https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/issue/feed วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล 2024-02-28T17:10:32+07:00 Dr.Wijittra Potisarn [email protected] Open Journal Systems <p><strong>วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล (Arts and Culture Journal of the Lower Moon River)</strong></p> <p><strong>ISSN 2822 - 0617 (Online)<br />ISSN 2822 - 1141 (Print)</strong><br /><br />เป็นวารสารที่จัดทำขึ้นโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ รับตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำนวน 2 ประเภทบทความ ได้แก่ บทความวิชาการ และบทความวิจัย ทั้ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p>ตั้งแต่ปี 2567 วารสารจะปรับวาระออกปีละ 3 ฉบับ ได้แก่<br />- ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม - เมษายน<br />- ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม<br />- ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน - ธันวาคม</p> <p>ขอบเขตของวารสาร ดังนี้<br />- ศิลปวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น<br />- สหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ <br />- การศึกษาและบูรณาการศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์และสืบสาน<br />- เศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม</p> <p>บทความที่ส่งเข้ามาจะได้รับการประเมินคุณภาพของผลงานทางวิชาการ โดยผู้ประเมินซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน ซึ่งพิจารณาแบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้เขียนบทความ ผู้ประเมิน และผู้ที่เกี่ยวข้อง (Double Blind Review) ทั้งนี้วารสารจะดำเนินงานตามกรอบจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics) อย่างเคร่งครัด</p> <p><strong>* ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ </strong></p> https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/4384 ภาคผนวก 2024-02-28T08:49:01+07:00 กองบรรณาธิการ [email protected] 2024-02-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/4385 บทนำ 2024-02-28T09:22:38+07:00 กองบรรณาธิการ [email protected] 2024-02-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/4390 ฉบับเต็ม 2024-02-28T17:10:32+07:00 กองบรรณาธิการ [email protected] 2024-02-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/3307 การรับรู้ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดสุรินทร์ 2023-12-07T13:20:15+07:00 คณารัตน์ เมฆแสน [email protected] นนทรีย์ ธงชัย [email protected] กิตติพศ บุญญะวัติพงศ์ [email protected] พิมพ์อำไพ จันทร์แจ่ม [email protected] รณาวรรณ สุขแสวง [email protected] นาตยา โสนทอง [email protected] <p>งานวิจัยนี้จึงได้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการรับรู้ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดสุรินทร์ และ 2. เพื่อศึกษาการส่งเสริมการรับรู้ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ระดับการรับรู้ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และระดับการส่งเสริมการรับรู้ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง</p> 2024-02-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/4243 การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จ กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ วิถีไทยบ้านนางาม หมู่ที่ 11 ตำบลตาดทอง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี 2024-01-24T06:45:56+07:00 ศรัณย์ เจริญศิริ [email protected] ชัยมงคล ศิริวารินทร์ [email protected] ณิศรา ประดิษฐ์ด้วง [email protected] พงศธร แสงลี [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จ กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีไทยบ้านนางาม หมู่ที่ 11 ตำบลตาดทอง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี และ (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีไทย บ้านนางาม หมู่ที่ 11 ตำบลตาดทอง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 17 คน เก็บรวบรวมด้วยแบบสอบถาม และผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 4 คน สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และ การสังเกตการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อเสนอแนะใช้การพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จ ดังนี้ ด้านการตลาด กลุ่มมีหน้าร้านขายประจำ คือ เซ็นทรัลพลาซาอุดรธานี เซ็นทรัลพลาซาบางนา และท็อปส์ ซูเปอร์สโตร์ สาขาหนองหาน ตำบลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และมีการส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มนำสินค้าไปขาย โดยดำเนินงานแบบครอบครัวและเปิดโอกาสให้ทุกคนรับผลิตภัณฑ์ไปขายทั้งผ่านหน้าร้านและผ่านช่องทางออนไลน์ ใช้ชื่อว่าน้ำตาลอ้อยอินทรีย์ ด้านภาวะผู้นำ ผู้นำมีความเสียสละ แสวงหาสิ่งใหม่ ๆ เพื่อพัฒนากลุ่ม ด้านวิธีการปฏิบัติงาน มีการกำหนดกฎระเบียบภายในกลุ่ม มีการพัฒนาทักษะให้กับสมาชิกในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ด้านการจูงใจของผู้ปฏิบัติงาน พบว่า ค่าจ้างมีความสำคัญอย่างมากต่อการจูงใจให้คนปฏิบัติงาน และมีการจัดสรรแบ่งผลกำไรสำหรับผู้ทำงานและคณะกรรมการ มีการทำกองทุนเพื่อสังคม ด้านนโยบายของรัฐ มีการนำนโยบายของรัฐมาช่วยส่งเสริมในการบริหารจัดการผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานเกษตรอำเภอศรีธาตุ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และโครงการชุมชนธุรกิจสร้างไทยของรัฐบาล เป็นต้น และ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาให้ทันสมัย อาทิ การใช้ลูกหีบอ้อย นอกจากนี้ผลการศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จ พบว่า ทั้ง 6 ด้าน ภาพรวม อยู่ในระดับมาก</p> 2024-02-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/4210 แนวทางการส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี 2024-01-11T13:31:45+07:00 ชลิตา ชาดวง [email protected] สุชาดา พรมโคตร [email protected] กฤษณชัย ดอกพุฒ [email protected] ภคมน เจริญสลุง [email protected] <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรเทศบาลเมืองปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาอาชีพแก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรของเทศบาลเมืองปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์นำเสนอโครงการ ผลการวิจัยพบว่า ด้านนโยบาย/ แผน เทศบาลเมืองปากแพรกมีการจัดทำโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและการตัดสินใจในเรื่องการจัดโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพ ผลการศึกษาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาอาชีพแก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี พบว่ามีวิธีการส่งเสริมอาชีพและการอนุรักษ์ภูมิปัญญามาปรับใช้ในเทศบาลเมืองปากแพรก ด้านการส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน เทศบาลเมืองปากแพรกจัดทำโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน ได้มีการเผยแพร่ความรู้ความสามารถให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ประชาชนสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวในอนาคต โดยมีผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่เทศบาลเมืองปากแพรกในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นและงานฝีมือเป็นผู้เผยแพร่ จะมีแกนนำที่เป็นกลุ่มสตรีในท้องถิ่นที่เชี่ยวชาญในด้านงานฝีมือโดยเฉพาะ การส่งเสริมช่องทางการจัดจำหน่าย มีการให้ความรู้ผ่านโครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ โดยการใช้เทคโนโลยีในการขายเพื่อขยายช่องทางการค้าสินค้าขึ้นชื่อของชุมชน หรือ สินค้าโอทอปให้ผู้อื่นได้เข้ามาเห็นสินค้าจริง และราคาที่เป็นตัวเลือกให้กับผู้บริโภค ซึ่งการโพสต์ขายในช่องทางออนไลน์นี้ยังช่วยเพิ่มช่องทางการค้าให้มีความหลากหลาย และผู้คนสามารถเข้าถึงได้ ทำให้ประหยัดเวลา แรงงาน งบประมาณได้เป็นอย่างมาก</p> 2024-02-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/4087 The Concepts of Educational Philosophy in the Khmer Literature 2024-01-06T07:59:14+07:00 Samphose Prak [email protected] Jaras Leeka [email protected] <p>The objective of the research article was: to present the general concepts of educational philosophy in the Khmer literature. This research methodology was conducted by documentary research, and extracted from the applied educational philosophy in the framework of the Khmer literary theory from ancient until the present time. Therefore, this educational concept through literature was found as follows: a) The spirit of national unity. b) Ethics or social values in the Khmer society context. c) Colorful perspectives/ aesthetics in the societal framework. d) Given the way of critical thinking using. e) The folktales stories of Buddhism and Khmer traditional folktales are combined into one Khmer spirituality.