แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้สำหรับการประกอบสร้างบุคลากรทางการบิน หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน

ผู้แต่ง

  • ปวริศ อนุสรณ์พานิช สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

องค์การแห่งการเรียนรู้, การประกอบสร้าง, บุคลากรทางการบิน, การบิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มุ่งศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้ภายในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยเกริก ดังนี้ 1) สภาพการณ์การใช้แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้ 2) แนวทางการประกอบสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์บุคลากรทางการบินอย่างมีอัตลักษณ์ จากกลุ่มประชากรจำนวน 39 คน (Purposive Sampling) โดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ 1) การศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Research) 2) การศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง (Experiential Learning) 3) การสัมภาษณ์ระดับลึก (In-depth interview) เพื่อรวบรวมความคิดเห็น 4) การถอดบทเรียน (Lesson Learned) และ 5) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยการสังเคราะห์ข้อมูลทั้งจากการสรุปเอกสารและบทสัมภาษณ์ เพื่อบูรณาการเชิงเหตุผลออกมาเป็นองค์ความรู้ใหม่

          ผลการวิจัยพบว่า การประกอบสร้างบุคลากรทางการบินของสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินมหาวิทยาลัยเกริก ได้มีการใช้แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้ผ่านการจัดกิจกรรมสร้างเสริมทางด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ทั้งภายในและภายนอกชั้นเรียน อาทิ กิจกรรมสัมมนา โดยมุ่งเน้นการใช้หลักการขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เกี่ยวกับความสามารถ 8 ประการ ดังนี้ 1) การติดต่อสื่อสาร 2) การจัดการควบคุมด้วยมือ 3) การจัดการระบบอัตโนมัติ 4) ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม 5) การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและการตัดสินใจ 6) การทำงานเป็นขั้นเป็นตอน 7) การจัดการภาระงาน และ 8) การตระหนักรู้ต่อสถานการณ์ รวมถึงการนำปรัชญาของมหาวิทยาลัยเกริก “ความรู้ทำให้องอาจ” มาใช้สร้างเสริมอัตลักษณ์ในการประกอบสร้างบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกริกที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์สู่อุตสาหกรรมการบิน

References

กิ่งกาญจน์ เพชรศรี. (2542). ศักยภาพการพัฒนาไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้: กรณี ศึกษาโรงพยาบาลกรุงเทพ [ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชมสุภัค ครุฑกะ. (2560). หลักการการจัดการความรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชรินทร์ทิพย์ ธาดานิธิภิญโญ และธดา สิทธิ์ธาดา. (2566, 3 เมษายน). การจัดการความรู้สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ [ประชุมวิชาการออนไลน์]. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, ประเทศไทย, 793-799. http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/miniconference/article/view/4276/2874

ชลิดา ทรัพยะประภา. (2566). องค์กรแห่งการเรียนรู้วิถีพุทธ. วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์, 3(1), 40-55.

ณัฐพล มหาทรัพย์ และเนาวรัตน์ น่วมแก้ว. (2566). ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนในมุมมองของสนามบิน. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 5(3), 114-117.

ธวัลรัตน์ สภาภักดิ์ และลัดดาวัลย์ สำราญ. (2567). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของ สำนักงานอัยการสูงสุด. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(1), 88-100.

ธีระพร อุวรรณโณ. (2535). เจตคติ: การศึกษาตามแนวทฤษฎีหลัก. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภดล เดชประเสริฐ. (2562). การบริหารจัดการความหลากหลายขององค์กรตามช่วงวัยที่แตกต่างกัน. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 13(2), 121-134.

นิตยา มั่นชำนาญ. (2559). การบริหารสถานศึกษาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(2), 7-13.

ประพนธ์ ผาสุกยืด. (2550). การจัดการความรู้ฉบับขับเคลื่อน. ใยไหม.

