แนวทางการพัฒนาการขนส่งอัจฉริยะเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างท่าอากาศยานขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • Apisada Sutthiamporn Institute of Aviation and Aerospace Technology, Rajamangala University of Technology Tawan - Ok
  • Sompong Aussawariyathipat Institute of Aviation and Aerospace Technology, Rajamangala University of Technology Tawan - Ok
  • Phutthachon Anurak Institute of Aviation and Aerospace Technology, Rajamangala University of Technology Tawan - Ok

คำสำคัญ:

เมืองอัจฉริยะ, การขนส่งอัจฉริยะ, ท่าอากาศยาน, จังหวัดขอนแก่น

บทคัดย่อ

 แนวทางการพัฒนาการขนส่งอัจฉริยะเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างท่าอากาศยานขอนแก่นมี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การพัฒนาการขนส่งอัจฉริยะเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างท่าอากาศยานสู่
การรองรับเมืองอัจฉริยะจังหวัดขอนแก่น งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพด้วย
การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
จำนวน 7 คน โดยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสะดวกที่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดขอนแก่น
จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในรูปแบบประมาณค่า 5 ระดับ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง
พรรณนาคือ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน คือ f-Test และ t-Test
ผลจากการศึกษา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดขอนแก่นมีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนว
ทางการพัฒนาการขนส่งอัจฉริยะเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างท่าอากาศยานขอนแก่นในระดับมากที่สุดและจากการเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดขอนแก่นต่อความคิดเห็นในแนว
ทางการพัฒนาการขนส่งอัจฉริยะเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างท่าอากาศยานขอนแก่น พบว่า เพศ อายุ และ อาชีพที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นภาพรวมที่ไม่แตกต่างกัน การศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นในบางด้านที่
แตกต่างกัน และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างมีความคิดเห็นในภาพรวมที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผล
การวิเคราะห์ พบว่า จังหวัดขอนแก่นจะต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะที่สามารถเชื่อมโยงไปในระบบ
รูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการนำยานยนต์อัจฉริยะที่สามารถต้องประหยัดพลังงานไม่ก่อให้เกิดมลพิษและมีความ
เพียงพอต่อความต้องการของผู้โดยสารท่าอากาศยาน และผู้ใช้งานทั่วไป รวมทั้งการพัฒนา ด้านระบบข้อมูลที่มี
ระบบการเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะและการใช้เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ตลอดจนการพัฒนาและ
ส่งเสริมการให้บริการที่ชาญฉลาดโดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาปรับเปลี่ยนการบริการโดยผู้โดยสาร
หรือผู้ใช้บริการสามารถจัดการเวลาได้ด้วยเองผ่านแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-07-2022