วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ
<p style="user-select: auto;">วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ (<strong style="user-select: auto;">Journal Of Education Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University: </strong><strong>JES-VRU)</strong>โดยกำหนดพิมพ์เผยแพร่ปีการศึกษาละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม) คณะครุศาสตร์ จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้คณาจารย์ ข้าราชการ นักวิชาการศึกษาและนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ได้มีโอกาสเสนอผลงานวิชาการ เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิทยาการในสาขาศึกษาศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งวารสารมีการตรวจสอบคุณภาพของบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Peer Review) ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องจากภายในและ/หรือภายนอกมหาวิทยาลัย จำนวน 3 ท่านต่อหนึ่งบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ต้องผ่านการอนุมัติจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ใน 3 ท่าน เพื่อประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของบทความว่าสมควรเผยแพร่ตีพิมพ์หรือไม่ ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-Blinded Peer Review)</p> <p style="user-select: auto;"><strong style="user-select: auto;">ISSN:</strong> International Standard Serial Number หรือ เลขมาตราฐานสากลประจำวารสาร</p> <p style="user-select: auto;"><strong><a href="https://portal.issn.org/resource/ISSN/2821-9147">ISSN: 2821-9147 (Print)</a></strong><br /><strong>ISSN: 3027-6764 (Online)</strong></p>
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
th-TH
วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
2821-9147
-
การพัฒนาสมรรถนะวิจัยของนักศึกษาวิชาชีพครู ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานร่วมกับการออกแบบอิงบริบทโรงเรียน
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ/article/view/7200
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะวิจัยให้แก่นักศึกษาวิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานร่วมกับการออกแบบอิงบริบทโรงเรียน มีตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 3 จำนวน 22 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแผนจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบความรู้วิจัย แบบประเมินสภาวะอารมณ์และพฤติกรรมการเรียน แบบประเมินผลงานวิจัย แบบทดสอบทักษะการเขียนรายงานวิจัย และมาตรวัดการรับรู้ความสามารถตนเองในการวิจัย ดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติเชิงสรุปอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบทีแบบประชากรสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบทีแบบประชากรสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน</p> <p>ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. หลังจัดการเรียนรู้นักศึกษามีความรู้วิจัยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">t</em><sub>21 </sub><span style="font-size: 0.875rem;">= 9.766, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p </em><span style="font-size: 0.875rem;">< .001, </span><em style="font-size: 0.875rem;">d </em><span style="font-size: 0.875rem;">=082) โดยนักศึกษาสามารถทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทปัญหาของนักเรียน (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 23.43, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 1.54) และมีการรับรู้ความสามารถตนเองในการทำวิจัยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 3.40, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.37)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. การจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานร่วมกับการออกแบบอิงบริบทโรงเรียนช่วยเสริมสร้างให้สภาวะอารมณ์ในการเรียนรู้และพฤติกรรมการเรียนรู้เชิงบวกของนักศึกษามีแนวโน้มสูงขึ้นในภาพรวม</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. ทักษะการทำวิจัยของนักศึกษาไม่มีความแตกต่างกันระหว่างพื้นฐานความรู้เดิม แต่การรับรู้ความสามารถตนเองในการทำวิจัยมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มพื้นฐานความรู้เดิมของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">t</em><sub>20 </sub><span style="font-size: 0.875rem;">= 2.270, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p </em><span style="font-size: 0.875rem;">< .034, </span><em style="font-size: 0.875rem;">d </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 474)</span></p>
จุฑา ธรรมชาติ
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
2025-06-30
2025-06-30
3 1
22
37
-
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ/article/view/5795
