แนวทางการพัฒนาการจัดการโรงแรมบูติค ในย่านเมืองเก่าสงขลา

ผู้แต่ง

  • พิชญ์สินี จิตละเอียด หลักสูตรการจัดการอุตสาหกรรมการบินและการบริการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ศิริภัสสร ปฐมนุพงศ์ หลักสูตรการจัดการอุตสาหกรรมการบินและการบริการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ภัชรพล ลิ่มกิตติคุณ หลักสูตรการจัดการอุตสาหกรรมการบินและการบริการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • กานต์พิชชา ดุลยะลา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

โรงแรมบูติค, ย่านเมืองเก่าสงขลา, แนวทางการพัฒนาการจัดการ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการโรงแรมบูติค ในย่านเมืองเก่าสงขลา 2) เสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการโรงแรมบูติค ในย่านเมืองเก่าสงขลา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือวิจัย คือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าของกิจการของโรงแรมบูติคจำนวน 3 โรงแรม ในพื้นที่ย่านเมืองเก่าสงขลา

          ผลการวิจัยพบว่า การจัดการโรงแรมบูติคในย่านเมืองเก่าสงขลา ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้ง ปัจจัยด้านการบริการ ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านการตลาด และปัจจัยด้านเทคโนโลยี โดยปัจจัยด้านทำเลที่ตั้ง อยู่ในพื้นที่เมืองเก่าที่มีชื่อเสียง สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ ปัจจัยด้านการบริการ มีลักษณะการบริการที่เน้นการบริการแบบเป็นกันเอง เน้นใส่ใจรายละเอียดของผู้มาใช้บริการ ปัจจัยด้านบุคลากร พนักงานหรือเจ้าของกิจการมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานบริการ มีประสบการณ์ในตำแหน่งงาน ให้คำแนะนำและนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาในพื้นที่ได้ดี ปัจจัยด้านการตลาด มีกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ มีการใช้สื่อโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ และปัจจัยด้านเทคโนโลยี ทุกโรงแรมมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาใช้บริการ เช่น การจองห้องพักผ่าน Facebook page สำหรับแนวทางการพัฒนาการจัดการโรงแรมบูติคในย่านเมืองเก่าสงขลา ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งของโรงแรมบูติคในย่านเมืองเก่าสงขลา ทั้ง 3 โรงแรม ควรปรับปรุงซ่อมแซมพื้นที่สำหรับขยายธุรกิจ อาจซื้อตึกใหม่หรือรีโนเวทตึกเก่าในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อสร้างเป็นโรงแรมที่มีความแตกต่างจากเดิม ด้านการบริการ ควรมีพนักงานบริการลูกค้าตลอดเวลา มีบริการรถรับ-ส่ง ผู้เข้าพัก ด้านบุคลากร ควรมีการพัฒนาด้านบุคลากร อบรมพัฒนาความรู้และทักษะอย่างสม่ำเสมอ ด้านการตลาด ควรจำแนกกลุ่มลูกค้า กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าหรือบริการของตนเอง เน้นการทำการตลาดออนไลน์ ด้านเทคโนโลยี ควรนำเทคโนโลยีมาใช้สำหรับการบริการผู้เข้าพักและอำนวยความสะดวกสำหรับพนักงานบริการ อาทิ ระบบการสำรองห้องพัก ระบบเช็คอินหรือเช็คเอาท์ ระบบการจ่ายเงินผ่านระบบ Mobile Banking

References

Anhar, L. (2001). The definition of boutique hotel. HVS. Retrieved October 10, 2024 from http://www.hvs.com

Boonvatcharapai, T., Jadesadalug, V., & Tuntrabundit, K. (2016). Organizational creativity and service innovation of Thai boutique hotels. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(3), 1242-1259.

