บทบาทการเมืองท้องถิ่นต่อการส่งเสริมประชาชนเพื่อการเข้าถึงสวัสดิการ ของรัฐในเทศบาลเมืองนครนายก

Main Article Content

อาราดา ศรีคร่ำ
เบญญาภา อัจฉฤกษ์
พระสมุห์ธงชัย สุนฺทราจาโร (ธนวัฒนกุล)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของบทบาทการเมืองท้องถิ่นต่อการส่งเสริมประชาชนเพื่อการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐในเทศบาลเมืองนครนายก 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทการเมืองท้องถิ่นต่อการส่งเสริมประชาชนเพื่อการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐในเทศบาลเมืองนครนายก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) นำเสนอบทบาทการเมืองท้องถิ่นต่อการส่งเสริมประชาชนเพื่อการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐในเทศบาลเมืองนครนายกโดยการประยุกต์หลักพุทธธรรม การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเทศบาลเมืองนครนายก จากจำนวนประชากร12,644คนโดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด 400 คน จากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ซึ่งใช้ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) ค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) เมื่อพบว่ามีความแตกต่าง จึงได้ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) และโดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของบทบาทการเมืองท้องถิ่นต่อการส่งเสริมประชาชนเพื่อการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐในเทศบาลเมืองนครนายกด้านการส่งเสริมการศึกษามีการให้ทุนการศึกษากับนักเรียนเรียนดีแต่ยากจน ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัยทำเครื่องออกกำลังกายไปยังหมู่บ้าน ชุมชน โรงเรียน ด้านที่อยู่อาศัยจัดให้มีสาธารณูปโภคทั่วถึง จัดสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย ของประชาชนด้านการส่งเสริมรายได้และการมีงานทำการส่งเสริมอาชีพและการงาน ได้มีบทบาทการฝึกอบรมอาชีพให้ประชาชน ให้ความรู้ในแขนงต่าง ๆ เพื่อนำไปประกอบอาชีพด้านความมั่นคงทางสังคมทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต ปราศจากโจร ผู้ร้าย หรืออาชญากรรมต่าง ๆ ด้านบริการสังคมทั่วไปส่งเสริมประชาชนเข้าถึงสวัสดิการรัฐเอาใจใส่ความเป็นอยู่ของประชากร การให้บริการให้มีความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต ด้านการส่งเสริมกิจกรรม จัดพื้นที่สวนสาธารณะ จัดให้มีชมรมต่าง ๆ เช่นชมรมจักรยาน การจัดแข่งขันกีฬา หรืองานประเพณีต่าง ๆจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะกับเทศกาล 2.เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทการเมืองท้องถิ่นต่อการส่งเสริมประชาชนเพื่อการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐในเทศบาลเมืองนครนายก ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อบทบาทการเมืองท้องถิ่นต่อการส่งเสริมประชาชนเพื่อการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐในเทศบาลเมืองนครนายก ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยและประชาชนที่มีอาชีพ ต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการปกครองประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อบทบาทการเมืองท้องถิ่นต่อการส่งเสริมประชาชนเพื่อการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐในเทศบาลเมืองนครนายก โดยรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3.นำเสนอบทบาทการเมืองท้องถิ่นต่อการส่งเสริมประชาชนเพื่อการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐในเทศบาลเมืองนครนายกโดยการประยุกต์หลักพุทธธรรมด้านทาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละแบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยการให้สิ่งของหรือให้ความรู้และแนะนำสั่งสอนด้วยน้ำใจไมตรี มีความโอบอ้อมอารี ด้านปิยวาจามีวาจาเป็นที่รัก เป็นที่ดูดดื่มจิตใจของผู้ฟัง มีวาจาสุภาพอ่อนหวานชวนฟัง เป็นวาจาที่ไม่หยาบคายและก่อให้เกิดประโยชน์ ด้านอัตถจริยาทำประโยชน์ ช่วยเหลือด้วยแรงกายและขวนขวายช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ช่วยปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นในด้านคุณธรรมจริยธรรมเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านสมานัตตา มีความเสมอต้นเสมอปลาย ให้ความเสมอภาคปฏิบัติสม่ำเสมอกันต่อคนไม่เอาเปรียบบุคคลที่ด้อยกว่า การวางตัวดีวางตัวการทำตัวให้เป็นคนน่ารัก น่าเคารพนับถือ

Article Details

บท
บทความวิชาการ