จิตศึกษากับการพัฒนาการเรียนรู้อย่างมีความสุขในยุคความปรกติใหม่ : กรณีศึกษา โรงเรียนแหลมสิงห์วิทยาคม “อาทรสังขะวัฒนะ ๔ อุปถัมภ์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด

Main Article Content

วัชรินทร์ อุดหนองเลา
ณัฐวุฒิ บุราโส
ลัดดา วงค์กระจ่าง
วิมลรัตน์ ศรีวะรมย์
ธีรังกูร วรบำรุงกุล

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานจิตศึกษาในยุคความปรกติใหม่ โรงเรียนแหลมสิงห์วิทยาคม “อาทรสังขะวัฒนะ ๔ อุปถัมภ์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด 2) เพื่อสังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขในยุคความปรกติใหม่ โรงเรียนแหลมสิงห์วิทยาคม “อาทรสังขะวัฒนะ ๔ อุปถัมภ์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด 3) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานจิตศึกษากับการพัฒนาการเรียนรู้อย่างมีความสุขในยุค ความปรกติใหม่ โรงเรียนแหลมสิงห์วิทยาคม “อาทรสังขะวัฒนะ ๔ อุปถัมภ์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 15 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง ซึ่งประกอบไปด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียนโรงเรียนแหลมสิงห์วิทยาคม “อาทรสังขะวัฒนะ ๔ อุปถัมภ์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การดำเนินงานจิตศึกษากับการพัฒนาการเรียนรู้อย่างมีความสุขในยุคความปรกติใหม่ ประกอบด้วย 1) การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ 2) การใช้จิตวิทยาเชิงบวก และ 3) กิจกรรมสร้างสุขด้วยสติ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขในยุคความปรกติใหม่ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านผู้เรียน 2) ปัจจัยด้านครูผู้สอน 3) ปัจจัยด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม การสรุปแนวทางการดำเนินงาน สามารถอธิบายได้ว่า การพัฒนาการเรียนรู้อย่างมีความสุขด้วยกระบวนการจิตศึกษา สามารถทำให้ครูผู้สอน และผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง ผู้อื่น และสิ่งรอบ ๆ ตัว โดยการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริม สนับสนุน ให้ครูผู้สอนมีความสุขในการทำงาน และครูผู้สอนสามารถพัฒนาการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดความสุขในการเรียนรู้ในยุคความปรกติใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรองทิพย์ นาควิเชตร และคณะ. (2564). การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การส่งเสริมความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม. บริษัทอินโนวิสโซลูชั่น จำกัด: โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม.

กัมพล พันธเจริญรักษ์. (2556). จิตศึกษากับการพัฒนาปัญญาภายใน. เรียกใช้เมื่อ 9 เมษายน 2565 จาก http://www.ires.or.th/?p=1137

ชัยชนะ มิตรพันธ์. (2563). ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตใหม่รับ New Normal หลังวิกฤตโควิด-19. เรียกใช้เมื่อ 10 เมษายน 2565 จาก https://www.etda.or.th/content/new-normal-after-covid-19.html

ชัยวัฒน์ พันธุ์เสือ. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ร้อยเอ็ด เขต1. เรียกใช้เมื่อ 10 เมษายน 2565 จาก http://uc.thailis.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b014267

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ และคณะ. (2563). "New Normal" วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลัง โควิด-19: การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 371-386.

นฤมล อึ้งเจริญ. (2552). การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยบางประการกับการเรียนรู้ในชั้นเรียนอย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มกรุงธนบุรี สังกัด กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประสงค์ ปุกคำ. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

ปานทิพย์ พอดี. (2564). รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุข (FART). วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(1), 78-90.

มาลี บุญศิริพันธ์. (2563). New Normal กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

ยงยุทธ์ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2555). การพัฒนาจิตตปัญญาในองค์กร Spirituality Development in Organization. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: บริษัท เอ.พี. กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

วิเชียร ไชยบัง. (2554). จิตศึกษากับการบ่มเพาะปัญญาภายใน. บุรีรัมย์: สำนักพิมพ์โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา.

__________. (2558). จิตศึกษา พัฒนาปัญญาภายใน. (พิมพ์ครั้ง ที่ 2). มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.

ศิริพร ทองย้อย. (2557). ความสุขและแนวทางเสริมสร้างความสุขในการเรียนของนักเรียนโรงเรียนธัญรัตน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์การศืกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.