วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj <p><strong>วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล (Arts and Culture Journal of the Lower Moon River)<br />ISSN 2822 - 0617 (Online)<br />ISSN 2822 - 1141 (Print)<br /></strong></p> <p>วารสารมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยและหน่วยงานจากภายนอกในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และรูปแบบออนไลน์ 2) เพื่อเป็นแหล่งสนับสนุนการศึกษา วิจัย บูรณาการองค์ความรู้ เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริม พัฒนา และเพิ่มคุณค่าของศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 3) เพื่อสนองพันธกิจสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์</p> <p><strong>วารสารได้ถูกจัดให้เป็น วารสารกลุ่มที่ 1 (TCI Tier 1)</strong><br />โดย ศูนย์ TCI ให้คำรับรองคุณภาพวารสาร ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค 68 - 31 ธ.ค 72</p> <p><strong>เป็นวารสารที่จัดทำขึ้นโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม</strong> มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ รับตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำนวน 2 ประเภทบทความ ได้แก่ บทความวิชาการ และบทความวิจัย ทั้ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p>วารสารมีวาระออกปีละ 3 ฉบับ ได้แก่<br />ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม - เมษายน<br />ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม<br />ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน - ธันวาคม</p> <p><strong>วารสารเปิดรับ 16 - 20 บทความ ต่อฉบับ โดยจะเริ่มตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป </strong></p> <p>ขอบเขตของวารสาร ดังนี้<br />- ศิลปวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น<br />- สหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ <br />- การศึกษาและบูรณาการศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์และสืบสาน<br />- เศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม<br />(<a href="https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/about/submissions">รายละเอียดเพิ่มเติม</a>)</p> <p>บทความที่ส่งเข้ามาจะได้รับการประเมินคุณภาพของผลงานทางวิชาการ โดยผู้ประเมินซึ่งเป็น<strong>ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน</strong> ซึ่งพิจารณา<strong>แบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้เขียนบทความ ผู้ประเมิน และผู้ที่เกี่ยวข้อง (Double Blind Review)</strong> ทั้งนี้วารสารจะดำเนินงานตามกรอบจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics) อย่างเคร่งครัด</p> <hr /> <h3 class="u-h3"><strong>Publishing timeline</strong></h3> <div style="overflow-x: auto;"> <table style="border-collapse: collapse; width: 100%;"> <tbody> <tr style="text-align: left; padding: 8px;"> <td style="text-align: left; padding: 8px; width: 33.4%;">9 Days</td> <td style="text-align: left; padding: 8px; width: 33.4%;">46 Days</td> <td style="text-align: left; padding: 8px; width: 33.4%;">65 Days</td> </tr> <tr style="background-color: #f2f2f2;"> <td style="text-align: left; padding: 8px; width: 33.4%;">Time to first decision</td> <td style="text-align: left; padding: 8px; width: 33.4%;">Review time</td> <td style="text-align: left; padding: 8px; width: 33.4%;">Submission to acceptance</td> </tr> </tbody> </table> </div> <hr /> <div class="col-sm-3"><strong>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ (Article Processing Charge)</strong></div> <div class="col-sm-9"> <p>- บทความวิจัย/ บทความวิชาการ ภาษาไทย 5,000 บาท/ บทความ<br />- บทความวิจัย/ บทความวิชาการ ภาษาอังกฤษ 6,000 บาท/ บทความ<br />(โดยจะเรียกเก็บค่าตีพิมพ์บทความสำหรับบทความที่ส่งเข้าระบบ ในปีที่ 14 ฉบับที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 เดือน เมษายน 2568 เป็นต้นไป)</p> <p> </p> <p style="color: #ffffff; background-color: #7c257d; margin: 5px; padding: 10px; border-radius: 10px; text-align: center;" align="center"><a style="text-decoration: none; color: #ffffff;" href="https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/about">More About the Journal</a></p> <p> </p> </div> th-TH <p>บทความ เนื้อหา และข้อมูลที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล ถือเป็นทัศนะ ข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบในบทความนั้น</p> <p>บทความทั้งหมดที่เผยแพร่แบบเปิดจะเปิดให้ทุกคนอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความได้ฟรีทันทีและถาวร อนุญาตให้เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้แต่งและสิ่งพิมพ์ต้นฉบับต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม</p> <p>เจ้าของ (สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์) ขอสงวนสิทธิ์ในการขอเปลี่ยนแปลงการตีพิมพ์เผยแพร่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการตีพิมพ์แม้ว่าจะมีการตอบรับแล้วก็ตาม วารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ผลงานหากการตีพิมพ์ดังกล่าวส่งผลความผิดทางกฎหมายหรือการละเมิดจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ และหากวารสารตัดสินใจที่จะไม่เผยแพร่ผลงาน จะไม่คืนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (APC) และหลังจากที่วารสารการปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์มีสิทธิ์ที่จะส่งบทความไปยังวารสารอื่นได้</p> acj.lmr@srru.ac.th (Dr.Wijittra Potisarn) acj.lmr@srru.ac.th (Miss Narudee Plaengdee) Wed, 19 Feb 2025 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 The Future of New Zealand’s Cities as Forecast by the Literary Method of Urban Design https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/7067 <p>An exploration of a novel design method (called the Literary Method of Urban Design) is attempted and applied to three New Zealand cities. This Literary Method uses local or national literary works as a lens to forecast urban futures. Working with this Method, this paper interprets the city of Christchurch through Samuel Butler’s 19<sup>th</sup> century novel <em>Erewhon</em>, the city of Napier through Herbert Guthrie-Smith’s ecological book <em>Tutira</em>, and the city of Auckland through John Mulgan’s interwar novel <em>Man Alone</em>. These case studies highlight how literature can inform urban sustainability, offering insights into technological progress and restraint, environmental adaptation, and communal resilience. The findings suggest, generally, that literature -- as both art and foresight -- provides a powerful tool for reimagining cities in response to 21<sup>st</sup> century challenges. In this paper, specifically, the findings indicate that New Zealand futures may well be prosperous in some cases, but also catastrophic in others. Even in the catastrophic cases, though, the literary texts explored can offer a pathway to urban survivability.</p> Alan Marshall Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/7067 Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง สุภาษิตพระร่วง โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาย https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/5782 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/ 80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ โดยวิธีสุ่มแบบกลุ่มเพื่อเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 40 คน จากทั้งหมด 648 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สุภาษิตพระร่วง จำนวน 5 แผน 2) แบบฝึกหัด จำนวน 5 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน–หลังเรียน จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนหลังจากการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่องสุภาษิตพระร่วง โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.95/ 86.00 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ .05</p> มัลลิกา มาภา, วัฒนา ศรีจันทร์มูล Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/5782 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การบริหารการศึกษาศตวรรษที่ 21 ภายใต้กระบวนทัศน์ธรรมาภิบาลแนวใหม่สู่การสืบสานและธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมชุมชน https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6264 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวทางเชิงกลยุทธ์ในการบริหารการศึกษาภายใต้รูปแบบธรรมาภิบาลแนวใหม่สู่การสืบสานและธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมชุมชน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์และนำเสนอตามวัตถุประสงค์การศึกษา ผลการศึกษาพบว่า การบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ภายใต้แนวคิด ธรรมาภิบาลแบบใหม่ มุ่งเน้นไปที่ การกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการใช้เทคโนโลยีในการบริหาร เพื่อให้เกิดการจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และยั่งยืน การมีส่วนร่วมของ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ในการตัดสินใจช่วยสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของและความรับผิดชอบร่วมกัน นอกจากนี้ การใช้ แพลตฟอร์มดิจิทัล การวิเคราะห์ข้อมูล และเครื่องมือสื่อสารออนไลน์ ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและการตัดสินใจอย่างรอบรู้ ในขณะเดียวกัน การบริหารการศึกษาที่ประสบความสำเร็จยังต้องคำนึงถึง ความยั่งยืน ความเท่าเทียม และความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียน โดยโรงเรียนควรร่วมมือกับองค์กรภายนอกและนำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดมาใช้ นอกจากนี้ กรณีศึกษาจากประเทศต่าง ๆ เช่น ฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์ แสดงให้เห็นว่า การกระจายอำนาจ การใช้เทคโนโลยี และการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นกุญแจสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงสู่รูปแบบธรรมาภิบาลใหม่เผชิญกับอุปสรรค เช่น ความต้านทานจากระบบเดิม ข้อจำกัดด้านทรัพยากร และปัญหาจริยธรรม ดังนั้น การพัฒนานโยบาย การพัฒนาผู้นำ และการใช้เทคโนโลยีอย่างมีกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างระบบการศึกษาที่ทันสมัยและยั่งยืน สรุปได้ว่า การบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ภายใต้แนวคิด ธรรมาภิบาลแบบใหม่ เน้น การกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และความยั่งยืน ของระบบการศึกษา ขณะที่การบริหารที่ดีต้องเผชิญกับความท้าทาย เช่น ข้อจำกัดด้านทรัพยากรและความต้านทานจากระบบเดิม การพัฒนานโยบายและการใช้เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกภาคส่วน นอกจากนี้ การใช้กลยุทธ์ธรรมาภิบาลแนวใหม่ในการบริหารการศึกษายังช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน ความพยายามเหล่านี้ทำให้มั่นใจได้ว่าศิลปะและมรดกของชุมชนจะเจริญรุ่งเรืองสำหรับคนรุ่นต่อไป</p> ณรัฐ วัฒนพานิช, บุศรา นิยมเวช, กฤษดา ตั้งชัยศักดิ์, สัญญา เคณาภูมิ Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6264 Sat, 26 Apr 2025 00:00:00 +0700 The Conditions and Guidelines for Student Club Administration in Nanning Normal University, People's Republic of China https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6458 <p>There are multiple challenges within the student club at Nanning Normal University, including deficiencies in financial record-keeping, low member participation, and inadequate risk management for activities. These issues significantly impede the sustainable development of the student club. Therefore, this study aims to investigate the conditions and guidelines for student club administration in Nanning Normal University. The study sample consists of 377 student members from 23 student clubs at Nanning Normal University. Data collection tools include questionnaires and semi-structured interviews, which cover the current status and guidelines of student club administration at the university. The questionnaire includes 41 questions, utilizing a 5-point Likert scale, with the item correlation values ranging from 0.442 to 0.771 and a reliability of 0.975. Additionally, the semi-structured interviews were designed based on two questions from the three aspects with the lowest average scores in the questionnaire. Data analysis was conducted using frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis methods. The research results found that: 1. The overall level of conditions and guidelines for student club administration at Nanning Normal University is relatively high. Financial management received the highest average score, followed by student club activity management. 2. Guidelines for student club administration in Nanning Normal University across three aspects. The development guidelines are as follows: 1) Financial Management, student clubs should establish a scientific financial planning system and strict financial management policies to ensure transparency and efficiency in fund usage. Data collection and regular financial disclosures should be conducted to enhance members' sense of involvement. 2) Human Resource Management, student clubs should improve member engagement satisfaction by implementing transparent selection processes, fair evaluation standards, and incentive mechanisms. Attention should also be given to members' mental health and academic balance. 3) Activity Management, student clubs should implement comprehensive risk assessments and contingency plans, establish feedback mechanisms, and optimize activity content to enhance activity quality and strengthen members' sense of belonging. The research findings will serve as guidelines for the effective management of student clubs.</p> Lei Yuan, Phatchanee Kultanan, Sripen Poldech Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6458 Sun, 27 Apr 2025 00:00:00 +0700 การส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ในการบริหารจัดการอุดมศึกษาในมิติการพัฒนาวัฒนธรรมท้องถิ่น https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6263 <p>การนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการจัดการการศึกษาระดับอุดมศึกษาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยทำให้การทำงานด้านการบริหารในมิติการพัฒนาวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยระบบอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร และปรับปรุงระบบสนับสนุนนักศึกษา นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูล ทำให้มั่นใจได้ว่าจะได้รับประสบการณ์การเรียนรู้แบบเฉพาะบุคคลและมีผลการเรียนที่ดีขึ้น ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการบริหารจัดการอุดมศึกษาในมิติการพัฒนาวัฒนธรรมท้องถิ่น การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการการศึกษาในมิติการพัฒนาวัฒนธรรมท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการศึกษากำลังเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนรู้โดยเน้นความเป็นส่วนตัวและความยืดหยุ่น ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้แบบปรับตัว ระบบกวดวิชาอัจฉริยะ และการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียน ซึ่งช่วยให้นักเรียนได้รับเนื้อหาที่เหมาะสมกับระดับความสามารถและความต้องการของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ปัญญาประดิษฐ์ ยังถูกนำมาใช้ในการบริหารการศึกษา เช่น ระบบให้คะแนนอัตโนมัติ การสนับสนุนนักศึกษาผ่านแชทบอท และการจัดสรรทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพ ลดภาระงานของผู้สอน และช่วยให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ความท้าทายของปัญญาประดิษฐ์ในการศึกษา ได้แก่ ปัญหาด้านจริยธรรม ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และอคติในอัลกอริทึม ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษา จำเป็นต้องมีการกำกับดูแลที่เข้มงวดและการออกแบบระบบปัญญาประดิษฐ์ที่โปร่งใสและเป็นธรรมเพื่อให้มั่นใจว่าประโยชน์ของเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นอย่างทั่วถึงและยั่งยืน นอกจากนี้ผ่านการแปลงเป็นดิจิทัล ระบบการเรียนรู้แบบรายบุคคล และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ปัญญาประดิษฐ์ในระดับอุดมศึกษามีบทบาทสำคัญในการรักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยการปรับปรุงการมีส่วนร่วมของชุมชนและการแก้ไขปัญหาทางจริยธรรมเพื่อให้แน่ใจว่ามีการบูรณาการเทคโนโลยีอย่างยั่งยืนและเท่าเทียมกัน สรุปได้ว่าปัญญาประดิษฐ์ในการศึกษาช่วยปรับปรุงการเรียนรู้แบบเฉพาะบุคคลและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารผ่านระบบอัตโนมัติ แต่ยังคงเผชิญความท้าทายด้านจริยธรรมและความเท่าเทียมในการเข้าถึงข้อมูล จึงต้องมีมาตรการกำกับดูแลที่เหมาะสม</p> บุศรา นิยมเวช, สัญญา เคณาภูมิ, กฤษดา ตั้งชัยศักดิ์, ณรัฐ วัฒนพานิช Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6263 Sun, 27 Apr 2025 00:00:00 +0700 การออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาสุขภาพชุมชน บ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6836 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาสุขภาพชุมชนบ้านศาลาดิน ประเมินความเหมาะสม และประเมินความพึงพอใจสื่อดิจิทัลสำหรับศูนย์การเรียนรู้ ด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน มีวิธีดำเนินการวิจัย ได้แก่ ศึกษาบริบทและอัตลักษณ์ของพื้นที่จากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสำรวจพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์โจทย์การออกแบบ กำหนดองค์ประกอบกราฟิกทางทัศนศิลป์และการออกแบบ สร้างแนวคิดการออกแบบ และออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับศูนย์การเรียนรู้ โดยผู้แทนชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เข้ามามีส่วนร่วมให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ และประเมินความเหมาะสม เพื่อการปรับปรุงผลงาน จากนั้นทำการประเมินความพึงพอใจ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่าง จำนวน 115 คน ด้วยการเลือกแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อแปลผลระดับความพึงพอใจ ผลการวิจัย พบว่า การออกแบบชุดสื่อดิจิทัล ได้ประยุกต์ใช้โทนสีหลักจากอัตลักษณ์ชุมชน คือ สีเขียวบัวหลวง และสีน้ำตาลข้าวตังและเรือมาด ผลงานออกแบบประกอบด้วย ตราสัญลักษณ์ การ์ตูนคาแรคเตอร์ดีไซน์ ระบบป้าย นิทรรศการ งานตกแต่ง และสื่อการเรียนรู้ โดยผลงานการออกแบบชุดสื่อดิจิทัล มีความเหมาะสมระดับมากที่สุดทุกด้าน (Mean = 4.77, S.D. = 0.42) และมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (Mean = 4.64, S.D. = 0.51) ซึ่งได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ ควรเพิ่มเนื้อหาของพืชสมุนไพรที่พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน และการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนและความเป็นจริงเสริมเข้ามาช่วยเสริมการจำลองการเดินชมสวนสมุนไพร หรือการแสดงวิธีการใช้สมุนไพรแบบ 3 มิติ และควรมีคู่มือการบำรุงรักษาศูนย์การเรียนรู้ เพื่อช่วยทำให้ให้ชุมชนสามารถดูแลรักษาและซ่อมแซมเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง</p> พรพิมล ศักดา, วรารัตน์ วัฒนชโนบล Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6836 Sun, 27 Apr 2025 00:00:00 +0700 Cultural Humility and Its Role in EFL Learners' Language Development and Intercultural Competence Skills https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6938 <p>The successful achievement of communication and significant interaction in various societies depends on cultural humility. This research investigated the essential role of cultural humility for students who learn English as their second language. The research highlighted its impact on language acquisition together with the development of intercultural competencies. The research involved third-year English program students at Buriram Rajabhat University who enrolled in the Intercultural Communication course through a mixed-methods approach that analyzed both survey data and semi-structured interview results. EFL students evaluated cultural humility as essential for acquiring their second language according to the study findings. The approach improved communication while increasing student confidence and leading to better adaptability when working with people from different cultural backgrounds. The qualitative data showed that combining practical exercises with theoretical instruction helped students develop their cultural understanding better. The research findings support the development of inclusive classroom environments which promote cultural humility and intercultural communication abilities. The research results demonstrate how teaching methods based on cultural awareness and responsiveness enhance the entire EFL learning quality.