https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ/issue/feed วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ 2023-03-31T21:09:55+07:00 กองบรรณาธิการ educationjournal@vru.ac.th Open Journal Systems <p style="user-select: auto;">วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ (<strong style="user-select: auto;">Journal Of Education Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University)</strong> โดยกำหนดพิมพ์เผยแพร่ปีการศึกษาละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม) คณะครุศาสตร์ จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้คณาจารย์ ข้าราชการ นักวิชาการศึกษาและนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ได้มีโอกาสเสนอผลงานวิชาการ เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิทยาการในสาขาศึกษาศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง</p> <p style="user-select: auto;"><strong style="user-select: auto;">ISSN:</strong> International Standard Serial Number หรือ เลขมาตราฐานสากลประจำวารสาร</p> <p style="user-select: auto;"><a style="user-select: auto;" href="https://portal.issn.org/resource/ISSN/2821-9147"><strong style="user-select: auto;">ISSN: 2821-9147</strong> <strong style="user-select: auto;">(Print)</strong></a></p> <p style="user-select: auto;"> </p> <p style="user-select: auto;"> </p> https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ/article/view/1854 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการสร้างผลงาน เรื่อง ชนิดของเมฆของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบผสมผสาน 2022-11-14T15:42:27+07:00 วัฒนา พรหมวงศา wattana.prom@vru.ac.th สุวรรณา จุ้ยทอง suwana@vru.ac.th <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการสร้างผลงาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ชนิดของเมฆ ด้วยการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบผสมผสานระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ) ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 3 แผน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินผลงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for One Samples) ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนและผลการสร้างผลงานสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2023-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ/article/view/1859 ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา 2022-11-08T15:45:10+07:00 วรวรรณ ธารนาถ worawan.ta@vru.ac.th จุฬาลักษณ์ อักษร julalak.ak@vru.ac.th ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ owen_toto@yahoo.com ฐิติพร พิชญกุล thitiporn@vru.ac.th กันต์ฤทัย คลังพหล tamball@gmail.com <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ในสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวัง 2) เพื่อจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 325 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสุ่มของ de Vaus เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการ วิเคราะห์ PNI<sub>modified</sub></p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <ol> <li>ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำของผู้บริหารในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ในสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวัง พบว่า มีความแตกต่างกัน โดยสภาพที่คาดหวังมีค่าเฉลี่ยมากกว่าสภาพปัจจุบันทั้งภาพรวมและรายด้าน</li> <li>ผลการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ (1) การสร้างนวัตกรให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร รองลงมาคือ (2) ด้านการ มีวิสัยทัศน์ (3) ด้านการเป็นผู้ใช้ดิจิทัล (4) ด้านการใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร (5) ด้านการทำงานเป็นทีมและ (6) ด้านการรู้เท่าทัน ตามลำดับ</li> </ol> 2023-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ/article/view/1874 การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับสถานการณ์จำลองแบบมีปฏิสัมพันธ์ของ PhET ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2022-11-15T16:52:33+07:00 ณัฐดนัย นิรุตติ์เมธีกุล natdanai.ni@vru.ac.th อรรถกานท์ ทองแดงเจือ natdanai.ni@vru.ac.th <p style="font-weight: 400;"> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับสถานการณ์จำลองแบบมีปฏิสัมพันธ์ของ PhET กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โรงเรียนธัญบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปทุมธานี จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนรวม 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับสถานการณ์จำลองแบบมีปฏิสัมพันธ์ของ PhETเรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี จำนวน 3 แผนการเรียนรู้ รวมเวลาสอน 18 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 3 วงจรปฏิบัติการ 2) แบบทดสอบมโนมติทางวิทยาศาสตร์ และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบทดสอบค่า (t-test)</p> <p style="font-weight: 400;"> ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับสถานการณ์จำลองแบบมีปฏิสัมพันธ์ของ PhET มีคะแนนมโนมติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2023-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ/article/view/1885 การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง ปลาร้าข้าวคั่ว ชุมชนประจันตคาม 2022-11-04T23:22:03+07:00 ปารณีย์ พฤกษาชาติ paranee.saeng@vru.ac.th พิมพ์ชนก พิลาโท paranee.saeng@vru.ac.th สุชาวดี สมสำราญ paranee.saeng@vru.ac.th <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำปลาร้าข้าวคั่วของชุมชนประจันตคาม โดยมุ่งเน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แหล่งเรียนรู้ชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน 2) เพื่อนำองค์ความรู้มาสร้างแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นปราชญ์ชาวบ้านผู้ผลิตปลาร้าข้าวคั่วของ ชุมชนประจันตคาม จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ นางแฉล้มและนางลัก โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้านมาพิจารณาร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหลักการทางวิทยาศาสตร์การทำปลาร้าข้าวคั่ว แล้วนำมาวิเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยค่าดัชนีความสอดคล้องมีค่า 0.50 ขึ้นไป แสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีคุณภาพ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาการทำปลาร้าข้าวคั่ว คือ การหมักเกลือและข้าวคั่วคลุกเคล้าให้เข้ากับเนื้อปลาเชื่อมโยงกับหลักการวิทยาศาสตร์เรื่อง การหายใจระดับเซลล์และการหมักโดยเกลือและข้าวคั่ว 2) ผลการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน พบว่า การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สามารถส่งเสริมให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้จากกิจกรรมมาสู่บทเรียนวิทยาศาสตร์เกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง 3) ผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า ผลรวมค่าดัชนีความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน = 0.94 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.50 ขึ้นไป แสดงว่า แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง ปลาร้าข้าวคั่ว ชุมชนประจันตคาม มีคุณภาพสามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนได้</p> 2023-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ/article/view/1896 การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเรื่องการอ่านจับใจความวัฒนธรรมของชุมชนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ 2022-11-17T11:24:11+07:00 ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ dr.thiwat@gmail.com ธิติพงศ์ ลิ้มเลิศฤทธิ์ dr.thiwat@gmail.com จุฑารัตน์ นิรันดร dr.thiwat@gmail.com ปรัชญา บุตรครุฑ dr.thiwat@gmail.com ชาญวิทย์ อิสลาม dr.thiwat@gmail.com <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาความสามารถด้านการอ่านวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับผังมโนทัศน์ 2) พัฒนาความสามารถด้านการเขียนวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับผังมโนทัศน์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับผังมโนทัศน์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบสอบถามลักษณะคำถามเป็นแบบสำรวจรายการ (Check-List) จำนวน 10 ข้อ (2) แบบทดสอบวัดความสามารถความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย วิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความวัฒนธรรมของชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)</p> 2023-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ/article/view/1880 การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 2022-11-09T20:48:15+07:00 ปฏิญญา จันทร์เพ็ญ patinya.jan@vru.ac.th ภัทรพรรณ พรหมคช pattarapan@vru.ac.th <p> ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษาที่สำคัญในการสื่อสารปัจจุบันและเป็นวิชาที่สำคัญของหลายประเทศ ส่งผลให้เกิดการคิดแนวการสอนภาษาอังกฤษมากมายซึ่งห้องเรียนกลับด้าน (flipped classroom) เป็นแนวการสอนที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 2007 และมีการกระบวนการสอนที่ตรงข้ามกับการสอนแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้เนื้อหาจากที่บ้านและกลับมาทำกิจกรรมที่โรงเรียน ดังคำกล่าวที่ว่า “เรียนที่บ้านทำการบ้านที่โรงเรียน” รูปแบบการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านสามารถนำไปจัดการเรียนการสอนได้หลากหลายวิชา รวมทั้งวิชาภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่ต้องใช้เวลาในการเรียนและฝึกทักษะทางภาษาลักษณะของรูปแบบการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (child-centered learning) เนื่องจากนักเรียนเรียนรู้เนื้อหาเมื่อใด เวลาใดก็ได้ที่บ้าน และเป็นการเรียนผ่านการลงมือปฏิบัติ (active learning) โดยนักเรียนจะได้ลงมือปฏิบัติเข้าร่วมการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในห้องเรียน ที่ครูได้ออกแบบไว้เพื่อเป็นการสรุปและนำความรู้ที่ได้จาการศึกษามาประยุกต์ใช้เป็นผลงานหรือทักษะทางภาษา แต่อย่างไรก็ตามการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ต้องอาศัยความสามารถของครูเป็นอย่างมากรวมถึงการปรับตัวและความผิดชอบของนักเรียน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนนั้นประสบความสำเร็จ</p> 2023-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์