Boutiquestay.travel. (2023). What is a “boutique hotel”? Retrieved October 8, 2024 from Ahttps://shorturl.asia/HG5zM

Kasikorn Research Center. (2012). Boutique Hotel: A new type of accommodation that is currently popular. Retrieved October 9, 2024 from https://shorturl.asia/Fx2o1

Kanwararat, W. (2013). Front office staff quality assessment of boutique hotel: A case study of Shanghai Mansion. Cultural Approach, 15(27), 3–15.

Kerdsiri, C., & Thanitha, S. (2014). Increasing Values of Hotel Business in Songkhla Using Boutique and Lifestyle Hotel Concept. Prince of Songkla University. https://doi.org/10.14457/PSU.res.2014.9

Konrad, A. (2013). Boutique hotels in Chiang Mai: Criteria and image management reflecting Lanna culture [Doctoral dissertation, Maejo University]. Maejo University Library. http://mdc.library.mju.ac.th/thesis/2561/apsorn_konrad/fulltext.pdf

Krampaiboon, W., (2019). Make your hotel legal: advice from THE BOUTIQUE KING. Retrieved October 1, 2024 from https://theboutiqueking.com/

Krungsri Research Center. (2021). Hotel business trends. Retrieved October 22, 2024 from https://shorturl.asia/nFKRP

Maopraman, N. (2023). The influence of service innovation on hotel selection in Andaman provinces. Journal of Southern Technology, 17(1), 1–20.

Museumthailand. (2019). Songkhla Old Town. Retrieved September 15, 2024 from https://shorturl.asia/sWLdA

Phatthanaphakdi, I. (2015). Factors and management process affecting the success level of boutique hotels in Bangkok [Master’s thesis, Hospitality and Tourism Management, Graduate School, Bangkok University]. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/1250/3/isaya_phat.pdf

Saenmunkongkul, P. (2014). Study of factors affecting the decision of staying in boutique hotels in Bangkok Old Town area [Independent study Master’s Degree, Thammasat University]. TU Digital Collections. https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2014/TU_2014_5616033220_706_1279.pdf

Sitthichok, P. (2017). Management of boutique style effective service selection of Surintra Boutique Resort for foreign customers [Independent study Master’s Degree, Bangkok University]. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/2792/3/Pattama.sitt.pdf

Songkhla Provincial Public Relations Office. (2020). Songkhla Old Town. Retrieved October 19, 2024 from https://shorturl.asia/E7HXU

Smart Finder. (2019). Let's get to know boutique hotel. Retrieved October 3, 2024 from https://shorturl.asia/HG5zM

Sukapong, S. (2009). Guidelines for Marketing Management of services for Boutique Hotels in Bangkok: case study of Metrosexual. Sripatum University https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14458/SPU.res.2009.24

Sungsuwan, T. (2021). Key success factors for customer relationship management by applying IT for developing service innovation: A case study of boutique hotels in Pattaya. Faculty of Management and Tourism, Burapha University. https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/4457/1/2565_154.pdf

Taweephol, R. (2018). Concepts and business operation of boutique hotels in Chiang Mai Municipality, Mueang Chiang Mai District, Chiang Mai. Dusit Thani College Journal, 11(1), 116–132. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/view/135495/101242

Thanusing, J. (2012). Management guidelines for boutique hotels: A case study of Rarinjinda Wellness Spa Resort, Chiang Mai [Master’s thesis, Payap University]. Payap University.

Topothai, P., Kawasawan, C., & Wiroonratch, B. (2022). The module of boutique hospitality management by using local resources and cultural capital. Journal of Politics, Administration and Law, 14(1), 98–112. https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/issue/view/869

Wigraisakda, K. (2020). The development of customer experience management proposal for Thai boutique hotels [Master’s thesis, Silpakorn University]. Silpakorn University.

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

จิตละเอียด พ. ., ปฐมนุพงศ์ ศ. ., ลิ่มกิตติคุณ ภ., & ดุลยะลา ก. (2024). แนวทางการพัฒนาการจัดการโรงแรมบูติค ในย่านเมืองเก่าสงขลา. วารสารวิชาการการบิน การเดินทาง และการบริการ, 3(2), 48–68. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/tft/article/view/6272