https://so07.tci-thaijo.org/index.php/cmredujo/issue/feed
วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่
2025-04-12T12:11:22+07:00
บรรณาธิการวารสาร / Journal Editor
edu.cmru.journal@g.cmru.ac.th
Open Journal Systems
<h3><strong>วัตถุประสงค์</strong></h3> <blockquote> <p><em><strong>วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่ (Chiang Mai Rajabhat Education Journal) </strong>เป็นวารสารที่เผยแพร่บทความวิชาการและบทความวิจัย รวมถึงเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพทางด้านครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ </em></p> </blockquote> <h3><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ</strong></h3> <blockquote> <p><em>บทความที่ส่งมาตีพิมพ์จะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา อย่างน้อย </em><em>3 คน (Double-blind peer review) จากหลากหลายสถาบัน ผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน ผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้แต่ง </em></p> </blockquote> <h3><strong> ขอบเขตการตีพิมพ์</strong></h3> <blockquote> <p><em>บทความต้องมีประเด็นที่น่าสนใจศึกษาทางด้านครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ได้แก่ </em></p> <em>- การศึกษาปฐมวัย - การประถมศึกษา<br />- พลศึกษาและนันทนาการ - คอมพิวเตอร์ศึกษา<br />- เกษตรศาสตร์ - เคมี<br /></em><em>- ชีววิทยา - ฟิสิกส์<br />- คณิตศาสตร์ - อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีศึกษา<br />- ดนตรีศึกษา - นาฏศิลป์<br />- ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ - ศิลปศึกษา<br />- สังคมศึกษา - วิทยาศาสตร์ทั่วไป<br />- การศึกษาพิเศษ - จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว <br />- หลักสูตรและการสอน - บริหารการศึกษา <br />- การวิจัยทางการศึกษา - การวัดและประเมินผลทางการศึกษา<br />- นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา - สาขาที่เกี่ยวข้องกับทางการศึกษา</em></blockquote> <h3><strong>ประเภทบทความที่รับ</strong></h3> <ul> <li><em>บทความวิชาการ</em></li> <li><em>บทความวิจัย</em></li> </ul> <h3><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์</strong></h3> <ul> <li class="show"><em>ภาษาไทย</em></li> <li class="show"><em>ภาษาอังกฤษ</em></li> </ul> <h3><strong>กำหนดการออก</strong></h3> <p><em>วารสารตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี (ราย 4 เดือน)<br /></em></p> <ul> <li class="show"><em>ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน</em></li> <li class="show"><em>ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม</em></li> <li class="show"><em>ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม</em></li> </ul> <h3><strong>ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์</strong></h3> <p><em>ตั้งแต่ปี พ.ศ.</em><em>2565-2568การตีพิมพ์บทความ</em><em>ในวารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่ </em><em>ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ เนื่องด้วยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ </em></p> <p><em>กรณีมีความประสงค์จะขอยกเลิกการตีพิมพ์หลังจากบทความเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของวารสารแล้ว จะต้องชำระค่าธรรมเนียมการขอยกเลิกตีพิมพ์ บทความละ 2,500 บาท</em></p> <p><em><strong>ISSN: </strong>2821-9961 (Online)</em></p> <h3><strong>Publisher (เจ้าของวารสาร)</strong></h3> <blockquote> <p><em>คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ศูนย์แม่ริม)</em><br /><em>เลขที่ 180 หมู่ 7 ถนนโชตนา (เชียงใหม่-ฝาง) ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180</em><br /><em><strong>โทร:</strong> 085-0388990<br /><span class="fontstyle0"><strong>อีเมล: </strong>edu.cmru.journal@g.cmru.ac.th</span></em></p> </blockquote>
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/cmredujo/article/view/5085
The Effectiveness of Task-Based Language Teaching on Enhancing Speaking Skills of University Students
2024-07-10T09:49:26+07:00
Piyanat Chantakhat
piyanat_cha@g.cmru.ac.th
<p>This study investigated the effectiveness of task-based language teaching (TBLT) in fostering speaking skills of university students, while also exploring their perceptions of TBLT implementation. The study examined 60 students enrolled in a classroom English course at the Faculty of Education, CMRU, during the first semester of the 2023 academic year. Employing purposive sampling, the participants were divided into two groups: a control group consisting of 30 students and an experimental group consisting of 30 students. The control group followed traditional teaching methods, whereas the experimental group engaged in TBLT. Research instruments included TBLT lessons, a speaking test, a questionnaire, and a semi-structured interview. Quantitative data underwent t-tests, means, standard deviations, and percentages analysis, while qualitative data from interviews were content-analysed. Results showed the experimental group’s posttest mean was significantly higher than the control group’s, indicating TBLT positively impacted speaking skills. The study also found highest overall student satisfaction with TBLT, particularly for boosting confidence in speaking English, regarding clear instructions and guidance. Some students struggled to recognise progress. Interviews highlighted engagement, confidence-building, and task effectiveness. Overall, students reported positive experiences, indicating TBLT’s effectiveness in improving speaking skills.</p>
2025-04-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/cmredujo/article/view/4414
การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบกล่อง สำหรับพัฒนาผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2024-04-21T12:37:49+07:00
กิตติพิชญ์ ศรีเมือง
khing28412@hotmail.com
วีระศักดิ์ ชมภูคำ
weerasak65@gmail.com
<div> <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบกล่อง เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสอง 2) เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านความรู้และด้านทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนจากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบกล่อง เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสอง ใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดบวกครกเหนือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 21 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบกล่อง เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสอง 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ด้านความรู้ เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสอง 3) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสอง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test</p> <p> ผลการวิจัยสรุปว่า 1) ได้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบกล่อง เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองทั้งหมดจำนวน 4 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 แยกตัวประกอบด้วยสมบัติการแจกแจง ชุดที่ 2 การแยกตัวประกอบด้วยวิธีการแบบกล่อง ชุดที่ 3 วิธีการแบบกล่องกับกำลังสองสมบูรณ์ และชุดที่ 4 วิธีการแบบกล่องกับผลต่างกำลังสอง และผลการประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกชุด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการเรียนรู้ด้านความรู้หลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้การทดสอบคะแนนเฉลี่ย t-test ของผลการเรียนรู้ด้านความรู้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนหลังสูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> </div>
2025-04-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/cmredujo/article/view/5971
การศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2024-10-29T15:12:47+07:00
มนทกานต์ เมฆรา
monmeka@hotmail.com
สิริกาญจน์ สง่า
Sirikan_sa@g.cmru.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้ เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาเปรียบเทียบ คุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ก่อนและหลังการเรียนรู้ผ่านรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย ศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย ได้แก่ แบบวัดคุณลักษณะการคิดเชิงบวก โดยมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณา และสถิติทดสอบที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ก่อนการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนหลังการเรียนรู้อยู่ในระดับสูง ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางจิตวิทยา เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการคิดเชิงบวกหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p> จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการคิดเชิงบวกสามารถเสริมสร้างคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่</p>
2025-04-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/cmredujo/article/view/4731
การพัฒนาการเรียนรู้แบบองค์รวมภูมิปัญญาท้องถิ่นจากไม้ไผ่ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่าฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม
2024-05-16T12:12:54+07:00
ปิยราช สมบัติ
sombat_sbt@yahoo.com
วีระศักดิ์ ชมภูคำ
weerasak65@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับพัฒนาการเรียนรู้แบบองค์รวมภูมิปัญญาท้องถิ่นจากไม้ไผ่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเรียนรู้แบบองค์รวมภูมิปัญญาท้องถิ่นจากไม้ไผ่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่าฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 12 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 10 แผน 2) แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้แบบองค์รวมภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย 3.1) แบบทดสอบความรู้แบบเลือกตอบจำนวน 30 ข้อ 3.2) แบบประเมินการเรียนรู้กระบวนการทำงานจากการทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์จากไม้ไผ่ 3.3) แบบสังเกตพฤติกรรมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ได้แก่ ความมุ่งมั่น การมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และฐานนิยม</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยรวมของทุกรายการประเมินย่อยทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 7 แผน และอยู่ในระดับมาก จำนวน 3 แผน 2. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเรียนรู้แบบองค์รวมภูมิปัญญาท้องถิ่นจากไม้ไผ่ พบว่า 2.1) นักเรียนทุกคนมีความรู้ตามเกณฑ์อยู่ในระดับดีขึ้นไปโดยมีนักเรียน จำนวน 5 คน อยู่ในระดับดีมาก และจำนวน 7 คน อยู่ในระดับดี 2.2) โดยภาพรวมนักเรียนส่วนใหญ่จะมีการเรียนรู้ด้านกระบวนการอยู่ในระดับดีจำนวน 5 คน อยู่ในระดับดีมากจำนวน 3 คน และอยู่ในระดับพอใช้จำนวน 4 คน ส่วนการประเมินการจัดทำโครงงานและการนำเสนอโครงงานสิ่งประดิษฐ์จากไม้ไผ่ โดยการประเมินการเรียนรู้ด้านกระบวนการย่อยทั้ง 4 รายการ โดยภาพรวมนักเรียนส่วนใหญ่จะมีการเรียนรู้ด้านกระบวนการอยู่ในระดับดี จำนวน 6 คน อยู่ในระดับดีมาก 4 คน และพอใช้ จำนวน 2 คน 2.3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์การมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบ อยู่ในระดับดีมาก ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ความมุ่งมั่น อยู่ในระดับดี</p>
2025-04-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่
https://so07.tci-thaijo.org/index.php/cmredujo/article/view/6133
การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานภายในองค์กร (Internal Benchmarking) กับการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน
2024-12-04T14:20:47+07:00
ญาณิฐา ราชคม
yyanitha@yahoo.com
มนสิช สิทธิสมบูรณ์
monasits@nu.ac.th
<p> การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานภายในองค์กร (Internal Benchmarking) เป็นกระบวนการเปรียบเทียบการปฏิบัติงานภายในองค์กรโดยค้นหาบุคคลต้นแบบที่มีแนวปฏิบัติที่ดีในองค์กร เปรียบเทียบความแตกต่างของกระบวนการทำงาน จากนั้นนำมาบูรณาการการทำงานของตนเองโดยการกำหนดเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง การนำกระบวนการ Internal Benchmarking 6 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน (Planning) การวิเคราะห์ (Analysis) การบูรณาการ (Integration) การปฏิบัติ (Action)การติดตามและสะท้อนผล (Reflection) และการปรับใช้ในองค์กร (Adaption) มาใช้ในการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ การใช้ทักษะการวิจัย ความสามารถในการเป็นผู้นำและการบริหารจัดการงานวิจัย ความสามารถในการคิด ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ การมีจริยธรรมและการปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อสร้างผลงานออกมาเป็นรูปธรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในองค์กร และเพิ่มความสามารถในการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนและการพัฒนากระบวนการสอนของครู และช่วยให้ครูและนักวิจัยสามารถปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์วิธีการที่เหมาะสมกับบริบทของตนเองมากยิ่งขึ้น</p>
2025-04-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่