ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำกลองบานอ กรณีศึกษาชุมชนบ้านสือแด หมู่ที่ 4 ตำบลสากออำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

Main Article Content

มัสวานี มะยาลี
เขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ
อรรครา ธรรมมาธิกุล
เชษฐา มุหะหมัด

บทคัดย่อ

               บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของ “กลองบานอ” กรณีศึกษาชุมชนบ้านสือแด หมู่ที่ 4 ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส 2) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำ “กลองบานอ”กรณีศึกษาชุมชนบ้านสือแด หมู่ที่ 4 ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาในพื้นที่ชุมชนบ้านสือแด หมู่ที่ 4 ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ สมาชิกกลุ่มกลองบานอชุมชนบ้านสือแด จำนวน 18 คน ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ทำกลองบานอ จำนวน 6 คน 2) กลุ่มสมาชิกกลุ่มตีกลองบานอ จำนวน 11 คน และ 3) ผู้นำชุมชน จำนวน 1 คน เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง (Purposive Selection) โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview)  ผลการวิจัย พบว่า ประวัติความเป็นมาของกลองบานอได้รับการพัฒนามาจากกลองเดาะดุ๊ ประเทศมาเลเซีย โดยมีการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อประกอบการแสดงในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น งานมงคล พิธีเปิดต่าง ๆ และนิยมใช้ตีแข่งขันในหมู่ชาวไทยมุสลิมของจังหวัดชายแดนภาคใต้กลองบานอมีลักษณะคล้ายกลองรำมะนา แต่ส่วนที่เป็นลำตัวมีขนาดยาวและเรียวไปทางด้านหลังมากกว่ากลองรำมะนา ส่วนภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำกลองบานอมีดังนี้ 1) ตากหนังควาย 2) รีดหวาย 3) เตรียมไม้ 4) ขึงหนังควาย และ 5) ตกแต่งลวดลาย จะนิยมวาดลวดลายโดยการวาดดอกต้นข้าวที่เป็นเอกลักษณ์ของกลองบานอและเกิดแรงบันดาลใจจากกลองบานอขนาดใหญ่จึงเกิดการคิดค้นการทำกลองบานอขนาดจิ๋วเพื่อจำหน่ายเป็นของที่ระลึกแก่ผู้ที่สนใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ. (2560). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตกรรม OTOP 5 ดาว กรณีสินค้าเรือใบจำลอง จังหวัดเชี่ยงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11(3), 79-92.

จิราพร ชลธิชาชลาลักษณ์ และคณะ. (2551). ผลของดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวล การตอบสนองทางสรีระและตัวแปรในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยระหว่างหย่าจากเครื่องช่วยหายใจ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 14(3), 328-346.

ซูรียะ เจ๊ะฮา. (2561). สืบสานศิลปวัฒนธรรมกลองบานอ. เรียกใช้เมื่อ 22 กรกฎาคม 2562 จาก http:senikbudayaanrebana.blogsport.com

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2558). โมงยามไม่ผันแปร. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

พงศกร จงรักษ์. (2562). ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้. เรียกใช้เมื่อ 16 กันยายน 2562 จาก http :pirun.ku.ac.th

พรพันธุ์ เขมคุณาศัย. (2541). การศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้าน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ลำไย ไชยสาลี. (2542). การศึกษาเครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ = A study of southern thai folk musical instruments. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สุดิน ดอเลาะ. (2561). สืบสานศิลปวัฒนธรรมกลองบานอ. เรียกใช้เมื่อ 22 กรกฎาคม 2562 จาก http:senikbudayaanrebana.blogsport.com