</p> Hatsadin Samanchit, Butsayamas Srinam, Ranchana Sakhonram, Supit Pongsiri, Chaleomkiet Yenphech Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6938 Sun, 27 Apr 2025 00:00:00 +0700 การฟื้นฟูและสืบสานประเพณีไหว้เจ้าพ่อศรีนครเตาจากพื้นที่วัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษา บ้านเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/7019 <p>การศึกษาวิจัยนี้ มุ่งเน้นการฟื้นฟูและสืบสานประเพณีไหว้เจ้าพ่อศรีนครเตา จากพื้นที่วัฒนธรรม สู่เศรษฐกิจฐานราก โดยพื้นที่วิจัยคือ บ้านเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ยาวนาน แต่ในปัจจุบันกำลังประสบปัญหาการเสื่อมถอยจากสภาพสังคมและเศรษฐกิจ งานวิจัยใข้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ อาทิ การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการจัดเวทีประชาคม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วัฒนธรรม ความเชื่อ และการมีส่วนร่วมของชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนเกิดการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของเยาวชนเพิ่มขึ้น ตลาดวัฒนธรรมสร้างรายได้แก่ทางชุมชน โดยมีกิจกรรมสำคัญ เช่น การจัดนิทรรศการ การถ่ายทอดตำนาน การฝึกอบรมยุวมัคคุเทศก์ และการสร้างเทศกาลใหม่ คือ เทศกาลบวงสรวงดาบแสนตอเจ้าพ่อศรีนครเตา ครั้งที่ 1 ทั้งหมดนี้ล้วนช่วยฟื้นฟูอัตลักษณ์ท้องถิ่นจากพื้นที่วัฒนธรรม สู่เศรษฐกิจฐานรากโดยแท้ ผลจากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการอนุรักษ์วัฒนธรรมสามารถดำเนินควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนานโยบายด้านวัฒนธรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก และยกระดับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่อย่างยั่งยืน</p> นัชชา อู่เงิน, ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์, เจษฎากรณ์ รันศรี Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/7019 Mon, 28 Apr 2025 00:00:00 +0700 คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ สาขาวิชาเอกนาฏศิลป์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/7017 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ สาขานาฏศิลป์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยใช้การวิจัยรูปแบบผสมผสาน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยด้วยวิธีแบบเจาะจงกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร 12 คน อาจารย์ 47 คน ครูผู้สอนนาฏศิลป์ 288 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 และ5 ที่กำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 288 คน ศิษย์เก่า 317 คน ผู้ใช้บัณฑิต 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์โดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการวิเคราะห์เนื้อหาจากการตอบคำถามแบบปลายเปิดและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และนำประเด็นคำตอบที่แยกเป็นหมวดหมู่มาสังเคราะห์สรุปเรียบเรียงประโยคขึ้นใหม่ ผลการวิจัยพบว่าความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในสภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.61) แต่หากจัดเรียงลำดับความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในสภาพที่พึงประสงค์ สามารถเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.76) 2. ด้านบุคลิกภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.73) 3. ด้านทักษะอารมณ์และสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.72) 4. ด้านพัฒนาตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.67) 5. ด้านรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.66) 6. ด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.60) และ 7. ด้านการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.53) ตามลำดับ ทั้งนี้ผู้ใช้บัณฑิต ครูผู้สอน ศิษย์เก่า ผู้บริหารและอาจารย์ ยังได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิต ดังนี้ ส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการ เพิ่มรายวิชาที่ครอบคลุมไปถึงรายวิชาดนตรี – ศิลปะ ส่งเสริมทักษะการออกแบบการบูรณาการนาฏศิลป์เข้ากับรายวิชาอื่น ๆ จัดหาผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้ด้านนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์สากล การคัดเลือกเยาวชนที่มีความสามารถทางด้านนาฏศิลป์และการให้การสนับสนุนทุนการศึกษา</p> นัยน์ปพร ชุติภาดา, สุรีรัตน์ จีนพงษ์ Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/7017 Mon, 28 Apr 2025 00:00:00 +0700 Modernizing Myth : A Comparative Analysis of Traditional Legends in the Ne Zha Animated Film Series https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6649 <p>In recent years, the adaptation of mythological themes in audiovisual media has expanded significantly. However, existing research often focuses on case studies or broad paradigms, lacking a systematic exploration of the interactions between technological aesthetics, ideology, and mythic narratives. This article examines the animated films “Ne Zha” and “Ne Zha 2,” using a three-dimensional analytical framework of “cultural deconstruction—technological empowerment—value reconstruction” to explore the modern translation strategies of the Ne Zha character and its socio-cultural implications. Through text comparison and key scene interpretation, the study compares the films' narrative themes, character identities, visual symbols, and ideological expressions. It reveals that Ne Zha's image has shifted from “individual resistance” to “collective action,” with the narrative focus expanding from individual struggles against social prejudice to collective resistance against systemic oppression. This evolution is achieved through cyberpunk aesthetics and fluid simulation technologies, reshaping traditional mythological symbols and positioning animated films as a medium for critical cultural reproduction. The paper also discusses the balancing strategies used by Chinese animated films between traditional symbols and contemporary expression, offering a new theoretical framework for modernizing mythological intellectual properties (IPs).