วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online)
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj
<p>วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านสังคมศาสตร์, ศึกษาศาสตร์ และสหวิทยาการ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ (Peer Review Process )</strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</span></em></p> <p> </p> <p><strong>Types of articles (ประเภทของบทความ) </strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">บทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (academic article) </span></em></p> <p><strong>Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)</strong></p> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ภาษาไทย</span></em></li> </ul> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ภาษาอังกฤษ</span></em></li> </ul> <p> </p> <p><strong>Publication Frequency (กำหนดออก)</strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี</span></em></p> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน</span></em></li> </ul> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม </span></em><em><span style="font-weight: 400;"> </span></em></li> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ </strong> การเก็บค่าธรรมเนียมวารสารการวิจัยประยุกต์มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ฟรีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ 6 ฉบับแรกคือ ตั้งแต่ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<em>กรกฎาคม - ธันวาคม 2565 ถึง </em> ปีที่ 4 ฉบับที่1 <em>มกราคม - มิถุนายน</em> 2568 และจะเริ่มทำการเก็บค่าธรรมเนียมในฉบับที่ 7 คือปีที่ 4 ฉบับที่ 2 <em>กรกฎาคม - ธันวาคม</em> 2568 ในอัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) </li> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">เจ้าของวารสาร </span></em></li> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">วารสารการวิจัยประยุกต์ </span></em>มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 6/999 ซ.พหลโยธิน 52 ถ.พหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กทม. 10220</li> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"> <p>โทร : +66 972 7200</p> <p>อีเมล : arj@northbkk.ac.th</p> </li> </ul> <p> </p>
th-TH
<p><em><span style="font-weight: 400;">Journal of TCI is licensed under a Creative Commons </span></em><a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/"><em><span style="font-weight: 400;">Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)</span></em></a><em><span style="font-weight: 400;"> licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...</span></em></p>
arj@northbkk.ac.th (Asst. Prof.Dr. Sanit Sirivisitkul)
arj@northbkk.ac.th (อาจารย์ยุวดี ชูจิตต์)
Fri, 27 Dec 2024 10:22:42 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
ทุนทางสังคมในการจัดการความรู้เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นของ ข่วงวัฒนธรรมไท-ญวน คนเมืองล้านนา ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4803
<p> การศึกษาเรื่องทุนทางสังคมในการจัดการความรู้เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นของข่วงวัฒนธรรมไท-ญวน คนเมืองล้านนา ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน เลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญตามสะดวก กำหนดขนาดผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบความอิ่มตัวของข้อมูล เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและทุนทางสังคมในการจัดการความรู้เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นของข่วงวัฒนธรรมไท-ญวน คนเมืองล้านนา ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพทั่วไปของข่วงวัฒนธรรมไท-ญวณ คนเมืองล้านนา พบว่า เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา มีการจัดการ ดังนี้ (1) การจัดการพื้นที่ มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ และลานข่วงวัฒนธรรมสำหรับสอนศิลปะการแสดง (2) การบริหารจัดการ มีโครงสร้างที่เป็นทางการ และ (3) งบประมาณ มาจากการออกงานแสดงตามสถานที่ต่าง ๆ และ 2) ทุนทางสังคมในการจัดการความรู้เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่น พบว่า (1) ทุนมนุษย์ อันได้แก่ ผู้นำและแกนนำ (2) ระบบความสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่บนฐานของจิตสำนึกร่วม หวงแหน และ (3) องค์กรชุมชนและองค์กรภาครัฐ ทุนทางสังคมดังกล่าวร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่น ผ่านกระบวนการจัดการความรู้ 4 กระบวนการ อันได้แก่ (1) การสร้างความรู มีการทบทวนองค์ความรู้ โดยผู้นำและแกนนำ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรูกับองค์กรภายนอก สร้างองคความรูใหม่ที่ต่อยอดจากองค์ความรู้เดิม (2) การจัดเก็บความรู โดยเก็บความรูไวในตัวบุคคล ระบบฐานขอมูลคอมพิวเตอร ลายลักษณ์อักษรและจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ (3) การแบ่งปนความรู้ มีการสร้างจิตสํานึก ความหวงแหน ในความเป็นอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมพื้นถิ่น ให้เกิดขึ้นแก่แกนนำเยาวชน และนำไปสู่การแบ่งปันแก่สาธารณะ ด้วยการไปแสดงและสอนตามสถานที่ต่างๆ และเปิดสอนให้แก่ผู้สนใจทั่วไป และ (4) การประยุกตใชความรู มีการนําความรูและประสบการณของผู้นำร่วมกับแกนนำเยาวชน และองค์กรชุมชน เพื่อต่อยอด ดัดแปลงองค์ความรู้ เช่น การฟ้อนต่างๆ มาประกอบท่าเต้นในการออกกำลังกาย เป็นต้น</p>
พงษ์ศักดิ์ เพชรสถิตย์
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4803
Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน FACEBOOK ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4928
<p> การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Facebook ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ สถานภาพ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Facebook ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Facebook จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์ ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิอัลฟาของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ 0.958 และการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ 0.894 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test, F-test สำหรับทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัวแปรด้วยวิธี LSD และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า 1) การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Facebook ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ พบว่า อาชีพ รายได้ต่อเดือน แตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Facebook แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านเพศ อายุ สถานภาพ และระดับการศึกษา ไม่พบความแตกต่าง และ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน กับการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Facebook ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และพบความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านราคา ด้านการให้บริการส่วนบุคคล ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
เอกลักษณ์ จันทร์ไพบูลย์กิจ
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4928
Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัท เอส.อาร์.ดีโป จำกัด
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4929
<p> การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัท เอส.อาร์.ดีโป จำกัด ตามความคาดหวังก่อนเข้ารับบริการ กับการรับรู้จริงหลังการรับบริการ และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัท เอส.อาร์.ดีโป จำกัด ตามความคาดหวังก่อนเข้ารับบริการ กับการรับรู้จริงหลังการรับบริการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานขับรถบรรทุกที่เข้ารับบริการ จำนวน 333 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์ ใช้วิธีการแจกแบบสอบถามตามความสะดวก ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิอัลฟาของความคาดหวังก่อนเข้ารับบริการ มีค่าเท่ากับ 0.791 การรับรู้จริงหลังการรับบริการ มีค่าเท่ากับ 0.839 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวัดคุณภาพบริการ SERVQUAL และการทดสอบค่าเฉลี่ยของการวัดซ้ำของกลุ่มตัวอย่างเดิม (Paired – sample t-test)</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า 1) ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัท เอส.อาร์.ดีโป จำกัด อยู่ในระดับพึงพอใจมาก (0.18) โดยทุกด้านมีค่าเฉลี่ยการรับรู้จริงหลังการรับบริการ สูงกว่าความคาดหวังก่อนเข้ารับบริการ ได้แก่ ด้านความดูแลเอาใจใส่ (0.26) รองลงมา ได้แก่ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ (0.25) ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ (0.18) ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ (0.13) และด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ (0.10) ตามลำดับ และ 2) ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัท เอส.อาร์.ดีโป จำกัด ตามความคาดหวังก่อนเข้ารับบริการ กับการรับรู้จริงหลังการรับบริการ แตกต่างกัน ทั้งในภาพรวม และด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ ด้านความดูแลเอาใจใส่ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p>
ณัชกานย์ กาญจนสมศักดิ์
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4929
Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อทุเรียนของผู้บริโภค อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4930
<p> การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกซื้อทุเรียนของผู้บริโภค อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อทุเรียนของผู้บริโภค อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกกลุ่มเฟซบุ๊กสาธารณะ ชื่อกลุ่ม ข่าวสารของคนบ้านแพ้ว สมุทรสาคร จำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์ (Online questionnaire) ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิอัลฟาของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด เท่ากับ 0.952 พฤติกรรมการเลือกซื้อทุเรียน เท่ากับ 0.798 และแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.962 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่าง Chi-square และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า 1) ลักษณะส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ อาชีพ และจำนวนสมาชิก แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกซื้อทุเรียน แตกต่างกัน ในทุกด้าน ประกอบด้วย ในด้านเหตุลที่เลือกซื้อทุเรียน สายพันธุ์ที่เลือกซื้อบ่อยที่สุด ลักษณะของทุเรียนที่เลือกซื้อ ค่าใช้จ่ายในการซื้อทุเรียนต่อครั้ง ความถี่ในการเลือกซื้อทุเรียนต่อปี และสถานที่ที่ซื้อทุเรียนบ่อยที่สุด และลักษณะส่วนบุคคล ด้านระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกซื้อทุเรียน แตกต่าง ในด้านสายพันธุ์ที่เลือกซื้อบ่อยที่สุด ลักษณะของทุเรียนที่เลือกซื้อ ค่าใช้จ่ายในการซื้อทุเรียนต่อครั้ง ความถี่ในการเลือกซื้อทุเรียนต่อปี และสถานที่ที่ซื้อทุเรียนบ่อยที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด โดยภาพรวม และด้านผลิตภัณฑ์ และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อทุเรียนของผู้บริโภค อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ในด้านสายพันธุ์ทุเรียนที่เลือกซื้อ ลักษณะของทุเรียนที่เลือกซื้อ ค่าใช้จ่ายในการซื้อทุเรียนต่อครั้ง ความถี่ในการเลือกซื้อทุเรียนต่อปี และสถานที่ที่ซื้อทุเรียนบ่อยที่สุด และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อทุเรียนของผู้บริโภค อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ในทุกด้าน ประกอบด้วย ด้านเหตุผลที่ท่านเลือกซื้อทุเรียน สายพันธุ์ทุเรียนที่เลือกซื้อ ลักษณะของทุเรียนที่เลือกซื้อ ค่าใช้จ่ายในการซื้อทุเรียนต่อครั้ง ความถี่ในการเลือกซื้อทุเรียนต่อปี และสถานที่ที่ซื้อทุเรียนบ่อยที่สุด และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อทุเรียนของผู้บริโภค อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ด้านสายพันธุ์ทุเรียนที่เลือกซื้อ ค่าใช้จ่ายในการซื้อทุเรียนต่อครั้ง ความถี่ในการเลือกซื้อทุเรียนต่อปี และสถานที่ที่ซื้อทุเรียนบ่อยที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> <p> </p>
วีรวัฒน์ กิจรุ่งเรืองไพศาล
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4930
Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
คุณภาพการให้บริการของบริษัท เวสท์บาย เดลิเวอรี่ จำกัด
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4969
<p> การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของผู้รับบริการ กับการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการ บริษัท เวสท์บาย เดลิเวอรี่ จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้รับบริการที่เคยใช้บริการรถรับซื้อขยะของบริษัท เวสท์บาย เดลิเวอรี่ จำกัด และเป็นสมาชิก LINE Official ของบริษัทชื่อ WASTEBUY Delivery จำนวน 368 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์ ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิอัลฟาของแบบสอบถามคุณภาพการให้บริการ มีค่าเท่ากับ 0.964 ความพึงพอใจของผู้รับบริการ มีค่าเท่ากับ 0.971 ความตั้งใจในการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการ มีค่าเท่ากับ 