วารสารวิชาการการบิน การเดินทาง และการบริการ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/tft <p><span class="Apple-converted-space">วารสารวิชาการการบิน การเดินทางและการบริการ (Journal of Aviation, Travel, and Service) เป็น</span>วารสารวิชาการด้านการบินฝั่งเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยในปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ความรู้เชิงวิชาการเพื่อประโยชน์แก่เศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติ ดำเนินงานโดยศูนย์วิจัยและนวัตกรรม บริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด บริษัทภายใต้กำกับของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจากมหาวิทยาลัยและองค์ชั้นนำด้านการบินและบริหารธุรกิจ มากกว่า 10 แห่ง</p> <p><span class="Apple-converted-space"> </span>เปิดรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการ ด้านการจัดการธุรกิจการบิน การท่องเที่ยว ธุรกิจบริการและด้านบริหารธุรกิจในสาขาที่เกี่ยวข้อง บทความจะถูกกลั่นกรองในรูปแบบ Double Blinded Review ใช้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน 3 ท่านต่อ 1 บทความ กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับแรก เดือนมกราคม-มิถุนายน และฉบับที่สอง เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p><span class="Apple-converted-space"> </span>บทความที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับใบตอบรับพร้อมทั้งประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติจากทางบริษัทฯ</p> <p><strong>ISSN 2822-0129 (Print)</strong></p> <p><strong>ISSN 2822-0137 (Online)</strong></p> <p> </p> <p>ท่านสามารถส่งบทความได้ที่ปุ่ม Make Submission หรือ <a href="https://so07.tci-thaijo.org/index.php/tft/about/submissions">คลิกที่นี่</a></p> <p>Template บทความภาษาไทย <a href="https://docs.google.com/document/d/1QgAFmNGSh7_Av2gw6NHSGN7daucP-n_4/edit?usp=sharing&amp;ouid=116402401924436201163&amp;rtpof=true&amp;sd=true">คลิกที่นี่</a></p> <p>Template บทความภาษาอังกฤษ <a href="https://docs.google.com/document/d/1eOQThsoKeFR4Lt4Gcq-57ZQsV5VxdQyp/edit?usp=sharing&amp;ouid=116402401924436201163&amp;rtpof=true&amp;sd=true">คลิกที่นี่</a></p> <p>Author guideline รูปแบบการจัดเอกสารและการอ้างอิง <a href="https://drive.google.com/file/d/1ttIvcdgnH2Ervh9-N5nhlz6gwK5G9FFE/view?usp=sharing">คลิกที่นี่</a></p> <p>หากท่านมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ [email protected]<br />หรือ โทร 062-946-5959<br />ข้อมูลเพิ่มเติม <a href="https://www.tft.co.th/journal">www.tft.co.th/journal</a></p> <p> </p> th-TH [email protected] (Asst.Prof. Pornprom Suthatorn, Ph.D.) [email protected] (Asst.Prof. Pornprom Suthatorn, Ph.D.) Wed, 14 Feb 2024 00:53:06 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 พฤติกรรมการซื้อสินค้าพื้นเมืองและสินค้าที่ระลึกของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียในพื้นที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/tft/article/view/4028 <p style="font-weight: 400;">การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าพื้นเมืองและสินค้าที่ระลึกของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และเสนอแนวทางการพัฒนาสินค้าพื้นเมืองและสินค้าที่ระลึกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียที่เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวมีการซื้อสินค้าพื้นเมืองและสินค้าที่ระลึกส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 20-29 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา นับถือศาสนาอิสลาม มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 3,000 ริงกิต และมีสถานภาพโสด ทางด้านพฤติกรรมการซื้อสินค้านิยมซื้อให้ตนเองและซื้อเพื่อเป็นของขวัญ ซึ่งหาข้อมูลสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต โดยคำนึงถึงตรายี่ห้อและสินค้าฮาลาล เนื่องจากนักท่องเที่ยวนิยมซื้อสินจิปาถะทั่วไป และสินค้าประเภทอาหาร แนวทางการพัฒนาสินค้าพื้นเมืองและสินค้าที่ระลึกควรให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ในการจัดหน้าร้านให้มีความน่าดึงดูดใจ พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าให้มีคุณภาพเป็นที่น่าดึงดูดใจ เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายแบ่งประเภทสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ชัดเจนเพื่อให้ค้นหาสินค้าได้ง่าย และการกำหนดราคาให้มีความคุ้มค่ากับสินค้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา</p> ธนภณ พัชระวาจา, อิสราภรณ์ สุดสวาท, ธัชธรรม์ บัวทิพย์, ห้าวหาญ ทวีเส้ง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการการบิน การเดินทาง และการบริการ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/tft/article/view/4028 Wed, 14 Feb 2024 00:00:00 +0700 การสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้งในการทำงานระหว่างบุคลากรต่างรุ่นของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) https://so07.tci-thaijo.org/index.php/tft/article/view/4004 <p style="font-weight: 400;">เรื่องราวของเจนเนอเรชั่นในสถานที่ทำงานกำลังเป็นประเด็นที่หลายองค์กรกำลังให้ความสนใจกันอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงการบริหารทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาองค์กร ปัจจุบันนี้เป็นช่วงเวลาที่องค์กรต่าง ๆ มีประชากรอย่างน้อยสองเจนเนอเรชั่นกำลังทำงานอยู่ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจนเนอเรชั่นวาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะการสื่อสารในการจัดการความขัดแย้งในระหว่างการทำงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินต่างรุ่น บริษัท การบินกรุงเทพจำกัด (มหาชน) <strong> </strong>2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่มีความจำเป็นต่อการสร้างสัมพันธภาพในงานของพนักงานต่างรุ่น เพื่อมุ่งกำหนดแผนปฏิบัติงานลดความขัดแย้งในบริษัท การบินกรุงเทพจำกัด (มหาชน) และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้งในระหว่างการทำงานของพนักงานต้อนรับบน เครื่องบินต่างรุ่น บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Dept Interview) โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยคัดเลือกจากบุคลากรที่ดำรงตำแหน่งเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินต่างรุ่น เจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ จำนวน 15 คน และเจนเนอเรชั่นวาย จำนวน 15 คน รวม 30 คน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลจากบทสัมภาษณ์เชิงลึก จากการศึกษาพบว่า การสื่อสารในการจัดการความขัดแย้งระหว่างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินต่างรุ่นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินควรพัฒนาทักษะการสื่อสารเชิงบวก การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้สามารถจัดการความขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์และนำไปสู่ความร่วมมือในการทำงาน</p> ธวัช เวศตัน Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการการบิน การเดินทาง และการบริการ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/tft/article/view/4004 Wed, 14 Feb 2024 00:00:00 +0700 ภูมิทัศน์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวแคมป์ปิ้ง ชุมชนปากน้ำปอย จังหวัดพิษณุโลก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/tft/article/view/4010 <div><span lang="TH">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทของพื้นที่ภูมิทัศน์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนปากน้ำปอย จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวแคมป์ปิ้งบนฐานภูมิทัศน์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนปากน้ำปอย จังหวัดพิษณุโลก เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก มีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 31 คน ผลวิจัยพบว่า ประการแรก ด้านบริบทของพื้นที่ ชุมชนมีสภาพวิถีชีวิตแบบชนบท มีชื่อเรียกว่าบ้านปากน้ำปอยหรือบ้านน้ำตกปอย ด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรม คือ ความงดงามของน้ำตกปอย ซึ่งเป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 12 เป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ มีพืชพันธุ์และสัตว์ป่าอยู่ในการดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้สวนป่าเขากระยาง ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนมีองค์ความรู้เชิงเกษตรกรรมมีการปลูกยางพารา มีการทำสวนผลไม้ ได้แก่ น้อยหน่าหลากหลายพันธุ์ เงาะ ทุเรียน มีการแปรรูปมะขามหวานซึ่งเป็นสินค้าโอทอปที่มีชื่อเสียง มีการเลี้ยงและขยายพันธุ์หมูป่า เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตรได้ ประการที่สอง แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวแคมป์ปิ้งบนฐานภูมิทัศน์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า มี 3 ด้าน คือ 1) ด้านที่ตั้งแคมป์ปิ้งต้องเลือกที่ตั้งที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ สามารถมองเห็นวิวภูเขาสวนป่าเขากระยาง วิวน้ำตกปอย ซึ่งเป็นภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมของชุมชน 2) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ต้องนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงเกษตรกรรมที่มีมาจัดเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวควบคู่กับการให้บริการที่พักแคมป์ปิ้ง และ3) ด้านการจัดการที่พักแคมป์ปิ้งต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่พักนักท่องเที่ยว (</span><span lang="EN-US">Camping Standard</span><span lang="TH">) สอดคล้องกับกฎหมายและหลักเกณฑ์ใหม่ที่อนุญาตให้มีจำนวนห้องพักรวมกันไม่เกินแปดห้องและมีจำนวนผู้พักรวมกันทั้งหมดไม่เกินสามสิบคน ชุมชนอาจใช้เต็นท์หรือกระโจมเป็นที่พักแก่นักท่องเที่ยว และขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมได้ การท่องเที่ยวแคมป์ปิ้งมีส่วนช่วยให้ชุมชนเป็นต้นแบบธุรกิจที่พักแรม ชุมชนเป็นจุดท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดพิษณุโลก ช่วยสร้างมูลค่าให้สินค้าทางการเกษตร สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน เกิดการกระจายรายได้ในพื้นที่และคนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน</span></div> กุลแก้ว คล้ายแก้ว, สุรางคณา พิพัฒน์โชคไชโย Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการการบิน การเดินทาง