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนา (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนา และ (3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนากับเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ จำนวน 1 ห้องเรียน รวมเป็นนักเรียน 39 คนได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนา จำนวน 4 แผน มีคุณภาพด้านความเหมาะสมเท่ากับ 4.80 (2) แบบทดสอบอัตนัยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.64-0.79 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30-0.55 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 และ (3) แบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ มีคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย (<em>M</em>) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (<em>SD</em>) คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และการทดสอบที (<em>t</em>-test<em>) </em></p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ก่อนเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนาเท่ากับ 7.31</span><span style="font-size: 0.875rem;">(</span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> =68) คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 27.08 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 6.15) และคะแนนร้อยละพัฒนาการสัมพัทธ์เท่ากับ 72.61 อยู่ในระดับสูง</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</span></p>
ธนัญชัย พร้อมวงค์
จงกล บัวแก้ว
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
2025-06-30
2025-06-30
3 1
38
50
-
ผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วงจรไฟฟ้า ที่มีต่อทักษะการทดลอง และพัฒนาการด้านความรู้ในการทดลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ/article/view/7380
<p>งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบทักษะการทดลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วงจร ไฟฟ้าเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ (2) ประเมินพัฒนาการด้านความรู้ในการทดลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับชุดกิจกรรมฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 42 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้และชุดกิจกรรมเรื่องวงจรไฟฟ้า จำนวน 3 แผน (2) แบบประเมิน ทักษะการทดลองซึ่งมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ และ (3) แบบวัดความรู้ในการทดลองเป็นข้อสอบอัตนัยแบบตอบสั้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ทักษะการทดลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 86.385.26 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.98 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนดไว้ (2) คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ด้านความรู้ในการทดลอง มีค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนในภาพรวมเท่ากับ 62.31 อยู่ในเกณฑ์พัฒนาการระดับสูง และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ (จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 88.10) มีคะแนนพัฒนาการด้านความรู้ในการทดลองอยู่ในเกณฑ์พัฒนาการระดับสูงเช่นเดียวกัน</p>
ตราดขวัญ ศรีมาศ
ภัทรมล สุกรีวนัส
ธัญวรัตน์ ปิ่นทอง
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
2025-06-30
2025-06-30
3 1
51
67
-
ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในการศึกษาวิทยาศาสตร์ในอาเซียน
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ/article/view/4449
<p>บทความนี้ เป็นการสังเคราะห์งานวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในการศึกษาวิทยาศาสตร์ในอาเซียนช่วงระยะเวลา 5 ปี (ค.ศ. 2019-2023) ซึ่งมีจำนวนงานวิจัย 851 ฉบับ จึงทำการศึกษาเนื้อหาจากวิจัยโดยใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ซึ่งมี 4 ขั้นตอน มีจำนวนบทความที่ผ่านเกณฑ์คัด และใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 50 ฉบับ ผลการศึกษาพบว่า สามารถแบ่งหมวดหมู่ของงานวิจัยออกเป็น 3 หมวดหมู่ คือ 1) สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลต่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ในอาเซียน 2) ผลกระทบที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลต่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ในอาเซียน และ 3) แนวทางในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในการศึกษาวิทยาศาสตร์ในอาเซียน ผู้วิจัยได้ร่วมกันวิเคราะห์ผลข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการนับความถี่และคำนวณค่าสถิติร้อยละ ของข้อมูล และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการศึกษาสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำภายในกลุ่มประเทศอาเซียน ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่าตลอดระยะเวลา 5 ปี ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในการศึกษาวิทยาศาสตร์ในอาเซียน มีสาเหตุสำคัญมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และความพร้อมของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษาไม่เพียงพอต่อผู้เรียน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในการศึกษาวิทยาศาสตร์ในอาเซียน ทำได้โดยการที่รัฐบาลช่วยเสริมสร้างให้มีความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น</p>
ศรีอุทัย คเชนทรพรรค
ณัฐวรรณ อาบทอง
กฤตพิชชา คำบุญเกิด
ศุภมัย พรหมแก้ว
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
