียนรู้เรื่องทักษะการส่งเสริมสุขภาพ และพัฒนาบุคลิกภาพ มีสุขนิสัยที่ส่งเสริมต่อการดูแลรักษาสุขภาพ บุคลิกภาพได้อย่างเหมาะสม ผลลัพธ์การเรียนรู้เรื่องทักษะการปฏิบัติการทางวิชาชีพกฎหมายที่สำคัญวิชาชีพ ซึ่งจะได้นำผลการศึกษาดังกล่าวไปเป็นแนวทางให้หลักสูตรการวางแผนบริหารจัดการหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรต่อไปซึ่งจะได้นำผลการศึกษาดังกล่าวไปเป็นแนวทางให้หลักสูตรการวางแผนบริหารจัดการหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรต่อไป</p>KANCHANURAT MAIRIN
Copyright (c) 2024 School of Law University of Phayao
2024-06-282024-06-2811ข้อพิจารณาเบื้องต้นเกี่ยวกับการฟ้องคดีเชิงกลยุทธ์เพื่อขัดขวางการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านสิ่งแวดล้อม: บทเรียนจากแคลิฟอร์เนียถึงไทย
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/UpLawJournal/article/view/5150
<p>When the people expressed or carried out activity in the public Issue to protest the projects or activities, took place by the state or the huge private company, that potentially negative affect the environment or health, they were frequently sued as the defendants in the court. The actual goal of lawsuit was chill, as opposed to general justice, in terms of criminal offense, immense compensation, time and money loss. The court was used by this action as a tool to irritate and disturb environmental public participation. Abroad, this lawsuit was dubbed Strategic Lawsuit against Public Participation. However, Thai exiting laws do not resolve this problem effectively. Hence, this article suggested a wide range of the primary guidelines to amend Thai law, Anti- Strategic Lawsuit against Public Participation, to settle such challenges. </p>singhanat sangchaiya
Copyright (c) 2024 School of Law University of Phayao
2024-06-282024-06-2811135เงินกู้นอกระบบในมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาเป็นผู้ปล่อยกู้
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/UpLawJournal/article/view/4298
<p style="font-weight: 400;">บทความชิ้นนี้เป็นงานที่ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์การกู้ยืมเงินในมหาวิทยาลัยระหว่างนักศึกษาด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำความเข้าใจว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมาได้อย่างไร นักศึกษามีเหตุผลหรือความจำเป็นอะไรถึงได้กระทำการเช่นนั้น รวมถึงนักศึกษามีท่าทีต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อเรื่องดังกล่าวอย่างไรซึ่งผลการศึกษาพบว่าการกู้ยืมเงินระหว่างนักศึกษาด้วยกันเกือบทั้งหมดเป็นการกู้ยืมที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายโดยข้อกำหนดส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เอาเปรียบนักศึกษาผู้กู้ยืมอย่างมาก แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้นนักศึกษาผู้กู้ยืมกลับไม่ได้เรียกร้องหรือโต้แย้งต่อข้อกำหนดเหล่านั้นแต่อย่างใดแม้ว่าตนจะอยู่ในฐานะที่ถูกเอาเปรียบก็ตามเพราะนักศึกษามีความจำเป็นต้องใช้เงินและเงินกู้นอกระบบในลักษณะเช่นนี้เป็นแหล่งเงินเพียงแหล่งเดียวที่นักศึกษาจะสามารถเข้าถึงได้ ดังนั้นท่าทีของนักศึกษาต่อเรื่องดังกล่าวจึงออกมาในรูปของการเพิกเฉยต่อกฎหมายและไม่มีการต่อสู้เพื่อปกป้องหรือเรียกร้องสิทธิของตนแต่อย่างใด</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>เงินกู้นอกระบบ, นักศึกษา, มหาวิทยาลัย</p>Saran Jongrak
Copyright (c) 2024 School of Law University of Phayao
2024-06-282024-06-2811ปริทัศน์หนังสือ “เสรีนิยมกับประชาธิปไตย” ของนอร์แบร์โต บ๊อบบิโอ
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/UpLawJournal/article/view/4776
<p> ความสัมพันธ์ระหว่าง “เสรีนิยม” และ “ประชาธิปไตย” ก่อให้เกิดแนวคิด “รัฐเสรีประชาธิปไตย” <br>ในเวลาต่อมา พัฒนาการของความคิดทั้งสอง ความขัดแย้งและจุดร่วม จนถึงการผสมผสาน จึงมีที่มาอย่างสลับซับซ้อนและยาวนาน อย่างไรก็ตาม ในงานวิชาการทางนิติศาสตร์ โดยเฉพาะสาขากฎหมายมหาชนและกฎหมายปกครองของไทย ซึ่งได้รับอิทธิพลการศึกษามาจากรัฐเสรีประชาธิปไตยในภาคพื้นยุโรป ไม่ได้มีการกล่าวถึงเรื่องนี้โดยตรงและโดยละเอียด การศึกษางานของนอร์แบร์โต บ๊อบบิโอ ในฐานะนักปรัชญากฎหมายมหาชน จึงช่วยให้นักกฎหมายไทยมีความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวมากยิ่งขึ้น งานชิ้นนี้เป็นการศึกษาเอกสาร โดยเริ่มต้นจากการศึกษางานวิชาการทางกฎหมายมหาชนไทยที่อธิบายถึงแนวคิดเสรีประชาธิปไตย หลังจากนั้นได้ย่อยและอธิบายหนังสือของบ๊อบบิโอที่ชื่อ “เสรีนิยมกับประชาธิปไตย” ในลักษณะกึ่งปริทัศน์หนังสือ และจบลงด้วยการวิเคราะห์และอธิบายข้อจำกัดในงานของบ๊อบบิโอดังกล่าว โดยเห็นว่างานดังกล่าวมีลักษณะเป็นนามธรรมและมุ่งหมายให้เป็นสากลใช้ได้โดยทั่วไปตามลักษณะข้อเขียนทางทฤษฎีการเมือง แต่ก็มีจุดอ่อนในการอธิบายระบอบเศรษฐกิจการเมืองตามสภาพความเป็นจริง</p>Arithat Bunthueng
Copyright (c) 2024 School of Law University of Phayao
2024-06-282024-06-2811