และการบริการ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/tft/article/view/4010 Wed, 14 Feb 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะ คุณภาพชีวิต และประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรการบิน ท่าอากาศยานดอนเมือง https://so07.tci-thaijo.org/index.php/tft/article/view/4035 <p style="font-weight: 400;"> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจข้อมูลส่วนบุคคล 2) สำรวจสุขภาวะ 3) สำรวจคุณภาพชีวิต 4) สำรวจประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร ท่าอากาศยานดอนเมือง และ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะ คุณภาพชีวิต และประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร ท่าอากาศยานดอนเมือง วิธีวิจัย: การวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างบุคลากรท่าอากาศยานดอนเมือง 400 คน สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ ผลการวิจัย (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุระหว่าง 20-29 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง มีประสบการณ์การทำงาน 2 ปี (2) มีความคิดเรื่องสุขภาวะอยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 4.054 มองรายด้านพบว่าให้ความสำคัญมากอันดับแรก คือ สุขภาวะทางกายที่ค่าเฉลี่ย 4.095 (3) มีความคิดเห็นเรื่องคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลางที่ค่าเฉลี่ย 3.785 มองรายด้านให้ความสำคัญอันดับแรก ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่ค่าเฉลี่ย 3.928 (4) มีความคิดเห็นเรื่องประสิทธิภาพการทำงานอยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 4.024 มองรายด้านพบว่าให้ความสำคัญมากอันดับแรกด้านปริมาณงานที่ค่าเฉลี่ย 4.053 และพบว่า (5) สุขภาวะ คุณภาพชีวิต และประสิทธิภาพการทำงานมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ด้านทฤษฎี/นโยบาย: ท่าอากาศยานดอนเมืองควรนำผลการวิจัยไปใช้ได้ในการวางแผน การปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้เกิดสุขภาวะที่ดีจะทำให้บุคลากรมีความสุขในการทำงาน และส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เกิดความผูกพัน จงรักภักดีต่อองค์กร ลดอัตราการลาออก สามารถช่วยลดต้นทุนในการสรรหา อบรมบุคลากรได้ในอนาคต</p> สุภัชฎา ตุลวรรธนะ, เนตร์ศิริ เรืองอริยภักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการการบิน การเดินทาง และการบริการ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/tft/article/view/4035 Wed, 14 Feb 2024 00:00:00 +0700 บทบาทของการบริการวิถีพุทธเพื่อสังคมไทยในสหราชอาณาจักร กรณีศึกษาศาสนกิจพระธรรมทูต วัดธรรมปทีป กรุงเอดินเบอระ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/tft/article/view/4480 <div> <p><span lang="TH">บทความนี้นำเสนอในรูปแบบของรายงานปฏิบัติการเชิงวิชาการ </span><span lang="EN-US">(Qualitative Report) </span><span lang="TH">ด้วยกระบวนการศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง </span><span lang="EN-US">(Experiential learning)</span><span lang="TH"> มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ </span><span lang="EN-US">1)</span><span lang="TH"> เพื่อศึกษาแนวทางการบริการวิถีพุทธเพื่อสังคมไทยในสหราชอาณาจักร</span><span lang="EN-US"> 2) </span><span lang="TH">เพื่อนำเสนอศาสนกิจของพระธรรมทูตวัดธรรมปทีป ประเทศสกอตแลนด์ โดยใช้วิธีการถอดบทเรียนจากประสบการณ์สังเคราะห์ออกมาเป็นองค์ความรู้ใหม่ พร้อมกับการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์เชิงเหตุผลร่วมกับการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแนวทางการน้อมนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในงานบริการ อาทิ </span><span lang="TH">พรหมวิหาร </span><span lang="EN-US">4</span><span lang="TH"> สังคหวัตถุ </span><span lang="EN-US">4</span><span lang="TH"> และอิทธิบาท </span><span lang="EN-US">4 </span><span lang="TH">ซึ่งถือเป็นการประยุกต์แนวคิดทางโลกและแนวคิดทางธรรมเข้าด้วยกัน อีกทั้งการมองเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ ทางด้านภาษา วัฒนธรรมและประเพณีไทย โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สุข ความพึงพอใจ และความสบายใจ แก่อุบาสกและอุบาสิกาผู้รับบริการ ภายในขอบเขตของศีลธรรมอันดีงาม</span><span lang="EN-US"> </span></p> </div> <div> <p><span lang="TH"> จากการศึกษาพบว่า วัดไทยถือเป็นศูนย์กลางของสังคมไทยในสหราชอาณาจักร จึงต้องมีความพร้อมให้บริการดูแลชาวไทย อาทิ </span><span lang="TH">การบริการด้านสังคม ด้านภาษา ด้านศาสนา ด้านศิลปะและวัฒนธรรม และด้านนันทนาการ ด้วยวิธีการใช้พระพุทธศาสนาเป็นสื่อกลาง ทั้งนี้ควรส่งเสริมแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาควบคู่กับแนวคิดการบริการ วิถีพุทธ เพราะ สามารถสร้างความสนใจและมีบทบาทให้พุทธศาสนิกชนเดินทางเข้ามาใกล้ชิดวัดมากขึ้น อย่างไรก็ตามพบข้อจำกัดบางประการในกระบวนการบริการ อาทิ ขอบเขตของหลักพระธรรมวินัย และข้อจำกัดทางด้านพื้นที่</span></p> </div> พระมหาประเสริฐ ปัญญาวโร พรมลา, ปวริศ อนุสรณ์พานิช Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการการบิน การเดินทาง และการบริการ https://so07.tci-thaijo.org/index.php/tft/article/view/4480 Sun, 28 Apr 2024 00:00:00 +0700