รายงานผลการประเมินโครงการ การบริหารการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

Main Article Content

พนิดา อุสายพันธ์

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการ การบริหารการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการรวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานของโครงการการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 3,555 คน ประกอบด้วย  นักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี ระดับชั้นอนุบาล - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,730 คน ครูผู้สอนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี จำนวน 80 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี ระดับชั้นอนุบาล - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,730  คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรตามตารางของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 11 ฉบับ แบบทดสอบ จำนวน 1 ฉบับ แบบวัดทักษะ จำนวน 2 ฉบับ และแบบบันทึก จำนวน 3 ฉบับ รวมจำนวน 17 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติบรรยาย ได้แก่  ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้               T-test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟาหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามและแบบทดสอบโดยใช้สูตรของครอนบาร์คและใช้ r หาค่าความเชื่อมั่นตามสูตร KR-20 เพื่อหาค่าความยากง่ายและค่าอำนาจของแบบทดสอบ ผลการประเมิน โดยสรุปมีดังนี้


  1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
    • ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก

    • ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก


  2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
    • ระดับความเหมาะสมของระบบบริหารจัดการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก

    • ระดับความเหมาะสมของบุคคล พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก

    • ระดับความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก


  3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
    • ระดับความเหมาะสมในการประสานงาน พบว่า กิจกรรมที่ดำเนินการ ผ่านเกณฑ์การ


ประเมิน ในระดับ มากที่สุด


  • ระดับความเหมาะสมในการนิเทศ ติดตาม พบว่า การนิเทศ ติดตามโครงการผ่านเกณฑ์

การประเมินในระดับ มากที่สุด


  1. ผลการประเมินด้านผลผลิต มีตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมิน 10 ตัวชี้วัด ดังนี้
    • ความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส


โคโรน่า (COVID-19) ของครู ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ ปานกลาง


  • ครูที่มีทักษะการสอน พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว ครูมีทักษะการสอน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก

  • ครูที่มีทักษะการผลิตสื่อการสอน พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว ครูมีทักษะการผลิตสื่อการสอนผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มากที่สุด

  • ครูผลิตสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพตามบุคลากรที่ผลิตเสร็จ พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการครูผลิตสื่อการสอน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มากที่สุด

  • นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก

  • นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก


  • ระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก

  • ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก

  • ระดับความพึงพอใจของครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก

  • ระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มาก

Article Details

บท
บทความวิชาการ