วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/UpLawJournal
<p><strong>วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา </strong></p> <p>วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2558 มีกำหนดการตีพิมพ์และเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ราย 6 เดือน ฉบับที่ 1 พฤศจิกายน - เมษายน และฉบับที่ 2 พฤษภาคม - ตุลาคม มีการตีพิมพ์ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปี ระหว่าง 2558 – 2560 หลังจากนั้นหยุดไป 7 ปี กลับมาเริ่มตีพิมพ์อีกครั้งในปี 2567 โดยใช้ชื่อเดิมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) มีกำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>ISSN: 2465-3993</strong></p> <p><strong>E-ISSN:</strong></p> <p><strong>กำหนดตีพิมพ์</strong></p> <p>2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม </p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong></p> <p>คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จัดพิมพ์ “วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา” มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านนิติศาสตร์หรือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทางนิติศาสตร์ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจทั้งแง่มุมทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ มุ่งมั่นที่จะขยายพรมแดนความรู้และเป็นพื้นที่นำเสนอผลงานทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะ</p>
th-TH
ble_weerayut@hotmail.ac.th (Asst.Prof.Weerayut Homchuen)
ble_weerayut@hotmail.ac.th (Miss Krittabhorn Jujai)
Wed, 25 Dec 2024 12:50:16 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการสอนกฎหมาย: วิธีการสอนแบบบรรยายอย่างเดียวกับการสอนตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพของสหราชอาณาจักร
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/UpLawJournal/article/view/5348
<p> จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ผ่านมานั้น การเรียนการสอนกฎหมายไทยในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เน้นการเรียนรู้กฎหมายด้วยวิธีการบรรยายโดยอาจารย์ผู้สอน และหน้าที่ของนักศึกษาคือ อ่าน เขียน และจดจำ นำเอาคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นแนวทางในการตีความกฎหมาย หลักการสำคัญในการศึกษากฎหมายไทยจึงมุ่งเน้นไปที่ "กฎหมายคืออะไร?" บางสำนักวิชากฎหมาย แม้จะมีผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญกฎหมายเฉพาะด้าน แต่อาจมีประสบการณ์ในทางปฏิบัติไม่มากนัก ทำให้การเรียนการสอนวิชากฎหมายถูกจำกัดอยู่เฉพาะเพียงแต่ความจำและการปรับใช้เท่านั้น แต่ยังไม่สามารถบูรณาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิด วิเคราะห์ที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพนักกฎหมายในยุคปัจจุบันได้ ดังนั้น การออกแบบการจัดการเรียนการสอนในรายวิชากฎหมาย หากมีการนำเอาวิธีการสอนที่หลากหลาย เช่น การเรียนรู้ด้วยการศึกษา ค้นคว้า และการทำวิจัย การสอนแบบบรรยาย การเรียนรู้โดยการแก้ปัญหาผ่านกิจกรรม และการเรียนรู้ผ่านการทำโครงงานร่วมกันสามารถช่วยพัฒนาความรู้และทักษะด้านอื่นๆ ของนักศึกษาได้ อีกทั้งยังช่วยเตรียมความพร้อมทางวิชาชีพภายหลังจากจบการศึกษา</p> <p> เท่าที่ผู้เขียนทั้งสองมีประสบการณ์การสอนกฎหมายจึงขอนำเสนอกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสาขาวิชาชีพกฎหมายในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับหลักคำสอนด้วยการบรรยายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการอภิปราย การวิเคราะห์ และวิธีการแก้ไขปัญหาอีกด้วย ส่งผลให้นักศึกษามีความสามารถในด้านการนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทที่แตกต่างภายใต้การศึกษาเชิงบูรณาการระหว่างศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพกฎหมาย </p>
Tinlaphas Choopan Jaiwan
Copyright (c) 2024 School of Law University of Phayao
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/UpLawJournal/article/view/5348
Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การพัฒนานิสิตเพื่อบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาคลินิกกฎหมายเอกชนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม และการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/UpLawJournal/article/view/5784
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา 2. นำแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษามาประยุกต์ใช้กับรายวิชาคลินิกกฎหมายเอกชน และ 3. วิเคราะห์ว่าการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา สามารถพัฒนานิสิตให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาคลินิกกฎหมายเอกชนได้ครบทั้ง 3 ด้านซึ่งได้แก่ ความรู้ ทักษะ และเจตคติ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาจากเอกสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ หนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบประเมิน</p> <p>จากการศึกษาพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษามีแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่ส่งเสริมการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนิสิตได้ 2. การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีบทบาทหลักในการเรียนรู้ของตัวเอง จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาคลินิกกฎหมายเอกชนได้ และ 3. การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา สามารถพัฒนานิสิตให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาคลินิกกฎหมายเอกชนได้ครบทั้ง 3 ด้านซึ่งได้แก่ ความรู้ ทักษะ และเจตคติ</p>
Nipaporn Lapsatian
Copyright (c) 2024 School of Law University of Phayao
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/UpLawJournal/article/view/5784
Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700