การพัฒนาเครือข่ายการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนริมแม่น้ำวัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาการพัฒนาเครือข่ายการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนริมแม่น้ำวัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยศึกษารูปแบบการสร้างเครือข่าย วิธีการรักษาเครือข่ายให้คงอยู่ และแนวทางการพัฒนาเครือข่ายการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมกันของทั้ง
3 กลุ่มชุมชน ได้แก่ กลุ่มชุมชนท่ามะโอ กลุ่มชุมชนปงสนุก และกลุ่มชุมชนกาดกองต้า ซึ่งเป็นกลุ่มชุมชนเขตเมืองที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูงที่อยู่ภายใต้ความดูแลของเทศบาลนครลำปาง แต่ยังขาดความร่วมมือระหว่างกัน ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายในการสร้างความร่วมมือ เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการท่องเที่ยว การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการศึกษาจากเอกสาร จากตัวแทนภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน รวมจำนวน 24 คน ด้วยวิธีการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง โดยเลือกบุคคลที่มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนริมแม่น้ำวัง ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการสร้างเครือข่ายมีการเกิดขึ้นใน 2 รูปแบบซึ่งมีความทับซ้อนกัน ได้แก่ เครือข่ายคณะกรรมการชุมชนและเครือข่ายการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกของชุมชนเป็นตัวแสดงหลักของเครือข่ายในลักษณะเครือข่ายร่วมปฏิบัติการและเครือข่ายภาคประชาสังคม ทั้งนี้ แต่ละกลุ่มมีวิธีการรักษาเครือข่ายที่แตกต่างกันและขาดการสร้างผู้นำรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแนวทางการพัฒนาเครือข่ายร่วมกันนั้น ควรมีหน่วยงานกลางเป็นผู้สนับสนุนและประสานงานในการจัดเวทีสนทนา เพื่อตกลงเรื่องผลประโยชน์ตอบแทน และการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวร่วมกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
References
กนกกานต์ แก้วนุช. (2564). การจัดการการท่องเที่ยวและการพัฒนาชุมชนการท่องเที่ยวภายใต้พลวัตโลก. ฟรีมายด์ พับลิชชิ่ง.
กรมบัญชีกลาง. (2564). รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังจังหวัดลำปาง: เศรษฐกิจการคลังจังหวัดลำปาง ประจำเดือนกรกฎาคม 2564. สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER20/DRAWER058/GENERAL/DATA0006/00006328.PDF
กรมบัญชีกลาง. (2565). รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังจังหวัดลำปาง: เศรษฐกิจการคลังจังหวัดลำปาง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565. สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER20/DRAWER058/GENERAL/DATA0008/00008475.PDF
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565ก). สถิติด้านการท่องเที่ยว. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565ข). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว: Maritime tourism + wellness tourism สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย ไตรมาส 1-2/2565. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. https://shorturl.asia/YdVH5
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถานการณ์เศรษฐกิจการท่องเที่ยวครึ่งปีแรก ปี 2564p (ม.ค. - มิ.ย.). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. https://www.mots.go.th/download/article/article_20211111131145.pdf
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. ซัคเซสมีเดีย.
ณัฏฐกฤติ นิธิประภา. (2564, กันยายน). บทวิเคราะห์สถานการณ์ MSME สาขาธุรกิจท่องเที่ยว ปี 2564 และแนวโน้มปี 2565. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20211012232619.pdf
ณิชาภัทร สุรวัฒนานนท์. (2562). การท่องเที่ยวกับบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ฮีโร่จำเป็นหรือ ฮีโร่ตัวจริง?. ธนาคารแห่งประเทศไทย. https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_29Oct2019.aspx
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). รายงานนโยบายการเงิน: การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ…ความเสี่ยงสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย. ธนาคารแห่งประเทศไทย. https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyComittee/MPR/BOX_MPR/BOX2_ReturnTourist.pdf
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด, อรุณี อินทรไพโรจน์, และอรรถพันธ์ สารวงศ์. (2562). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ชุดโครงการการศึกษาเศรษฐกิจท่องเที่ยวชุมชนอย่างครบวงจร: จากโซเชียลมีเดียถึงชุมชนท่องเที่ยว (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2550). เครือข่าย: นวัตกรรมการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: บทวิเคราะห์ว่าด้วยการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแนวระนาบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานและความรับผิดชอบต่อสาธารณะ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วุฒิชาติ สุนทรสมัย. (2560). การพัฒนาการรวมกลุ่มแบบเครือข่ายวิสาหกิจด้านการท่องเที่ยว: แนวคิดและการประยุกต์. ประจักษ์สิน.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2561). เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). https://www.dasta.or.th/uploads/file/202210/1666939249_29604986700ea73c18c2.pdf