2025-06-30
2025-06-30
3 1
68
84
-
การออกแบบการเรียนรู้หน้าที่พลเมืองแบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ/article/view/4871
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบแผนการเรียนรู้หน้าที่พลเมืองแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และเพื่อประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังการจัดการเรียนรู้หน้าที่พลเมืองแบบปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้วิจัยดำเนินขั้นตอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 28 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ผลการศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้หน้าที่พลเมืองแบบปัญหาเป็นฐานมีขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่ (1) กำหนดปัญหา (2) ทำความเข้าใจปัญหา (3) การดำเนินการศึกษาค้นคว้า (4) สังเคราะห์ความรู้ (5) สรุปและประเมินค่าของคำตอบ และ (6) นำเสนอและประเมินผลงาน</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้หน้าที่พลเมืองแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะ การคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน มีความเหมาะสมระดับมาก</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. ผลการประเมินทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์มีระดับคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก</span></p>
ชรินทร์ มั่งคั่ง
วรินทร สิริพงษ์ณภัทร
เกษรินทร์ หินเงิน
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
2025-06-30
2025-06-30
3 1
85
97
-
การยอมรับและช่วยเหลือครอบครัวที่บุตรหลานมีภาวะออทิสติก
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ/article/view/4581
<p>บทความวิชาการนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการยอมรับและช่วยเหลือครอบครัวที่บุตรหลานมีภาวะออทิสติก ซึ่งเด็กกลุ่มนี้มีภาวะความบกพร่องหรือพัฒนาการล่าช้าในด้าน ภาษา การสื่อสาร การเข้าสังคม และพฤติกรรม โดยความบกพร่องในด้านเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน ครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการดูแลพัฒนาบุตรหลานที่มีภาวะออทิสติก โดยเริ่มต้นจากการยอมรับความจริง และการจัดการความเครียดของตนเอง เพื่อลดความกังวลและสามารถส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของบุตรหลานที่มีภาวะ ออทิสติก สำหรับการให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกันของครอบครัวกับทีมสหวิชาชีพที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เพื่อสนับสนุนด้านการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะของบุตรหลานที่มีภาวะออทิสติก โดยยึดหลัก “เด็กเป็นตัวตั้ง ครอบครัวเป็นตัวหาร ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวช่วย” การที่ครอบครัวได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ครอบครัวมีแรงกาย แรงใจ ในการเลี้ยงดูบุตรหลานที่มีภาวะออทิสติกต่อไป หากครอบครัวได้เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาจะทำให้สัมพันธภาพระหว่างครอบครัวกับตัวเด็กดีขึ้น และมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือพัฒนาบุตรหลานที่มีภาวะออทิสติกได้อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้น</p>
ไพลิน อินทรพานิชย์
นพีพร คำสนิท
กัณฑิมา บุตรจันทร์
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
2025-06-30
2025-06-30
3 1
1
10
-
การออกแบบการเรียนรู้แบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ/article/view/5964
<p>บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ (1) มโนทัศน์ความฉลาดรู้ภูมิศาสตร์ในบริบทของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (2) แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และ (3) การออกแบบการเรียนรู้แนวดิจิทัลโดยประยุกต์ใช้ CIPPA Model เพื่อพัฒนาทักษะทางภูมิศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน บทความนี้มีวัตถุประสงค์ นำเสนอแนวทางการออกแบบการเรียนรู้แบบดิจิทัลเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้กรอบแนวคิด CIPPA Model ซึ่งเน้นการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ครู และสื่อดิจิทัล ผ่านการสอดแทรกเทคนิคการตั้งคำถามแบบโสเครติส เพื่อกระตุ้นการคิดเชิงวิเคราะห์และการให้เหตุผลทางภูมิศาสตร์ ผลลัพธ์ที่คาดหวังคือ การพัฒนาทักษะทางภูมิศาสตร์ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน</p> <p>ในการศึกษานี้ ได้ทำการวิเคราะห์แนวคิดและองค์ประกอบของ CIPPA Model เพื่อพิจารณา ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้สำหรับการจัดการเรียนรู้ในบริบทของการศึกษายุคใหม่ผนวกกับการตั้งคำถาม จนได้การออกแบบการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน โดยใช้โมเดล CIPAC Model โดยมุ่งเน้นถึงกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการใช้เทคโนโลยีอย่างมีวิจารณญาณ บทความนี้นำเสนอแนวทางการออกแบบการเรียนรู้ที่จะช่วยพัฒนาความฉลาดรู้ทางดิจิทัลของผู้เรียน ตลอดจนอภิปรายข้อเสนอแนะในการนำแนวคิดดังกล่าวไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้</p>
อนุพงศ์ โฮ้งจิก
ชรินทร์ มั่งคั่ง
วรินทร สิริพงษ์ณภัทร
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
2025-06-30
2025-06-30
3 1
11
21