ภูมิทัศน์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวแคมป์ปิ้ง ชุมชนปากน้ำปอย จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ภูมิทัศน์วัฒนธรรม, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การท่องเที่ยวแคมป์ปิ้งชุมชน, ชุมชนปากน้ำปอยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทของพื้นที่ภูมิทัศน์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนปากน้ำปอย จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวแคมป์ปิ้งบนฐานภูมิทัศน์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนปากน้ำปอย จังหวัดพิษณุโลก เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก มีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 31 คน ผลวิจัยพบว่า ประการแรก ด้านบริบทของพื้นที่ ชุมชนมีสภาพวิถีชีวิตแบบชนบท มีชื่อเรียกว่าบ้านปากน้ำปอยหรือบ้านน้ำตกปอย ด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรม คือ ความงดงามของน้ำตกปอย ซึ่งเป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 12 เป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ มีพืชพันธุ์และสัตว์ป่าอยู่ในการดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้สวนป่าเขากระยาง ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนมีองค์ความรู้เชิงเกษตรกรรมมีการปลูกยางพารา มีการทำสวนผลไม้ ได้แก่ น้อยหน่าหลากหลายพันธุ์ เงาะ ทุเรียน มีการแปรรูปมะขามหวานซึ่งเป็นสินค้าโอทอปที่มีชื่อเสียง มีการเลี้ยงและขยายพันธุ์หมูป่า เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตรได้ ประการที่สอง แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวแคมป์ปิ้งบนฐานภูมิทัศน์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า มี 3 ด้าน คือ 1) ด้านที่ตั้งแคมป์ปิ้งต้องเลือกที่ตั้งที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ สามารถมองเห็นวิวภูเขาสวนป่าเขากระยาง วิวน้ำตกปอย ซึ่งเป็นภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมของชุมชน 2) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ต้องนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงเกษตรกรรมที่มีมาจัดเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวควบคู่กับการให้บริการที่พักแคมป์ปิ้ง และ3) ด้านการจัดการที่พักแคมป์ปิ้งต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่พักนักท่องเที่ยว (Camping Standard) สอดคล้องกับกฎหมายและหลักเกณฑ์ใหม่ที่อนุญาตให้มีจำนวนห้องพักรวมกันไม่เกินแปดห้องและมีจำนวนผู้พักรวมกันทั้งหมดไม่เกินสามสิบคน ชุมชนอาจใช้เต็นท์หรือกระโจมเป็นที่พักแก่นักท่องเที่ยว และขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมได้ การท่องเที่ยวแคมป์ปิ้งมีส่วนช่วยให้ชุมชนเป็นต้นแบบธุรกิจที่พักแรม ชุมชนเป็นจุดท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดพิษณุโลก ช่วยสร้างมูลค่าให้สินค้าทางการเกษตร สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน เกิดการกระจายรายได้ในพื้นที่และคนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนReferences
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). 4 แคมปิ้งชุมชนต้นแบบ Community Camping.
เข้าถึงจาก https://www.dot.go.th/news/inform/detail/5743 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). ประกาศกรมการท่องเที่ยว เรื่องหลักเกณฑ์คุณภาพที่พักนักเดินทาง. กรุงเทพ ฯ: กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา Retrieved from https://uttaradit.mots.go.th/download/article/article_20191025115548.pdf.
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิตินักท่องเที่ยว. กระทรวงการท่องเที่ยและกีฬา.
กระทรวงมหาดไทย. (2566). ประกาศกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566. เข้าถึงจาก https://www.bsa.or.th. เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566.
กุลแก้ว คล้ายแก้ว. (2563). นวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวโฮมสเตย์แบบลักซูรี่โดยชุมชนบนฐานภูมิปัญญาวัฒนธรรมไทครั่งสู่มาตรฐานโฮมสเตย์อาเซียนเชื่อมโยงพื้นที่มรดกโลกสุโขทัย กรณีศึกษา ชุมชนหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
กุลแก้ว คล้ายแก้ว. (2564). เอกสารคำสอนรายวิชา TOUR421 การท่องเที่ยวมรดกโลก. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
คณิต เขียววิชัย. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับการเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 1 (มกราคม - มิถุนายน 2562), 1 - 12.
วรรณดี สุทธินรากร. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: การวิจัยเพื่อเสรีภาพและการสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ สยามปริทัศน์.
วรรณวีร์ บุญคุ้ม. (2563). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 464611 สถิตขั้นสูงและวิธีวิจัยทางการจัดการนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วีรพล ทองมา. (2560). การท่องเที่ยวโดยชุมชนสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในเขตที่ดินป่าไม้. กรุงเทพฯ: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
พจนา สวนศรี. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. เชียงใหม่.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรงุเทพ ฯ Retrieved from https://dictionary.orst.go.th
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. (2565). ความหมายของมรดกภูมิปัญญา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2565. เข้าถึงจาก http://ich.culture.go.th/index.php/th/homeich/meaning
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2548). นนทบุรี : เอกสารการสอนชุดวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว.
สมบัติ กาญจนกิจ. (2557). นันทนาการและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภางค์ จันทวานิช. (2552). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมาคมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ. (2565). ความหมายการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงจาก https://www.th-thairt.org
Berg, B. L. (1989). Qualitative Research Methods for the Social Sciences. Retrieved from https://daily.jstor.org/the-movable-tent-cities-of-the-ottoman-empire
Mc Intosh and Goeldner. (1995). Tourism Principal Practices, Philosophers (1thed.). New York: John Wiley & Son.
Kunkaew Khlaikaew & Kanit Kheovichai. (2023). Glamping Tourism: A Concept of New Paradigm for tourism development post Covid-19 Situation). Journal of Sustainable Tourism Development, Volume 5 Issue 2 July - December 2023 Page 83-96.
Richards, G. and Wilson, J. (2006). Developing creativity in tourist experiences: A solution to the serial reproduction of culture. Tourism management 27: 1209 - 1223.