ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยงานบริหารงานทั่วไปที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ปริญ โชตินารารัตน์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ในตะวัน กำหอม

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, การบริหารงานทั่วไป, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับปัจจัยงานบริหารงานทั่วไป 2)เพื่อศึกษาศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารและ 3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยงานบริหารงานทั่วไปที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ คือ ครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จำนวน 136 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาความสัมพันธ์โดยใช่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน(Pearsion’s product correlation coefficient ) ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเพศหญิงจำนวน 103 คน มีอายุ 41-50 ปี จำนวน 78 คน ระดับการศึกษา ปริญญาตรี จำนวน 101 คน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท จำนวน 110 คน มีประสบการณ์การทำงาน5-10ปี จำนวน 116 คน 1)ปัจจัยงานบริหารงานทั่วไป โดยภาพรวมนั้นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบอันดับที่ 1 คือ ด้านปัจจัยเกี่ยวกับโรงเรียน รองลงมา คือด้านปัจจัยเกี่ยวกับชุมชนและอันดับสุดท้ายคือ ด้านปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม 2)การมีส่วนร่วมในการบริหารโดย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือด้านการบริหารวิชาการ รองลงมาคือด้านบริหารทั่วไป ด้านบริหารงบประมาณ และอันดับสุดท้ายคือ ด้านบริหารบุคคล 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยงานบริหารงานทั่วไปที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวม มีค่าความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

ชัยยุทธ ถนอมวงษ์.(2558).ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งเสริมการจัดการศึกษากับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของข้าราชการครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี).

นาวิน แกละสมุท. (2562). การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี).

นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564-2565(2564) https://moe360.blog/2021/06/30/education-management-policy/

ในตะวัน กำหอม.(2560).การวิจัยทางการศึกษา.เล่ม 2. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยทองสุข.

สถาบันพัฒนาครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา, เอกสารประกอบการพัฒนา ข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา 8-22 พฤศจิกายน 2559. (ม.ป.ท., ม.ป.ป.)

อมรภัค ปิ่นกำลัง.(2562). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม.(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

เอกวัตร แนมมณี.(2557). ความพึงพอใจในการบริหารสถานศึกษาของผู้ปกครองโรงเรียนบ้านพระปรางค์ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย.(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต วิทยาลัยทองสุข).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

โชตินารารัตน์ ป. . ., & กำหอม ผ. ด. . . (2022). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยงานบริหารงานทั่วไปที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 1(1), 181–192. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/IDHS/article/view/1568