การประเมินโครงการพัฒนาทักษะการคิดของโรงเรียนบ้านค่าย สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

Main Article Content

ดำรง ศรีอร่าม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการพัฒนาทักษะการคิดของโรงเรียนบ้านค่ายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam. 1983)ประเมิน 4 ด้าน คือด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัย(Input) ด้านกระบวนการ (Process)  และด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ รองผู้อำนวยการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) ผลการประเมินพบว่า 1. การประเมินด้านบริบท (Context) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความสอดคล้องของโครงการกับบริบทในภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความสอดคล้องมากที่สุดคือ ด้านนโยบายส่วนด้านที่มีความสอดคล้องน้อยที่สุดคือความต้องการของผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. การประเมินด้านปัจจัย (Input)ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความเหมาะสมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุดคือ ด้านบุคลากร ส่วนด้านที่มีความเหมาะสมน้อยคือด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่และโครงการพัฒนาทักษะการคิด สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นของโรงเรียนบ้านค่าย 3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับการปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ กิจกรรมยุวชนคอมพิวเตอร์ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุดคือกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 4. การประเมินด้านผลผลิต (Product) ผลผลิตตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุดคือ วัตถุประสงค์ข้อที่1เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการคิดสร้างสรรค์ ส่วนผลสำเร็จน้อยที่สุดคือ วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมและผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมโครงการฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า กิจกรรมที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุดคือกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ธรรมชาติศึกษา และกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนต่ำสุดคือ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน       

Article Details

บท
บทความวิชาการ