รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ

Main Article Content

เมธารัตน์ จันตะนี

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง รูปแบบกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับในทัศนะของผู้เขียน การวิจัยเชิงคุณภาพ หมายถึง กระบวนการในการแสวงหาข้อมูลแบบเชิงพรรณา ด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกต การอภิปรายกลุ่ม และการประชุมระดมความคิดหรือการพูดคุยกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นการศึกษาแบบมีส่วนร่วมหรือการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Research; PAR) โดยยึดสภาวะของปรากฎการณ์เป็นสำคัญ การคิดแบบแก้ปัญหาด้วยการวิจัยและพัฒนา โดยประชาชนมีส่วนร่วม ในปัจจุบันเครื่องมือที่นำมาใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ อาทิเช่น SWOT Analysis, Business Model Canvas, TOWS Matrix, เป็นต้น โดยผู้วิจัยจะต้องมีความรับผิดชอบทั้งกระบวนการ ติดตาม และตรวจสอบรวบรวมข้อมูลที่ได้อย่างใกล้ชิดเพื่อให้ได้คำตอบเชิงลึกที่เป็นจริง ถูกต้อง แม่นตรง เชื่อถือได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสังเกต (Observation) หรือการสนทนากลุ่ม (Focus group Interview) จำนวนตัวอย่างประมาณ 30-50 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการคัดเลือกอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการว่าด้วยระเบียบวิธีวิจัย โดยมีกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ดังนี้ 1)การหาค้นหาหัวข้อการวิจัย 2) การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4) การลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล 5) การวิเคราะห์ผลการวิจัย และ 6) การสรุปผลการวิจัย ทั้งนี้จะต้องพิจารณาอย่างละเอียดและเข้าใจในผลการวิจัยที่ได้สรุปไว้ ดังเช่น เมื่อนำผลการวิจัยหรือค้นพบมาอภิปรายผล จะต้องเปรียบเทียบว่าแนวคิดหรือทฤษฎีและผลงานวิจัย(ที่นำมาสรุปไว้ในบทที่2) มีสอดคล้องหรือแตกต่างจากผลการวิจัยหรือไม่อย่างไร และการเสนอแนะเพื่อให้หน่วยงานหรือผู้อ่านงานวิจัยนำไปปรับใช้ประโยชน์ ซึ่งการเสนอแนะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ อาจเสนอแนะเพิ่มเติมในเชิงนโยบาย เชิงวิชาการ และเชิงธุรกิจ

Article Details

บท
บทความวิชาการ