0.908 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า คุณภาพการให้บริการ ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านการตอบสนองต่อความต้องการการบริการ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ ด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ และความพึงพอใจของผู้รับบริการ ทั้งในภาพรวม และรายด้าน ได้แก่ ด้านความพอเพียงของบริการที่มีอยู่ ด้านการเข้าถึงแหล่งบริการ ด้านความสะดวกและสิ่งอำนวยความสะดวกของแหล่งบริการ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน กับการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการ บริษัท เวสท์บาย เดลิเวอรี่ จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p>
อิทธิกร ศรีจันบาล
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/4969
Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านยาของนิสิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/6170
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดของนิสิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 2.เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการใช้บริการร้านยาของนิสิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 3.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านยาของนิสิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาและทำการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นิสิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี นิสิตชั้นปีที่ 1-5 จำนวน 130 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 109 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบไคสแควร์</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1.ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 85 คน (ร้อยละ 78.0) ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ 19 - 21 ปี จำนวน 80 คน (ร้อยละ 73.4) ส่วนใหญ่เป็นนิสิต ชั้นปีที่ 1 จำนวน 44 คน (ร้อยละ 40.4) และรายได้ต่อส่วนใหญ่น้อยกว่าหรือเทียบเท่า 10,000 บาท จำนวน 66 คน (ร้อยละ 60.6) 2. ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด อยู่ในภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่น้อยที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3.ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยซื้อยารักษาโรคในร้านยาแผนปัจจุบัน ความถี่ของการซื้อยาน้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน ค่าใช้ในการซื้อยาจ่ายต่อครั้งเฉลี่ยอยู่ที่ 100 - 300 บาท วัตถุประสงค์ในการซื้อยาเพื่อรักษาโรคที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน บุคคลที่มีอิทธิพลในการซื้อยาส่วนใหญ่เป็นตัวเองนิสิตเอง ใช้บริการระหว่างเวลา 13.01-17.00 น. ใช้บริการวันจันทร์-วันศุกร์ สาเหตุการซื้อยาในร้านยาเป็นเพราะเสียเวลาน้อยกว่า โดยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับตราของผลิตภัณฑ์ยา และยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ยา ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ กรณียาสำหรับใบหน้า ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ต้องการซื้อในร้านยา นอกจากยา จะเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และไม่เคยเทียบราคา 4.ความสัมพันธ์ของข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามกับพฤติกรรมการเลือกรับบริการจากร้านยาพบว่า เพศ อายุ และระดับชั้นปีไม่มีความสัมพันธ์กับการเคยซื้อยาในร้านยา ความถี่ในการซื้อยา ค่าใช้ในการซื้อยาจ่ายต่อครั้ง วัตถุประสงค์ในการซื้อยา บุคคลที่มีอิทธิพลในการซื้อยา ช่วงเวลาที่ใช้บริการ วันที่ใช้บริการ สาเหตุการซื้อยาในร้านยา การให้ความสำคัญกับตรา/ยี่ห้อ ให้ความสำคัญกับยี่ห้อยาทุกกรณี ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ ต้องการซื้อในร้านยานอกจากยา และการเทียบราคาของยาแต่ละร้าน ส่วนรายได้ต่อเดือน และ บุคคลที่มีอิทธิพลในการซื้อยา มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
นพกร งามงอนคีรี , Wandee Taesotikul, สรวิชญ์ อกณิษฐาวงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/6170
Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การพัฒนานวัตกรรมและการประเมินคุณลักษณะสำรับอาหารไทย ให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุชาวไทยและชาวต่างชาติ
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/6257
<p>การวิจัยเรื่องการพัฒนานวัตกรรมสำรับอาหารไทยเพื่อผู้สูงอายุชาวไทยและชาวต่างชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมและประเมินคุณลักษณะสำรับอาหารไทยให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุชาวไทยและชาวต่างชาติ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุช่วงต้นที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปี ซึ่งไม่มีโรคประจำตัวและช่วยเหลือตนเองได้ตามปกติ แบ่งเป็น ชาวไทย ชาวจีน และชาวตะวันตก จำนวน 156 คน โดยใช้แบบสอบถามและตัวอย่างอาหาร เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า สำรับอาหารไทยที่นำมาพัฒนาเป็นสำรับอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ ต้มส้มปลากะพง ซึ่งจัดเป็นแกงที่มีรสกลมกล่อม ได้โปรตีนจากเนื้อปลา แสร้งว่ากุ้ง จัดเป็นอาหารประเภทยำ รสไม่เผ็ดมาก ได้คุณค่าทางยาจากพืชสมุนไพร ไข่เจียวหัวปลี หัวปลีนั้นให้เส้นใยสูง รสสัมผัสคล้ายเนื้อสัตว์ มีแคลรี่ต่ำ ซึ่งสำรับอาหารดังกล่าวเป็นอาหารไทยแบบดั้งเดิม สามารถตอบสนองด้านรสชาติ เนื้อสัมผัส และคุณค่าทางโภชนาการให้สารอาหารที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุต่อการบริโภคต่อมื้อ </p>
ธีรวัฒน์ อิ่มประคองศิลป์ , Mayuree Suacamram
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/6257
Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การสร้างแบบวัดความพร้อมในการทำงานของนักศึกษาอาชีวศึกษา
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/6261
<p> ความพร้อมในการทำงาน คือ ขีดความสามารถหรือศักยภาพที่จะทำงานหรือปฏิบัติงานในอนาคตได้ประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมาย การที่จะระบุว่านักศึกษาอาชีวศึกษามีความพร้อมในการทำงานอยู่ในระดับใด จำเป็นต้องมีเครื่องมือวัดและประเมินความพร้อมดังกล่าว ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแบบวัดความพร้อมในการทำงานของนักศึกษาอาชีวศึกษา และ 2) เพื่อสร้างเกณฑ์การแปลความหมายคะแนนของแบบวัดความพร้อมในการทำงานของนักศึกษาอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดระยอง จำนวน 1,145 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดความพร้อมในการทำงานของนักศึกษาอาชีวศึกษา ซึ่งวัดองค์ประกอบ 4 ด้าน ตามแนวคิดของ Caballero ประกอบด้วย คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กร ความสามารถในการทำงาน และความฉลาดทางสังคม การวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัด ประกอบด้วย ความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงทฤษฎีโดยวิธีการเปรียบเทียบคะแนนระหว่างกลุ่มที่ทราบด้วยสถิติทดสอบ Independent sample t-test และความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.970 และรายองค์ประกอบมีค่าอยู่ระหว่าง 0.896-0.981 ด้วยวิธีการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค การสร้างเกณฑ์การแปลความหมายคะแนนใช้คะแนนทีปกติ และแบ่งระดับตามแนวคิดของ Clark-Carter ผลการวิจัยพบว่า ด้านความตรงเชิงทฤษฎีมีหลักฐานสนับสนุนว่าแบบวัดความพร้อมในการทำงานมีความตรงเชิงทฤษฎี (t=-4.831,p=0.000) และผลการสร้างเกณฑ์การแปลความหมายคะแนน แบบวัดมีคะแนนทีปกติตั้งแต่ T<sub>16.72</sub> ถึง T<sub>74.81 </sub>(P<sub>0.05</sub> – P<sub>99.34</sub>) โดยความพร้อมในการทำงานระดับสูงมีคะแนนทีปกติตั้งแต่ T<sub>56.78</sub>ขึ้นไป ความพร้อมในการทำงานระดับค่อนข้างสูงมีคะแนนทีปกติอยู่ระหว่าง T<sub>50.23 </sub>ถึง T<sub>56.44 </sub>ความพร้อมในการทำงานระดับค่อนข้างต่ำ มีคะแนนทีปกติอยู่ระหว่าง T<sub>43.57 </sub>ถึง T<sub>49.93 </sub>และความพร้อมในการทำงานระดับต่ำมีคะแนนทีปกติน้อยกว่า T<sub>43.57</sub></p>
มาริสา แป้นเหมือน
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/6261
Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การเปรียบเทียบทักษะการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ด้วยทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบหลักการจุดตัด 9 ช่อง กับวิธีสอนแบบปกติ
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/6267
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ด้วยทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีสอนแบบหลักการจุดตัด 9 ช่อง เพื่อเปรียบเทียบทักษะการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ด้วยทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีสอนแบบปกติ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการพัฒนาทักษะการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ด้วยแคนวา เรื่องการออกแบบกราฟิก ดีไซน์ อาร์ต ประเภทการออกแบบโปสเตอร์ รายวิชาโปรแกรมกราฟิกสำหรับผลิตสื่อดิจิทัล ตามระดับความเห็น 5 ระดับของลิเคิร์ท (LIKERT RATING SCALE) ประชากร คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) ที่เรียนรายวิชาโปรแกรมกราฟิกสำหรับผลิตสื่อดิจิทัล จำนวน 6 ห้อง จำนวนนักศึกษา 112 คน สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม 2 ห้องเรียน จำนวน 15 คน และจำนวน 19 คน รวมจำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินการพัฒนาทักษะการออกแบบสื่อสร้างสรรค์จากชิ้นงานการออกแบบโปสเตอร์ แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ความคิดริเริ่ม ความคล่องแคล่ว ความยืดหยุ่นและความละเอียดละออ การให้คะแนนด้านละ 5 คะแนน รวมเป็น 20 คะแนน และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อคำถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแตกต่าง T-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า วิธีสอนแบบปกติ พบค่าความแตกต่าง T-test แบบ Dependent มีค่า t = 5.71 ในขณะที่วิธีสอนแบบหลักการจุดตัด 9 ช่อง พบค่าความแตกต่าง T-test แบบ Dependent มีค่า t = 9.12 ส่วนคะแนนความพึงพอใจของนักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ย 4.81 คะแนน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยดังนี้ 1) ผลการประเมินผลงานการพัฒนาทักษะการออกแบบ สื่อสร้างสรรค์ด้วยแคนวา เรื่องการออกแบบกราฟิก ดีไซน์ อาร์ต ประเภทการออกแบบโปสเตอร์ รายวิชาโปรแกรมกราฟิกสำหรับผลิตสื่อดิจิทัล ด้วยทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (GUILFORD) แบบการเรียนด้วยหลักการจุดตัด 9 ช่อง สูงกว่าการเรียนแบบปกติ 2) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษา ตามระดับความเห็น 5 ระดับของลิเคิร์ท (LIKERT RATING SCALE) อยู่ในระดับมาก</p>
Phacharasorn Duangjai
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/6267
Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
บทบรรณาธิการ
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/6349
sirisanit
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/6349
Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
กลวิธีการปรับเปลี่ยนในชั้นเรียนรวมเพื่อการจัดการศึกษาที่ครอบคลุมสำหรับผู้เรียนทุกคน
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/5886
<p>การเรียนรวมเป็นการจัดการศึกษาให้เด็กพิเศษ หรือผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกับผู้เรียนทั่วไป ซึ่งครูและบุคลากรทางการศึกษาจำเป็นต้องมีความเข้าใจกลวิธีและบทบาทต่อการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามความหลากหลายของผู้เรียนด้วยกลวิธีที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์รองรับ (Evidence Based Practice) โดยใช้การปรับเปลี่ยนในชั้นเรียนรวม (Inclusive classroom - Based Adaptation) เพื่อเข้าใจและยอมรับความหลากหลายของผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในด้านความสามารถ ด้วยการปรับแนวการสอนให้แตกต่างหรือเป็นขั้นตอนย่อย ๆ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนช่วยให้ทุกคนสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ โดยการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก (Accommodations) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงเนื้อหาการเรียนรู้ เช่น การขยายเวลา การใช้สื่อสิ่งอำนวยความสะดวก บริการเพิ่มเติม และความช่วยเหลือจากครู นอกจากนี้ ครูยังสามารถปรับเปลี่ยนเนื้อหาหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ (Modifications) ให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษและความสามารถของผู้เรียนเหมือนกับผู้เรียนทั่วไป ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียน ที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนในชั้นเรียนรวมเพื่อการจัดการศึกษาที่ครอบคลุมสำหรับผู้เรียนทุกคน ตามกลวิธีการปรับเปลี่ยนในชั้นเรียนรวม 3 ประการ ดังนี้ 1. การปรับเปลี่ยนตามคุณลักษณะของผู้เรียน (Adaptations Based on Student Characteristics), 2. การปรับเปลี่ยนตามรูปแบบของการเรียนรู้ (Adaptations Based on Types of Learning) และ 3. กลวิธีการสอนตามระดับการเรียนการรู้ (Instructional Strategies for Specific Levels of Learning) เพื่อทำให้การเรียนรวมในชั้นเรียนเกิดความเสมอภาค เท่าเทียม และเป็นการจัดการศึกษาอย่างครอบคลุมสำหรับทุกคนอย่างมีประสิทธิภาพ</p>
ทิณธรรม ไทยธรรม
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ(Online)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj/article/view/5886
Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700