วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj <p>วารสารพุทธอาเซียนศึกษา Buddhist ASEAN Studies Journal (BASJ)</p> <p>ISSN: 2539-6269</p> <p><strong>สำนักงาน</strong> ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย</p> <p>เลขที่ 79 หมู่ 1 <span style="font-size: 0.875rem;">ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา</span></p> <p><strong>อีเมล์</strong> <a href="mailto:[email protected]">[email protected]</a></p> th-TH [email protected] (Dr.Surat Khamsopha) [email protected] (Phrapalad Aphichet Subharavadi) Mon, 12 Feb 2024 14:35:51 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองกล้า https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/2473 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการใช้แบบฝึกกับหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีกลุ่ม ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองกล้า ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษต่ำกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 60) จำนวน 20 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงสถิติโดยใช้การวิเคราะห์คะแนน ความสามารถทางด้านการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เปรียบเทียบคะแนน ความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการฝึก โดยใช้สถิติค่า t-test ในการคำนวณ ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงของนักเรียนหลังการใช้แบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพอย่างดีขึ้น ส่งผลการอ่านออกเสียงเสียงมีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งสามารถสามารถสรุปผลวิจัยได้ คือ กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสูงขึ้น ทั้ง 5 ชุด หลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ</p> พระสวณัฐกร ฐิตปรกฺกโม (แสนสุข) Copyright (c) 2024 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/2473 Mon, 12 Feb 2024 00:00:00 +0700 Following the footsteps to search for the Wat Rakang Amulet of Luang Poo toe Prommarangsi https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/2502 <p>The objectives of this qualitative research article were to find the reason for creating the Wat Rakang (Temple of Bell) Amulet of Luang Poo Toe Prommarangsi (Grand Pa Toe Prommarangsi) and to find the places where the Wat Rakang Amulet of Luang Poo Toe Prommarangsi has been kept after creation, conducted with the qualitative research method. The 20 key informants who participated in this research were purposefully selected from academicians, village folk-wise persons who know the history of Wat Rakang Amulet of Luang Poo Toe Prommarangsi</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; Findings were that the main reason to create the Wat Rakang Amulet of Luang Poo Toe Prommarangsi, the Abbot of Wat Rakang (Temple of Bell) was to extend the life of Buddhism to 500 years as predicted. Luang Poo Toe divided two methods to extend the life of Buddhism, the short and the long methods. &nbsp;The first method was to create the Somdej Amulet (Lord of Amulet) on auspicious occasions according to traditions and present the royal merits to the King at that period so that the King would present to His Noble persons, high ranking Officers, and general people. The second method to extend the long life of Buddhism was to keep the Amulet he created in the cells at various monasteries as the heritage for Buddhists to worship and extend the life of Buddhism in the future.</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The places where Luang Poo Toe Prommarangsi kept the Amulet to extend the life of Buddhism as the long method are 13 monasteries as follows: 1. Wat Sa Tue. Ayutthaya Province, 2. Wat Mai Amataros. Bangkok, 3. Wat Chai Yo Varavihara. Ang Thong Province, 4. Wat Klang Klong Khoi. Ratchaburi Province, 5. Wat Lakorntam. Bangkok, 6. Wat Kudhi Thong. Ayutthaya Province, 7. Wat Rakangkositaram. Bangkok, 8. Wat Intraviharn. Bangkok, 9 Wat Mai Pakbang. Ayutthaya Province, 10. Wat Kalayanamitr. Bangkok, 11 Wat Cheepakhao. Bangkok, 12 Wat Pratatpanom. Nakornpanom Province, 13 Wat Borvornvittharam. Bangkok.</p> Sookchok Thongsook ularn Copyright (c) 2024 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/2502 Mon, 12 Feb 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสถานศึกษา จังหวัด ตรัง สุราษฎร์ กาญจนบุรี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/2534 <p> </p> <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา จังหวัดตรัง สุราษฎร์ กาญจนบุรี 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาจังหวัดตรัง สุราษฎร์ กาญจนบุรี เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) มีเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามโดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร สถานศึกษา และ ครู จังหวัดตรัง สุราษฎร์ กาญจนบุรี จำนวน 4 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 77 คน ได้แก่ผู้อำนวยการ 4 คน และครู 73 คน รวมทั้งสิ้น 77 คน ตามแนวความคิดของของบาสและอโวลิโอ และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูตามแนวความคิดของบาร์นาร์ด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน </p> <p> </p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <ol> <li>ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา จังหวัดตรัง สุราษฎร์ กาญจนบุรี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์</li> <li>แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา จังหวัดตรัง สุราษฎร์ กาญจนบุรี โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ผลประโยชน์ทางอุดมคติโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างกว้างขว้าง สิ่งจูงใจที่เกี่ยวกับโอกาสของบุคคล ความดึงดูดใจทางสังคม สภาพการอยู่ร่วมกัน สิ่งจูงใจด้านสภาพทางกายภาพที่พึงปรารถนา สิ่งจูงใจเกี่ยวกับสภาพการทำงาน โดยปรับสภาพการทำงานให้เหมาะสมกับความสามารถของบุคคล และทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนและสิ่งจูงใจที่เป็นวัตถุ</li> </ol> ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, ณัฐนรี จุฑาวรรณ, ชนม์ณกานต์ เสฏฐวุฒิสุวนันท์ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/2534 Mon, 12 Feb 2024 00:00:00 +0700 การบริหารงานวิชาการและการพัฒนาระบบบริหารจัดการ การสร้างสื่อการเรียนประเภทภาพยนตร์การ์ตูน 2 มิติเรื่อง วันออกพรรษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านห้วยชัน อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/3739 <p>งานวิจัยการสร้างสื่อการเรียนประเภทภาพยนตร์การ์ตูน 2 มิติ เรื่อง วันออกพรรษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างสื่อการเรียนประเภทภาพยนตร์การ์ตูน 2 มิติเรื่องวันออกพรรษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านห้วยชัน อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2)เสริมสร้างการเรียนรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการดำเนินการวิจัย แบ่งออกได้เป็น 3 กระบวนการหลักคือ 1) กระบวนการในการสร้างภาพยนตร์การ์ตูน 2 มิติ 2) กระบวนการสร้างแบบประเมินสื่อการเรียนประเภทภาพยนตร์การ์ตูน 2 มิติ 3) กระบวนการดำเนินการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดบางพลัด จำนวน 30 คน ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ประเมินหาคำความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ซึ่งผลการประเมินแบ่งออกเป็น 2 ด้านด้วยกัน อันได้แก่1) ด้านการ์ตูนแอนิเมชั่น มีค่าเฉลี่ย 4.63 และคำส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.452) ด้านแบบฝึกหัด มีค่าเฉลี่ย 4.83 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.36 โดยสรุปผลจากการประเมินได้ว่า สื่อการเรียนประเภทภาพยนตร์การ์ตูน 2 มิติเรื่อง วันออกพรรษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านห้วยชัน อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่สร้างขึ้นสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นอย่างดี</p> ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ Copyright (c) 2023 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/3739 Mon, 12 Feb 2024 00:00:00 +0700 บทบาทของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/2544 <p>พระสงฆ์นับว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ เพราะท่านเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย หนึ่งในพุทธบริษัทซึ่งถือว่าเป็นองค์หลัก เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา ด้วยเพราะพระสงฆ์สาวกส่วนใหญ่เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง ปฏิบัติ ถูกทาง ปฏิบัติสมควร เป็นผู้ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การกราบไหว้ เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก มีปณิธานในการเผยแผ่ และไม่เพียงแต่ท่านจะอบรมสั่งสอนหลักธรรมให้แก่พุทธศาสนิกชนเท่านั้น ท่านยังสามารถปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมด้วย บทบาทในปัจจุบันของพระสงฆ์น่าจะมสี่วนสะท้อนให้เห็นถึงบทบาท ในอนาคตได้บ้าง เพราะฉะนั้น หากเราประสงค์ให้สถาบันสงฆ์ในอนาคตได้แสดงบทบาทในทาง ที่ถูกที่ควรและสอดคล้องกับทัศนคติ (ที่ชอบธรรม) ของสังคมแล้วไซร้ เราก็จะได้รีบเร่ง ส่วนบทบาทของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ซึ่งมีวิธีการถ่ายทอดหลักธรรมของพระสอนศีลธรรม ต่อเนื้อหาวิชาศีลธรรมที่จัดสอนในโรงเรียน ที่จะใช้เครื่องมือในการพัฒนา และปรับปรุงการศึกษาหลักสูตรการเรียนการสอนศีลธรรม ให้สอดคล้องกับยุคปฏิรูปการศึกษาต่อไปในอนาคต โดยเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่าบ้าน (ชุมชน) วัด และโรงเรียน และเป็นการเข้าไปเผยแผ่หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาเข้าสู่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> พระครูอุดมจารุวรรณ คำไล้ จารุวํโส Copyright (c) 2024 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/2544 Mon, 12 Feb 2024 00:00:00 +0700