</p> Huimin Qin, Suwich Tirakoat Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6649 Tue, 29 Apr 2025 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา : กลยุทธ์การจัดการการศึกษาเพื่อความยั่งยืนและความเท่าเทียมทางสังคม https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6262 <p>ผู้นำของสถาบันอุดมศึกษามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืนและความเท่าเทียมในสังคมซึ่งกลยุทธ์ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลซึ่งนำมาใช้รับมือกับความท้าทายของโลกในปัจจุบันที่มีต่อสถาบันอุดมศึกษา บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาวะผู้นำทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การจัดการการศึกษาเพื่อความยั่งยืนและความเท่าเทียมทางสังคม บทความนี้เป็นศึกษาเอกสารทางวิชาการด้วยการสำรวจและสังเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำในระดับอุดมศึกษา ผลการศึกษาพบว่า (1) สถาบันอุดมศึกษาประสบความท้าทายด้านโครงสร้าง วัฒนธรรม และข้อจำกัดทางการเงินในการส่งเสริมความยั่งยืนและความเท่าเทียมทางสังคม ซึ่งต้องอาศัยการปฏิรูปโครงสร้างและการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (2) ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพต้องพัฒนาและดำเนินนโยบายที่ส่งเสริมความยั่งยืน รวมถึงสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างผลกระทบที่ยั่งยืน และ (3) กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเคปทาวน์และมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนาแสดงให้เห็นแนวทางที่แตกต่างกันในการขับเคลื่อนความเสมอภาคทางสังคมและความยั่งยืนผ่านนโยบายและการดำเนินงานของสถาบัน สรุปได้ว่า สถาบันอุดมศึกษาต้องเผชิญกับอุปสรรคด้านโครงสร้าง วัฒนธรรม และการเงินในการส่งเสริมความยั่งยืนและความ เท่าเทียมทางสังคม ซึ่งจำเป็นต้องมีการปฏิรูปเชิงนโยบายและการบริหารทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ ขณะที่ภาวะผู้นำที่ดีสามารถขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าวผ่านการพัฒนานโยบาย สร้างขีดความสามารถของบุคลากร และเสริมสร้างความร่วมมือกับชุมชน ตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยเคปทาวน์และมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนาได้ดำเนินการ</p> กฤษดา ตั้งชัยศักดิ์, ณรัฐ วัฒนพานิช, บุศรา นิยมเวช, สัญญา เคณาภูมิ Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6262 Tue, 29 Apr 2025 00:00:00 +0700 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจข้อมูลพรรณไม้ให้สีสำหรับย้อมผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6982 <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจข้อมูลพรรณไม้ให้สีธรรมชาติในจังหวัดสุรินทร์ด้วยโนโค้ดแอปพลิเคขัน และหาประสิทธิภาพของระบบ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำหรับสำรวจความหนาแน่นและพิกัดของแหล่งพรรณไม้ให้สีธรรมชาติในชุมชนตามแนวคิด เอสดีแอลซี 7 ขั้นตอน แพลตฟอร์มที่ใช้ในการพัฒนา คือ แอพชีตและใช้ฐานข้อมูล คือ กูเกิลชีต กลุ่มตัวอย่าง มี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลพรรณไม้ ได้แก่ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ช่างทอผ้า และผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ จำนวน 3 ท่าน โดยทำการคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง 2) กลุ่มผู้ประเมินประสิทธิภาพของระบบ ได้แก่ ตัวแทนชุมชน นักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 5 ท่าน ซึ่งทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และ 3) กลุ่มผู้ใช้งาน 30 คน ได้แก่ นักศึกษาจำนวน 10 คน และกลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน ซึ่งคัดเลือกด้วยวิธีการ สุ่มอย่างง่าย นอกจากนี้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินประสิทธิภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ ซึ่งค่ามีความเชื่อมั่น 0.85 นอกจากนี้ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบนมาตรฐาน โดยผลการศึกษาพบว่า ชุมชนสามารถบันทึกข้อมูลพรรณไม้ให้สีธรรมชาติ สามารถระบุตำแหน่งที่ตั้ง ถ่ายภาพ ส่วนของพรรณไม้ให้สี สีที่ได้ วิธีการสกัดและย้อมผ้า และรายละเอียดผู้เก็บข้อมูล ในระบบสามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข ค้นหา และรายงานข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ จากการประเมินประสิทธิภาพของระบบจากผู้เชี่ยวชาญและค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ใช้งานในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากมีค่าเฉลี่ย 4.55 และ 4.75 ตามลำดับ สรุปได้ว่าระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการจัดการฐานข้อมูลพรรณไม้ให้สีธรรมชาติ ซึ่งจำเป็นมากสำหรับชุมชน ทอผ้าไหมสีธรรมชาติ เพราะปัจจุบันทรัพยากรดังกล่าวต่างก็ลดน้อยถอยลงไปเป็นจำนวนมาก. ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งในการแสดงฐานข้อมูลพิกัดพรรณไม้ให้สีธรรมชาติที่ยังคงอยู่ในชุมชน. แดชบอร์ดรายงานความหนาแน่นของพรรณไม้ให้สีธรรมชาติ เป็นสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจเพื่อให้ชุมชนสามารถนำไปวางแผนส่งเสริมการปลูกทดแทน และอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่กับชุมชนได้ต่อไป</p> วนมพร พาหะนิชย์, สุพัตรา วะยะลุน Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6982 Tue, 29 Apr 2025 00:00:00 +0700 คลินิกกฎหมายเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาคุณภาพวิถีชีวิตเกษตรกรกับแนวทางการพัฒนาการสอน กฎหมายไทย : กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย และตำบลศรีสุทโธ จังหวัดอุดรธานี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6885 <p>การศึกษากฎหมายเชิงคลินิก เป็นวิธีการสอนที่เน้นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะทางกฎหมายและปลูกฝังจิตสำนึกในการให้บริการทางสังคมแก่นักศึกษา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการศึกษากฎหมายเชิงคลินิกต่อการพัฒนาทักษะวิชาชีพและจิตสำนึกด้านความเป็นธรรมของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี รวมถึงวิเคราะห์ผลการดำเนินกิจกรรมคลินิกกฎหมายเคลื่อนที่เพื่อเกษตรกรในพื้นที่ตำบลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย และตำบลศรีสุทโธ จังหวัดอุดรธานี เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้การศึกษากฎหมายเชิงคลินิกในการสอนวิชากฎหมายในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์ และการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัยพบว่า การศึกษากฎหมายเชิงคลินิกช่วยพัฒนาทักษะทางกฎหมายของนักศึกษา เช่น ทักษะการวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมาย ทักษะการสื่อสาร และทักษะการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย รวมทั้งปลูกฝังจิตสำนึกในการให้บริการทางกฎหมายแก่ผู้ด้อยโอกาส นอกจากนี้ กิจกรรมคลินิกกฎหมายเคลื่อนที่เพื่อเกษตรกรยังช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่ชนบทเข้าถึงบริการทางกฎหมายได้มากขึ้น และได้รับคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่กำลังประสพ เช่น ปัญหาที่ดินทำกิน สัญญาซื้อขายที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ สัญญาจำนอง โดยได้เสนอแนวทางการพัฒนาการสอนกฎหมายไทยให้สถาบันการศึกษาควรนำวิธีการสอนกฎหมายเชิงคลินิกไปปรับใช้ในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต อันทำให้การศึกษากฎหมายบรรลุมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้จากการได้ฝึกฝนทักษะทางกฎหมายเข้ากับสถานการณ์จริง ฝึกคิดเชิงวิเคราะห์แก้ไขปัญหา การให้คำปรึกษากฎหมาย และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท งานวิจัยนี้ได้เสนอแนะให้มีการขยายโครงการคลินิกกฎหมายเคลื่อนที่ไปยังชุมชนอื่น ๆ เพื่อให้บริการทางกฎหมายแก่ผู้ด้อยโอกาสมากขึ้น</p> ณัฏฐานุช เมฆรา Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6885 Tue, 29 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมภายใต้โครงการยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/7070 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมภายใต้โครงการยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และเพื่อวิเคราะห์ทุนวัฒนธรรม ผลกระทบของโครงการต่อเศรษฐกิจและสังคม มีกลุ่มเป้าหมายคือ ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองที โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 1) การเตรียมการด้วยการสำรวจชุมชน คัดเลือกพื้นที่ สร้างเครือข่าย 2) การดำเนินงานด้วยการวิเคราะห์ปัญหา วางแผน และดำเนินโครงการ 3) การติดตามและประเมินผลด้วยการตรวจสอบสภาวะแวดล้อม วิเคราะห์ปัจจัยและผลลัพธ์ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นชุมชนที่มีทุนวัฒนธรรมดั่งเดิมจำนวนมากและมีความเข้มแข็งเป็นพื้นที่สำคัญกับประวัติศาสตร์การกำเนิดเมืองสุรินทร์ ชุมชนได้รับการพัฒนาจากผลการดำเนินงานของโครงการดังนี้ 1) พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผ้าไหม กระเป๋า อาหารพื้นเมือง 2) ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมทำให้เกิดการส่งเสริมเศรษฐกิจในท้องถิ่น ผ่านตลาดวัฒนธรรม ROI = 13.67% ลดการพึ่งพิงจากภายนอก และสร้างองค์ความรู้ใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่น สรุปได้ว่าโครงการดังกล่าวช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคม</p> พีรวัส อินทวี, วิโรจน์ ทองปลิว, อนุชา ถือสมบัติ, ณฤดี แปลงดี, พิพัฒน์ วิถี, วนมพร พาหะนิชย์, เกศสุดา อินทวี Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/7070 Tue, 29 Apr 2025 00:00:00 +0700 Composing the Chinese’s Ancient Poetry Songbook Found in Music Textbook for Student at Star Studio in Jinan City, Shandong Province, China https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6876 <p>This study used a mixed - method approach with the following objectives. (1) To study the Chinese’s ancient poetry, (2) to compose the Chinese’s Ancient Poetry Songbook, (3) to experiment with teaching by using the songbook, and (4) to evaluate student learning outcomes. Qualitative data were collected through interviews, music composition, and analysis of Chinese’s ancient poetry, while quantitative data were gathered through teaching experiments to assess the effectiveness of the songbook. The findings showed that Chinese’s ancient poetry is an important part of traditional culture, included in the national education policy. The researcher selected 12 poems from the fifth - grade textbook, using Western music theory to create songs and compile a songbook. The songbook has three chapters: an introduction to Chinese’s ancient poetry, basic singing techniques, and the 12 Chinese’s ancient poetry. A 16 - week teaching plan was implemented with 10 students from Star Studio School in Jinan, Shandong, using pre-test and post-tests to measure learning outcomes. Results showed an improvement in student knowledge, with post - test scores increasing from an average of 40.70 to 50.40, and singing performance evaluation scores improving from 40.10 to 50.10 over three tests. The study concluded that the Chinese’s ancient poetry songbook teaching method effectively enhanced students' learning of Chinese’s ancient poetry and generated interest in the subject.</p> Wang Chen, Nayos Sartjinpong, Pakorn Rodchangphuen Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6876 Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700 A Design Thinking Process of Developing Souvenir Products from Cultural Capital of the Tai Yuan Ethnic Group in Phitsanulok Province https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/7130 <p>This article aims to study the cultural capital of the Tai Yuan ethnic group in Phitsanulok Province, develop products from the cultural capital by using design thinking processes, and evaluate the developed prototype products. The population of this research and development was the ethnic group in Tambon Samokhae, Phitsanulok Province. There are research methods including Step 1 : study the cultural capital of the Tai Yuan ethnic group by collecting data in documents and in the field through in - depth interviews, focus group meetings, and using content analysis. Step 2 : Develop products from the cultural capital by using design thinking processes by designing products in the categories of clothing and decorative items. Step 3 : Evaluate the developed prototype products according to community product standard criteria and evaluate from the satisfaction of those interested in the prototype products using a satisfaction questionnaire. Analyze the data using descriptive statistics. The results revealed that the selected cultural capital of the Tai Yuan ethnic group consisted of the tradition of the ordination ceremony with wooden horses carried by people to the rhythm of musical instruments, and the culture of dressing in navy blue indigo-dyed shirts with red stripes, black red and green sarongs, sash, and red Sai-pla-lai loincloth. To use this knowledge to design and develop products such as clothing and accessories to be souvenirs. It was also found that the product design and development included images of Thai Yuan clothing patterns, wooden horse patterns, and Thai Yuan style dressing products. In addition, the evaluation of the prototype products showed that characteristics of the products met the community product standard criteria and received a high level of satisfaction.</p> Keeratiya Sornnoey, Jiraphat Kaewsritong Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/7130 Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700 Study and Analysis Heishan Petroglyphs by Digital Preservation in Jiayuguan City https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6771 <p>This article aims to study Heishan Petroglyphs. (1) Classification and characteristics, cultural significance, and historical value. (2) Digital protection methods. (3) Source development and use for teaching, research, and creativity. The research samples are six rock painting sites located in the Heishan area of Jiayuguan, Gansu Province, China, classified based on their content. We analyzed the data using descriptive statistics and content analysis, which involved literature analysis, field surveys, high-definition photo collection, and interviews with rock art researchers, managers, and other professionals. The results are as follows: 1. Petroglyphs are divided into six categories including human figures, animals, dance (rituals), hunting, religion, fonts, and plants. They depict the local people's daily life, spiritual beliefs, and ecological environment at different periods. The rock paintings hold significant cultural and historical value, reflecting ancient narratives, artistic expressions, and the relationship between humans and nature. However, they also face challenges such as natural erosion, human destruction, and insufficient protection. 2. Conducting field surveys and collecting photographs to establish a petroglyph photo library. 3. Designed and developed the Petroglyphs Digital Resource Library, integrating field-collected data and other digital materials related, facilitating access and utilization for researchers, educators, and cultural institutions, and aiding in the study, protection, and dissemination of Heishan Petroglyphs. This study emphasizes the importance of combining traditional methods with modern technology in cultural heritage preservation, providing an effective example for the digital preservation of similar artifacts.</p> Dayong Zhao, Sathit Thimwatbunthong, Chakapong Phaetlakfa Copyright (c) 2025 วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj/article/view/6771 Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700