วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj <p>วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านสังคมศาสตร์, ศึกษาศาสตร์ และสหวิทยาการ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ (Peer Review Process )</strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</span></em></p> <p> </p> <p><strong>Types of articles (ประเภทของบทความ) </strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">บทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (academic article) </span></em></p> <p><strong>Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)</strong></p> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ภาษาไทย</span></em></li> </ul> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ภาษาอังกฤษ</span></em></li> </ul> <p> </p> <p><strong>Publication Frequency (กำหนดออก)</strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี</span></em></p> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน</span></em></li> </ul> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม </span></em><em><span style="font-weight: 400;"> </span></em></li> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ </strong> การเก็บค่าธรรมเนียมวารสารการวิจัยประยุกต์มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ฟรีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ 6 ฉบับแรกคือ ตั้งแต่ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<em>กรกฎาคม - ธันวาคม 2565 ถึง </em> ปีที่ 4 ฉบับที่1 <em>มกราคม - มิถุนายน</em> 2568 และจะเริ่มทำการเก็บค่าธรรมเนียมในฉบับที่ 7 คือปีที่ 4 ฉบับที่ 2 <em>กรกฎาคม - ธันวาคม</em> 2568 ในอัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) </li> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">เจ้าของวารสาร </span></em></li> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">วารสารการวิจัยประยุกต์ </span></em>มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 6/999 ซ.พหลโยธิน 52 ถ.พหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กทม. 10220</li> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"> <p>โทร : +66 972 7200</p> <p>อีเมล : arj@northbkk.ac.th</p> </li> </ul> <p> </p> North Bangkok University th-TH วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) 2985-1122 <p><em><span style="font-weight: 400;">Journal of TCI is licensed under a Creative Commons </span></em><a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/"><em><span style="font-weight: 400;">Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)</span></em></a><em><span style="font-weight: 400;"> licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...</span></em></p> การพัฒนาแบบวัดการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/7543 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การคิดเชิงคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) พัฒนาแบบวัดการคิดเชิงคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และ 3) ศึกษาการคิดเชิงคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการคิดเชิงคำนวณ มีลักษณะเป็นแบบสถานการณ์ ให้นักเรียนแสดงความคิดโดยการเขียนตอบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำเปรียบเทียบกับเกณฑ์การแปลผลความหมาย ส่วนสถิติเชิงอนุมานการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test และ F-test (One-way ANOVA) กรณีที่พบความแตกต่างจะทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการวัดการคิดเชิงคำนวณที่เหมาะสมกับบริบทไทย 4 องค์ประกอบ คือ แนวคิดเชิงนามธรรม การแบ่งปัญหา การพิจารณารูปแบบ และการออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหา หรืออัลกอริทึม 2) แบบวัดการคิดเชิงคำนวณ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.30 – 0.76 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.848 และ 3) ระดับการคิดเชิงคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีระดับการคิดเชิงคำนวณอยู่ในระดับดี และผลการเปรียบเทียบการคิดเชิงคำนวณ ตามตัวแปรคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า เพศที่ต่างกัน โดยรวม มีระดับการคิดเชิงคำนวณ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และนักเรียนระดับชั้นต่างกัน โดยรวม มีระดับการคิดเชิงคำนวณ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> จุลศักดิ์ สุขสบาย Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 4 1 007543 วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว สำนักงานยุติธรรมจังหวัด กระทรวงยุติธรรม https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/7958 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์และวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราว สำนักงานยุติธรรมจังหวัด กระทรวงยุติธรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราวในสำนักงานยุติธรรมจังหวัด 1 – 18 รวม 121 คน โดยใช้การสำรวจประชากรทั้งหมด เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน รวมถึงการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ประเภทพนักงาน มีผลต่อความสุขในการทำงาน โดยรวม รวมถึงด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานและการบริหาร ระยะเวลาในการทำงานส่งผลต่อความสัมพันธ์ในที่ทำงาน ขณะที่เพศ อายุ และระดับการศึกษา ไม่มีผลต่อความสุขในการทำงาน สำหรับวัฒนธรรมองค์กร พบว่า วัฒนธรรมแบบปรับตัวมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมในการทำงาน วัฒนธรรมแบบการมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์กับความสัมพันธ์ในที่ทำงาน และวัฒนธรรมแบบเน้นโครงสร้างและกฎระเบียบมีความสัมพันธ์กับภาพรวมและในด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และค่าตอบแทนและสวัสดิการ ทั้งนี้ วัฒนธรรมองค์กรโดยรวม และวัฒนธรรมแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ไม่มีผลต่อความสุขในการทำงาน ข้อเสนอแนะ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดควรส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนความร่วมมือและความยืดหยุ่นในการทำงาน พร้อมทั้งพัฒนาโครงสร้างบริหารและสภาพแวดล้อมการทำงานให้เอื้อต่อความสุขของบุคลากร</p> จุฑารัตน์ จรูญชัย Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 4 1 007958 การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง: แรงกดดันหรือพลังอันยิ่งใหญ่ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/6269 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาว่าการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่ส่งผลต่อบุตรหลานในสามประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ผลกระทบต่อบุตรหลาน ทั้งในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และทักษะทางสังคม 2) คุณภาพความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและโรงเรียน และ 3) ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ปกครองเอง การศึกษาครั้งนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรม และสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในประเด็นต่างๆ โดยมุ่งเน้นศึกษาว่าการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองแบบใดที่จะส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของบุตรหลาน และทักษะทางสังคมและอารมณ์ที่จำเป็นต่อการประสบความสำเร็จของชีวิตในอนาคตของบุตรหลานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง และจากการศึกษาครั้งนี้พบว่าการมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพและเหมาะสมนั้น ควรคำนึงถึงการมีส่วนร่วมในระดับที่พอดี เน้นที่คุณภาพมากกว่าปริมาณ โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาความสามารถในการจัดการเรื่องต่างๆ ด้วยตนเองที่เหมาะสมกับช่วงวัย ตลอดจนการส่งเสริมให้มีสื่อสารที่ดีอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องระหว่างผู้ปกครองกับทางโรงเรียน แต่อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วมนี้ต้องไม่เป็นภาระต่อผู้ปกครองเอง ดังนั้นการเลือกรูปแบบของการมีส่วนร่วมควรสอดคล้องกับบริบทของแต่ละครอบครัวและความต้องการเฉพาะของบุตรหลานแต่ละคน การทำความเข้าใจปัจจัยเหล่านี้ จะช่วยให้สามารถพัฒนากลยุทธ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กได้อย่างยั่งยืน บทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง ครู และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในการร่วมสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กประสบความสำเร็จได้อย่างเต็มศักยภาพ</p> ปรียสรณ์ อาศรัยราษฎร์ ชนิดา มิตรานันท์ Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 4 1 006269 พฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานแผนกจัดเก็บขยะ บริษัท เมืองสะอาด จำกัด https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/7959 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุและ 2) ประสบการณ์การสัมผัสสิ่งคุกคามทางสุขภาพกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานแผนกจัดเก็บขยะ บริษัท เมืองสะอาด จำกัด โดยใช้ประชากรทั้งหมด คือ พนักงานแผนกจัดเก็บขยะ 120 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย t-test, การวิเคราะห์ความแปรปรวน และ Pearson’s correlation</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน (<em>p</em> = .066) อย่างไรก็ตาม ระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุมีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยก่อนปฏิบัติงาน (<em>p</em> = .001) และ 2) ประสบการณ์การสัมผัสสิ่งคุกคามทางสุขภาพโดยรวมไม่พบความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัย (<em>p</em> = .216) ยกเว้นช่วงก่อนปฏิบัติงานที่พบความสัมพันธ์ (<em>p</em> = .013) เมื่อจำแนกตามประเภทสิ่งคุกคาม พบว่าสิ่งคุกคามด้านเคมีมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยโดยรวมและขณะปฏิบัติงาน (<em>p </em>= .013; <em>p</em> = .048) ส่วนสิ่งคุกคามด้านชีวภาพและการยศาสตร์มีผลต่อพฤติกรรมก่อนปฏิบัติงานเท่านั้น ขณะที่สิ่งคุกคามด้านกายภาพและจิตวิทยาสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในทุกช่วงเวลา ข้อเสนอแนะ คือ บริษัทควรเน้นมาตรการป้องกันอุบัติเหตุที่เน้นความรุนแรงและประเภทสิ่งคุกคามเฉพาะด้าน พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์และอบรมความรู้ด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงาน</p> ภูวนาถ อรรถมานะ Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 4 1 007959 ความต้องการฝึกอบรมของพนักงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท เอไอเอ จำกัด https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/8171 <p>การศึกษาวิจัยเรื่องความต้องการฝึกอบรมของพนักงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท เอไอเอ จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความต้องการฝึกอบรมของพนักงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท เอไอเอ จำกัด ประชากรในครั้งนี้คือประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานที่เป็นฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท เอไอเอ จำกัด จำนวน 55 คน เป็นชาย 30 คน หญิง 25 คน</p> <p>ผลการวิจัยโดยภาพรวมพบว่าค่าเฉลี่ยความต้องการฝึกอบรมของพนักงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท เอไอเอ จำกัด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งทุกด้านมีค่าเฉลี่ยความต้องการฝึกอบรมอยู่ระดับมากทุกด้าน แต่เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ากลุ่มตัวอย่างต้องการฝึกอบรมด้านการอบรมในขณะปฏิบัติงานมากกว่าด้านอื่นโดยเฉพาะเรื่องต้องการมีพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแนะนำ และแก้ไขปัญหาในเรียนรู้งานใหม่ สำหรับการทดสอบสมมติฐานพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีเพศที่ต่างกันมีความต้องการฝึกอบรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุที่ต่างกันมีความต้องการฝึกอบรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เฉพาะด้านการอบรมก่อนปฏิบัติงาน และด้านการอบรมภายในบริษัท ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพสมรสที่ต่างกันมีความต้องการฝึกอบรมไม่แตกต่างกัน ในทุก ๆ ด้าน สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่มีวุฒิการศึกษาสูงสุดที่ต่างกันมีความต้องการฝึกอบรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เฉพาะด้านการอบรมก่อนปฏิบัติงาน สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกันมีความต้องการฝึกอบรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เฉพาะด้านการอบรมก่อนปฏิบัติงาน และด้านการอบรมในขณะปฏิบัติงาน และสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์ทำงานที่ต่างกันมีความต้องการฝึกอบรมไม่แตกต่างกัน คือด้านการอบรมก่อนปฏิบัติงาน ด้านการอบรมภายในบริษัท ด้านอบรมนอกสถานที่ ด้านการอบรมในขณะปฏิบัติงาน</p> <p>ข้อเสนอแนะการศึกษาครั้งนี้ด้านการอบรมก่อนปฏิบัติงาน ผู้บริหารของฝ่ายทรัพยากรบุคคลบริษัท เอไอเอ จำกัด ต้องกำหนดให้มีการแนะนำกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ สวัสดิการ และแนวทางการปฏิบัติงานภายในบริษัท ให้พนักงานทราบ จัดหลักสูตรการอบรมการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมต่างๆให้กับพนักงาน ควรสนองความต้องการของพนักงานให้มีส่วนร่วมในการเลือกหลักสูตร</p> บัณฑิต คุรุเสเถียรกิจ Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 4 1 008171 ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารหมอลำตำแซ่บ เขตสายไหม กรุงเทพ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/8172 <p>งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและองค์ประกอบของส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการที่ร้านอาหาร “หมอลำตำแซ่บ” เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร การศึกษานี้วิเคราะห์โดยเฉพาะถึงอิทธิพลของปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ราคา สถานที่ และการส่งเสริมการตลาด ร่วมกับตัวแปรด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ และอาชีพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยลูกค้า 150 คน ที่ถูกคัดเลือกโดยการสุ่มแบบเจาะจง ข้อมูลถูกรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และ ANOVA</p> <p> ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ทั้งสี่มิติของส่วนประสมทางการตลาด ผลิตภัณฑ์ ราคา สถานที่ และการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญ ในบรรดานี้ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และสถานที่ถูกมองว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด นอกจากนี้ ยังพบความแตกต่างในพฤติกรรมการตัดสินใจระหว่างกลุ่มประชากรต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้านอายุ รายได้ และระดับการศึกษางานศึกษานี้เน้นว่า ในอุตสาหกรรมร้านอาหารที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน ผู้ประกอบการไม่สามารถพึ่งพาคุณภาพของอาหารเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่จำเป็นต้องบริหารจัดการส่วนประสมทางการตลาดอย่างมียุทธศาสตร์เพื่อสร้างความพึงพอใจ สร้างความภักดีของลูกค้า และส่งเสริมการใช้บริการซ้ำ ผลการศึกษานี้ให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีคุณค่าซึ่งสามารถเป็นแนวทางในการออกแบบกลยุทธ์การตลาดที่ตรงกับประชากรเป้าหมาย และยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า รวมถึงความยั่งยืนในระยะยาว</p> นพัฒน์ พิศุทธิวงษ์ชัย Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 4 1 008172 ช่องว่างของความคาดหวังจากผู้ประกอบการที่มีต่อคุณลักษณะบัณฑิตในจังหวัดเชียงราย https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/7140 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะของบัณฑิตตามความคาดหวังของสถานประกอบการในจังหวัดเชียงราย และ 2. เพื่อวิเคราะห์ช่องว่างคุณลักษณะบัณฑิตตามความคาดหวังของผู้ประกอบการกับที่ในจังหวัดเชียงรายผลิตได้คุณลักษณะบัณฑิตตามความคาดหวังของผู้ประกอบการที่มีต่อบัณฑิตคณะวิทยาการจัดการ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ประกอบการจากสถานประกอบการต่าง ๆ ที่รับบัณฑิตเข้าทำงาน จำนวน 252 คน ด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความคาดหวังต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือด้วย Cronbach’s Alpha ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.95 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะบัณฑิตกับความคาดหวังของผู้ประกอบการในแต่ละด้าน และใช้ t-test แบบคู่ (Paired Samples t-test) ซึ่งใช้วัดความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของแต่ละด้าน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะของบัณฑิตตามความคาดหวังของสถานประกอบการในจังหวัดเชียงราย อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความคาดหวังลำดับแรก คือด้านทักษะการสื่อสาร ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงถึง 4.51 รองลงมาคือด้านองค์ความรู้ ที่มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ 4.49 และด้านมีปฏิภาณไหวพริบ 4.48 ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม มีบุคลิกภาพและพฤติกรรมที่เหมาะสม 4.39 ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน 2) การวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างคุณลักษณะบัณฑิตตามความคาดหวังของสถานประกอบการกับที่ในจังหวัดเชียงรายผลิต พบว่า ช่องว่างระหว่างคุณลักษณะบัณฑิตตามความคาดหวังของสถานประกอบการกับที่ในจังหวัดเชียงรายผลิตได้ยังสามารถที่จะพัฒนาหลักสูตรหรือการเรียนสอนต่อไปได้ตามความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่งมีเพียงด้านเดียวที่ยังไม่ต้องเติมเต็มช่องว่าง คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ส่วนด้านที่ต้องพัฒนาและเติมเต็มช่องว่าง ตามลำดับ คือ ด้านทักษะการสื่อสาร ด้านทักษะเฉพาะทางวิชาชีพ ด้านองค์ความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยี และด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แม้จะอยู่ในระดับคาดหวังมาก แต่มีค่าเฉลี่ยและความสม่ำเสมอของความเห็นที่น้อยกว่าด้านอื่น จึงควรได้รับการส่งเสริมเพิ่มเติมผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตรและการฝึกปฏิบัติอย่างเป็นระบบ เพื่อยกระดับบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานต่อไป</p> Aunyanee Katepan อรกัญญา กันธะชัย จิรพัฒน์ อุปถัมภ์ พิทยาภรณ์ พุ่มพวง Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 4 1 007140 สิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/7541 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานี 2)เปรียบเทียบสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 3) เปรียบเทียบสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีจำแนกตามคุณลักษณะองค์การ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบริษัท/โรงงานในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 385 คน คำนวณโดยสูตรของวิธีการคำนวณแบบไม่ทราบกลุ่มประชากรของ W.G. Cochran ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.63 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test, F-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นต่อสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 3.45, S.D.= 0.27) และเมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า มากที่สุด คือ ด้านที่อยู่อาศัย รองลงมาคือ ด้านการศึกษาและพัฒนา และระดับที่น้อยที่สุด คือ ด้านกิจกรรม 2) การเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า พนักงานโรงงานที่มีสถานภาพสมรสต่างกันมีความคิดเห็นต่อสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีในด้านที่อยู่อาศัย และด้านกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, พนักงานโรงงานที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีแตกต่างกันในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเพื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พนักงานโรงงานที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีในด้านสุขภาพ ด้านที่อยู่อาศัยและด้านการศึกษาและพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01, พนักงานโรงงานที่มีรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นต่อสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีในด้านที่อยู่อาศัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในด้านเงินรางวัลพิเศษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) การเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีจำแนกตามคุณลักษณะองค์การ พบว่า พนักงานโรงงานที่มีปัจจัยคุณลักษณะองค์การ คือ ขนาดองค์กรต่างกันมีความคิดเห็นต่อสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีแตกต่างกันในด้านเงินรางวัลพิเศษ และด้านกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> วัลภา คงพัวะ วิยะดา วรานนท์วนิช Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 4 1 007541 ทางเลือกการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ : โอกาสทองที่เท่าเทียม https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/6285 <p>บทความนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษให้เรียนรวมกับนักเรียนปกติ เพื่อพัฒนานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล เป็นการจัดการศึกษาที่ให้นักเรียนทุกคนได้รับสิทธิและได้รับโอกาสในการศึกษาอย่างเสมอภาค มีการบริหารจัดการที่เหมาะสมในโรงเรียนและ<br />ในห้องเรียนเพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับประโยชน์โดยยึดหลักปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) การศึกษาครั้งนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมและสังเคราะห์องค์ความรู้จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยนำเสนอเกี่ยวกับความหมายของการศึกษาแบบ<br />เรียนรวม/การเรียนรวม วิวัฒนาการของการศึกษาแบบเรียนรวม แนวโน้มในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม โรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม และรูปแบบการศึกษาแบบเรียนรวมในโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมคือโอกาสทองที่เท่าเทียมของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษกับนักเรียนปกติ เป็นโอกาสทองของการมีตัวตนในพื้นที่การเรียนรู้ที่แท้จริง โอกาสทองของการฝึกทักษะชีวิตผ่านบริบทจริง ทักษะทางสังคม การปรับตัว การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการแก้ปัญหา โอกาสทองของการเห็นและยอมรับความแตกต่างว่าเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ และโอกาสทองของการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้ตอบสนองความหลากหลาย</p> วรัณฐ์กัญญ์ สุวะรักษ์ ชนิดา มิตรานันท์ Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 4 1 006285 การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ในเด็กที่มีความต้องการพิเศษ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/6296 <p>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับพิการ พ.ศ. 2551 หมายถึง บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป การจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นกระบวนการที่ต้องคำนึงถึงความแตกต่างเฉพาะบุคคลและความหลากหลายของความต้องการในการเรียนรู้ โดยมีการปรับเปลี่ยนและใช้วิธีการที่เหมาะสมตามลักษณะของเด็กแต่ละคน การเลือกปรับประยุกต์ใช้สื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อใช้ในการสนับสนุนการจัดการศึกษาในการพัฒนา ซึ่งอาจรวมถึงการบกพร่องทางการเรียนรู้ พัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์ หรือร่างกาย การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษต้องใช้ความยืดหยุ่นและความเข้าใจที่ลึกซึ้งจากครูและผู้เกี่ยวข้องในการสนับสนุนเด็กให้สามารถเข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้เท่าเทียมกับเด็กทั่วไปและสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียน และผู้สอนได้เป็นอย่างดี</p> <p>การใช้สื่อดิจิทัลในการจัดศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะและความต้องการที่แตกต่างจากเด็กทั่วไป มุ่งเน้นจัดการศึกษาโดยการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ คำนึงถึงความต้องการทางด้านการศึกษาและพัฒนาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา อารมณ์ หรือร่างกาย โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีที่สามารถปรับแต่งได้ตามความสามารถและจุดเด่นของแต่ละบุคคล เช่น แอปพลิเคชั่นการเรียนรู้แบบโต้ตอบ สื่อวิดีโอ และเกมการศึกษา และการประยุกต์ใช้สื่อดิจิทัลให้เหมาะสมนั้นควรได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองและครูผู้สอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการพัฒนาเด็กกลุ่มนี้</p> อารีรัตน์ งามประยูร ชนิดา มิตรานันท์ Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 4 1 006296