https://so07.tci-thaijo.org/index.php/jmsc_journal/issue/feed วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร 2025-06-20T13:09:04+07:00 Assistant Professor Dr. Anyamanee Pakdeemualchon jmsc_cmru@cmru.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร ดำเนินการเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Academic Article) ที่มีคุณภาพ ซึ่งผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นสนับสนุนให้อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ นำเสนอผลงานวิชาการในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ การจัดการ การบัญชีและการเงิน การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม เศรษฐศาสตร์ และนิเทศศาสตร์</p> <p>ISSN 2821-9821 (Print)</p> <p>ISSN 2821-9562 (Online)</p> <p> </p> https://so07.tci-thaijo.org/index.php/jmsc_journal/article/view/3780 การพัฒนาความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนด้วยวิธีคิดแบบผู้ประกอบการ 2024-02-02T09:15:44+07:00 ภีมภณ มณีธร s.maneetorn@gmail.com ศิริจันทร์ เชื้อสุวรรณ s.maneetorn@gmail.com พัชรินทร์ อุดมจรัสเดช s.maneetorn@gmail.com วรมรรณ นามวงศ์ s.maneetorn@gmail.com รัชนี เสาร์แก้ว s.maneetorn@gmail.com ภูริวัจฐ์ ชีคำ s.maneetorn@gmail.com ครองจิต วรรณวงศ์ s.maneetorn@gmail.com <p> การประกอบการในลักษณะวิสาหกิจชุมชน เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะแวดล้อมภายนอกทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี คู่แข่งขัน และพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปกติใหม่ อีกทั้งเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีทรัพยากรและเงินทุนน้อย จึงเป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการต้องคิดหาวิธีการในการอยู่รอดพร้อมรับมือกับสถานการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและกระทบกับการดำเนินธุรกิจ การพัฒนาวิธีคิดแบบผู้ประกอบการให้เกิดขึ้นกับวิสาหกิจชุมชน จึงมีความจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน โดยต้องมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์และประมวลผลจนเกิดเป็นข้อมูลที่จำเป็นต่อการจัดการองค์กร สามารถมองเห็นภาพรวมของธุรกิจได้อย่างรอบด้าน แสวงหาโอกาสที่อยู่รอบตัว กล้าเผชิญและพร้อมรับกับอุปสรรคที่อาจกระทบต่อธุรกิจ มีเป้าหมายชัดเจน เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ สามารถวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงพร้อมวางแผนรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน ซึ่งจะช่วยให้เห็นถึงเห็นศักยภาพ ขีดความสามารถ และข้อจำกัดที่แท้จริงของตนเอง สู่แนวทางการพัฒนาสู่ความสำเร็จได้ โดยไม่นำเอาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นมาบั่นทอนความมุ่งมั่นในการสร้างความเติบโตให้เกิดขึ้นกับวิสาหกิจชุมชน วิธีคิดแบบผู้ประกอบการจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในทุกระดับที่ต้องการประสบความสำเร็จ สร้างความยืดหยุ่นและปรับตัวท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ช่วยปรับทัศนคติที่มีต่อองค์กร สร้างการตระหนักรู้ถึงตัวตน เกิดความตื่นตัว เรียนรู้ถึงแนวทางในการพัฒนาให้เกิดสิ่งใหม่ในธุรกิจ จึงทำให้เกิดความก้าวหน้าในองค์กร เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพที่ยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน </p> 2025-06-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/jmsc_journal/article/view/5520 แนวทางพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดเชียงใหม่ 2025-01-29T12:14:12+07:00 กีรติ ไพบูลย์ gphaiboon@gmail.com จิรภัทร กิตติวรากูล gphaiboon@gmail.com วีรินทร์รภัฎ รักธรรม์ gphaiboon@gmail.com <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดเชียงใหม่ และ (2) ศึกษาแนวทางพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดเชียงใหม่ ใช้แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลของ Renee Hobbs และตัวบ่งชี้ของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชนเป็นเกณฑ์การพิจารณา กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักศึกษาจำนวน 400 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบวัดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล และ (2) การสนทนากลุ่ม </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล โดยรวมในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 มีรายละเอียดรายด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 การเข้าถึงสื่อ สารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัยในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 ด้านที่ 2 การวิเคราะห์ วิพากษ์ และประเมินสื่อ สารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 ด้านที่ 3 การสร้างสรรค์เนื้อหาและข้อมูลสารสนเทศในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 และด้านที่ 4 การประยุกต์ใช้และสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 </p> <p>งานวิจัยจึงได้พัฒนากิจกรรมที่เน้นการเสริมสร้างทักษะด้านการวิเคราะห์ วิพากษ์ และประเมินสื่อ สารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัล เพราะเป็นด้านที่กลุ่มตัวอย่างมีระดับความสามารถน้อยที่สุด ประกอบกับผลการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ควรให้ความสำคัญในด้านการวิเคราะห์ วิพากษ์ ด้วยการเสริมมิติด้านการนับถือตนเอง การรู้จักปกป้องสิทธิตนเอง การเสริมสร้างเพื่อกระตุ้นพลังใจ การปรับบทบาทให้กับผู้เรียน ทำให้เกิดเป็นกิจกรรมต้นแบบ 4 กิจกรรม ได้แก่ (1) กิจกรรมข้อมูลคู่ขนาน (2) กิจกรรมบันไดงู (3) กิจกรรมเขาวงกต (4) กิจกรรมหลอก ที่สามารถพัฒนาทักษะ MIDL ได้ทั้ง 4 ด้านตามแนวคิดของ Renee Hobbs และตัวบ่งชี้ของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน</p> 2025-06-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/jmsc_journal/article/view/6521 การพัฒนาระบบสารสนเทศบนแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อขอรับคำปรึกษาทางธุรกิจ : กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาชีพและเทคโนโลยี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ 2025-02-13T13:29:42+07:00 เตชิษ สันสี aun.sansi@gmail.com ณัฐพงศ์ นิลคำ acee.nuttapong@rmutl.ac.th <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศบนแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการให้คำปรึกษาทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ SMEs และประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ระบบดังกล่าวได้รับการออกแบบให้สามารถลดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น วิดีโอคอลและการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์</p> <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research) โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ประกอบการ SMEs ที่ใช้บริการระบบสารสนเทศดังกล่าว โดยใช้แบบสอบถามเชิงโครงสร้าง ซึ่งอ้างอิงจากแนวคิด Technology Acceptance Model (TAM) เพื่อประเมินการรับรู้ถึงประโยชน์และความง่ายในการใช้งานของระบบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้งานรับรู้ว่าระบบมีประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะในด้านการลดระยะเวลาการขอคำปรึกษาและการจัดเก็บประวัติการขอคำแนะนำเพื่อนำมาใช้อ้างอิงในอนาคต โดยได้รับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ที่ 3.96 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.85 อย่างไรก็ตาม ยังพบข้อจำกัดบางประการ เช่น ความสะดวกในการนัดหมาย (ค่าเฉลี่ย 3.82) และความสามารถในการเข้าถึงระบบ (ค่าเฉลี่ย 3.81) สำหรับผู้ใช้งานบางกลุ่ม โดยเฉพาะในด้านการลดระยะเวลาการขอคำปรึกษาและการจัดเก็บประวัติการขอคำแนะนำเพื่อนำมาใช้อ้างอิงในอนาคต อย่างไรก็ตาม ยังพบข้อจำกัดบางประการ เช่น ความสะดวกในการนัดหมาย และความสามารถในการเข้าถึงระบบสำหรับผู้ใช้งานบางกลุ่ม ดังนั้นจึงเสนอให้พัฒนาระบบเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงส่วนติดต่อผู้ใช้และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงที่เสถียรขึ้น ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการ SMEs ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ควรมีการพัฒนาเพิ่มเติมในด้านการลดขั้นตอนที่ซับซ้อน และเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานที่สะดวกขึ้น เพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างยั่งยืนในอนาคต</p> 2025-06-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/jmsc_journal/article/view/6626 พฤติกรรมผู้บริโภคและความต้องการที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการ สถานีอัดประจุไฟฟ้า PEA VOLTA 2025-03-24T19:08:17+07:00 ปิยะวัฒน์ มณีเพชร piyawat.network@gmail.com อิราวัฒน์ ชมระกา piyawat.network@gmail.com ภาศิริ เขตปิยรัตน์ piyawat.network@gmail.com <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ความต้องการ และความตั้งใจใช้บริการ และศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค และความต้องการ ที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า PEA VOLTA ประชากรคือ ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย จำนวน 31,515 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง 395 ราย ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ชาร์จแบตเตอรี่เมื่อแบตเตอรี่ต่ำกว่า 25% ค่าใช้จ่ายในการชาร์จ 1,001-3,000 บาทต่อเดือน ใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า PEA VOLTA เนื่องจากชาร์จเต็มเร็ว โดยหาข้อมูลจาก Google Search ประทับใจสถานีอัดประจุไฟฟ้า PEA VOLTA มากที่สุด ตัดสินใจใช้สถานีอัดประจุไฟฟ้าด้วยตนเอง ใช้บริการเดือนละ 3-4 ครั้ง เนื่องจากราคาถูก ระดับความสำคัญของความต้องการและความตั้งใจใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า PEA VOLTA ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า PEA VOLTA คือ การชาร์จแบตเตอรี่ ค่าใช้จ่ายในการชาร์จ ช่องทางการหาข้อมูล สถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ประทับใจ และความถี่ในการใช้บริการ ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิเคราะห์ความต้องการที่มีต่อความตั้งใจใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า PEA VOLTA พบว่า ตัวแปรความต้องการสามารถพยากรณ์ความตั้งใจใช้บริการ ได้ร้อยละ 29.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนที่เหลืออีกร้อย 70.30 เกิดจากปัจจัยอื่น และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในระดับปานกลางเท่ากับร้อยละ 54.50</p> 2025-06-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/jmsc_journal/article/view/4858 ผลลัพธ์จากการทำบัญชีครัวเรือนชุมชนบ้านพระพุทธบาทสี่รอย ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 2024-09-06T11:24:56+07:00 พุทธมน สุวรรณอาสน์ moncm007@gmail.com กิรณา ยี่สุ่นแซม moncm007@gmail.com รัชนีกร ปัญญา moncm007@gmail.com พิชญานันท์ อมรพิชญ์ moncm007@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลลัพธ์จากการทำบัญชีครัวเรือนชุมชนบ้านพระพุทธบาทสี่รอย ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ สมาชิกชุมชนบ้านพระพุทธบาทสี่รอย ผู้เข้าร่วมอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน จำนวน 120 คน และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ทำบัญชีครัวเรือน จำนวน 52 คน ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ทำการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยการตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูลที่ได้ตามขอบเขตเนื้อหาและวัตถุประสงค์ รวมทั้งวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การจัดทำบัญชีครัวเรือนส่งผลให้ครัวเรือนชุมชนบ้านพระพุทธบาทสี่รอย ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เกิดกระบวนการรับรู้รายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน ส่งผลให้เกิดความตระหนักและความรอบคอบในการจ่ายเงิน คิดก่อนใช้มากขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 4.59 ระดับมากที่สุด เป็น 4.79 ระดับมากที่สุด จากนั้นจึงหาแนวทางลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ทำให้มีแนวทางเพิ่มเงินออมให้มากขึ้นและภาระหนี้สินที่ลดลง โดยการมีแนวทางลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 4.41 ระดับมาก เป็น 4.57 ระดับมากที่สุด และการมีแนวทางเพิ่มออมเงิน มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 4.59 ระดับมากที่สุด เป็น 4.68 ระดับมากที่สุด อีกทั้งมีการใช้บัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมือในการวางแผนทางการเงินได้ ตลอดจนเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ส่งผลต่อทัศนคติเชิงบวกในการจัดทำบัญชีครัวเรือน</p> 2025-06-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่