ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะ คุณภาพชีวิต และประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรการบิน ท่าอากาศยานดอนเมือง

ผู้แต่ง

  • สุภัชฎา ตุลวรรธนะ สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • เนตร์ศิริ เรืองอริยภักดิ์ สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

สุขภาวะ, คุณภาพชีวิต, ประสิทธิภาพการในการทำงาน

บทคัดย่อ

 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจข้อมูลส่วนบุคคล 2) สำรวจสุขภาวะ 3) สำรวจคุณภาพชีวิต 4) สำรวจประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร ท่าอากาศยานดอนเมือง และ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะ คุณภาพชีวิต และประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร ท่าอากาศยานดอนเมือง วิธีวิจัย: การวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างบุคลากรท่าอากาศยานดอนเมือง 400 คน สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ ผลการวิจัย (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุระหว่าง 20-29 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง มีประสบการณ์การทำงาน 2 ปี (2) มีความคิดเรื่องสุขภาวะอยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 4.054 มองรายด้านพบว่าให้ความสำคัญมากอันดับแรก คือ สุขภาวะทางกายที่ค่าเฉลี่ย 4.095 (3) มีความคิดเห็นเรื่องคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลางที่ค่าเฉลี่ย 3.785 มองรายด้านให้ความสำคัญอันดับแรก ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่ค่าเฉลี่ย 3.928 (4) มีความคิดเห็นเรื่องประสิทธิภาพการทำงานอยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 4.024 มองรายด้านพบว่าให้ความสำคัญมากอันดับแรกด้านปริมาณงานที่ค่าเฉลี่ย 4.053 และพบว่า (5) สุขภาวะ คุณภาพชีวิต และประสิทธิภาพการทำงานมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ด้านทฤษฎี/นโยบาย: ท่าอากาศยานดอนเมืองควรนำผลการวิจัยไปใช้ได้ในการวางแผน การปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้เกิดสุขภาวะที่ดีจะทำให้บุคลากรมีความสุขในการทำงาน และส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เกิดความผูกพัน จงรักภักดีต่อองค์กร ลดอัตราการลาออก สามารถช่วยลดต้นทุนในการสรรหา อบรมบุคลากรได้ในอนาคต

References

กัญญาภัทร อัศวพชระ, ขวัญลักษณ์ คำโฉม และศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานที่ทำงานเป็นกะ ที่ปฏิบัติงาน ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (2017): ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2560. หน้า 27-35.

จักรพันธ์ พรมฉลวย. (2564). การศึกษาสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

บุศรา สุดพิพัฒน์. (2553). ปัจจัยส่วนบุคคลและความผูกพันต่อองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, วิทยาลัยพาณิชย์ศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระไพศาล วิสาโล (2552). สุขแท้ด้วยปัญญา วิถีสู่สุขภาวะทางปัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.

พัณศา คดีพิศาล. (2554). ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของพนักงานบริษัท เวิลด์พลาส จำกัด และบริษัทในเครือ. วิทยานิพนธ์, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค พับลิเคชั่นส จํากัด. หน้า 3.

วิทยา อินทร์สอน และสุรพงศ์ บางพาน. (2566). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม. สืบค้นจาก =74#:~: text=ดังนั้นสรุปได้ว่า%20คุณภาพ, ระหว่างงาน%20และชีวิตส่วนตัว.

ศตนันท์ คงทอง. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพการในปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี. สารนิพนธ์, รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย. (2564). ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมืองได้รับการรับรอง Airport Health Accreditation จาก Airports Council International. สืบค้นจาก https://edusuratthani.prd.go.th/th/content/category/detail/id/38/iid/10223

สฎายุ ธีระวณิชตระกูล และธงชัย รู้ข่าว. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร สังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยบูรพา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. สืบค้นจาก https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7102

สุวิมล ติรกานันท์. (2549). การใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ร่างแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_Draftplan-Aug2017.pdf

อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร. (2566). สนามบินดอนเมือง กับประสิทธิภาพการให้บริการ. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/112073

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons, Inc.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality (2nd ed.). New York: Harper & Row.

Peterson, Elmore and E. Grosvenor Plowman. (1953). Business Organization and Management. Homewood, Ill. : Richard D. Irwin.

Sakid. (2022). What is Wellbeing? Creating happiness for employees with a good quality of life. Retrieved from https://www.sakid.app/blog/what-is-well-being/

Schiffman, L. G. and Wisenblit, J. L. (2015). Consumer behavior. 11th ed. England: Pearson Education.

เผยแพร่แล้ว

14-02-2024

How to Cite

ตุลวรรธนะ ส., & เรืองอริยภักดิ์ เ. (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะ คุณภาพชีวิต และประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรการบิน ท่าอากาศยานดอนเมือง. วารสารวิชาการการบิน การเดินทาง และการบริการ, 3(1), 54–68. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/tft/article/view/4035