ปรัชญา บุตรสะอาด. (2566). ภาวะผู้นำตามคุณลักษณะของผู้นำที่ดี. วารสารปราชญ์ประชาคม, 1(4), 42-58.

ปวริศ อนุสรณ์พานิช. (2567a). หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านการฝึกอบรมการเจรจาต่อรองขั้นพื้นฐานเพื่อการจัดการความขัดแย้งที่มีประสิทธิภาพ. วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ, 3(2), 65-80.

ปวริศ อนุสรณ์พานิช. (2567b). เอกสารประกอบการบรรยายรายวิชา บธ.466305 สัมมนาธุรกิจการบิน. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก.

ปิยะนุช เงินคล้าย. (2565). นโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปุญณัฐส์ นำพา และญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา. (2564) แบบจำลองสมรรถนะของนักบินผู้ควบคุมอากาศยาน ประสบการณ์การบิน และนวัตกรรมการจัดการที่มีผลต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติการบินในประเทศไทย. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(1), 66-84.

มหาวิทยาลัยเกริก. (2564). คู่มือบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2560-2564. มหาวิทยาลัยเกริก.

รัฐจักรพล สามทองก่ำ, ทนง ทองภูเบศร์ และวีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย. (2566). การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ในความปรกติใหม่. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 8(1), 90-99.

วรรณวิมล อัมรินทร์นุเคราะห์. (2562). การจัดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิจารณ์ พานิช. (2563). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง: Transformative Learning. วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(2), 241-250.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2544). โรงเรียนองค์การแห่งการเรียนรู้. โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.

วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล. (2562). สัมมนาการบริหารองค์การในภาครัฐ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์. (2555). บุพปัจจัยของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและผลที่มีต่อคุณลักษณะการเป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้ตามการรับรู้ของพนักงานในสถานประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 24). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุลักษณ์ คงแก้ว, กัลย์ ปิ่นเกษร และภาวิน ชินะโชติ. (2567). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ เป็นองค์การแห่งการ เรียนรู้ของบุคลากรสายสนับสนุนคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ ปัญญาพัฒน์, 6(1), 367-384.

อนันต์ บุญสนอง. (2555). การจัดการทรัพยากรมนุษย์: ทฤษฎีนำมาสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ทีเอส.

อธิป เตชะพงศธร และอภิเชฐ กำภู ณ อยุธยา. (2566). การศึกษาบทบาทและลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้กำกับ ภาพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 25(1), 86-100.

Argyris, C., & Schon, D. (1978). Organizational Learning: A theory of action perspective. Addison-Wesley.

Bohlander, G., Snell, S., & Sherman, A. (2001). Managing human resources. South-Western College.

Evan, N. (1994). Experiential learning for all. Cassell.

Geus, A., D. (1997). The Living Company. Harvard Business School Press.

International Civil Aviation Organization. (2013). Manual of Evidence-based Training (Doc 9995 AN/497). International Civil Aviation Organization.

Kim, D. H. (1993). The Link between individual and Organizational Learning. Sloan Management Review, 37-50.

Marquardt, M. J. (2011). Building the learning organization. McGraw Hill.

Nick, W. (2013). An introduction to Human Resource Management. Sage.

Prommala, P., P. & Anusornphanich, P. (2024). The Role of Buddhist Services for Thai Society in the United Kingdom A Case Study of the Buddhist Missionary Monk at the Dhammapadipa Temple, Edinburgh. Journal of Aviation Travel and Service, 3(1), 69-99. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/tft/article/view/4480/3035

Scott, J. (1990). A matter of record: Documentary sources in social research. Polity Press.

Scott, J. (2006). Documentary Research. Sage Publications.

Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the learning Organization. Doubleday Books.

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

อนุสรณ์พานิช ป. (2024). แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้สำหรับการประกอบสร้างบุคลากรทางการบิน หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน. วารสารวิชาการการบิน การเดินทาง และการบริการ, 3(2), 137–162. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/tft/article/view/6200