วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj
<p><strong>วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล (Arts and Culture Journal of the Lower Moon River)<br />ISSN 2822 - 0617 (Online)<br />ISSN 2822 - 1141 (Print)<br /></strong></p> <p>วารสารมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยและหน่วยงานจากภายนอกในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และรูปแบบออนไลน์ 2) เพื่อเป็นแหล่งสนับสนุนการศึกษา วิจัย บูรณาการองค์ความรู้ เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริม พัฒนา และเพิ่มคุณค่าของศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 3) เพื่อสนองพันธกิจสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์</p> <p><strong>วารสารได้ถูกจัดให้เป็น วารสารกลุ่มที่ 1 (TCI Tier 1)</strong><br />โดย ศูนย์ TCI ให้คำรับรองคุณภาพวารสาร ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค 68 - 31 ธ.ค 72</p> <p><strong>เป็นวารสารที่จัดทำขึ้นโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม</strong> มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ รับตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำนวน 2 ประเภทบทความ ได้แก่ บทความวิชาการ และบทความวิจัย ทั้ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p>วารสารมีวาระออกปีละ 3 ฉบับ ได้แก่<br />ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม - เมษายน<br />ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม<br />ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน - ธันวาคม</p> <p><strong>วารสารเปิดรับ 16 - 20 บทความ ต่อฉบับ โดยจะเริ่มตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป </strong></p> <p>ขอบเขตของวารสาร ดังนี้<br />- ศิลปวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น<br />- สหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อการยกระดับคุณภาพวิถีชีวิต <br />- การศึกษาและบูรณาการศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์และสืบสาน<br />- เศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม<br />(<a href="https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/about/submissions">รายละเอียดเพิ่มเติม</a>)</p> <p>บทความที่ส่งเข้ามาจะได้รับการประเมินคุณภาพของผลงานทางวิชาการ โดยผู้ประเมินซึ่งเป็น<strong>ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน</strong> ซึ่งพิจารณา<strong>แบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้เขียนบทความ ผู้ประเมิน และผู้ที่เกี่ยวข้อง (Double Blind Review)</strong> ทั้งนี้วารสารจะดำเนินงานตามกรอบจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics) อย่างเคร่งครัด</p> <hr /> <h3 class="u-h3"><strong>Publishing timeline</strong></h3> <div style="overflow-x: auto;"> <table style="border-collapse: collapse; width: 100%;"> <tbody> <tr style="text-align: left; padding: 8px;"> <td style="text-align: left; padding: 8px; width: 33.4%;">9 Days</td> <td style="text-align: left; padding: 8px; width: 33.4%;">46 Days</td> <td style="text-align: left; padding: 8px; width: 33.4%;">65 Days</td> </tr> <tr style="background-color: #f2f2f2;"> <td style="text-align: left; padding: 8px; width: 33.4%;">Time to first decision</td> <td style="text-align: left; padding: 8px; width: 33.4%;">Review time</td> <td style="text-align: left; padding: 8px; width: 33.4%;">Submission to acceptance</td> </tr> </tbody> </table> </div> <hr /> <div class="col-sm-3"><strong>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ (Article Processing Charge)</strong></div> <div class="col-sm-9"> <p>- บทความวิจัย/ บทความวิชาการ ภาษาไทย 5,000 บาท/ บทความ<br />- บทความวิจัย/ บทความวิชาการ ภาษาอังกฤษ 6,000 บาท/ บทความ<br />(โดยจะเรียกเก็บค่าตีพิมพ์บทความสำหรับบทความที่ส่งเข้าระบบ ในปีที่ 14 ฉบับที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 เดือน เมษายน 2568 เป็นต้นไป)</p> <p> </p> <p style="color: #ffffff; background-color: #7c257d; margin: 5px; padding: 10px; border-radius: 10px; text-align: center;" align="center"><a style="text-decoration: none; color: #ffffff;" href="https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/about">More About the Journal</a></p> <p> </p> </div>
The office of Arts and Culture, Surindra Rajabhat University
th-TH
วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล
2822-1141
<p>บทความ เนื้อหา และข้อมูลที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล ถือเป็นทัศนะ ข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบในบทความนั้น</p> <p>บทความทั้งหมดที่เผยแพร่แบบเปิดจะเปิดให้ทุกคนอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความได้ฟรีทันทีและถาวร อนุญาตให้เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้แต่งและสิ่งพิมพ์ต้นฉบับต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม</p> <p>เจ้าของ (สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์) ขอสงวนสิทธิ์ในการขอเปลี่ยนแปลงการตีพิมพ์เผยแพร่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการตีพิมพ์แม้ว่าจะมีการตอบรับแล้วก็ตาม วารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ผลงานหากการตีพิมพ์ดังกล่าวส่งผลความผิดทางกฎหมายหรือการละเมิดจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ และหากวารสารตัดสินใจที่จะไม่เผยแพร่ผลงาน จะไม่คืนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (APC) และหลังจากที่วารสารการปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์มีสิทธิ์ที่จะส่งบทความไปยังวารสารอื่นได้</p>
-
การศึกษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นบ้านอีสานใต้ ชนเผ่าไทยลาว อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อการสร้างสรรค์รูปแบบการแสดงชุดลำเพลินชมถิ่นไทยลาวชาวพุทไธสง
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/7305
<p>การศึกษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นบ้านอีสานใต้ ชนเผ่าไทยลาวอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อการสร้างสรรค์รูปแบบการแสดงชุดลำเพลินชมถิ่นไทยลาวชาวพุทไธสง มีจุดมุ่งหมายวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาแหล่งพื้นที่วัฒนธรรมพื้นบ้านอีสานใต้ ชนเผ่าไทยลาว บ้านศีรษะแรด ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบการแสดงชุดลำเพลินชมถิ่นไทยลาวชาวพุทไธสง กระบวนท่ารำ เครื่องแต่งกาย ทำนองเพลง บทร้อง เครื่องดนตรีพื้นบ้านที่ใช้บรรเลง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติจำนวน 18 คน ประกอบไปด้วย นักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ จำนวน 12 คน ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง จำนวน 1 คน ผู้แต่งทำนองดนตรี จำนวน 1 คน ผู้ร่วมออกแบบท่ารำ จำนวน 2 คน ผู้ร่วมออกแบบเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ จำนวน 2 คน และผู้ให้ข้อมูลทั่วไป ประกอบไปด้วย ผู้วิพากษ์ชุดการแสดง จำนวน 3 ท่าน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง นักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผู้หญิง จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและข้อมูลภาคสนาม โดยวิเคราะห์ข้อมูลแล้วนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า พบว่า ความเป็นมาของชนเผ่าไทยลาว บ้านศีรษะแรด อำเภอพุทไธสง เกิดจากการอพยพจากนครเวียงจันทร์ มาอาศัยอยู่หมู่บ้านศีรษะแรด หรือบ้านหัวแฮด ซึ่งเป็นชื่อเดิม โดยส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อสายไทยลาวชัยภูมิ โดยใช้ทำนองลำเพลินในการแต่งเนื้อร้อง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่คงอยู่ในท้องถิ่น และภาษาสำเนียงที่นิยมใช้ภาษาลาวสำเนียงชัยภูมิ และบทร้องสื่อให้เห็นถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่นที่ปรากฏควบคู่กับเครื่องดนตรีโปงลางพื้นบ้านอีสาน และการสร้างสรรค์ชุดลำเพลินชมถิ่นไทยลาวชาวพุทไธสง งานวิจัยนี้ได้สร้างสรรค์ท่ารำเปรียบเทียบกับท่าลำเพลินแบบดั้งเดิม และท่ารำปรากฏในชุดการแสดงทั้งหมดมีจำนวน 5 ท่า ได้แก่ ท่าที่ 9 ท่าที่ 10 ท่าที่ 11 ท่าที่ 35 และท่าที่ 51 และท่ารำอื่น ๆ ใช้ท่าแม่บทอีสาน ทั้งนี้เพื่อให้มีชุดการแสดงประจำท้องถิ่นสามารถนำไปเผยแพร่ และปรับปรุงให้เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นของชนเผ่าไทยลาว อำเภอพุทไธสง ให้คงอยู่ต่อไป</p>
เสาวรัตน์ ทศศะ
Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-12
2025-06-12
14 2
233
248
10.14456/acj.2025.18