https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/issue/feed วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) 2024-06-28T10:36:51+07:00 Asst. Prof.Dr. Sanit Sirivisitkul arj@northbkk.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านสังคมศาสตร์, ศึกษาศาสตร์ และสหวิทยาการ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ (Peer Review Process )</strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</span></em></p> <p> </p> <p><strong>Types of articles (ประเภทของบทความ) </strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">บทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (academic article) </span></em></p> <p><strong>Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)</strong></p> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ภาษาไทย</span></em></li> </ul> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ภาษาอังกฤษ</span></em></li> </ul> <p> </p> <p><strong>Publication Frequency (กำหนดออก)</strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี</span></em></p> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน</span></em></li> </ul> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม </span></em><em><span style="font-weight: 400;"> </span></em></li> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ </strong> การเก็บค่าธรรมเนียมวารสารการวิจัยประยุกต์มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ฟรีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ 6 ฉบับแรกคือ ตั้งแต่ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<em>กรกฎาคม - ธันวาคม 2565 ถึง </em> ปีที่ 4 ฉบับที่1 <em>มกราคม - มิถุนายน</em> 2568 และจะเริ่มทำการเก็บค่าธรรมเนียมในฉบับที่ 7 คือปีที่ 4 ฉบับที่ 2 <em>กรกฎาคม - ธันวาคม</em> 2568 ในอัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) </li> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">เจ้าของวารสาร </span></em></li> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">วารสารการวิจัยประยุกต์ </span></em>มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 6/999 ซ.พหลโยธิน 52 ถ.พหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กทม. 10220</li> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"> <p>โทร : +66 972 7200</p> <p>อีเมล : arj@northbkk.ac.th</p> </li> </ul> <p> </p> https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4464 ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟของนักศึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2024-05-13T08:46:51+07:00 คชกัญ ตั้งใหม่ดี Kachakan.tmd@gmail.com <p> การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ของร้านกาแฟ พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ของร้านกาแฟกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟของนักศึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์ (Online questionnaire) ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิอัลฟาของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.863 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 228 คน คิดเป็นร้อยละ 85.1 กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 64.9 มีอายุ 22 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.3 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระหว่าง 5,000 – 10,000 จำนวน 134 คน คิดเป็นร้อยละ 50.0 พักอาศัยที่บ้านตัวเอง จำนวน 136 คน คิดเป็นร้อยละ 50.7 พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟ พบว่า ดื่มกาแฟ 4 ครั้งต่อสัปดาห์ ไม่เกิน 2 แก้วต่อวัน ดื่มกาแฟก่อนเวลา 09.00 น. จนถึงเวลา 12.00 น. ดื่มกาแฟสด (fresh coffee) ชนิด Café Latte แบบเย็นบ่อยที่สุด ซื้อร้านค้าตราสินค้าโดยตรง ซื้อครั้งละน้อยกว่า 200 บาท บุคคลที่มีส่วนในการเลือกซื้อกาแฟ คือ ตัวท่านเอง สื่อที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องดื่มกาแฟ คือ บุคคลใกล้ชิดแนะนำ เหตุผลที่ซื้อเครื่องดื่มกาแฟ เพราะว่า มีรสชาติและความหอมของกาแฟ ตราสินค้าเครื่องดื่มกาแฟที่ดื่มบ่อยที่สุด ได้แก่ CAFÉ Amazon ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ของร้านกาแฟ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.25) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ของร้านกาแฟ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟของนักศึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต โดยภาพรวม และรายด้าน</p> <p> </p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/3778 การรับรู้ข้อมูลด้านศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษจากสื่อสังคมออนไลน์ของตำรวจท่องเที่ยว 2024-02-09T16:23:30+07:00 อชิตา ตาครู visionwpg@gmail.com <p> การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลด้านศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษจากสื่อสังคมออนไลน์ของตำรวจท่องเที่ยว 2) เพื่อศึกษาปัญหาการรับรู้ข้อมูลด้านภาษาอังกฤษจากสื่อสังคมออนไลน์ของตำรวจท่องเที่ยว 3) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของตำรวจท่องเที่ยว และ 4) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้และปัญหาการรับข้อมูลด้านภาษาอังกฤษจากสื่อสังคมออนไลน์และการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของตำรวจท่องเที่ยวจำแนกต่างเพศ อายุและระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ คือตำรวจท่องเที่ยว จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การทดสอบค่าเอฟ และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของฟิชเชอร์ โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>ผลการวิจัยสรุปได้ว่า</p> <p> ตำรวจท่องเที่ยวใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการรับรู้ข้อมูลการใช้ภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน คือ ด้านการแสดงความคิดเห็น/การโต้ตอบ การรับรู้ข้อมูล และการแชร์ การโพสต์ ตามลำดับ ตำรวจท่องเที่ยวมีปัญหาในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน คือ ด้านการแสดงความคิดเห็น/การโต้ตอบ มีการโพสต์ และการรับข้อมูล การแชร์ ตามลำดับ ตำรวจท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อการใช้ประโยชน์ของสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาศักยภาพภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้งการอ่านและการฟัง การพูดและการเขียน อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน</p> <p> ตำรวจท่องเที่ยวที่มีเพศต่างกัน มีการใช้และปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และการใช้ประโยชน์ของสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกัน ตำรวจท่องเที่ยวที่มีอายุแตกต่างกัน มีการใช้และปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน แต่ตำรวจท่องเที่ยวที่มีอายุแตกต่างกัน มีการใช้ประโยชน์ของสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแตกต่างกัน ตำรวจท่องเที่ยวที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีการใช้และปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ของสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4517 ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด 2024-04-11T13:51:12+07:00 ศุภฤกษ์ บุตรแพง akezar69@gmail.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน เปรียบเทียบความแตกต่างของแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานขายประกันทางโทรศัพท์ บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานขายประกันทางโทรศัพท์ จำนวน 232 คน ปฏิบัติงานที่ SCB สำนักงานใหญ่ และ G – Tower เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26 – 30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 / ปวช. รายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 20,001 – 40,000 บาท มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มากกว่า 6 เดือน ถึง 1 ปี ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.65) ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน อยู่ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.65) และปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.65) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.72) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานขายประกันทางโทรศัพท์ บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และปัจจัยจูงใจ (Sig. = 0.000) และปัจจัยค้ำจุน (Sig. = 0.000) ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานขายประกันทางโทรศัพท์ บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ข้อเสนอแนะ ควรควรพิจารณาปรับผลตอบแทนตามระดับของพนักงาน ควรจัดฝึกอบรมพัฒนาทักษะการสื่อสาร การขายทางโทรศัพท์ และควรเปิดรับฟังข้อเสนอแนะจากพนักงานในเรื่องการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4187 คุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152 2024-02-11T08:56:19+07:00 อัสมีน ยูโซะ asmeen2948@gmail.com <p> การวิจัยเรื่อง คุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152 มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152 ที่ปฏิบัติภารกิจการพัฒนา รักษาความมั่นคงภายใน และให้ความปลอดภัยแก่ประชาชน รวมทั้งเพื่อให้การแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 181 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test, F-test สำหรับทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัวแปรด้วยวิธี LSD</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 3.50, S.D. = 0.759) 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกัน เป็นการยอมรับสมมติฐานการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152 ปัจจัยสำคัญ คือ มุ่งเน้นการพัฒนาได้รับโอกาสในการฝึกอบรมและการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนทักษะและความรู้ ทั้งผลตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอเป็นสำคัญ ควรส่งเสริมให้กำลังพลสามารถมีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว และด้านการบูรณาการทางสังคม หรือการทำงานร่วมกัน ควรลดความขัดแย้งระหว่างกำลังพล ควรเสริมสร้างกิจกรรมหรือการละลายพฤติกรรม และควรทำให้ที่ทำงานมีบรรยากาศของความเป็นมิตร</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4519 การศึกษาการเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการท่องเที่ยววัดร่องขุ่นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 2024-05-13T08:45:35+07:00 นิคม กุมภีพงษ์ nikhomk@hotmail.com <p><strong>ทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาการเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการท่องเที่ยววัดร่องขุ่นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อวัดร่องขุ่น และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อกับการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการท่องเที่ยววัดร่องขุ่นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มาจากเอเชียอาคเนย์ มีอายุ 21 – 30 ปี การศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/อาชีพอิสระ รายได้เฉลี่ย ระหว่าง US$ 1,001 – 2,000 พฤติกรรมการท่องเที่ยววัดร่องขุ่นเป็นการมาครั้งแรก มีสมาชิกในครอบครัวร่วมเดินทาง 4 – 5 คน เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า 500 บาท/คน เปิดรับข้อมูลข่าวสารวัดร่องขุ่นจากสื่ออินเทอร์เน็ต (YouTube) มากที่สุด มีการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.04) ทัศนคติที่มีต่อการท่องเที่ยววัดร่องขุ่น อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.85) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การเปิดรับสื่อการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับการรับรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยววัดร่องขุ่น และการเปิดรับสื่อการท่องเที่ยวไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติและพฤติกรรมการท่องเที่ยววัดร่องขุ่นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ข้อเสนอแนะ วัดร่องขุ่นควรจัดทำคู่มือการท่องเที่ยววัดร่องขุ่น อาจเป็นได้ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อผสมมัลติมีเดีย เพื่อให้ความรู้กับนักท่องเที่ยวทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4304 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองของผู้บริโภคในเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 2024-03-20T10:00:25+07:00 กันตพัฒน์ ภัทรกุลธนเสฎฐ์ gunngunn11@gmail.com <p> การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองของผู้บริโภคในเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองของผู้บริโภคในเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคที่ซื้อรถยนต์มือสองจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test (One-way ANOVA)</p> <p> ผลจากการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภค พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 30 - 39 ปี อาชีพเป็นพนักงานเอกชน การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. สถานภาพโสด รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000 - 20,000 บาท 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสอง โดยรวมระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 6 ด้าน คือ อันดับแรก ด้านบุคลากรที่ให้บริการ รองลงมาด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก และเป็นอันดับสุดท้าย คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย 3) การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองของผู้บริโภค จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อ ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4311 พฤติกรรมและความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจพระเครื่อง ในตลาดพระเครื่อง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 2024-02-16T16:44:55+07:00 วรรธนะพล สิริชัญญาภักดิ์ wattanapal@hotmail.co.th <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าในตลาดพระเครื่อง 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจพระเครื่องในตลาดพระเครื่อง 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าในตลาดพระเครื่อง และ 4) ศึกษาเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจพระเครื่องในตลาดพระเครื่อง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบสอบถามของงานวิจัยในครั้งนี้ได้เท่ากับ 0.983 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.950 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test, One - way ANOVA และวิธีการในการเปรียบเทียบรายคู่ เมื่อพบความแตกต่างระหว่างสองกลุ่ม</p> <p> ผลจากการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการใช้บริการส่วนใหญ่มีความถี่ในการใช้บริการเดือนละ 7 - 8 ครั้ง มีความต้องการใช้บริการเช่าบูชาพระเครื่องและวัตถุมงคล สาเหตุในการเลือกใช้บริการเพราะมีรูปแบบการบริการเกี่ยวกับพระเครื่องอย่างครบถ้วน บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการ คือ ตนเอง ช่วงเวลาที่ใช้บริการ 12.01 – 14.00 น. ค่าใช้จ่ายต่อครั้งมากกว่า 6,000 บาท และแหล่งข้อมูลได้มาจากสื่อโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจพระเครื่องในตลาดพระเครื่อง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์เกี่ยวกับพระเครื่อง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าในตลาดพระเครื่อง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ สำหรับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจพระเครื่อง ในด้านเพศ อาชีพ รายได้ และประสบการณ์เกี่ยวกับพระเครื่องที่ต่างกัน มีระดับความพึงพอใจที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนลูกค้าที่มีอายุ และระดับการศึกษาที่ต่างกัน จะมีความพึงพอใจในการให้บริการที่ไม่แตกต่างกัน</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4312 ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลในตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 2024-02-19T08:50:33+07:00 ธนภรณ์ กล้าหาญ Tanaporn@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลในตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลในตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบสอบถามของงานวิจัยในครั้งนี้ได้เท่ากับ 0.97 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.944 ประชากร คือ บุคลากรโรงพยาบาลเอกชนในตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 100 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test, F – test (One – way ANOVA) โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31 - 40 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี มีอายุงาน 1 - 4 ปี และมีรายได้ต่อเดือน ระหว่าง 20,001 - 30,000 บาท ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลในตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.35, S.D. = 0.626) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสัมพันธ์กับหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน ด้านการปฏิบัติงาน ด้านสภาพการทำงาน อยู่ในระดับมาก และด้านความก้าวหน้าในการทำงาน ด้านแรงจูงใจการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลในตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงาน พบความแตกต่างในด้านความก้าวหน้าในการทำงาน เมื่อจำแนกรายคู่ พบความแตกต่าง 5 คู่ และด้านความสัมพันธ์กับหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน เมื่อจำแนกรายคู่ พบความแตกต่าง 4 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/3685 การพัฒนาสมรรถนะของทุนมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงราย 2024-05-07T16:50:40+07:00 อัญยาณีย์ เกตุพันธุ์ aunyanee.kate@crru.ac.th อรกัญญา กันธะชัย nkanthachai@gmail.com สุรินทร์ พิทักษ์สิกุล surin@crru.ac.th <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะของทุนมนุษย์ และระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงราย และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะของทุนมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงรายโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะของทุนมนุษย์ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านทางกาย 2) ปัจจัยทางจิตใจ และ 3) ปัจจัยทางปัญญา โดยค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของวิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วย 1) ด้านผลสำเร็จของงาน 2) ด้านการทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ และ 3) ด้านความรับผิดชอบต่องาน โดยค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะของทุนมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดเชียงราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ประกอบด้วย 1) ปัจจัยทางกายภาพ และ 2) ปัจจัยทางปัญญา</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4343 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของผู้บริโภคในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 2024-02-19T11:38:57+07:00 นฤมล มิ่งขวัญ Naruemon.thin@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้บริโภคกาแฟสดในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคกาแฟสดในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคกาแฟสดในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลจากการวิจัย พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21 - 25 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวน 30,000 บาทขึ้นไป 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคกาแฟสด พบว่า ในภาพรวมผู้บริโภคให้ความสำคัญ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับแรก คือ ด้านลักษณะทางกายภาพ สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเป็นอันดับสุดท้าย คือ ด้านราคา 3) พฤติกรรมของผู้บริโภคกาแฟสดในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พบว่า ช่วงเวลาที่เข้าใช้บริการส่วนใหญ่เวลา 08.01 น. ถึง 12.00 น. ความถี่ในการใช้บริการ 1 - 2 ครั้ง/สัปดาห์ ประเภทของกาแฟสดที่นิยมบริโภค คือ กาแฟเย็นหรือกาแฟปั่น ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ 51 - 100 บาท สถานที่ที่นิยมใช้บริการส่วนใหญ่ ร้านสตาร์บัคส์ เหตุผลในการใช้บริการ คือ ติดใจในรสชาติของกาแฟ ผู้มีส่วนร่วมในการใช้บริการ คือ เพื่อนและเพื่อนร่วมงาน ลักษณะการใช้บริการ คือ บริโภคที่ร้าน รู้จักร้านกาแฟสดจากเพื่อนบอกต่อ ๆ กันมา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้บริโภคกาแฟสดในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภค ด้านอายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้บริโภคกาแฟสดในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/3698 ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงาน บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด 2024-02-09T15:58:47+07:00 มัชฌิมา ไปรฮูยัน kitkan12345@gmail.com <p> การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของ บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงาน บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด และ 2)เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานขายประจำศูนย์กระจายสินค้า จำนวน 133 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t- test และ F-test</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30 - 45 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ปฏิบัติงานที่ศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้ รายได้ต่อเดือนระหว่าง 10,001 – 15,000 บาท มีอายุการทำงาน ระหว่าง 1 – 5 ปี เป็นพนักงานปฏิบัติการ สำหรับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงาน พบว่า อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.04, S.D.= 0.67) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม รองลงมา ได้แก่ ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน โอกาสในการพัฒนาสมรรถภาพของบุคคล ความมั่นคงและก้าวหน้าในหน้าที่ สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน การบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน และค่าตอบแทน ตามลำดับ และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงาน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน อายุการทำงาน และตำแหน่งงาน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และข้อเสนอแนะจากการศึกษา พบว่า ควรมีการพิจารณาปรับปรุงค่าตอบแทนพนักงานให้มีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ควรพิจารณาเพิ่มสวัสดิการช่วยเหลือในด้านอื่น ๆ ทั้งที่เป็นตัวเงิน และไม่ใช่ตัวเงิน เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานขายประจำศูนย์กระจายสินค้า (Sale Traditional Trade) และควรจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของพนักงานทั้งในระดับผู้บริหารและพนักงานปฏิบัติการ</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/5167 บทบรรณาธิการ 2024-06-28T08:58:36+07:00 sirisanit sanit.si@northbkk.ac.th 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/5168 วารสารฉบับเต็ม 2024-06-28T10:33:19+07:00 sirisanit sanit.si@northbkk.ac.th 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online)