กลยุทธ์การพัฒนาการปฏิวัติท่าอากาศยานดิจิทัลเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการบินพาณิชย์ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก: ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา

ผู้แต่ง

  • Phutthachon Anurak Institute of Aviation and Aerospace Technology, Rajamangala University of Technology Tawan - Ok
  • Khunanan Sukpasjaroen Institute of Aviation and Aerospace Technology, Rajamangala University of Technology Tawan - Ok

คำสำคัญ:

การปฏิวัติดิจิทัล, ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก, ท่าอากาศยาน, ศูนย์กลางการบิน

บทคัดย่อ

กลยุทธ์การพัฒนาการปฏิวัติท่าอากาศยานดิจิทัลเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการบินพาณิชย์ระเบียง
เศรษฐกิจภาคตะวันออก: ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์
การพัฒนากลยุทธ์การปฏิวัติดิจิทัลของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา เพื่อให้สามารถรองรับการ
เป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคฯ งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ได้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงกับกลุ่ม
ตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาฯ จำนวน 6
คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีเชิง
พรรณนา
ผลการศึกษา พบว่า 1. ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา มีการประเมินสภาพแวดล้อมท่า
อากาศยานด้วยการวิเคราะห์ความสามารถในการรองรับของท่าอากาศยาน (Airport Capacity Management
หรือ ACM) โดยการสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น การสร้างความร่วมมือกับบริษัทโครงข่าย
โทรคมนาคมในการวางโครงสร้างพื้นฐานสัญญาณอินเทอร์เน็ตและการพัฒนาแอปพลิเคชัน คือ App of Airport
ในการอำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูลการเดินทางแก่ผู้โดยสาร และการนำระบบจดจำอัตลักษณ์ (Biometric) ระบบเทอร์โมสแกน (Thermoscan) และระบบ Blacklist ที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานการรักษา
ความปลอดภัยของภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศไทยเกี่ยวกับผู้กระทำผิดระหว่างที่เดินทางผ่านท่าอากาศ
ยานนานาชาติอู่ตะเภาฯ เพื่อยกระดับการรักษาความปลอดภัยที่เป็นไปตามมาตรฐานองค์กรการบินสากลและมี
การประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีเฝ้าระวังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ 2) ผู้บริหารกำหนดกลยุทธ์โดยการใช้
นโยบายการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลเพื่อให้บุคลากรได้ตระหนักและเรียนรู้มีธีการใช้เทคโนโลยีเดิมของท่าอากาศยาน
ให้สามารถบูรณาการให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่องค์กรได้นำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน รวมถึงการสร้างความ
ร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในใช้ระบบดิจิทัลและส่งเสริมให้มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ร่วมกัน
และ 3. การประเมินความต้องการภายในองค์กรด้วยการสร้างนโยบายการรู้ดิจิทัลของพนักงานในการพัฒนาทักษะ
ความสามารถในเรียนรู้และใช้เทคโนโนโลยีดิจิทัลขององค์กรให้เข้ากับการทำงาน ตลอดจนการตระหนักถึงความ
ปลอดภัยในด้านการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์จากการทำงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-07-2022