วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj <p><strong>วารสารพุทธอาเซียนศึกษา</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสนับสนุน ส่งเสริมให้คณาจารย์บุคลากรเจ้าหน้าที่ นิสิต และผู้สนใจ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยได้เสนอและเผยแพร่บทความบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ บทความปริทรรศน์ และบทความพิเศษ ที่ได้มาตรฐานสู่สาธารณชน รวมทั้งยกระดับผลงานทางวิชาการให้ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ด้วยหวังให้เป็นตลาดแห่งองค์ความรู้ที่สามารถค้นคว้า ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ทั้งนี้ เปิดรับบทความเกี่ยวกับอาเซียนศึกษา ในมิติของศาสนา การศึกษา สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การพัฒนาชุมชม การศึกษา จิตวิทยา และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีละ 2 ฉบับ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ทั้งนี้เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p> </p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร</strong></p> <p> 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับอาเซียนศึกษา ในมิติของพระพุทธศาสนา ปรัชญา สังคมวิทยา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การพัฒนาชุมชม การศึกษา จิตวิทยา และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ </p> <p> 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่</p> <p> 3) บทความปริทรรศน์ (Review Article) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เป็นบทความในลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ</p> <p> 4) บทความพิเศษ (Special Article) ในวาระครบรอบหรือในโอกาสสำคัญต่าง ๆ</p> <p> </p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร</strong></p> <p> วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร มีกำหนดวงรอบการเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ดังนี้</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน </p> <p> ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p> ทั้งนี้ เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป</p> <p> เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) ประเภท Online ของวารสารพุทธอาเซียนศึกษา คือ ISSN 2822-0935 (Online) เผยแพร่สืบค้น และดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่ <a href="https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj">https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj</a></p> <p> </p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ</strong></p> <p> วารสารมีกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) ทั้งนี้บทความจากผู้นิพนธ์ภายในหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ จะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ ส่วนบทความจากผู้นิพนธ์ภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ จะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในหรือภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในสาขานั้นๆ และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์</p> ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ASEAN Studies Centre of MCU th-TH วารสารพุทธอาเซียนศึกษา 2539-6269 พุทธมหายาน : ความเชื่อและศรัทธาในเจ้าแม่กวนอิม https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6103 <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อและศรัทธาต่อเจ้าแม่กวนอิมในฐานะพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์แห่งความเมตตากรุณา ซึ่งเป็นองค์สำคัญในพระพุทธศาสนามหายาน ความเชื่อนี้ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวจีนและประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยมีรากฐานมาจากหลักคำสอนที่เน้นการเสียสละ การช่วยเหลือผู้อื่น และการบำเพ็ญกุศลเพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ พิธีกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การสวดมนต์ การรักษาศีล การกินเจ การกราบไหว้เจ้าแม่กวนอิม ไม่เพียงแต่สะท้อนความศรัทธาลึกซึ้งของพุทธศาสนิกชน แต่ยังเป็นที่พึ่งทางจิตใจและสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต</span></span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทบาทของความเชื่อดังกล่าวในการส่งเสริมคุณธรรม ความรัก และความสามัคคีในครอบครัวและชุมชน โดยเฉพาะการสร้างความสงบสุขทางจิตใจและการแคล้วคลาดจากภัยอันตราย ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนามหายาน วัฒนธรรมท้องถิ่น และแนวคิดจากศาสนาฮินดู ที่ทำให้พิธีกรรมและความเชื่อมีความลึกซึ้งทั้งในด้านจิตวิญญาณและสังคม ความเชื่อในเจ้าแม่กวนอิมจึงยังคงมีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตของผู้ศรัทธา และช่วยเสริมสร้างคุณค่าในสังคมร่วมสมัยด้วย</span></span></p> พระก้องเกียรติ สุวฑฺฒนปญฺโญ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 9 2 การบริหารกิจการคณะสงฆ์ไทยในยุควูก้า https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6191 <p>บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาความสำคัญของการบริหารกิจการคณะสงฆ์ไทยในบริบทยุควูก้า ซึ่งเป็นยุคที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครือ โดยเน้นการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม <br>การบริหารกิจการคณะสงฆ์จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการปกครอง การศึกษา การเผยแผ่ศาสนา และการช่วยเหลือสังคมอย่างรอบด้าน พร้อมกับการนำเทคโนโลยีและข้อมูลมาใช้เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ การเผยแผ่ศาสนาต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย เช่น การใช้สื่อดิจิทัล ในขณะเดียวกัน การศึกษาสำหรับพระสงฆ์และประชาชนควรมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่เหมาะสมกับความต้องการในยุคปัจจุบัน รวมถึงการจัดสร้างระบบสนับสนุนที่ยั่งยืน การบริหารกิจการคณะสงฆ์ในอนาคตจึงจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่นและการวางแผน<br>ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างเสริมความมั่นคงและความยั่งยืนในทุกระดับ<br>ของการบริหารจัดการ</p> พระครูปลัดพนานันท์ ฐิตเมโธ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 9 2 พุทธนวัตกรรมในการสร้างแหล่งเรียนรู้ที่ยั่งยืน https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/5820 <p>บทคัดย่อ &nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความนี้นำเสนอแนวคิดการสร้างแหล่งเรียนรู้ที่ยั่งยืนตามหลักพุทธธรรม โดยการประยุกต์ใช้พุทธนวัตกรรมที่เน้นการพัฒนาจิตใจและปัญญาควบคู่กับการศึกษาและความรู้ทางวิชาการ การศึกษาเพื่อความยั่งยืนนี้ผสานหลักธรรม เช่น อิทธิบาท 4 และไตรสิกขา เข้ากับการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีสติ สมาธิ และปัญญาในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การศึกษาเพื่อความยั่งยืนตามหลักพุทธธรรมจึงไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาความรู้ทางวิชาการ แต่ยังช่วยสร้างมนุษย์ที่มีคุณธรรมจริยธรรม มีสติปัญญาในการรับมือกับความทุกข์และการเปลี่ยนแปลงในชีวิต พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในระยะยาว</p> <p><strong>&nbsp;</strong>คำสำคัญ :&nbsp; พุทธนวัตกรรม,&nbsp; แหล่งเรียนรู้, ความยั่งยืน</p> ปารินันท์ ปางทิพย์อำไพ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 9 2 ศิลปะและการสร้างภูมิคุ้มกันทางความรักวิถีพุทธของวัยรุ่น ในยุค Disruption https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6012 <p>&nbsp;ความรักเป็น องค์ประกอบด้านความใกล้ชิดเป็นแกนหลักที่สามารถพบได้ในความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ มีความคงทนค่อนข้างสูง และมีบทบาทสำคัญในความสัมพันธ์ระยะยาว ส่วนความเสน่หามักพบในความสัมพันธ์เชิงคู่รักเท่านั้น เด่นชัดในความทรงจำ และมีบทบาทสำคัญในความสัมพันธ์ระยะสั้น มีผลต่อปฏิกิริยาทางร่างกายและการรับรู้ความเจ็บปวด ขณะที่ความผูกมัดนั้นมีความผันแปรในแต่ละช่วงอายุ เช่น มีความผูกมัดกับครอบครัวในวัยเด็ก ผูกมัดกับเพื่อนในช่วงวัยรุ่น และผูกมัดกับคนรักในวัยผู้ใหญ่ มีผลต่อการรับรู้ความเจ็บปวดและความสามารถในการควบคุมตนเอง จำแนกความรักออกได้เป็นประเภทต่างๆ 8 ประเภท 1. การไม่มีความรัก (nonlove) 2. ความชอบ (liking) 3. รักแบบหลงใหล (infatuated love) &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;4. ความสัมพันธ์แบบปราศจากความรัก (empty love) 5. รักแบบโรแมนติก (romantic love&nbsp; 6. รักแบบมิตรภาพ (companionate love) 7. รักแบบไร้สติปัญญา (fatuous) 8. รักสมบูรณ์แบบ (consummate love)</p> <p>เมื่อเรามองตามหลักคำสอนของศาสนาในเรื่องของ ความรัก ในทางพุทธศาสนาไม่ได้มีความหมายเพียงความรู้สึกผูกพันระหว่างบุคคลเท่านั้นแต่หมายรวมไปถึงความรู้สึกติดตาต้องใจในวัตถุและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ด้วย ซึ่งความรักเกิดจากอุปาทานประเภทที่เรียกว่า &nbsp;กามปาทาน หรือความยึดมั่นโดยความเป็นกามหรือของรักใคร่ทั่วไป ตามปกติมนุษย์ มีความติดพันในสิ่งที่น่ารักใคร่พอใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ รวมเรียกว่า กามารมณ์ 6 เป็นเหตุนำมาซึ่งความยุ่งยากวุ่นวายไม่จบสิ้น เพราะมนุษย์ต้องดิ้นรนขวนขวายเพื่อให้ได้มาซึ่งความสบายใจในทาง รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส กล่าวได้ว่าในทางโลกการติดกามจะเป็นประโยชน์เพราะจะทำให้รักครอบครัว ขยันขันแข็งในการแสวงหาทรัพย์และชื่อเสียง ฯลฯ แต่ในทางธรรมะจะรู้สึกว่าเป็นทางมาของความทุกข์อันเร้นลับ การติดกามเป็นสิ่งที่ต้องละกันให้หมดจึงจะดับทุกข์ได้ จึงเป็นศาสตร์และศิลปะและการสร้างภูมิคุ้มกันทางความรักวิถีพุทธของวัยรุ่น ในยุค Disruption</p> ธนวิชญ์ กิจเดช Copyright (c) 2024 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 9 2 การพัฒนาศักยภาพการบูรณาการศาสตร์ร่วมสมัยกับการรักษาโรค ตามหลักพุทธจริยศาสตร์ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6013 <p>คนทุกคนบนโลกใบนี้คงไม่มีใครที่จะปฏิเสธการรักษาด้วยระบบแพทย์และสาธารณสุขที่ใช้กันอยู่ทั่วทุกมุมโลก เพราะมีส่วนสำคัญยิ่งในการที่จะบรรเทาความทุกข์และความเจ็บป่วยของมวลมนุษยชาติช่วยให้รอดพ้นจากความตาย ความพิการ รวมถึงความเจ็บปวดไม่สบายอันเนื่องมาจากหลายสาเหตุและหลายปัจจัยที่มาจากโรคภัยไข้เจ็บ จนกล่าวได้ว่าตลอดช่วงเวลาชีวิตของคนๆนึ่งตั้งแต่เกิดจนหมดลมหายใจของคนส่วนใหญ่ต้องอาศัยและพึ่งพิงกับระบบสุขภาพ</p> <p>การแสวงหาทัศนะความจำเป็นพื้นฐานแบบอื่นในการทำความเข้าใจโลกและชีวิตในเรื่องของการดูแลด้านสุขภาพและความเจ็บป่วยจึงเป็นความพยายามในการที่จะแก้ไข้ปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งสำหรับคนไทยแล้วนั้นที่มีพุทธศาสนาเป็นเบ้าหลอมทางวัฒนธรรมมาอย่างช้านาน ที่ทำให้ใครหลายๆคนนั้นต้องหันกลับมาทบทวนทัศนะหลักของพระพุทธศาสนาที่มีกรอบในการมองโลกและชีวิตที่โดดเด่นและมีความชัดเจน ที่อาจจะก่อให้เกิดมุมมองใหม่ๆ ในการทำความเข้าใจและหาแนวทางและคำตอบในการขัดการกับวิกฤติปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันด้วยการเยี่ยวยาและการรักษาโรค ทั้งทางกายและทางใจ</p> ธนวิชญ์ กิจเดช Copyright (c) 2024 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 9 2 English Reading Comprehension of Students at International Theravada Buddhist Missionary University https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6120 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The study is titled “English reading comprehension of students at International Theravada Buddhist Missionary University”. The objectives of this research were 1) to study the difficulties of English reading comprehension of students at International Theravada Buddhist Missionary University, Yangon, Myanmar, 2) to find out how to solve students' English reading comprehension problems at International Theravada Buddhist Missionary University, Yangon, Myanmar. The research used both quantitative and qualitative methods. The study collected data from 60 second-year students through questionnaires and conducted in-depth interviews with five teachers to gather their opinions and suggestions.</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The findings indicated that the highlights critical issues affecting students' reading comprehension are primarily linked to a lack of interest, poor reading habits, and limited vocabulary and grammar knowledge. Many students rely on teachers or peers for answers instead of engaging with the material themselves. Additionally, students lack effective reading strategies and techniques, which are essential for understanding texts. Observations revealed that teachers often focus more on grammar than on teaching reading skills, with some displaying a lack of enthusiasm and competence in teaching reading. Overall, both student-related factors and deficiencies in teaching practices significantly contribute to challenges in reading comprehension.</p> <p>The suggestion to further research the study recommends was the importance of investigating various English language skills among university students, specifically focusing on writing, speaking, and listening abilities. It highlights the need to explore and improve students' vocabulary to enhance their communication clarity and effectiveness. Additionally, it underscores the significance of phonics as a foundational element in English learning, aiding students in the correct pronunciation and writing of words.</p> suca rita Copyright (c) 2024 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 9 2