กระบวนการเสริมสร้างความรู้และควบคุมคอร์รัปชั่น โดยพระสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

อนุชา พละกุล

บทคัดย่อ

               บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและควบคุมการทุจริตโดยพระสงฆ์ 2) วิเคราะห์การเสริมสร้างความร่วมมือและควบคุมการทุจริตโดยพระสงฆ์ และ 3) ศึกษาการเสริมสร้างความร่วมมือและควบคุมการทุจริตโดยพระสงฆ์ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ค้นคว้าพระไตรปิฎก วิทยานิพนธ์ รายงานวิจัย ตำราทางวิชาการ และวารสาร ซึ่งมีให้ผู้ข้อมูลสำคัญ 5 รูป พบว่า 1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมการทุจริตโดยพระสงฆ์ คือ เป็นผู้ที่ปฏิบัติดี มีวุฒิภาวะ มีองค์ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม ได้รับการยอมรับทั้งจากสังฆาธิการ เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชน อยู่อาศัยร่วมกับชุมชนตามความสัมพันธ์เชิงศาสนา มีบทบาท ตำแหน่ง หน้าที่ในองค์กรอยู่ก่อนแล้ว ท่านควรต้องได้รับการฝึกอบรม “หลักสูตรการต่อต้านทุจริต” จากหน่วยงานของรัฐ เพื่อท่านจะได้เป็นผู้นำเสนอการต่อต้านทุจริต ทั้งทางภาคทฤษฎีและหลักการที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง พร้อมภาคปฏิบัติวิธีการแก้ไขปัญหา โดยอาศัยหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเป็นศูนย์การดำเนินการดังกล่าว 2) การเสริมสร้างความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมการทุจริตโดยพระสงฆ์ คือในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณ เป็นผู้ที่ได้รับการเคารพนับถือ ให้คำปรึกษาต่อชุมชน สังคม และภาครัฐ ในเรื่องต่างๆรวมทั้ง การป้องกันและต่อต้านการทุจริต ในรูปแบบของโครงการฝึกอบรมหลักศีลธรรม และ3) วิธีการป้องกันและควบคุมทุจริตโดยพระสงฆ์ ต้องดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมบริหารกำหนดหลักสูตรการอบรมตามแนวทางพระธรรมวินัยและหลักกฎหมาย เพื่อการป้องกันและการควบคุมการทุจริต ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของชุมชนต่าง ๆ ที่อาจมีความหลากหลายแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2561). พุทธจริยศาสตร์: ทางเลือกของการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(sp1(2018)), 624-634.

พระมหาสุระพงษ์ สุรวํโส (สีหมอก). (2555). ภาวะผู้นําของพระสงฆ์ในการบริหารการพัฒนาชุมชน:กรณีศึกษาพระครูโพธิวีรคุณ วัดโพธิการาม ตําบลโพนสูง อําเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระมหาอนุชา สิริวณฺโณ (พละกุล). (2556). การศึกษาพระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาวัดเทพปูรณาราม ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561, เล่ม 135 ตอนที่ 52 ก, 21 กรกฎาคม 2561.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2540). ศาสนาเปรียบเทียบ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ไสว มาลาทอง. (2542). การศึกษาจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา.