ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ถูกคุมความประพฤติพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ Factors influencing Recidivism Drug Abuse among Probationers in Kalasin Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
ารศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ถูกคุมความประพฤติพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ถูกคุมความประพฤติพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ และ (3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ถูกคุมความประพฤติพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ถูกคุมความประพฤติที่ศาลพิพากษาให้คุมความประพฤติซ้ำในคดียาเสพติด ในสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 184 คน โดยการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับการกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ถูกคุมความประพฤติพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดซ้ำคดี เกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ถูกคุมความประพฤติพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล (β = .290) ปัจจัยด้านฤทธิ์ของยาเสพติด (β = .270) และปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (β = .164) สามารถร่วมกันทำนาย ได้ร้อยละ 46.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ถูกคุมความประพฤติพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด รวมถึงการเสริมสร้างการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในระดับโรงเรียนและหน่วยงานสาธารณสุขเรื่องยาเสพติดซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดในสังคม การสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชนมีบทบาทสำคัญในการลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในสังคม การสร้างนโยบายและกฎระเบียบที่เข้มงวดเพื่อควบคุมการผลิต นำเข้า และจำหน่ายยาเสพติด รวมถึงการออกกฎหมายและการดำเนินการทางกฎหมายยาเสพติด การเสริมสร้างระบบบริการการปรึกษาและการรักษาที่ให้คำปรึกษาและการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ยาเสพติด การเสริมสร้างโครงสร้างระบบบำบัดและการฟื้นฟูที่มีการรักษาอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมคุมประพฤติ. (2564). วิเคราะห์สถานการณ์ยาเสพติด. กรุงเทพ: กรมคุมประพฤติ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวรีิยาสาส์น.
บุรฉัตร จันทร์แดง. (2560). บทวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(2). 53-54.
ภานุวัฒน์ มีเพียร. (2565). ปัจจัยที่ทำให้มีการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจำกลางอุดรธานี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3).
โรจน์ศักดิ์ การุณ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติดในเรือนจำจังหวัดสกลนคร. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิโรจน์ วีรชัย, ปัญจรัตน์ ศรีสว่าง และ ธญรช ทิพยวงษ์. (2553) .หลักสูตร การบริการเมทาโดนระยะยาว (Methadone Maintenance Treatment) สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิโรจน์ วีรชัย, ปัญจรัตน์ ศรีสว่าง และ ธญรช ทิพยวงษ์. (2553) .หลักสูตร การบริการเมทาโดนระยะยาว(Methadone Maintenance Treatment) สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมคุมประพฤติ. (2566). ระบบตรวจสอบข้อมูลและตัวชี้วัด ในสารสนเทศ กรมคุมประพฤติ. สืบค้น 17 กันยายน 2567 จาก http://210.246.159.140/dopkpi/.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2566). รายงานสถานการณ์ยาเสพติด. สืบค้น 17 กันยายน 2567 จาก https://www.nccd.go.th/upload/content/suj.pdf(10).pdf.
สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดกาฬสินธุ์. (2566). รายงานการคุมประพฤติในคดียาเสพติด ปี 2566. กาฬสินธุ์ : สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดกาฬสินธุ์.
United Nations Office on Drugs and Crime (2002). World Drug Report 2022.สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2567 Form https://www.unodc.org/unodc/en/data-and-analysis/world-drug-report-2022.html.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.