</p> 2024-02-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/4120 การศึกษาแนวทางการพัฒนาอาชีพการเพาะเห็ดนางฟ้าชุมชนบ้านผือน้อย ตำบลบ้านผือ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ 2024-01-06T11:31:32+07:00 ปรเมษฐ์ สีจันทา [email protected] รวีวรรณ ตามสันเทียะ [email protected] จักรพันธ์ เสาร์ทอง [email protected] วันชัย สุขตาม [email protected] จิรายุ ทรัพย์สิน [email protected] <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาอาชีพการเพาะเห็ดนางฟ้าของชุมชนบ้านผือน้อย ตำบลบ้านผือ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาอาชีพการเพาะเห็ดนางฟ้าของชุมชนบ้านผือน้อย ตำบลบ้านผือ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาอาชีพการเพาะเห็ดนางฟ้าของชุมชนบ้านผือน้อย ตำบลบ้านผือ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล จำนวน 256 คน สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ความแปรปรวน และค่าแจกแจงแบบที ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มผู้เพาะเห็ดนางฟ้า และประชาชนในชุมชน จำนวน 16 คน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ สังเคราะห์เป็นประเด็นร่วมหรือประเด็นหลัก อภิปรายเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของประชาชน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นของประชาชนทั้ง 6 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน พบว่า ประชาชนที่มีอายุ อาชีพ สถานภาพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาอาชีพ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีเพศและระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาอาชีพ โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการพัฒนาอาชีพ พบว่า ด้านการผลิต ใช้วัสดุจากธรรมชาติเพื่อลดต้นทุนในการผลิต ด้านรายได้ สมาชิกกลุ่ม มีรายได้จากอาชีพการเพาะเห็ดนางฟ้าและมีการวางแผนการใช้จ่าย ด้านการตลาด มีหน่วยงานในชุมชนให้การสนับสนุนการทําการเกษตร ด้านการวางแผน มีการวางแผนในการจำหน่าย ด้านงบประมาณ มีงบประมาณที่เพียงพอต่อการทำการเพาะปลูก มีการทำสถานที่โรงเรือน วัสดุหัวเชื้อ และด้านวัฒนธรรมองค์กร ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มอาชีพเพาะเห็ดนางฟ้าให้มีบทบาทมากขึ้น และกิจกรรมที่เกี่ยวกับการโครงการพัฒนากลุ่มอาชีพ เพื่อสร้างเครือข่าย</p> 2024-02-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/4179 วรรณกรรมลาว “สายเลือดเดียวกัน” : การศึกษาตามแนวคิดหลังอาณานิคม 2024-01-06T08:00:34+07:00 พระมหาศรายุทธ เจตรา [email protected] พระมหากิตติ สอนเสนา [email protected] อนันตศักดิ์ พลแก้วเกษ [email protected] ชาญยุทธ สอนจันทร์ [email protected] รัชนีฉาย เฉยรอด [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ลาวในยุคอาณานิคมและหลังอาณานิคม และ เพื่อศึกษาวรรณกรรมลาวด้วยแนวคิดหลังอาณานิคม โดยเลือกศึกษาวรรณกรรมเรื่อง “สายเลือดเดียวกัน” ซึ่งเป็นงานวรรณกรรมแปลในรูปแบบนวนิยาย แต่งโดย ดวงไซ หลวงพะสี ซึ่งได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนของประเทศลาว หรือรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2555 ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจสภาพสังคมลาวในสมัยนั้น รวมทั้งแนวคิดที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดออกมาผ่านตัวบทวรรณกรรม ผลการศึกษาพบว่า 1) การศึกษาประวัติศาสตร์ลาวในยุคอาณานิคมและหลังอาณานิคมทำให้ทราบถึงประวัติศาสตร์ของลาว จากยุคที่ฝรั่งเศสบุกยึดและผนวกเอาประเทศลาว มาเข้าร่วมในอาณาจักร เรียกขานรวมกันว่า “อินโดจีนฝรั่งเศส”และปกครองลาวในฐานะประเทศอาณานิคมอยู่นานหลายปี ภายหลังฝรั่งเศสพ่ายแพ้ให้กับเวียดมินห์ จึงเป็นการสั่นคลอนอำนาจฝรั่งเศสจนยอมให้ลาวประกาศเอกราชบางส่วนในปี พ.ศ. 2492 และได้เอกราชสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2496 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 มีการเปลี่ยนระบอบการปกครองจากราชอาณาจักรลาวเป็นการปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในชื่อว่า “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” นับแต่นั้นเป็นต้นมา และ 2) การศึกษาวรรณกรรมลาวด้วยแนวคิดหลังอาณานิคม พบว่าผู้เขียนได้สะท้อนแนวคิดในฐานะประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคม จากการทำสงครามและการถูกกดขี่ข่มเหง ผ่านตัวบทวรรณกรรมประเภทนวนิยายอยู่ใน 6 ประเด็น ได้แก่ สงครามก่อให้เกิดการสูญเสียและพลัดพราก สงครามมาพร้อมกับความโหดร้ายทารุณ สงครามก่อให้เกิดความทุกข์ยากลำบากของผู้ถูกรรุกราน สงครามก่อให้เกิดการเข่นฆ่าและทำลายล้างกันของมนุษย์ สงครามก่อให้เกิดความรักและความเห็นอกเห็นใจกันและสงครามก่อให้เกิดความสามัคคีรักชาติบ้านเมือง ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงความทุกข์ยากลำบากของประชาชนลาวในสมัยนั้น และเพื่อเชิดชูวีรกรรมการต่อสู้กู้ชาติของประชาชนลาวในสมัยดังกล่าว ก่อนจะมาเป็นประเทศลาวที่มีเอกราชในปัจจุบัน</p> 2024-02-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล