https://so07.tci-thaijo.org/index.php/sujba/issue/feed สยามวิชาการ 2024-03-06T13:40:49+07:00 ดร.พรชัย มงคลวนิช [email protected] Open Journal Systems <p><strong>สยามวิชาการ (SIAM ACADEMIC REVIEW)</strong> ISSN : 1513-1076 เป็นวารสารวิชาการของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมทางด้านการบริหารธุรกิจ การจัดการ การเงิน การธนาคาร การตลาด เศรษฐศาสตร์ และการบัญชี มีเป้าหมายเพื่อรวบรวมและเผยแพร่ผลงานวิชาการ ตลอดจนเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนความรู้ในสาขาข้างต้นของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป</p> https://so07.tci-thaijo.org/index.php/sujba/article/view/2498 ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรกับประสิทธิภาพองค์กร: ผลการทดสอบอิทธิพลการส่งผ่านแบบสองทางของชื่อเสียงขององค์กรและคุณค่าของตราสินค้า 2023-03-03T11:24:13+07:00 Xiaojian Lu [email protected] Han Zhang [email protected] <p>บทความนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก ซึ่งรวมถึงใช้การเลือกตัวอย่างและแหล่งข้อมูล การวัดตัวแปร และการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ บทความนี้คัดเลือกบริษัทจดทะเบียน A-share ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้และเซินเจิ้น ตั้งแต่ปี 2554 ถึง ปี 2563 จากรายชื่อ 500 แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดของจีนที่เผยแพร่โดย World Brand Lab เป็นตัวอย่างการวิจัย บทความนี้ศึกษาความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ชื่อเสียงขององค์กร คุณค่าของตราสินค้า และประสิทธิภาพขององค์กร โดยมุ่งเน้นที่ผลของอิทธิพลการส่งผ่านของชื่อเสียงองค์กรและคุณค่าของตราสินค้า ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า CSR มีผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรและชื่อเสียงขององค์กร และชื่อเสียงขององค์กรมีอิทธิพลการส่งผ่านบางส่วนระหว่าง CSR และประสิทธิภาพขององค์กร CSR มีผลกระทบเชิงบวกอย่างมากต่อมูลค่าตราสินค้า และมูลค่าตราสินค้ามีอิทธิพลการส่งผ่านบางส่วนระหว่าง CSR และประสิทธิภาพขององค์กร บทความนี้กล่าวถึงชื่อเสียงขององค์กรและคุณค่าของตราสินค้าจากมุมมองของกลไกความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร และเสนอแนะให้องค์กรต่างๆ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและต้องกระทำอย่างจริงจังแข็งขัน เสริมสร้างการจัดการชื่อเสียงและการจัดการตราสินค้า รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรด้วย</p> 2024-03-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสยาม https://so07.tci-thaijo.org/index.php/sujba/article/view/2389 ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเขตฝั่งธนบุรี 2023-02-24T13:54:18+07:00 กุลญาดา ณัฐรดีธนัช [email protected] พิจิตร เอี่ยมโสภณา [email protected] รุ่งโรจน์ สงสระบุญ [email protected] จิตระวี ทองเถา [email protected] <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องกันระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเขตฝั่งธนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ กลุ่มคนในเขตฝั่งธนบุรีที่คาดว่าจะซื้อรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใน 1 ปีข้างหน้า ดำเนินการเก็บข้อมูลในเดือนมีนาคม 2565 จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ สถิติไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่ำกว่า 15,001 บาท ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างเลือกซื้อรถยนต์ยี่ห้อ Toyota สูงที่สุด คำนึงถึงเรื่องการประหยัดน้ำมันมากที่สุด ส่วนใหญ่ต้องการรถยนต์ที่ราคาต่ำกว่า 600,000 และจำนวนมากใช้เวลาในการตัดสินใจภายใน 3 เดือน ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมในการซื้อรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พบว่า อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีผลต่อพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเขตฝั่งธนบุรี แต่อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่าปัจจัยเพศมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเขตฝั่งธนบุรี</p> 2024-03-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสยาม https://so07.tci-thaijo.org/index.php/sujba/article/view/2797 การพัฒนาการจัดการความรู้สู่การเป็นท่าเรือระดับโลก 2023-05-12T20:52:34+07:00 จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร [email protected] <p style="font-weight: 400;">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของท่าเรือระดับโลก 2) เพื่อวิเคราะห์ SWOT ของท่าเรือต้นแบบที่เป็นท่าเรือระดับโลก 3) เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้สู่การเป็นท่าเรือระดับโลก โดยมีประชากร คือ ผู้มีเกี่ยวข้องกับกิจการท่าเรือแห่งประเทศไทย การวิจัยนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย 4 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มลูกค้า กลุ่มคู่ค้า กลุ่มสมาคม และกลุ่มหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง วิธีการวิจัยใช้วิธีการเชิงเอกสาร คือ งานวิจัย วารสารทางวิชาการ หนังสือและบทความวิเคราะห์ต่าง ๆ และการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก 4 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลในวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">องค์ประกอบของท่าเรือระดับโลก ประกอบด้วย ท่าเรืออัจฉริยะ ท่าเรือสีเขียว ท่าเรือปลอดภัยและท่าเรือเครือข่าย</li> <li class="show">การวิเคราะห์ SWOT ของท่าเรือต้นแบบที่เป็นท่าเรือระดับโลกทั้ง 3 ท่าเรือ ประกอบด้วย ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ มีจุดเด่น ด้านนวัตกรรม บุคลากรและโครงสร้างพื้นฐาน ท่าเรือสิงคโปร์ มีจุดเด่น ด้านท่าเรือปลอดภาษี ทำเลที่ตั้งและมีสถาบันทางทะเลของสิงคโปร์ และท่าเรือปูซาน มีจุดเด่น ด้านโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากรและมีสถาบันทางทะเลของเกาหลีใต้</li> <li class="show">การจัดการความรู้สู่การเป็นท่าเรือระดับโลก ได้แก่ เทคโนโลยีอัจฉริยะ ศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะพลังงานสะอาด การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ระบบการป้องกันความปลอดภัยและอุบัติเหตุ การสร้างเครือข่ายและการบริหารลูกค้า</li> </ol> 2024-03-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสยาม https://so07.tci-thaijo.org/index.php/sujba/article/view/2804 คุณภาพชีวิตและการปรับตัวของผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต 2023-05-13T17:38:29+07:00 อภิสรา ทับสุวรรณ [email protected] อำพล นววงศ์เสถียร [email protected] ปฏิมา รุ่งเรือง [email protected] ภัทรดา รุ่งเรือง [email protected] ญาณวัฒน์ พลอยเทศ [email protected] <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิต การปรับตัวและการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต ตามข้อมูลส่วนบุคคล และ 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของคุณภาพชีวิตและการปรับตัวที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและพักอาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 385 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามโดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test และ F-test พร้อมด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง มีการปรับตัวอยู่ในระดับมาก การพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก 2) ผู้สูงอายุที่มีเพศ สถานภาพ ลักษณะครอบครัว รายได้ต่อเดือน และการประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ และด้านการพึ่งพาอาศัย มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต</p> 2024-03-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสยาม