https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/issue/feed วารสารพุทธอาเซียนศึกษา 2025-07-02T01:24:24+07:00 PhraSawanahtakorn Thitaparakkamo (Saensuk) Sawanathakorn14@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารพุทธอาเซียนศึกษา</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสนับสนุน ส่งเสริมให้คณาจารย์บุคลากรเจ้าหน้าที่ นิสิต และผู้สนใจ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยได้เสนอและเผยแพร่บทความบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ บทความปริทรรศน์ และบทความพิเศษ ที่ได้มาตรฐานสู่สาธารณชน รวมทั้งยกระดับผลงานทางวิชาการให้ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ด้วยหวังให้เป็นตลาดแห่งองค์ความรู้ที่สามารถค้นคว้า ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ทั้งนี้ เปิดรับบทความเกี่ยวกับอาเซียนศึกษา ในมิติของศาสนา การศึกษา สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การพัฒนาชุมชม การศึกษา จิตวิทยา และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีละ 2 ฉบับ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ทั้งนี้เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p> </p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร</strong></p> <p> 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับอาเซียนศึกษา ในมิติของพระพุทธศาสนา ปรัชญา สังคมวิทยา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การพัฒนาชุมชม การศึกษา จิตวิทยา และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ </p> <p> 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่</p> <p> 3) บทความปริทรรศน์ (Review Article) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เป็นบทความในลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ</p> <p> 4) บทความพิเศษ (Special Article) ในวาระครบรอบหรือในโอกาสสำคัญต่าง ๆ</p> <p> </p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร</strong></p> <p> วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร มีกำหนดวงรอบการเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ดังนี้</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน </p> <p> ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p> ทั้งนี้ เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป</p> <p> เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) ประเภท Online ของวารสารพุทธอาเซียนศึกษา คือ ISSN 2822-0935 (Online) เผยแพร่สืบค้น และดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่ <a href="https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj">https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj</a></p> <p> </p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ</strong></p> <p> วารสารมีกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) ทั้งนี้บทความจากผู้นิพนธ์ภายในหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ จะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ ส่วนบทความจากผู้นิพนธ์ภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ จะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในหรือภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในสาขานั้นๆ และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์</p> https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6848 การบูรณาการหลักฆราวาสธรรมสำหรับการดำเนินชีวิต 2025-03-05T09:36:36+07:00 พระครูสุเขตพัชรคุณ มิ่งขวัญ kongsakonnakon@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาการบูรณาการหลักฆราวาสธรรมสำหรับการดำเนินชีวิตในบริบทของสังคมปัจจุบัน ซึ่งอยู่ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางสังคมและวิถีชีวิตของผู้คนอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ที่ทำให้สังคมไทยต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในระบบประชาธิปไตย วิกฤตเศรษฐกิจ การครอบงำทางวัฒนธรรม ตลอดจนอิทธิพลของระบบสารสนเทศไร้พรมแดน ในบริบทดังกล่าว การบูรณาการหลักฆราวาสธรรม ได้แก่ สัจจะ (ความจริงใจและซื่อตรง) ทมะ (การควบคุมตนเอง) ขันติ (ความอดทน) และ จาคะ (การเสียสละ) ถือเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัวและสร้างสมดุลท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หลักสัจจะช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจและความซื่อตรงในสังคม หลักทมะส่งเสริมการมีวินัยและการรู้จักควบคุมตนเอง หลักขันติช่วยให้บุคคลสามารถอดทนและเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทายได้อย่างมั่นคง ขณะที่หลักจาคะส่งเสริมการเสียสละและการแบ่งปัน ซึ่งช่วยลดความเห็นแก่ตัวและสร้างความสามัคคีในสังคม การนำหลักฆราวาสธรรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันไม่เพียงแต่ช่วยให้บุคคลสามารถรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมีสติและสมดุล แต่ยังส่งเสริมให้เกิดความสุขทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และสังคมโดยรวม อันจะนำไปสู่การสร้างสังคมที่เข้มแข็งและยั่งยืนท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็วในยุคปัจจุบัน</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/7572 กลยุทธ์การจัดการ SMEs ให้สำเร็จอย่างยั่งยืน 2025-06-11T11:28:22+07:00 สุธี ขวัญเงิน thariga.ph@up.ac.th ฑาริกา พลโลก thariga.ph@up.ac.th จิตติมา สกุลเจียมใจ thariga.ph@up.ac.th <p>บทความวิชาการเรื่อง กลยุทธ์การจัดการ SMEs ให้สำเร็จอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การจัดการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จอย่างยั่งยืนในบริบทของเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเนื้อหาครอบคลุมถึงการให้ความหมายของ SMEs ตามแนวทางของภาครัฐ ปัญหาเชิงระบบของธุรกิจ SMEs อาทิ ด้านการตลาด การเงิน แรงงาน เทคโนโลยี การจัดการ และการเข้าถึงข้อมูล ตลอดจนการวิเคราะห์ลักษณะของผู้ประกอบการที่เอื้อต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยการเป็นนักแสวงหาโอกาส นักเสี่ยง มีความคิดริเริ่ม ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ใฝ่เรียนรู้ และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้ถือเป็นทุนมนุษย์ที่ทรงคุณค่าซึ่งต้องได้รับการพัฒนาและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเน้นบทบาทของการจัดการคุณภาพในฐานะกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs</p> <p>นอกจากนี้บทความยังได้กล่าวถึงการจัดการคุณภาพ เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยให้ SMEs สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า และลดความสูญเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของทั้งผู้บริหารและพนักงานทุกระดับในองค์กร ซึ่งล้วนเป็นแนวทางปฏิบัติที่สามารถประยุกต์ใช้ได้จริง โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นแก่ผู้ประกอบการ SMEs ทั้งรายเก่าและรายใหม่ ในการพัฒนาธุรกิจให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6909 ก้าวเดินในโลกดิจิทัล: เมื่อพุทธศาสนาสร้างสมดุลใจให้เยาวชน 2025-04-25T14:53:55+07:00 พระมหานพดล สุวณฺณเมธี silawatchaiwong30@gmail.com พระครูสิริธรรมบัณฑิต boonthank@gmail.com <p>บทความนี้เสนอแนวทางในการใช้หลักธรรมพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างสมดุลทางจิตใจให้กับเยาวชนในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะในบริบทของการเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมออนไลน์ ท่ามกลางความกดดันและความขัดแย้งทางอุดมการณ์ที่เกิดขึ้น สติ สมาธิ ขันติ เมตตา และปัญญาถูกวิเคราะห์ถึงศักยภาพในการช่วยเยาวชนจัดการกับปัญหาด้านอารมณ์และสังคม บทความยังสำรวจแนวทางการเผยแพร่คำสอนพุทธศาสนาในรูปแบบที่เข้าถึงง่าย เช่น แอปพลิเคชันฝึกสมาธิ คอร์สออนไลน์ และเนื้อหาดิจิทัลที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตยุคใหม่ โดยมีกรณีศึกษาจากโครงการ “ธรรมยาตรา” และชุมชน “Wake Up Schools” ที่สะท้อนถึงความสำเร็จของการบูรณาการธรรมะกับกิจกรรมสร้างสรรค์ นอกจากนี้ บทความเน้นความสำคัญของการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในโลกออนไลน์ และเสนอแนะแนวทางสำหรับสถาบันพุทธศาสนาในการปรับตัว เช่น การพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมกับเยาวชน การใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และการบูรณาการธรรมะในระบบการศึกษา</p> <p> บทสรุปชี้ให้เห็นว่าพุทธศาสนาไม่เพียงเป็นเครื่องมือพัฒนาจิตใจ แต่ยังเป็นแนวทางสำคัญในการสร้างเยาวชนที่มีคุณธรรม มีสติปัญญา และความรับผิดชอบต่อสังคมในยุคดิจิทัลที่ท้าทาย</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/7261 พุทธนวัตกรรมการสื่อสารในการเสริมสร้างศรัทธา 2025-05-20T13:05:36+07:00 พระมหาชัชวาลย์ อนาลโย analayo101@gmail.com บุญเลิศ โอฐสู analayo101@gmail.com <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาของศรัทธา และวิธีการเสริมสร้างศรัทธาของพระพุทธเจ้า 2) วิเคราะห์พุทธนวัตกรรมการสื่อสารในการเสริมสร้างศรัทธา การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>ผลการศึกษาวิจัย พบว่า</p> <p>1) พุทธนวัตกรรมการสื่อสารในการเสริมสร้างศรัทธาของพระพุทธเจ้า เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของศรัทธาในพระพุทธศาสนา การเข้าใจเนื้อหาของศรัทธาและวิธีการเสริมสร้างศรัทธาดังกล่าว จะช่วยให้พุทธศาสนิกชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและเผยแผ่หลักธรรมคำสอนให้เข้าถึงผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจที่ถูกต้องและการปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนา</p> <p>2) พุทธนวัตกรรมการสื่อสารในการเสริมสร้างศรัทธามีความสำคัญต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในมิติของการเสริมสร้างศรัทธาที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ความท้าทายสำคัญคือการรักษาสมดุลระหว่างการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยกับการรักษาแก่นแท้ของพระธรรมไว้อย่างไม่บิดเบือน พุทธนวัตกรรมการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต้องมีองค์ประกอบที่ครบถ้วนและสมดุล มีลักษณะที่หลากหลายและผสมผสาน มีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการเสริมสร้างศรัทธา มีกระบวนการที่เป็นระบบและต่อเนื่อง และคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพอย่างรอบด้าน นอกจากนี้ ยังต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของผู้รับสารในยุคปัจจุบัน และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสังคม</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6910 พุทธนวัตกรรม: สร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจของผู้สูงวัยในสังคมไทย 2025-05-31T09:50:22+07:00 พระครูสิริธรรมบัณฑิต silawatchaiwong30@gmail.com <p>บทความนี้นำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้ พุทธนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้าง ภูมิคุ้มกันทางจิตใจของผู้สูงวัยในสังคมไทย โดยมุ่งวิเคราะห์หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พรหมวิหาร 4 อริยสัจ 4 และสติปัฏฐาน 4 ว่าสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงวัยให้สามารถเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในชีวิตได้อย่างมั่นคงและสมดุล การศึกษาได้วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงวัย เช่น ความเหงา ความเครียด และความรู้สึกโดดเดี่ยว รวมถึงศึกษากรณีตัวอย่างจากโครงการในประเทศไทย เช่น "วัดบันดาลใจ" และ "ชุมชนสติเข้มแข็ง" ที่ช่วยส่งเสริมการฝึกสติและการปฏิบัติธรรมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ในชุมชน นอกจากนี้ ยังพิจารณาแนวทางระดับสากล เช่น โปรแกรม Mindfulness-Based Stress Reduction (MBSR) ในสหรัฐอเมริกา และโครงการฝึกสมาธิในญี่ปุ่น ที่มีผลเชิงบวกต่อสุขภาพจิตของผู้สูงวัย</p> <p>ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า พุทธนวัตกรรม เป็นแนวทางที่มีศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพจิตและความมั่นคงของสังคม อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดในเรื่อง การเข้าถึงในพื้นที่ห่างไกล และความเหมาะสมกับบริบทสังคมสมัยใหม่ จึงจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขยายผลให้ทั่วถึงและยั่งยืน</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/7277 ไตรสิกขาในสามัญญผลสูตร: ในฐานะเป็นพุทธนวัตกรรมการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2025-05-14T10:11:11+07:00 พระสมุห์ประเสริฐชัย แซ่อึ้ง kprasertchai@gmail.com บุญเลิศ โอฐสู kprasertchai@gmail.com <p>บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาเรื่องไตรสิกขาในสามัญญผลสูตรเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) เพื่อนำเสนอไตรสิกขาในสามัญญผลสูตร: ในฐานะเป็นพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นบทความที่ได้ศึกษาเชิงคุณภาพ เน้นการศึกษาเอกสาร โดยเก็บข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำรา หนังสือ งานวิจัยและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li class="show">เนื้อหาเรื่องไตรสิกขาในสามัญญผลสูตร เป็นพุทธนวัตกรรมการสื่อสารที่สามารถศึกษาผ่านแอปพลิเคชัน เป็นแนวทางใหม่ที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมดุลและครบถ้วนตามหลักพระพุทธศาสนา เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการกระจายองค์ความรู้และปลูกฝังหลักธรรมให้กับเยาวชนในยุคดิจิทัล การนำไตรสิกขามาประยุกต์ใช้ผ่านสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสาระสำคัญของพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น และเกิดประโยชน์สูงสุดในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นเป็นหลัก ผู้เรียนสามารถวางแผน จัดกระบวนการเรียนรู้ และกำหนดแนวทางการศึกษาของตนเองให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเป็นการแสวงหาความรู้ที่ทำให้บุคคลสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ มีความกระหายใครรู้ และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องมีโครมาบังคับ</li> <li class="show">ไตรสิกขาในสามัญญผลสูตร: ในฐานะเป็นพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองสามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่สื่อสารหลักไตรสิกขาได้อย่างถูกต้องและน่าสนใจเป็นความท้าทายที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมและการออกแบบสื่อที่ดี การสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเข้ามาเรียนรู้และปฏิบัติธรรมตามหลักไตรสิกขาเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบแอฟพลิเคชัน</li> </ol> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6911 หัวใจเยาวชนในยุค “ชอบดราม่า” : เปลี่ยนพลังความรู้สึกให้กลายเป็นพลังปัญญาด้วยธรรมะ 2025-05-31T09:59:57+07:00 พระมหานพดล สุวณฺณเมธี boonthank@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้วิเคราะห์ปรากฏการณ์ “วัฒนธรรมดราม่า” ในยุคดิจิทัล ซึ่งส่งผลกระทบต่อจิตใจและพฤติกรรมของเยาวชนโดยตรง พร้อมเสนอแนวทางใช้หลักธรรมะในพุทธศาสนาเพื่อบริหารจัดการอารมณ์และเปลี่ยนพลังงานด้านลบเป็นพลังปัญญา ที่สะท้อนการแสดงออกทางอารมณ์อย่างรุนแรงและความขัดแย้งในโลกออนไลน์ ผลกระทบจากปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลให้จิตใจและพฤติกรรมของเยาวชนเปลี่ยนแปลงไป ทั้งในด้านความรู้สึกและความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ชุมชน รวมถึงสังคมโดยรวมที่มักประสบกับความเปราะบางและความไม่แน่นอน บทความนี้จึงนำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักธรรมะในพระพุทธศาสนาให้เข้ากับวิถีชีวิตในยุคดิจิทัล โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติสติ สมาธิ และปัญญาเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมอารมณ์และจัดการกับความรู้สึกที่ผันผวน การนำหลักธรรมมาช่วยเปลี่ยนพลังงานด้านลบจากความโกรธ เศร้า หรือความผิดหวัง ให้กลายเป็นพลังสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมการพัฒนาตนเองและความสมดุลในชีวิต ผู้เขียนจึงได้สังเคราะห์องค์ความรู้ที่เรียกว่า แนวปฏิบัติ “3 ส.” เพื่อพัฒนาความตระหนักรู้ในตนเอง สร้างความมั่นคงทางจิตใจและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคม แนวทางนี้ช่วยให้เยาวชนสามารถสร้างสมดุลในชีวิตและพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในยุคดิจิทัล</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6737 ARMS: คุณลักษณะผู้นำทางทหารไทยตามแนวพระพุทธศาสนา 2025-03-05T09:38:38+07:00 ณัฐพล จารัตน์ natthaphon.jarat@outlook.com น.ท.ภัคภณ สนิทสม สนิทสม natthaphon.jarat@outlook.com <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดและพัฒนาโมเดล ARMS ซึ่งเป็นโมเดลต้นแบบใหม่เพื่อพัฒนาคุณลักษณะผู้นำทางทหารไทยตามแนวพระพุทธศาสนา โดยวิเคราะห์จากบริบทรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 67 ซึ่งระบุว่ารัฐต้องอุปถัมภ์และส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงเห็นว่า กองทัพไทยในฐานะหน่วยงานของรัฐสามารถน้อมนำหลักภาวนา 4 ของพระพุทธศาสนามาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำทางทหารไทย 15 ประการ ที่มาจากแนวคิดของนาวิกโยธินสหรัฐฯ นำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทไทย การบูรณาการดังกล่าวนำไปสู่โมเดล ARMS ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ A (Action - กายภาวนา) R (Resilience - จิตภาวนา) M (Morality - ศีลภาวนา) และ S (Strategy - ปัญญาภาวนา)</p> <p>ผลลัพธ์ของการศึกษาในบทความนี้ คือ การนำเสนอโมเดลที่มีความเป็นเอกลักษณ์ไทย และสามารถเป็นแนวทางเชิงนโยบายเพื่อเสริมสร้างผู้นำทหารที่มีคุณธรรม สมรรถนะ และจิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/7546 การศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวมูลค่าสูงในพื้นที่ล้านนาตะวันออก 2025-05-06T16:29:49+07:00 ฑาริกา พลโลก piyaphong.su@up.ac.th ธีรุตม์ หมื่นวงษ์เทพ piyaphong.su@up.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวมูลค่าสูงในพื้นที่ล้านนาตะวันออก เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ มีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวในพื้นที่ล้านนาตะวันออก (จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน) ทั้งชาวไทยและต่างชาติ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้าและแบบสะดวก เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (53.25%) อายุ 21-37 ปี (63.00%) มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อเดือน (58.75%) เดินทางด้วยตนเอง (65.50%) กับกลุ่มเพื่อน/คนรู้จัก (50.75%) นักท่องเที่ยวค้นหาข้อมูลจาก Social Media (49.22%) โดย Facebook เป็นช่องทางหลัก (28.42%) ใช้เวลาท่องเที่ยว 1–2 วัน (47.00%) เลือกพักโรงแรม/รีสอร์ท (69.50%) การเดินทางหลักใช้รถยนต์ส่วนตัว (41.00%) และค่าใช้จ่ายหลักคือค่าพาหนะ/ค่าตั๋วเดินทาง (เฉลี่ย 6,966 บาท/คน) สำหรับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวมูลค่าสูงในพื้นที่ล้านนาตะวันออก พบว่า มีความพึงพอใจต่อระยะเวลาพำนักในพื้นที่ล้านนาตะวันออกในระดับมาก และนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายในระดับสูง โดยเห็นว่าการลงทุนพัฒนาการท่องเที่ยวสามารถเพิ่มระยะเวลาพำนักและส่งผลต่อรายได้ของกลุ่มจังหวัด และการลงทุนด้านการท่องเที่ยวช่วยเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อหัว นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวสนับสนุนการท่องเที่ยวที่หลากหลาย เช่น การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และสุขภาพ และเห็นว่าควรส่งเสริมกิจกรรมตลอดปีเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทุกฤดูกาล อีกทั้ง ควรพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ตรงกับกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ และสนับสนุนการลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ ตลอดจนการเดินทางการเข้าถึงสะดวกทั้งทางบก อากาศ และน้ำ โดยโครงการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟจีน-ลาว และรถไฟรางคู่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ ภาคธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายและกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/7036 แนวทางการพัฒนาการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2025-03-20T13:55:07+07:00 เกียรติกุล สังสีมา sangsima38@gmail.com พระครูวิรุฬห์สุตคุณ sangsima38@gmail.com พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน sangsima38@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานทั่วไปของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนประถมศึกษา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัยที่เป็นผู้บริหารและครู จำนวน 179 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารงานทั่วไปของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านงานประชาสัมพันธ์ ด้านการดำเนินงานธุรการ ด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ และด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการศึกษา ตามลำดับ 2. วิธีการพัฒนาการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการบูรณาการบริหารงานทั่วไป 4 ด้าน คือ 1) การบริหารงานอาคารสถานที่ 2) การดำเนินงานธุรการ 3) งานประชาสัมพันธ์ 4) เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการศึกษา ตามหลักสังคหวัตถุ 4 คือ 1) ทาน การให้ 2) ปิยวาจา พูดจาไพเราะ 3) อัตถจริยา การทำประโยชน์ส่วนรวม 4) สมานัตตตา การทำตนเสมอต้นเสมอปลาย อันจะเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนประถมศึกษา ได้แก่ 1) เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น เป็นมิตร และเอื้อต่อการเรียนรู้ของทั้งบุคลากรและนักเรียน ทำให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความสุข 2) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากทุกคนจะตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกัน การให้เกียรติซึ่งกันและกัน และการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม 3) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ภายใต้หลักสังคหวัตถุ จะช่วยให้โรงเรียนสามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ทันสมัยและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น และ 4) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง ทำให้ผู้ปกครองเกิดความพึงพอใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนมากขึ้น 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการนำหลักสังคหวัตถุ 4 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานทั่วไปของโรงเรียน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีและพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยมีการบูรณาการหลักสังคหวัตถุ 4 เข้ากับการบริหารงานทั่วไป 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การดูแลรักษาอาคารสถานที่อย่างต่อเนื่อง 2) ด้านการดำเนินงานธุรการ เน้นการสื่อสารที่สุภาพและชัดเจน การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การรักษาความน่าเชื่อถือขององค์กร 3) ด้านงานประชาสัมพันธ์ เน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การสนับสนุนบุคลากร การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม การเป็นแบบอย่างที่ดี และ 4) ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการศึกษา เน้นการให้โอกาสที่เท่าเทียม การส่งเสริมการทำงานร่วมกัน การคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้น โดยเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การส่งเสริมความร่วมมือ และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกคน โดยสรุปองค์ความรู้การวิจัย คือ FATP</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6887 แนวทางการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนตามแนวคิด OKRs ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2025-05-15T13:22:42+07:00 สุพรรณี ศรีน้อย bspn261997@gmail.com พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ bspn261997@gmail.com พระครูโอภาสนนทกิตติ์ bspn261997@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทางการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนตามแนวคิด OKRs ของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาวิธีทางการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนตามแนวคิด OKRs ตามหลักสังคหวัตถุ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนตามแนวคิด OKRs ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูและผู้บริหาร จำนวน 179 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูป/คน ด้วยการเลือกเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทางการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนตามแนวคิด OKRs ของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ ด้าน C: Commitment: ช่วยให้ผู้นําและบุคลากรมีความมุ่งมั่นผูกพันในงานเพื่อนําไปสู่เป้าหมาย รองลงมาคือ ด้าน A: Alignment: ช่วยให้ผู้นําและบุคลากรมีแนวทางในการดำเนินการร่วมกันและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทำให้เกิดการยอมรับ ด้าน E: Evaluation: ช่วยให้ผู้นําและบุคลากรติดตามความก้าวหน้าของงานอย่างต่อเนื่องจนบรรลุวัตถุประสงค์และวัดผลได้ตรงกับความต้องการของบุคลากรและองค์กร และด้าน F: Focus: ช่วยให้ผู้นําและบุคลากรมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนในการดําเนินงาน 2. วิธีทางการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนตามแนวคิด OKRs ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ทั้ง 4 ด้าน 1) ด้าน F: Focus 2) A: Alignment 3) C: Commitment และ 4) ด้าน E: Evaluation พบว่า ส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูล สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนับสนุนการวิจัย (ทาน) ส่งเสริมการสื่อสารสุภาพและสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (ปิยวาจา) ส่งเสริมการทำงานวิจัยอย่างเป็นระบบ โดยสร้างแรงบันดาลใจให้ครูร่วมมือกันพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด (อัตถจริยา) และส่งเสริมการทำงานอย่างมีระบบและเสมอต้นเสมอปลาย (อุเบกขา). 3. แนวทางการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนตามแนวคิด OKRs ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย 1) F: Focus ผู้บริหารส่งเสริมบรรยากาศที่สนับสนุนการทำวิจัยผ่านการสื่อสารที่ชัดเจน การแบ่งปันความรู้ และการติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การวิจัยประสบความสำเร็จตามแผน 2) A: Alignment ผู้บริหารสนับสนุนการแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ในการทำวิจัย พร้อมให้คำแนะนำที่สร้างสรรค์และส่งเสริมความมุ่งมั่นในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข 3) C: Commitment ส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูลและการสื่อสารที่สร้างสรรค์ พร้อมการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บริหารช่วยสร้างความร่วมมือและความมุ่งมั่นในการทำวิจัยเพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืน และ 4) E: Evaluation การบริหารงานที่มีระบบชัดเจน พร้อมการสื่อสารที่สร้างขวัญกำลังใจและการติดตามผลอย่างต่อเนื่องให้การทำงานวิจัยประสบความสำเร็จและยั่งยืน</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6716 Students’ English Presentation Skills at Kaung Su Wai English Language Center in Yangon, Myanmar 2025-05-31T10:01:22+07:00 Withuta Ven ashinvisuta.yy@gmail.com Asst.Prof.Dr.Veerakarn Kanokkamalade ashinvisuta.yy@gmail.com <p>This study entitled “Students’ English Presentation Skills at Kaung Su Wai English Language Center in Yangon, Myanmar” aims 1. To study the English presentation skills of students at Kaung Su Wai English Language Centre in Yangon, Myanmar, and 2. To propose the solutions to English presentation skills problems of students at Kaung Su Wai English Language Centre. A mixed-methods research design was employed, incorporating both quantitative and qualitative approaches. Data were collected through questionnaires administered to 51 students and in-depth interviews conducted with five teachers.</p> <p>The findings indicated that students encounter various challenges in English presentations, including a lack of authenticity, poor structural organization, hesitation, time management difficulties, and pronunciation and grammatical errors. Furthermore, nervousness and a fear of speaking negatively can impact their performance. Addressing these challenges through structured guidance, targeted practice, and confidence-building measures can significantly enhance students’ presentation skills.</p> <p>This study underscored the importance of developing students’ English language skills comprehensively. Effective training and positive early experiences can enhance students' confidence and motivation, ultimately contributing to their academic and professional success.</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/7124 อัตลักษณ์ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมข้าว ชุมชนลุ่มน้ำจาง อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 2025-05-15T13:35:00+07:00 สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ sartsirin@gmail.com ยุทธนา พูนเกิดมะเริง sartsirin@gmail.com สหัทยา วิเศษ sartsirin@gmail.com สมพิศ กาติ๊บ sartsirin@gmail.com ปาณิสรา เทพรักษ์ sartsirin@gmail.com <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมข้าวชุมชนในจังหวัดลำปาง 2) เพื่อศึกษากระบวนการผลิตวัฒนธรรมข้าวของชุมชนลุ่มน้ำจาง 3) เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมข้าวชุมชนลุ่มน้ำจาง อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก 30 รูป/คน การสนทานากลุ่มย่อย 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1. อัตลักษณ์ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมข้าวมี 6 มิติ ได้แก่ 1) มิติทางพระพุทธศาสนา: ข้าวสำคัญในพิธีกรรมทางศาสนา 2) มิติทางครอบครัว: ครอบครัวปลูกฝังความกตัญญูในเรื่องข้าว 3) มิติทางความเชื่อและพิธีกรรม: ข้าวเกี่ยวข้องกับความเชื่อและการขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 4) มิติทางชุมชน: วัฒนธรรมข้าวเป็นรากฐานของสังคมเกษตรกรรม 5) มิติทางประเพณีและวัฒนธรรม: ข้าวสำคัญในประเพณีท้องถิ่น 6) มิติทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: การทำนาอินทรีย์เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม</p> <ol start="2"> <li>กระบวนการผลิตข้าวในชุมชนมีอยู่ 6 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมเมล็ดพันธุ์ การเตรียมพื้นที่และบำรุงดิน การปรับพื้นที่เพาะปลูก การเพาะต้นกล้าข้าว การดำนาและดูแลต้นข้าว และการเก็บเกี่ยวพร้อมทำบุญข้าว</li> <li>การส่งเสริมวัฒนธรรมข้าวอินทรีย์วิถีพุทธมีอยู่ 5 แนวทาง คือ 1) อนุรักษ์วัฒนธรรมข้าวดั้งเดิม 2) ส่งเสริมพิธีกรรมทางศาสนาเกี่ยวกับข้าว 3) เสริมสร้างพลังชุมชน 4) สร้างคุณค่าข้าวผ่านพิธีกรรมทางพุทธศาสนา 5) ผลักดันนโยบายเกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืน</li> </ol> <p>การส่งเสริมอัตลักษณ์ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมข้าวช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำนา โดยเชื่อมโยงความเชื่อ พิธีกรรม และประเพณีท้องถิ่น ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่าย สร้างความสมดุลระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ส่งเสริมสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6721 แนวทางการพัฒนาทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหาร กลุ่มโรงเรียนไชยวัฒนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2025-03-05T09:51:37+07:00 พัชริยา สุดจะคอย new.ayw105@gmail.com พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ New.ayw105@gmail.com สิน งามประโคน New.ayw105@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาร กลุ่มโรงเรียนไชยวัฒนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหาร กลุ่มโรงเรียนไชยวัฒนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหาร กลุ่มโรงเรียนไชยวัฒนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและครู จำนวน 189 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารจำนวน 9 รูป/คน ด้วยการเลือกเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดการความยุติธรรมในองค์กร ด้านบุคลิกภาพ ด้านความอัจฉริยะทางอารมณ์ ด้านการเรียนรู้และพัฒนา ตามลำดับ 2. วิธีการพัฒนาทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหาร กลุ่มโรงเรียนไชยวัฒนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1) การบริหารองค์กรด้วยกฎหมาย เพื่อสร้างความยุติธรรมในองค์กร (ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ) ซึ่งสะท้อนถึงการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน (ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน) 2) กำหนดยุทธศาสตร์อัตรากำลังบุคลากร (อัตถัญญุตา รู้จุดมุ่งหมาย) ที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ (อัตตัญญุตา รู้จักตน) 3) สนับสนุนการพัฒนาแนวคิดเดิม และส่งเสริมด้วยข้อมูลที่น่าเชื่อถือ (มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ) รองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (กาลัญญุตา รู้จักกาล) และ 4) สามารถบริหารจัดการภาวะความกดดันทางอารมณ์และมีบุคลิกลักษณะโดดเด่น (ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล) 3. แนวทางการพัฒนาทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหาร กลุ่มโรงเรียนไชยวัฒนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ 1) การจัดการความยุติธรรมในองค์กร (O: Organizational justice) ด้วยข้อมูลพื้นฐานด้านกฎหมายเพื่อสร้างความยุติธรรม (ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ) และให้โอกาสทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น (ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน) 2) บุคลิกภาพ (C: Character) กำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาบุคลากร (อัตถัญญุตา รู้จุดมุ่งหมาย) สร้างจิตสำนึกและทักทายด้วยไมตรีจิต (อัตตัญญุตา รู้จักตน) 3) การเรียนรู้และพัฒนา (D: Development) อัตรากำลังคนสอดคล้องนโยบายการพัฒนาองค์กร (มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ) รองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (กาลัญญุตา รู้จักกาล) และ 4) อัจฉริยะทางอารมณ์ (E: Emotional intelligence) สามารถบริหารจัดการภาวะความกดดันทางอารมณ์ได้ (ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล)</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6725 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา ร่วมกับแอปพลิเคชัน KAHOOT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2025-03-05T09:50:32+07:00 สิทธิรัตน์ เขียวทิพย์ sahapapkh@gmail.com สถาพร ปุ่มเป้า sahapapkh@gmail.com <p> การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปาร่วมกับแอปพลิเคชัน KAHOOT 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา ร่วมกับแอปพลิเคชัน KAHOOT กับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา ร่วมกับแอปพลิเคชัน KAHOOT กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนกำแพงดินพิทยาคม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร จำนวน 31 คน ได้มาจากการสุ่มแบบง่าย โดยใช้การสุ่มหน่วยห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ฉบับ 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าเฉลี่ย (t-test)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 <br />2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา ร่วมกับแอปพลิเคชัน KAHOOT อยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/7460 แนวทางการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของครูกลุ่มโรงเรียนเพนียด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 2025-04-24T14:38:13+07:00 กันตภา สัยวุฒิ potatobybenz@gmail.com พระครูภัทรธรรมคุณ potatobybenz@gmail.com ลำพอง กลมกูล potatobybenz@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู 2) เพื่อพัฒนาวิธีการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพตามหลักสังคหวัตถุ 2 ของครู 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของครู ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู กลุ่มโรงเรียนเพนียด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 162 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู กลุ่มโรงเรียนเพนียด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ด้านจรรยาบรรณต่อสังคม ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาวิธีการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของครูกลุ่มโรงเรียนเพนียด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 คือ 1) ทาน (การให้) ครูปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจ ถ่ายทอดความรู้และทักษะต่าง ๆ ให้กำลังใจ สนับสนุนและปลอบโยน แก่นักเรียน เพื่อนร่วมวิชาชีพอย่างไม่ปิดบัง 2) ปิยวาจา (การพูดดี) ครูใช้คำพูดที่สุภาพ ให้กำลังใจ สร้างแรงบันดาลใจ หลีกเลี่ยงการตำหนิรุนแรง สื่อสารอย่างชัดเจน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและเหมาะสมต่อบริบทของผู้ฟัง 3) อัตถจริยา (การกระทำดี) ครูปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี แสดงออกถึงความซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย และยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ และ 4) สมานัตตตา (การวางตนเสมอภาค) ครูปฏิบัติอย่างเท่าเทียม โดยไม่เลือกปฏิบัติ รักษาความสัมพันธ์ที่ดี ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเคารพและเสมอภาค และ 3) แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของครูกลุ่มโรงเรียนเพนียด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1<strong>&nbsp; </strong>1) ด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง ครูควรฝึกฝนการพูดจาด้วยความสุภาพ อ่อนโยน และมีความจริงใจ ทั้งกับศิษย์และบุคคลอื่น 2) ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ครูควรมีน้ำใจและพร้อมแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และทรัพยากร ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์แก่เพื่อนร่วมวิชาชีพและสังคมการศึกษา 3) ด้านจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ครูควรมีความพร้อมที่จะให้ความรู้ คำแนะนำ และเวลาแก่ผู้เรียนอย่างเต็มใจ สนับสนุนการเรียนรู้โดยไม่หวังผลตอบแทน 4) ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ครูควรแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ หรือทรัพยากรที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนครูเพื่อพัฒนางานในวิชาชีพ และ 5) ด้านจรรยาบรรณต่อสังคม ครูควรส่งเสริมการศึกษาให้กับชุมชนโดยไม่จำกัดเฉพาะในห้องเรียน</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6973 การสื่อสารพุทธธรรมของพระนักเผยแผ่เพื่อการบรรเทาทุกข์ของชาวบ้านในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19 : กรณีศึกษาพระนักเผยแผ่ใน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา 2025-04-11T21:50:46+07:00 จตุรัส สุนุรัตน์ jaturatsunurat@gmail.com พระราชวัชรธรรมวาที jaturatsunurat@gmail.com บุญเลิศ โอฐสู jaturatsunurat@gmail.com <p>วิทยานิพนธ์ เรื่องการสื่อสารพุทธธรรมของพระนักเผยแผ่เพื่อบรรเทาทุกข์ของชาวบ้านในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19: กรณีศึกษาพระนักเผยแผ่ อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาบทบาทของพระนักเผยแผ่ ในการบรรเทาความทุกข์ของชาวบ้านในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19 2. เพื่อศึกษาวิธีการสื่อสารและพุทธธรรมของพระนักเผยแผ่และความรู้สึกที่มีต่อการสื่อสารที่ทำให้ชาวบ้านบรรเทาจากความทุกข์ได้ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนา การสื่อสารพุทธธรรมของพระนักเผยแผ่ในการบรรเทาความทุกข์ของชาวบ้านในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเผยแผ่พุทธธรรม 3 รูป/คน พระนักเผยแผ่ในอำเภอขามสะแกแสง 7 รูป และประชาชนในอำเภอขามสะแกแสง 7 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารพุทธธรรมของพระนักเผยแผ่เพื่อการบรรเทาทุกข์ของชาวบ้านในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19 ของพระนักเผยแผ่อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมานั้น พระนักเผยแผ่มีบทบาทในการบรรเทาความทุกข์ของชาวบ้านในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19 คือ 1. บทบาทด้านการเยียวยาทางด้านจิตใจ 2. บทบาททางด้านสาธารณสงเคราะห์ บทบาทหน้าที่ของพระนักเผยแผ่ที่ได้กล่าวมาในข้างต้นทั้งสองด้านเป็นบทบาทหน้าที่ที่มีความเชื่อมโยงและมีความเกื้อหนุนกันอย่างเห็นได้ชัด ในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19 ผู้คนในสังคมต่างได้รับผลกระทบทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้พระภิกษุสงฆ์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ของชาวบ้าน การนำเอาพุทธธรรมมาใช้ในการบรรเทาความทุกข์ของชาวบ้าน ถือว่าเป็นบทบาทหน้าที่หลักของพระนักเผยแผ่ในการช่วยเหลือทางด้านสาธารณสงเคราะห์ ที่พระนักเผยแผ่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ ได้ส่งผลอนุเคราะห์ให้การทำหน้าที่ในส่วนการเผยแผ่พุทธธรรมนั้นมีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น</p> <p> วิธีการสื่อสารและพุทธธรรมของพระนักเผยแผ่และความรู้สึกที่มีต่อการสื่อสาร ที่ทำให้ชาวบ้านบรรเทาจากความทุกข์ได้นั้น พบว่า พระนักเผยแผ่ที่ทำหน้าที่ในการเผยแผ่พุทธธรรม ต้องมีความเข้าใจในกระบวนการสื่อสารตามทฤษฎีการสื่อสารแบบตะวันตก และพุทธวิธีการสื่อสารพุทธธรรมของพระพุทธเจ้า แล้วนำมาประยุกต์ปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการบรรเทาทุกข์ของชาวบ้าน โดยยึดเอาองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสารเป็นหลัก คือ 1.) ผู้ส่งสารที่ดีด้วยมีสัปปุริสธรรม 7 2) เนื้อหาสาระของสาร ต้องมีคุณลักษณะ สัจะ ตถตา กาล ปิยะ อัตถะ ในหัวข้อธรรมคือ อริยสัจ 4 สังคหวัตถุ 4 และพละ 4 3) ช่องทางในการสื่อสารที่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยเลือกใช้แอพพลิเคชั่น ที่เรียกว่า ไลน์ และเฟชบุ๊ก เป็นต้น 4) กลุ่มผู้รับสารที่มีความพร้อมในการรับข้อมูล เป็นผู้ที่มีทักษะการสื่อสารที่ดี มีความเข้าใจในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน มีทัศนคติที่ดีต่อพระนักเผยแผ่ และมีพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่เหมือนกันกับพระนักเผยแผ่</p> <p> สำหรับแนวทางการพัฒนาการสื่อสารพุทธธรรมของพระนักเผยแผ่ในการบรรเทาทุกข์ของชาวบ้านในภาวะวิกฤตโรคโควิด- 19 มีองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสารข้างต้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสื่อสารที่พระนักเผยแผ่จะต้องคำนึงถึงและนำมาใช้ในการออกแบบกระบวนการสื่อสารให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร เพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาการสื่อสารพุทธธรรมของพระนักเผยแผ่ในการบรรเทาทุกข์ของชาวบ้านในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19 ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในสังคม เพื่อจะเป็นการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับชาวบ้าน และยังเป็นการสืบทอดอายุของพระพุทธศาสนาอันเป็นหน้าที่หลักของพระนักเผยแผ่สืบไป </p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6768 แนวทางการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ตามหลักสัปปายะ 7 ของโรงเรียนในกลุ่มสันติสุข จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2025-03-05T09:37:31+07:00 รักษา ทรัพย์ประเสริฐ raksa.6624@gmail.com สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย raksa.6624@gmail.com พระครูภัทรธรรมคุณ raksa.6624@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ ของโรงเรียนในกลุ่มสันติสุข 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ตามหลักสัปปายะ 7 ของโรงเรียนในกลุ่มสันติสุข 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ ตามหลักสัปปายะ 7 ของโรงเรียนในกลุ่มสันติสุข จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี ใช้ประชากรผู้บริหารและครู โรงเรียนในกลุ่มสันติสุข จำนวน 127 คน เก็บข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ โดยภาพรวม ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากเนื่องจากผู้บริหารและครูให้ความร่วมมือบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งใน ด้านวิธีการจัดการเรียนรู้ ด้านการใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ ด้านความร่วมมือของเครือข่าย ด้านยุทธศาสตร์การดำเนินงาน และด้านทรัพยากรการบริหารการศึกษา ตามลำดับความสำคัญของการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ 2. วิธีการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ต้องอาศัยความร่วมมือจากครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน โดยจัดสภาพแวดล้อมปลอดภัย สนับสนุน Active Learning ใช้เทคโนโลยี พัฒนาทักษะการสอน สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ และเชื่อมโยงกับภายนอกเพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนอย่างเต็มที่ และ ๓. แนวทางการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ตามหลักสัปปายะ 7 มีแนวทาง ประกอบด้วย 1) อาวาสสัปปายะ สร้างสภาพแวดล้อมสะอาด ทันสมัย และมีระเบียบ เอื้อต่อการเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์ที่ดี 2) โคจรสัปปายะ จัดสภาพการเดินทางและเรียนรู้นอกสถานที่ให้ปลอดภัยและเหมาะสม 3) ภัสสสัปปายะ ใช้สื่อการสอนหลากหลายและทันสมัย กระตุ้นการเรียนรู้ 4) ปุคคลสัปปายะ ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากร และการมีส่วนร่วมของนักเรียน 5) โภชนสัปปายะ สนับสนุนการบริโภคทั้งอาหารและความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง 6) อุตุสัปปายะ ควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิและแสงสว่าง ให้เหมาะสมกับการเรียน และ 7) อิริยาบถสัปปายะ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวและการผ่อนคลาย เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้เรียน</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/7462 แนวทางการป้องกันพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนตามหลักอริยสัจ 4 กลุ่มโรงเรียนเมืองชัยพระเจ้าตากสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 2025-04-24T14:40:33+07:00 เกรียงไชย มีศิลป์ paemeesin.2537@gmail.com พระครูภัทรธรรมคุณ paemeesin.2537@gmail.com พระครูกิตติญาณวิสิฐ paemeesin.2537@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียน 2) เพื่อศึกษาวิธีการป้องกันพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนตามหลักอริยสัจ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการป้องกันพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียน ตามหลักอริยสัจ 4 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 85 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 ท่าน เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียน ตามหลักอริยสัจ 4 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียน กลุ่มโรงเรียนเมืองชัยพระเจ้าตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 อยู่ในระดับมาก โดยมีการใช้เพื่อการบันเทิงและการสื่อสาร มากกว่าการใช้เพื่อการศึกษา ปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ปรากฏกับนักเรียน คือ นักเรียนใช้สื่อสังคมออนไลน์ เป็นระยะเวลานานเกินไป แนวทางแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว คือ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การรณรงค์ไม่ให้นักเรียนโพสต์รูปภาพตนเองในลักษณะที่ไม่เหมาะสม เช่น ภาพหลุด คลิปหลุด หรือโพสต์รูปภาพที่สื่อถึงอบายมุขต่าง ๆ 2. วิธีการป้องกันพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนตามหลักอริยสัจ 4 กลุ่มโรงเรียนเมืองชัยพระเจ้าตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 คือ 1) การสร้างความตระหนักรู้ให้นักเรียนรับทราบถึงในสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวนักเรียน จากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ 2) แนะนำวิธีวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดสภาพปัญหานั้น ๆ 3) ให้นักเรียนหาแนวทางและวางแผนในการแก้ปัญหาตามสาเหตุดังกล่าว 4) ให้นักเรียนดำเนินการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ และให้คำมั่นในการที่จะไม่ปฏิบัติพฤติกรรมที่จะสร้างปัญหาต่อไป 3. แนวทางการป้องกันพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียน ตามหลักอริยสัจ 4 กลุ่มโรงเรียนเมืองชัยพระเจ้าตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 มีดังนี้ 1) การจัดโปรแกรมการอบรมกระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 2) จัดกิจกรรมประกวดการใช้สื่อสังคมออนไลน์เชิงการศึกษา และสร้างสรรค์&nbsp; 3) เสริมสร้างการใช้สื่อออนไลน์ ในการจัดการเรียนการสอน รายวิชาตามหลักสูตรการเรียน และ 4) สร้างเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์เพื่อต่อยอดการศึกษาและการสร้างสรรค์</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/7008 พุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อสร้างสัมมาวาจาของสามเณรโรงเรียน พระปริยัติธรรมวัดพระธาตุบังพวน ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 2025-05-20T13:00:40+07:00 พระมหาเจษฎา เกนสาคู nithidechakorn96@gmail.com บุญเลิศ โอฐสู Nithidechakorn96@gmail.com กนกวรรณ กรุณาฤทธิโยธิน Nithidechakorn96@gmail.com <p>งานวิทยานิพนธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการสื่อสารด้านคำพูดของสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุบังพวน ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคายในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษากระบวนการพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อสร้างสัมมาวาจาให้กับสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุบังพวน ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 3) เพื่อเสนอรูปแบบพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อสร้างสัมมาวาจา โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุบังพวน ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีการศึกษาด้านเนื้อหาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก ทฤษฎีกระบวนการการสื่อสารและเอกสารวิชาการอื่นๆ และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จากการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 27 รูป/คน<br>ผลการศึกษาวิจัย พบว่า <br>1) สภาพการสื่อสารคำพูดของสามเณรในโรงเรียนวัดพระธาตุบังพวนในปัจจุบัน มีปัญหาการใช้วาจาที่ไม่เหมาะสมในหมู่สามเณร ส่งผลกระทบต่อตัวสามเณรเอง ผู้สอน เพื่อน และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม <br>2) กระบวนการพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อสร้างสัมมาวาจาให้กับสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุบังพวน ควรนำเอาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและทฤษฎีการสื่อสารสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยให้เข้าใจกระบวนการสื่อสารและองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หลักธรรมสัมมาวาจาให้แนวทางในการใช้คำพูดที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาบุคลิกภาพ ฝึกสติ สมาธิ และเจริญปัญญา เพื่อควบคุมอารมณ์และคำพูด สร้างความสัมพันธ์ที่ดี สื่อสารด้วยเมตตา เข้าใจผู้อื่น และสร้างความเข้าใจอันดีแก้ปัญหาความขัดแย้งใช้คำพูดที่สร้างสรรค์ในการเจรจาและแก้ปัญหา ส่งเสริมสังคมที่ดีสร้างวัฒนธรรมการสื่อสารที่ดี ผ่านฝึกอบรมจัดอบรมเกี่ยวกับสัมมาวาจา ทั้งในโรงเรียน องค์กร และชุมชน การใช้สื่อที่ส่งเสริมสัมมาวาจา ฝึกปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและการใช้คำพูด สร้างวัฒนธรรมองค์กรส่งเสริมการใช้สัมมาวาจาในองค์กร รวมทั้งนำไปใช้ในชีวิตประจำวันด้วยหลักการปฏิบัติสัมมาวาจาในทุกสถานการณ์ <br>3) รูปแบบพุทธนวัตกรรมการสื่อสารการสร้างสัมมาวาจาในสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุบังพวน โดยใช้กระบวนการ “Pairoh” Model (ไพเราะโมเดล) ที่ประกอบด้วยPerson บุคคล Activity กิจกรรม Impression ความประทับใจ Receive การยอมรับ Often ความสม่ำเสมอ Helpful เป็นประโยชน์ ในการแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพด้านการสื่อสารของกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะการสร้างปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในส่งเสริมในการใช้สัมมาวาจา</p> 2025-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา