ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ต่อการตัดสินใจเลือกพื้นที่สำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ

Main Article Content

มานิตย์ สิงห์ทองชัย

บทคัดย่อ

ผลการวิจัยนี้เป็นการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ต่อการตัดสินใจเลือกพื้นที่สำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุน ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกพื้นที่ สำหรับการเลือกพื้นที่ปลูกพืช ใช้รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสม  โดยใช้ตำแหน่งที่ตั้งของพืชเศรษฐกิจทั้งหมด 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี พื้นที่อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี และพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการที่ทำการเกษตรปลูกพืชเศรษฐกิจ จำนวน 3 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย Single Exponential Smoothing ใช้ควบคู่กับการกำหนดขอบเขตแบบ Optimal ARIMA และโปรแกรมเชิงเส้นตรง ผลการวิจัยมีดังนี้ ผลการวิเคราะห์หาผลตอบแทนในการลงทุนสำหรับการเลือกพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจมีดังนี้ กรณีเลือกสร้างสวนกุหลาบที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จะมีค่าใช้จ่ายรวม 5,881,000 บาท รายได้รวม 9,642,500 บาท และมีกำไรสุทธิรวม 3,761,500 บาท ในระยะเวลา 2 ปี กรณีเลือกสร้างสวนกุหลาบที่อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี จะมีค่าใช้จ่ายรวม 13,216,000 บาท รายได้รวม 19,285,500 บาท และมีกำไรสุทธิรวม 6,069,000 บาท ในระยะเวลา 2 ปี และกรณีเลือกสร้างสวนกุหลาบที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จะมีค่าใช้จ่ายรวม 9,329,500 บาท รายได้รวม 14,463,7500 บาท และมีกำไรสุทธิรวม 5,134,250 บาท ในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสร้างสวนกุหลาบมี 8 อย่าง คือ มูลค่าเงินปัจจุบันสุทธิ สัดส่วนเงินลงทุน ระยะเวลาการคืนทุน ผลตอบแทนโครงการ จำนวนคนงานที่คาดจะมาทำงาน จำนวนคนขับรถที่คาดจะมาทำงาน เวลาที่ใช้ในการส่งมอบสินค้า และจำนวนรถบรรทุก และการสร้างสวนกุหลาบที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เป็นสถานที่ที่ดีที่สุด เพราะสามารถผ่านเงื่อนๆต่าง ๆ ได้ครบทุกข้อ

Article Details

บท
บทความวิชาการ